๘. อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนื่องๆ ๑๐ ประการ [๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่น อันเราควรทำมีอยู่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า. เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใดดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ บรรพ- ชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๑ บรรพ-ชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ ๑ บรรพ-ชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ญาณทัสสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอริยะ คือ อุตตริมนุสสธรรม อันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ ที่เป็นเหตุให้เราผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้ว จักไม่เป็นผู้เก้อเขินในกาลภายหลัง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ . จบอภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร
(ว่าด้วยธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ประการ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม ๑๐ ประการ ที่บรรพชิต พึงพิจารณาเนืองๆ คือ .- ๑. เรามีเพศแตกต่างไปจากคฤหัสถ์ ๒. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. ยังมี อากัปกิริยา ที่เหมาะสมแก่บรรพชิตอย่างอื่น ที่เราควรทำ ๔. เราติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ ๕. เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีปัญญา ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ ๖. เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ๗. เรามีกรรมเป็นของของตน ๘. วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙. เรายังยินดีอยู่ในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ ๑๐ เรามีญาณทัสสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลสหรือไม่. เพศบรรพชิต (บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว, เว้นจากอกุศลโดยประการทั้งปวง, เว้นจากกามคุณ ๕) มีความแตกต่างไปจากเพศคฤหัสถ์ ๒ ประการ คือ โดยสรีระ กล่าวคือบรรพชิตมีการปลงผมและหนวด และโดยบริขารเครื่องใช้ต่างๆ , ในขณะที่เป็นคฤหัสถ์ใช้เสื้อผ้าอย่างดี รับประทานอาหารอย่างดี ใช้ภาชนะอย่างดี นอนบนที่นอนอย่างดี เป็นต้น แต่เมื่อเป็นบรรพชิตแล้ว ต้องนุ่งผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด ฉันอาหารที่คลุกกันในบาตร นอนบนที่นอนที่ลาดด้วยหญ้าเป็นต้น เมื่อบรรพชิตพิจารณาอย่างนี้ ก็จะเป็นเหตุให้ละความขัดใจและความถือตัวได้ ...ฯลฯ... ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่หัวข้อต่อไปนี้ ครับ
บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว
ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษ การขัดสังข์ให้ขาว? ฆราวาส - บรรพชิต ท่านไม่ควรประมาทเวลา ขณะ อย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ