๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36157

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 515

๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 515

๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[๘๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแลท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เธอมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง เธออยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเป็นส่วนมากในบัดนี้.

ท่านพระสารีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ด้วยวิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติแลเป็นส่วนมากในบัดนี้.

[๘๓๘] พ. สารีบุตร ดีละๆ เป็นอันว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรมของมหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้ เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษนี้ก็คือสุญญตสมาบัติ เพราะฉะนั้นแล สารีบุตร ภิกษุถ้าหวังว่าจะอยู่ด้วยวิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติเป็นส่วนมาก ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความกําหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุบ้างไหม สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 516

กําหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอยู่ ภิกษุนั้นพึงพยายามละอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นเสีย สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เราไม่มีความพอใจ หรือความกําหนัดหรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ได้ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๓๙] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความกําหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต... ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ... ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย... ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนบ้างไหม สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใดในทางและประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความกําหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนอยู่ ภิกษุนั้นพึงพยายามละอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นเสีย สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เราไม่มีความพอใจ หรือความกําหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในธรรมารมณ์ที่รู้


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 517

ได้ด้วยมโน ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นและ.

[๘๔๐] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราละกามคุณ ๕ ได้แล้วหรือหนอ สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรายังละกามคุณ ๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามละกามคุณ ๕ สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราละกามคุณ ๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

ว่าด้วยนีวรณปัญหา

[๘๔๑] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราละนีวรณ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังละนีวรณ์๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้น พึงพยายามละนีวรณ์๕ สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราละนีวรณ์๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๒] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรากําหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรายังกําหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามกําหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรากําหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นและ.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 518

[๘๔๓] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วหรือหนอ สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าเรายังไม่ได้เจริญสติปัฏฐานเลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสติปัฏฐาน ๔ สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๔] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้วหรือหนอ สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าเรายังไม่ได้ เจริญสัมมัปปธาน ๔ เลยภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสัมมัปปธาน ๔ สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้วภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๕] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่าเราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอิทธิบาท ๔ ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

ว่าด้วยอินทริยปัญหา

[๘๔๖] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่าเราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้วหรือหนอแล ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเรายังไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอินทรีย์ ๕


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 519

ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้วภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๗] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่าเราเจริญพละ ๕ แล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าเรายังไม่ได้เจริญพละ ๕ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญพละ ๕ ดูก่อนสารีบุตรแต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญพละ ๕ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๘] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่าเราเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญโพชฌงค์ ๗ ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๙] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่าเราเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐแล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐเลยภิกษุนั้น พึงพยายามเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๕๐] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่าเราเจริญสมถะและวิปัสสนาแล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 520

รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญสมถะและวิปัสสนาเลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสมถะและวิปัสสนา ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสมถะและวิปัสสนาแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๕๑] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่าเราทําวิชชาและวิมุตติให้แจ้งแล้ว หรือหนอแล ดูก่อนสารีบุตรถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้ทําวิชชาและวิมุตติให้แจ้งเลย ภิกษุนั้นพึงพยายามทําวิชชาและวิมุตติให้แจ้ง ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าเราทําวิชชาและวิมุตติให้แจ้งแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๕๒] ดูก่อนสารีบุตร ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์แล้วในอดีตกาล ทั้งหมดนั้น พิจารณาแล้วๆ อย่างนี้เทียว จึงทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้จักทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ในอนาคตกาล ทั้งหมดนั้น ต้องพิจารณาแล้วๆ อย่างนี้เทียว จึงจักทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้กําลังทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์อยู่ในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ย่อมพิจารณาแล้วๆ อย่างนี้เทียว จึงทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้นแลพวกเธอพึงสําเหนียกว่า จักพิจารณาแล้วๆ ทําบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ดูก่อนสารีบุตร พวกเธอพึงสําเหนียกไว้อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ที่ ๙


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 521

อรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

บิณฑปาทปาริสุทธิสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น คําว่า จากการหลีกเร้น คือจากผลสมาบัติ. คําว่า ผ่องใสแล้วนี้ ท่านกล่าวด้วยอํานาจโอภาส. จริงอยู่ภิกษุที่ออกจากผลสมาบัติมีโอภาสที่ประสาททั้ง ๕ ทั้งอยู่ผ่องใสผิวพรรณก็หมดจด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คําว่า ด้วยสุญญตวิหาร (วิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติ) คือด้วยธรรมเครื่องอยู่ คือผลสมาบัติที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์. คําว่า มหาปุริสวิหาร (วิหารธรรมของมหาบุรุษ) ได้แก่ธรรมเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้ใหญ่ของพระตถาคตเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษ. ในคําเป็นต้น ว่า เยน จาหํ มคฺเคน (เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต โดยเส้นทางใด) ได้แก่ทางที่เริ่มตั้งแต่วัดไปจนถึงเสาเขื่อนแห่งบ้าน นี้ชื่อว่าทางเข้า. ประเทศที่เข้าไปภายในหมู่บ้านเที่ยวไปตามลําดับเรือนจนถึงออกทางประเมือง นี้ชื่อว่าประเทศที่พึงเที่ยวไป. ตั้งแต่นอกเสาเขื่อนมาจนถึงวัด นี้ชื่อว่าทางกลับ. คําว่า หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจ ความว่า อะไรๆ ที่เกิดจากกิเลสเหตุให้กระทบกระทั่งจิต มีหรือไม่มี. คําว่า ผู้ศึกษาเนื่องๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน คือผู้ตามศึกษาอยู่ตลอดวันและตลอดคืน.

ในคําเป็นต้นว่า เราละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล ความว่าการพิจารณาของภิกษุรูปหนึ่งก็แตกต่างกันไป. การพิจารณาของภิกษุอื่นๆ ก็ไม่เหมือนกัน. อย่างไร. จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง กลับมาจากบิณฑบาตในปัจฉาภัตเก็บบาตรจีวรมานั่งในโอกาสอันเงียบสงัด แล้วพิจารณาอยู่ว่า เราได้ละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล. เธอทราบว่ายังละไม่ได้จึงประคองความเพียร


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 522

ถอนราคะที่เกี่ยวกับกามคุณทั้ง ๕ ด้วยอนาคามิมรรค ออกจากนั้นแล้วก็พิจารณาผลถัดจากมรรค พิจารณามรรคถัดจากผลอยู่ รู้ดีว่า ละได้แล้ว. แม้ในนีวรณ์เป็นต้น ก็นัยเดียวกันนี้แหละ. แต่การละนีวรณ์เหล่านี้ เป็นต้น ย่อมมีด้วยอรหัตตมรรค. การพิจารณาต่างๆ ของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมมีด้วยวิธีนี้. สําหรับในการพิจารณาเหล่านี้ ภิกษุรูปอื่นย่อมพิจารณาหลักสําหรับ พิจารณาอย่างหนึ่งภิกษุรูปอื่นก็อีกอย่างหนึ่ง ดังกล่าวมานี้. การพิจารณาต่างๆ ของภิกษุต่างรูปกัน ย่อมมีด้วยประการฉะนี้. คําที่เหลือทุกแห่งตื้นแล.

จบอรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ที่ ๙