ตทาลัมพณวาระ
ตํ (นั้น) + อาลมฺพณ (การยึดหน่วง) +วาร (คราว รอบ โอกาส)
คราวหรือโอกาสของตทาลัมพณจิต หมายถึง วิถีจิตที่อารมณ์สิ้นสุดที่ตรงตทาลัมพณวิถีพอดีสำหรับทางปัญจทวาร
เมื่อโคจรรูป ๗ รูป รูปใดรูปหนึ่ง เกิดขึ้นกระทบกับปสาทรูป ตามทวารนั้นๆ ภวังคจิตซึ่งเกิดที่หทยวัตถุในขณะนั้นได้ชื่อว่า
อตีตภวังค์ เพื่อเป็นการนับอายุของรูปเทียบกับขณะจิต เป็นขณะที่ ๑ ดับไป
ภวังคจลนะเกิดขึ้นไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบเป็นขณะที่ ๒ ดับไป
ภวังคุปัจเฉทะเกิดขึ้นตัดกระแสภวังค์ เป็นขณะที่ ๓ เมื่อภวังคุปัจเฉทะ ดับไป
ปัญจทวาราวัชชนะซึ่งเป็นวิถีจิตแรกจึงเกิดขึ้น รำพึงถึงอารมณ์ เป็นขณะที่ ๔ แล้วดับไป
ปัญจวิญญาณดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้นเห็น หรือได้ยิน ... รับอารมณ์ต่อ เป็นขณะที่ ๕
ขณะที่ ๖ คือ สัมปฏิจฉันนจิต เกิดขึ้นต่อจากทวิปัญจวิญญาณจิต ดวงหนึ่งดวงใดที่ดับไป
สันตีรณจิตเกิดขึ้น พิจารณาอารมณ์ เป็นขณะที่ ๗ ดับไป
โวฏฐัพพนจิตเกิดขึ้น ตัดสินกระทำทางให้ชวนจิตเป็นขณะที่ ๘ ดับไป
ชวนจิตเกิดขึ้น แล่นไปในอารมณ์สืบต่อกัน ๗ ขณะ โดยความเป็นกุศล หรืออกุศล หรือกิริยาจิตของพระอรหันต์ ชวนจิตดวงสุดท้ายเป็นขณะที่ ๑๕ ดับไป
โดยวิสัยของกามบุคคล ผู้ปฏิสนธิด้วยวิบากของกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่ยังเป็นไปในกาม เมื่ออารมณ์ยังมีอายุเหลืออยู่ ตทาลัมพณจิตซึ่งเป็นวิบากของกรรมที่เป็นกามวจร จะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่เหลือ ๒ ขณะ
และตทาลัมพณจิต ดวงสุดท้ายก็ดับไปพร้อมกับอารมณ์ ซึ่งเป็นสภาวรูป รูปๆ หนึ่งจึงมีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะของจิต วาระนี้เรียกว่า อติมหันตรมณ์ (อารมณ์ที่ดียิ่ง) ทางมโนทวาร
ตทาลัมพณวาระมี ๓ วิถี คืออาวัชชนวิถี ๑ ชวนวิถี ๑ และตทาลัมพณวิถี ๑ เรียกวาระนี้ว่า วิภูตารมณ์ หรือได้กลิ่น หรือลิ้มรส หรือกระทบสัมผัส เป็นขณะที่ ๕ ดับไป สัมปฏิจฉันนจิตเกิดขึ้น
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ