ปาราชิกบทที่ ๒ ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ ๕ คือ ทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ๑ รู้ว่าผู้อื่นหวงแหน ๑ ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก จิตคิดลัก ๑ ทำให้เคลื่อนจากฐาน ๑
ขอเรียนถามว่า ทำไมทรัพย์ต้องมีราคา ๕ มาสก ถ้าทรัพย์ราคาต่ำกว่านั้นไม่อาบัติหรือ ถ้าเทียบราคา มาสกเท่ากับเท่าไร
สิกขาบทปาราชิกที่ ๒ ภิกษุถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นด้วยอาการแห่งขโมย ด้วยมูลค่าของทรัพย์ ๕ มาสก จึงเป็นที่ตั้งของอาบัติปาราชิก ถ้าต่ำกว่านั้นไม่ถึงอาบัติปาราชิก แต่เป็นอาบัติรองลงมา คือ อาบัติถุลลัจจัย และทุกกฏ การกำหนดโทษที่หนัก คือ ขาดจากความเป็นพระภิกษุ (ปาราชิก) ต้องมีมูลค่าสูง คือ ยุคนั้น ทางบ้านเมืองกำหนดโทษของผู้ที่ขโมยของผู้อื่น สิ่งของนั้นจะต้องมีมูลค่า ๕ มาสกขึ้นไป สำหรับทางธรรมก็เช่นกัน จะต้องโทษหนัก วัตถุที่ขโมยต้องมีมูลค่า ๕ มาสก จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก สำหรับการเทียบราคาในปัจจุบัน มีการวินิจฉัยที่แตกต่างกันตามยุคสมัย แต่ที่ถือเป็นมาตรฐานทุกยุค คือ น้ำหนักทองคำกับข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ด คือ เอาข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ดมาชั่ง ได้น้ำหนักเท่าไหร่ น้ำหนักทองคำเท่านั้นตีเป็นเงินออกมา ในยุคนี้ ๕ มาสก ควรจะมีมูลค่าหลายพันบาท
อนุโมทนาครับ
ถ้าทรัพย์นั้นมีราคาน้อย ไม่ถึง ๔ มาสก ก็อาบัติเหมือนกัน แต่ไม่ถึงกับขาดจากความเป็นพระ คือแก้ไขได้ ให้ปลงอาบัติกับพระภิกษุด้วยกัน บอกว่าวันนี้ผมได้ลักทรัพย์ไปเท่านี้แล้วเอาไปคืน ต่อไปจะสำรวมระวังไม่ทำอีก เป็นต้น
คำอธิบายเพิ่มเติมจาก สมันตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๑/๒/๗๗/-๒๕๓
๑๐. ครั้งนั้นในกรุงราชคฤห์ ๒๐ มาสก เป็นหนึ่งกหาปนะ เพราะฉะนั้น ห้ามาสก จึงเป็นหนึ่งบาท ด้วยลักษณะนั้น ส่วนที่สี่ของกหาปนะพึงทราบว่าเป็นหนึ่งบาท
๑๑. พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ก็จักทรงบัญญัติปาราชิกข้อที่ ๒ ด้วยราคาบาทเดียว ปาราชิกมี ๔ ข้อเหมือนกัน แต่ละข้อก็มีเนื้อความเหมือนกัน
อนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ