ศึกษาธัมมะทีละคำ
โดย ใหญ่ราชบุรี  25 ก.พ. 2556
หัวข้อหมายเลข 22538

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ศึกษาธัมมะทีละคำ" ขอความอนุเคราะห์ ท่านผู้มีความรู้ความเข้าใจ ได้กรุณาให้ คำอธิบาย ความหมาย และความเป็นธัมมะ ของข้อความนี้ และแต่ละคำเหล่านี้ หากจะได้โปรดเล่าถึง ที่มา สาระประโยชน์ อันจะพึงมีแก่ ผู้ที่สามารถประพฤติปฏิบัติตาม ขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้ความละเอียด กระจ่าง ชัดเจน และ

ขออนุโมทนาจิตอันเป็นกุศลของทุกท่านด้วยค่ะ ขอคุณความดีทุกประการรักษาคุ้มครองให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป นะคะ จาก "ใหญ่ราชบุรี" ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี

๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 25 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กล่าวถึงที่มาก่อนนะครับ ข้อความนี้มาจากคำปรารภของท่านอาจารย์สุจินต์ ที่ได้อธิบายการศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องว่าควรเป็นอย่างไร และที่สำคัญ ก็ตรงตามพระไตรปิฎกด้วย การศึกษาธัมมะทีละคำ ความหมาย คือ เริ่มจากพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้นตั้งแต่ต้น ไม่ข้าม ไม่เผิน และสำคัญที่สุดต้องละเอียดในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังในคำนั้น การศึกษาธัมมะทีละคำ คือ เข้าใจไปตามลำดับ เช่น ศึกษาพระพุทธศาสนา แทนที่จะไปศึกษาไปปฏิบัติเรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่ยากลึกซึ้ง ก็กลับมาที่การศึกษาธัมมะทีละคำ ให้เข้าใจคำแต่ละคำ ให้เข้าใจถูกต้อง เพราะหากเข้าใจคำแรกผิดก็เข้าใจผิดในคำต่อๆ ไปด้วย

ยกตัวอย่างเช่นเมื่อพูดถึงคำว่าปฏิบัติธรรม โดยมากก็จะเผิน เพราะไม่ได้ศึกษาธัมมะทีละคำให้เข้าใจ ดังนั้น คำว่า ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมทีละคำให้เข้าใจถูกต้อง คำว่า ปฏิบัติ คือ อะไร ปฏิ (เฉพาะ) + ปตฺติ (การถึง) ศึกษาธรรมแม้แต่คำว่าปฏิบัติ ทีละคำให้เข้าใจถูกต้องว่า หมายถึง การถึงเฉพาะ เฉพาะอะไร มีคำว่าธรรม ก็ศึกษาคำว่าธรรมให้เข้าใจถูกต้องว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฎที่เป็นนามธรรม และ รูปธรรม หรือ จิต เจตสิก รูป ดังนั้น เมื่อเข้าใจธรรม ทีละคำแล้ว ในคำว่า ปฏิบัติ และ คำว่า ธรรม เมื่อเข้าใจแต่ละคำถูกต้อง ก็จะเข้าใจถูกในคำที่ได้ยินได้ฟังว่า ปฏิบัติธรรม หมายถึง การถึงเฉพาะในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎที่เป็นจิต เจตสิก รูป อันหมายถึง การถึงเฉพาะในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ

จะเห็นนะครับว่า การศึกษาธรรมทีละคำที่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจถูก และไม่หลงผิดไปว่า การปฏิบัติธรรม คือ การนั่งสมาธิ เดินจงกรม เป็นต้น อันเกิดจากการไม่ได้ศึกษาธรรมทีละคำให้เข้าใจถูกต้อง ซึ่งการศึกษาธรรมทีละคำ จะต้องมีรากฐานในแต่ละคำ โดยมาจากการอ้าง อิงจากพระไตรปิฎกที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ครับ

ประโยชน์ของการศึกษาธรรม คือ ความเข้าใจถูกต้อง อันเกิดจากการศึกษาธรรมไปตามลำดับ ไปทีละคำ เพื่อความเข้าใจถูกในองค์รวม ก็สามารถจะก้าวเดินต่อไปในคำใหม่ ด้วยความเข้าใจถูกในคำเก่า ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา


ความคิดเห็น 2    โดย ธนัตถ์กานต์  วันที่ 26 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 26 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมทุกคำ แต่ละคำเป็นคำจริง แสดงเพื่อให้เข้าใจความจริง ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจไปทีละคำแล้ว จะมีความเข้าใจละเอียดลึกซึ้งได้อย่างไร ถ้าไม่ตั้งต้นที่ว่า คำนั้น คือ อะไร พูดไปทั้งวันก็ไม่รู้อะไร เพราะเต็มไปด้วยความไม่รู้ พูดในคำที่ไม่รู้จัก เพราะฉะนั้น พระธรรมมีคุณค่ามาก ก็จะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการศึกษา ไม่ประมาทในแต่ละคำที่ได้ยินได้ฟัง เมื่อค่อยๆ ศึกษาไปตามลำดับ ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น และที่สำคัญ ธรรมเป็นเรื่องของตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ตั้งแต่เกิดจนตาย พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจริงๆ เรื่องของการเห็น แล้วก็ชอบใจ ไม่ชอบใจ เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจาที่เต็มด้วยกุศลจิตบ้างอกุศลจิตบ้าง เป็นต้น ไม่ว่าจะใช้พยัญชนะใด ก็ไม่พ้นไปจากเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 26 ก.พ. 2556

ฟังธรรมในเรื่องใด ก็ให้เข้าใจเรื่องนั้น ไม่ข้ามไปเรื่องอื่น ค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย raynu.p  วันที่ 28 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย ฐาณิญา  วันที่ 28 ก.พ. 2556

สาธุๆ ๆ

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย jaturong  วันที่ 28 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย ใหญ่ราชบุรี  วันที่ 1 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ศึกษาธัมมะทีละคำ" ได้รับคำอธิบายที่ดีมาก และ คิดว่าเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้น

ขอบพระคุณค่ะ

ขอความอนุเคราะห์ ขอคำอธิบายเพิ่มเติมด้วยค่ะ สำหรับคำว่า “ศึกษา” ว่ามีความหมายถึงอะไรบ้าง และ แต่ละอย่างนั้น เป็นอย่างไร มีองค์ประกอบ หรือ ลักษณะของสภาพธัมมะประการใด ขอประทานโทษ หากการขอคำอธิบายนี้จะเป็นการไม่สมควรโดยประการใดๆ เนื่องด้วยเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความไม่รู้ค่ะ ขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้ความละเอียด กระจ่าง ชัดเจน และ ขออนุโมทนาจิตอันเป็นกุศลของทุกท่านด้วยค่ะ ขอคุณความดีทุกประการรักษาคุ้มครองให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป นะคะ

จาก "ใหญ่ราชบุรี" ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี ๑ มีนาคม ๒๕๕๖


ความคิดเห็น 9    โดย nong  วันที่ 1 มี.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย ประสาน  วันที่ 8 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย khampan.a  วันที่ 12 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียนความคิดเห็นที่ 8 ครับ

ความหมายของศึกษาในคำสอนทางพระพุทธศาสนากว้างขวางมาก คือ ตลอดเวลาที่ยังอบรม ยังต้องทำกิจในการที่จะละคลายขัดเกลากิเลสจนถึงอรหัตตมรรคเกิดขึ้น นั่นชื่อว่า ศึกษา ขณะอรหัตตมรรคเกิดขึ้น อนาคามิมรรคเกิดขึ้น สกทาคามิมรรคเกิดขึ้น โสตาปัตติมรรค เกิดขึ้น แม้ขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณเกิดขึ้น ก่อนที่อริยมรรคจะเกิดขึ้น ก็ชื่อว่าศึกษา ทั้งนั้น กำลังศึกษาสภาพธรรมเพื่อรู้เพื่อเข้าใจ เพื่อรู้แจ้ง แม้แต่ขณะที่ฟังเข้าใจ ด้วยการพิจารณาไตร่ตรองในพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ขณะนั้นก็ชื่อว่าศึกษาด้วย ดังนั้นการศึกษา ก็เริ่มตั้งแต่ขั้นการฟัง การพิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผลของธรรม ขณะที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนกระทั่งรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น ทั้ง หมดนั้น คือ การศึกษา ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 12    โดย orawan.c  วันที่ 13 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย chatchai.k  วันที่ 26 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 15    โดย สิริพรรณ  วันที่ 8 ก.ค. 2564

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย Sea  วันที่ 16 พ.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ