[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 238
๔. อัพภัณตรวรรค
๑. อัพภันตรชาดก
ว่าด้วยผลไม้ทิพย์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 238
๑. อัพภันตรชาดก
ว่าด้วยผลไม้ทิพย์
[๔๔๒] ผลของต้นไม้ชื่ออัพภันตระเป็นผลไม้ทิพย์ นารีที่แพ้ท่องบริโภคแล้ว จะประสูติพระราชโอรสเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
[๔๔๓] ดูก่อนนางผู้เจริญ แม้ท่านก็เป็นพระ-มเหสีผู้เลอโฉม และเป็นที่รักของพระราช-สวามี พระราชาจักทรงนําเอาผลไม้ชื่ออัพภัน-ตระนี้มาให้แก่ท่าน
[๔๔๔] บุคคลผู้กล้าหาญ ยอมเสียสละตนกระทําความพากเพียร ในประโยชน์ของท่านที่ได้เลี้ยงคนมา ย่อมถือฐานะอันใด ข้าพเจ้าเป็นผู้จะได้ฐานะอันนั้น.
จบ อัพภันตรชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 239
อรรถกถาอัพภันตรชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการที่พระสารีบุตรเถระถวายรสมะม่วงแก่พระพิมพาเถรีจึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า อพฺภนฺตโร นาม ทุโม ดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรอันควรแล้วประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในเมืองเวสาลี พระนางมหาปชาบดีโคตมีพานางสากิยานีจํานวน ๕๐๐ นางไปขอบรรพชาแล้วได้บรรพชาและอุปสมบท. ในกาลต่อมา ภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ได้ฟังโอวาทของพระนันทกะได้บรรลุพระอรหัต. อนึ่งเมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี พระเทวีชนนีของพระราหุลทรงดําริว่า พระสวามีของเราบวชได้บรรลุพระสัพพัญุตญาณแล้ว แม้โอรสของเราก็บวชอยู่ในสํานักของพระสวามีแห่งเรานั้นเราจักกระทําอะไรอยู่ในท่ามกลางเรือน แม้เราบวชแล้วไปอยู่ในเมืองสาวัตถี จักเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระโอรสอยู่เป็นเนืองนิตย์จึงเสด็จเข้าไปยังสํานักของนางภิกษุณี บวชแล้วได้ไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมกับอุปัชฌาย์อาจารย์. เห็นพระศาสดาและบุตรผู้เป็นที่รักสําเร็จการอยู่ในสํานักภิกษุณีแห่งหนึ่ง. ราหุลสามเณรได้มาเยี่ยมพระชนนี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 240
ครั้นวันหนึ่ง ลมในพระอุทรของพระเถรีกําเริบขึ้น. เมื่อพระโอรสเสด็จมาเพื่อจะเยี่ยมเยียน พระเถรีนั้นไม่สามารถจะออกมาพบได้ ภิกษุณีอื่นๆ จึงมาบอกว่า พระเถรีไม่สบาย. ราหุลสามเณรนั้นจึงไปยังสํานักของพระมารดา แล้วทูลถามว่า พระองค์ควรจะได้ยาอะไร? พระเถรีผู้ชนนีตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ในคราวยังครองเรือนมารดาดื่มรสมะม่วงที่เขาปรุงประกอบด้วยน้ำตาลกรวดเป็นต้น โรคลมในท้องก็สงบระงับไป แต่บัดนี้ พวกเราเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพจักได้รสมะม่วงนั้นมาจากไหน. ราหุลสามเณรทูลว่า เมื่อหม่อมฉันได้จักนํามา แล้วก็ออกไป. ก็ท่านผู้มีอายุนั้นมีสมบัติมากมาย คือ มีพระธรรมเสนาบดีเป็นอุปัชฌาย์ มีพระมหาโมคคัลลานะเป็นอาจารย์ มีพระอานันทเถระเป็นอาว์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบิดา. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านก็ไม่ไปยังสํานักอื่น ได้ไปยังสํานักของอุปัชฌาย์ไหว้แล้ว ได้ยืนมีอาการหน้าเศร้าอยู่. ลําดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะราหุลสามเณรนั้นว่า ดูก่อนราหุล เหตุไรหนอ เธอจึงมีหน้าระทมทุกข์อยู่. ราหุลสามเณรกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โรคลมในท้องแห่งพระเถรีผู้เป็นมารดาของกระผม กําเริบขึ้น. พระเถระถามว่า ได้อะไรจึงจะควร? ราหุลสามเณรเรียนว่า พระมารดาเล่าให้ฟังว่า มีความผาสุกได้ด้วยรสมะม่วงที่ปรุงประกอบด้วยน้ำตาลกรวด พระเถระจึงกล่าวว่า ช่างเถอะ เราจักได้มา เธออย่าคิดไปเลย. ในวันรุ่งขึ้นพระเถระพาราหุลสามเณรนั้นเข้าไปในเมืองสาวัตถี ให้สามเณรนั่งที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 241
โรงฉันแล้วได้ไปยังประตูพระราชวัง. พระเจ้าโกศลเห็นพระเถระจึงนิมนต์ให้นั่ง. ในขณะนั้นเอง นายอุยยานบาลนําเอามะม่วงหวานที่สุกทั้งพวง จํานวนห่อหนึ่งมาถวาย. พระราชาทรงปอกเปลือกมะม่วงแล้วใส่น้ำตาลกรวดลงไป ขยําด้วยพระองค์เองแล้วได้ถวายพระเถระจนเต็มบาตร. พระเถระออกจากพระราชนิเวศน์ ไปยังโรงฉันแล้วได้ให้แก่สามเณรโดยกล่าวว่า เธอจงนํารสมะม่วงนั้นไปให้มารดาของเธอ. ราหุลสามเณรนั้นได้นําไปถวายแล้ว. พอพระเถรีบริโภคแล้วเท่านั้น โรคลมในท้องก็สงบ. ฝ่ายพระราชาทรงส่งคนไปด้วยดํารัสสั่งว่า พระเถระไม่นั่งฉันรสมะม่วงในที่นี้ เธอจงไปดูให้รู้ว่าพระเถระให้ใคร. ราชบุรุษคนนั้นจึงไปพร้อมกับพระเถระ ทราบเหตุนั้นแล้วจึงมากราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาทรงพระดําริว่าถ้าพระศาสดาจักอยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ราหุลสามเณรจักได้เป็นขุนพลแก้ว พระเถรีจักได้เป็นนางแก้ว ราชสมบัติในสกลจักรวาลจักเป็นของท่านเหล่านี้ทีเดียวควรที่เราจะพึงอุปัฏฐากบํารุงท่านเหล่านี้ บัดนี้. เราไม่ควรประมาทในท่านเหล่านี้ ผู้บวชแล้วเข้ามาอาศัยเราอยู่. จําเดิมแต่นั้น พระเจ้าโกศลรับสั่งให้ถวายรสมะม่วงแก่พระเถรีเป็นประจํา. ความที่พระสารีบุตรเถระถวายรสมะม่วงแก่พระพิมพาเถรี เกิดปรากฏในหมู่ภิกษุสงฆ์. อยู่มาวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลายได้ยินว่าพระสารีบุตรเถระ ได้กระทําพระพิมพาเถรีให้อิ่มหนําด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 242
รสมะม่วง. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอนั่งประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรให้มารดาของราหุลอิ่มหนําด้วยรสมะม่วง ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน สารีบุตรนี้ก็ได้ให้มารดาของราหุลนี้อิ่มหนํามาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชาสมบัติในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้านแคว้นกาสี พอเจริญวัยแล้วก็ไปเรียนสรรพศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลา แล้วดํารงฆราวาสอยู่ ต่อมาบิดามารดาล่วงลับไป จึงบวชเป็นฤาษีทําอภิญญาและสมาบัติให้เกิดในหิมวันตประเทศ อันคณะฤาษีย่อมล้อมเป็นครูของคณะ ต่อเมื่อระยะกาลอันยาวนานล่วงไป เพื่อต้องการจะเสพรสเค็มและเปรี้ยว จึงลงจากเชิงเขาเที่ยวจาริกไปจนถึงเมืองพาราณสี จึงสําเร็จการอยู่ในพระราชอุทยาน. ครั้งนั้น ภพของท้าวสักกะเทวราชก็สะท้านหวั่นไหวด้วยเดชแห่งศีลของคณะฤาษีนั้น. ท้าวสักกะทรงรําพึงอยู่ก็ได้ทรงทราบเหตุนั้น จึงทรงดําริว่า เราจักตะเกียกตะกายทําให้ดาบสเหล่านี้อยู่ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ดาบสเหล่านั้นถูกทําลายที่อยู่ ก็จะวุ่นวายเที่ยวไป จักไม่ได้เอกัคคตาจิต เมื่อเป็นเช่นนั้น ความผาสุกจักมีแก่เรา แล้วทรงพิจารณาว่า จะมีอุบายอย่างไรหนอ ก็ได้ทรงเห็นอุบายข้อนี้ว่า ในเวลาติดต่อกับมัชฌิมยาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 243
เราจักเข้าไปห้องสิริไสยาศน์ของพระอัครมเหสีของพระราชา ยืนในอากาศบอกแก่พระนาง ดูก่อนพระนางผู้เจริญ ถ้าพระองค์จะได้เสวยมะม่วงสุก อันมีชื่อว่าอัพภันตระ จักได้พระโอรส และพระโอรสนั้นจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระราชาได้ทรงสดับถ้อยคําของพระเทวีแล้ว จักส่งคนไปพระราชอุทยานเพื่อต้องการให้ได้เอามะม่วงสุกมาเมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็จักทําให้มะม่วงอันตรธานหายไป ราชบุรุษจักกลับมากราบทูลพระราชาว่า มะม่วงในพระราชอุทยานไม่มี เมื่อพระราชาตรัสถามว่า ใครกินหมด พวกราชบุรุษจักกราบทูลว่า พวกดาบสกินหมด ครั้นพระราชาทรงสดับดังนั้น จักรับสั่งให้โบยตีพวกดาบสแล้วขับไล่ออกไป แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ดาบสเหล่านั้นจักเป็นอันถูกเรารบกวนให้วุ่นวาย. ในกาลติดต่อกับมัชฌิมยาม ท้าวสักกะนั้นจึงเสด็จเข้าไปยังห้องสิริไสยาศน์ประทับยืนอยู่ในอากาศ แสดงตนให้รู้ว่าเป็นท้าวเทวราช เมื่อจะทรงปราศัยกับพระอัครมเหสีของพระราชานั้น ได้ตรัสคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-
ผลของต้นไม้ชื่ออัพภันตระเป็นผลไม้ทิพย์ นารีผู้แพ้ท้องได้เสวยผลไม้ทิพย์นั้น แล้วจะประสูติพระโอรสเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ดูก่อนพระนางผู้เจริญ แม้พระนางก็จะได้เป็นพระอัครมเหสี ทั้งจะเป็นที่โปรด-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 244
ปรานของพระสวามี พระราชาจักทรงนําผลไม้ชื่ออัพภันตระนี้มาให้แก่พระนาง.
ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อพฺภนฺตโร นาม ทุโมนี้ ก่อนอื่น ท้าวสักกะไม่ตรัสว่า อัพภันตระ คือภายในแห่งคามนิคมชนบท และภูเขาเป็นต้น ชื่อโน้น ตรัสถึงต้นมะม่วงชื่ออัพภันตระต้นหนึ่ง อย่างเดียว. บทว่า ยสฺส ทิพฺยมิทํ ผลํ ความว่า ต้นมะม่วงใดมีผลเป็นทิพย์ควรแก่การบริโภค ของเทวดาทั้งหลาย. บทว่าอิทํ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า โทหฬินี แปลว่า เกิดความแพ้ท้อง. บทว่า ตฺวมฺปิ ภทฺเท มเหสีสิ ความว่า พระองค์จะได้เป็นมเหสีผู้งดงาม. ส่วนในอรรถกถามีบาลีว่า มเหสี ว ดังนี้ก็มี.บทว่า สา จาปิ ปติโน ปิยา ความว่า จะได้เป็นพระอัครมเหสีในภายในพระเทวีจํานวนหมื่นหกพันนาง และจะได้เป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของพระสวามี. บทว่า อาหริสฺสติ เต ราชา อทํ อพฺภนฺตรํผลํ ความว่า พระราชาจักให้นําผลมีประการดังเรากล่าวแล้วนี้มาให้แก่พระองค์นั้น ผู้เป็นอัครมเหสีที่โปรดปรานรักใคร่. พระองค์นั้นเสวยผลไม้นั้นแล้ว จักได้พระโอรสผู้เกิดในพระครรภ์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
ท้าวสักกะตรัสคาถา ๒ คาถานี้ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ทรงพร่ําสอนพระเทวีว่า พระองค์จงอย่าประมาทอย่าได้ชักช้า พึงกราบทูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 245
พระราชาให้ทรงทราบในวันพรุ่งนี้ แล้วเสด็จกลับไปสถานที่อยู่ของพระองค์ทีเดียว. วันรุ่งขึ้น พระนางแสดงอาการว่า ทรงประชวร ทรงให้สัญญาแก่นางบําเรอทั้งหลายแล้วทรงบรรทมอยู่. พระราชาประทับนั่งบนสีหาศน์ ภายใต้เศวตฉัตรทายกขึ้น ทอดพระเนตรดูเหล่านางนักสนมทั้งหลายไม่เห็นพระเทวี จึงตรัสถามนางข้าบาทบริจาริกาทั้งหลายว่า พระเทวีไปไหน? นางข้าบาทบริจาริกาทั้งหลายกราบทูลว่าพระนางทรงพระประชวรพระเจ้าข้า.พระราชาจึงเสด็จไปยังสํานักของพระเทวี ประทับนั่งบนข้างพระที่บรรทมแล้ว ทรงลูบพระปฤษฎางค์ตรัสถามว่า น้องนางผู้เจริญ เธอไม่มีผาสุกสําราญอะไรหรือ? พระเทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าความไม่ผาสุกสําราญอย่างอื่นไม่มี แต่กระหม่อมฉันเกิดการแพ้พระครรภ์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่าน้องนางผู้เจริญ เธอต้องการอะไร? พระเทวีทูลว่า กระหม่อมฉันต้องการผลมะม่วงชื่ออัพภันตระพระเจ้าข้า.พระราชาตรัสถามว่า เทวีมะม่วงชื่ออัพภันตระมีอยู่ที่ไหน? พระเทวีทูลว่าขอเดชะกระหม่อมฉันจะรู้จักมะม่วงชื่อว่าอัพภันตระก็หามิได้ เป็นแต่ว่า เมื่อกระหม่อมฉันได้ผลของต้นมะม่วงชื่อว่าอัพภันตระนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่ เมื่อไม่ได้ คงจะไม่มีชีวิตพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า. ถ้าอย่างนั้น เราจักให้นํามาเธออย่าเสียใจไปเลย. พระราชาครั้นทรงปลอบโยนพระเทวีให้เบาพระทัยแล้ว จึงเสด็จลุกขึ้นไปประทับนั่งบนราชบัลลังก์ รับสั่งให้เรียกอํามาตย์ทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า พระเทวีเกิดการแพ้พระครรภ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 246
อยากจะเสวยมะม่วงชื่อว่าอัพภันตระ ควรจะทําอย่างไร? อํามาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มะม่วงที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางมะม่วง ๒ ต้น ชื่อว่ามะม่วงอัพภันตระ. พวกข้าพระพุทธเจ้าจักส่งคนไปยังพระราชอุทยาน ให้นําผลจากมะม่วงที่ตั้งอยู่ในระหว่างต้นมะม่วงทั้งสองต้นมาให้ประทานแก่พระเทวี. พระราชาตรัสว่า ดีแล้ว พวกท่านจงนําเอาผลมะม่วงเห็นปานนั้นมา แล้วทรงส่งราชบุรุษไปยังพระราชอุทยาน. ท้าวสักกะทรงบรรดาลให้ผลมะม่วงทั้งหลายในพระราชอุทยานอันตรธานไปเหมือนอย่างถูกคนเคี้ยวกินด้วยอานุภาพของพระองค์. ราชบุรุษทั้งหลายผู้ไปเพื่อต้องการผลมะม่วง เที่ยวไปตลอดพระราชอุทยานทั้งสิ้น ไม่ได้แม้มะม่วง กับผลเดียว จึงกลับมากราบทูลพระราชา ถึงความที่ผลมะม่วงไม่มีในพระราชอุทยาน พระราชาตรัสถามว่า ใครกินมะม่วงหมด? พวกราชบุรุษกราบทูลว่า พวกดาบสพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า พวกท่านจงโบยตีดาบสทั้งหลายนําออกไปจากพระราชอุทยาน. พวกราชบุรุษรับพระบัญชาแล้วพากันนําพระดาบสทั้งหลายออกไปจากพระราชอุทยาน. เป็นอันว่า มโนรถของท้าวสักกะบรรลุถึงที่สุดสมประสงค์. พระเทวีก็ยังทรงบรรทมอยู่นั่นแหละโดยผูกพระทัยเพื่อจะเสวยผลมะม่วงให้ได้. เมื่อพระราชาไม่ทรงเห็นลู่ทางที่จะพึงกระทํา จึงสั่งให้อํามาตย์และพราหมณ์ทั้งหลายประชุมกันแล้วตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายยังจะทราบว่ามะม่วงอัพภันตระมีอยู่หรือ? พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ ชื่อว่ามะม่วง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 247
อัพภันตระเป็นเครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย มีอยู่ภายในถ้ำทองในป่าหิมพานต์ พวกข้าพระพุทธเจ้าได้ยินสืบๆ กันมาดังนี้ พระราชาตรัสถามว่า ก็ใครเล่าจักสามารถนําเอามะม่วงจากป่าหิมพานต์นั้นมาได้?พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ผู้ที่เป็นมนุษย์ไม่สามารถจะไปในที่นั้นได้ควรจะส่งสุวโปดกลูกนกแขกเต้าตัวหนึ่งไป. ก็สมัยนั้น ในราชสกุลมีลูกนกแขกเต้าตัวหนึ่ง ตัวใหญ่ประมาณเท่าดุมล้อแห่งยานของพวกเด็กๆ สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงมีปัญญา ฉลาดในอุบาย. พระราชาจึงให้นําสุวโปดกนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อสุวโปดก เรามีอุปการะเป็นอันมากแก่เจ้า เจ้าได้อยู่ในกรงทอง กินข้าวตอกคลุกน้ำผึ้งในจานทอง ดื่มน้ำเจือน้ำตาลกรวด แม้เจ้าก็ควรจะช่วยเหลือทํากิจอันหนึ่งของเรา. สุวโปดกถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ กิจอะไร พระเจ้าข้า?พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ พระเทวีเกิดแพ้พระครรภ์ อยากจะเสวยมะม่วงอัพภันตระ ก็มะม่วงนั้นมีอยู่ในระหว่างกาญจนบรรพต ในป่าหิมพานต์ เป็นเครื่องบริโภคของเทวดาทั้งหลาย ผู้เป็นมนุษย์ไม่อาจไปในที่นั้น ท่านควรนําผลมะม่วงจากป่าหิมพานต์นั้นมา. สุวโปตกกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ได้พระเจ้าข้าข้าพระองค์จักนํามาถวาย.ลําดับนั้น พระราชาจึงให้สุวโปดกนั้นกินข้าวตอกเคล้าน้ำผึ้งในจานทองให้ดื่มน้ำเจือน้ำตาลกรวด ทาระหว่างปีกของสุวโปดกนั้นด้วยน้ำมันอันสุกได้ร้อยครั้ง แล้วอุ้มเสด็จไปประทับยืนที่สีหบัญชรแล้วปล่อยไปในอากาศ. ฝ่ายสุวโปดกนั้นแสดงการเคารพต่อพระราชาแล้วบินไปใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 248
อากาศ ล่วงเลยถิ่นมนุษย์ไปถึงสํานักของนกแขกเต้าทั้งหลายผู้อยู่ในระหว่างภูเขาทั้งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ แล้วถามว่า มะม่วงชื่ออัพภันตระมีอยู่ที่ไหน ท่านทั้งหลายจงบอกสถานที่นั้นแก่ข้าพเจ้า. พวกนกแขกเต้ากล่าวว่า พวกเราไม่รู้จัก พวกนกแขกเต้า ในระหว่างภูเขาที่สองคงจักรู้. สุวโปดกนั้นได้ฟังดังนั้น จึงได้บินจากนั้นไปถึงระหว่างเขาที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก ก็ถามเหมือนอย่างนั้น. นกแขกเต้าทั้งหลายในระหว่างภูเขาที่หกแม้นั้นกล่าวกะสาสวโปดกนั้นว่า พวกเราไม่รู้ พวกนกแขกเต้า ในระหว่างภูเขาที่ ๗ คงจักรู้. สุวโปดกนั้นจึงบินในระหว่างภูเขาที่ ๗ แม้นั้น แล้วถามว่า มะม่วงชื่ออัพภันตระมีอยู่ที่ไหน? นกแขกเต้าเหล่านั้นกล่าวว่า มีอยู่ในระหว่างกาญจนบรรพตในที่ชื่อโน้น. สุวโปดกกล่าวว่า ข้าพเจ้ามาเพื่อต้องการผลของมะม่วงอัพภันตระนั้น ท่านทั้งหลายโปรดนําข้าพเจ้าไปที่นั้นแล้วจงให้ผลจากมะม่วงชื่อว่าอัพภันตระนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด. หมู่นกแขกเต้ากล่าวว่า สหาย มะม่วงอัพภันตระนั้น เป็นเครื่องบริโภคของท้าวเวสวัณมหาราช ใครๆ ไม่อาจเข้าไปใกล้ ต้นไม้ทั้งสิ้นล้อมด้วยตาข่ายเหล็ก ๗ ชั้น ตั้งแต่ราก มีกุมภัณฑ์และรากษสจํานวนพันรักษาอยู่ ผู้ที่หมู่กุมภัณฑ์และรากษสเหล่านั้นเห็นแล้ว จะไม่มีชีวิตรคด สถานที่นั้นเหมือนอเวจีมหานรก ประดุจไฟลุกอยู่ตลอดกัป ท่านอย่าได้การทําความปรารถนาในที่นั้นเลย. สุวโปดกกล่าวว่า ถ้าท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 249
ทั้งหลายไม่ไปขอจงบอกที่นั้นแก่ข้าพเจ้า. นกแขกเต้าทั้งหลายกล่าวว่าถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปทางโน้นๆ . สุวโปดกนั้นทรงจําหนทางได้แม่นยํา ตามที่นกแขกเต้าเหล่านั้นบอก จึงบินไปยังที่นั้น ไม่แสดงตนในตอนกลางวัน ในระหว่างมัชฌิมยาม ในเวลาที่พวกรากษสนอนหลับ จึงเข้าไปใกล้ต้นมะม่วงอัพภันตระเริ่มค่อยๆ ปีนขึ้นทางระหว่างโคนต้นหนึ่ง ตาข่ายเหล็กก็กระทบกันเสียงดังกริ๊กๆ . พวกรากษสเหล่านั้นตื่นขึ้นแลเห็นสุวโปดกอยู่ข้างใน จึงจับเอาไว้โดยหาว่าเป็นโจรลักมะม่วง แล้วจัดแจงจะลงเครื่องกรรมกรณ์. รากษสตนหนึ่งกล่าวว่า เราจะใส่ปากกลืนกินมัน. รากษสอีกตนหนึ่งกล่าวว่า เราจะขยี้ด้วยมือทั้งสอง ทํามันให้แหลกกระจาย รากษสอีกตนหนึ่งกล่าวว่า เราจะผ่าให้เป็นสองซีกปิ้งที่ถ่านไฟแล้วกินเสีย. สุวโปตกนั้น แม้จะได้ยินการจัดแจงลงกรรมกรณ์ ของรากษสเหล่านั้นก็มิได้หวาดเสียวเลย เรียกพวกรากษสเหล่านั้นมาแล้วกล่าวว่า ท่านรากษสผู้เจริญ พวกท่านเป็นราชบุรุษของใคร. พวกรากษสกล่าวว่า เป็นราชบุรุษของท้าวเวสวัณมหาราช. สุวโปดกกล่าวว่า แม้พวกท่านก็เป็นราชบุรุษของพระราชาองค์หนึ่ง แม้เราก็เป็นราชบุรุษของพระราชาผู้เป็นมนุษย์เหมือนกัน พระเจ้าพาราณสีทรงส่งเรามาเพื่อต้องการผลมะม่วงอัพภันตระ เรานั้นได้สละชีวิตเพื่อพระราชาของเราในเมืองพาราณสีนั้นนั่นแลจึงได้มา ก็บุคคลใดสละชีวิตเพื่อประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 250
แก่บิดามารดาและเจ้านายของตน บุคคลนั้นย่อมบังเกิดในเทวโลกเที่ยงแท้ เพราะฉะนั้น แม้เราพ้นจากกําเนิดดิรัจฉานนี้แล้ว จักบังเกิดในเทวโลกเท่านั้น แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
บุคคลผู้กล้าหาญ ยอมเสียสละตน พากเพียรพยายามในประโยชน์ของท่านที่ได้เลี้ยงตนมา ย่อมถึงฐานะอันใด ข้าพเจ้าเป็นผู้จะได้ฐานะอันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺตุรตฺเถ ความว่า บุคคลผู้พอกเลี้ยงด้วยการเลี้ยงดูด้วยอาหารเป็นต้น เรียกว่าผู้เลี้ยงดู. บุคคลผู้กล้าหาญเพียรพยายามเพื่อประโยชน์ แก่ท่านที่เลี้ยงดูนั้นแม้๓ ท่านคือบิดา ๑ มารดา ๑ เจ้านาย ๑ บทว่า ปรกฺกนฺโต ได้แก่ ผู้กระทําความบากบั่นคือพยายาม. บทว่า ยํ านมธิคจฺฉติ ความว่าย่อมบรรลุถึงเหตุแห่งความสุขใด จะเป็นยศ ลาภ หรือสวรรค์สมบัติก็ตาม. บทว่า สูโร ได้แก่ ผู้ไม่ขลาด คือ เพียบพร้อมด้วยความพากเพียร. บทว่า อตฺตปริจฺจาคี ความว่า เป็นผู้ไม่ห่วงใยในกายและชีวิต สละตน เพราะประโยชน์ของท่านผู้ที่เลี้ยงดูตนแม้ทั้งสามท่านนั้น. บทว่า ลภมาโน ภวามหํ ความว่า บุคคลผู้กล้าหาญเห็นปานนี้นั้น ย่อมได้ฐานะอันใดจะเป็นเทวสมบัติหรือมนุษย์สมบัติก็ตามแม้เราก็จะเป็นผู้ได้ฐานะอันนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงมีแต่ความร่าเริง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 251
เท่านั้น ไม่มีความสะดุ้งในเรื่องนี้ ก็ท่านทั้งหลายจะทําเราให้สะดุ้งหวาดเสียวได้อย่างไร.
สุวโปดกนั้นแสดงธรรมแก่พวกรากษสเหล่านั้น ด้วยคาถานี้ด้วยประการอย่างนี้. พวกรากษสเหล่านั้นฟังธรรมของสุวโปดกนั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใสกล่าวว่า สุวโปตกนี้เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครๆ ไม่อาจฆ่าให้ตาย พวกเราจงปล่อยสุวโปดกนั้นเสียเถิด ว่าแล้วก็ปล่อยสุวโปดกพลางกล่าวว่า ดูก่อนสุวโปดกผู้เจริญ ท่านเป็นผู้พ้นภัยแล้วท่านจงไปจากมือของพวกเราโดยความสวัสดีเถิด. สุวโปดกกล่าวว่าท่านทั้งหลายอย่าได้กระทําการมาของข้าพเจ้าให้เปล่าประโยชน์เลยจงให้ผลมะม่วงแก่ข้าพเจ้าสักผลหนึ่ง. รากษสทั้งหลายกล่าวว่า. ดูก่อนสุวโปดก ชื่อว่าการให้ผลมะม่วงผลหนึ่งแก่ท่าน หาได้เป็นภาระหน้าที่ของพวกเรา ด้วยว่ามะม่วงบนต้นนี้ ท้าวเวสวัณมานับไว้ๆ เมื่อขาดหายไม่มีแม้แต่ผลเดียว ชีวิตของพวกเราก็จะไม่มี เพราะเมื่อท้าวเวสวัณโกรธแลดูคราวเดียว พวกเราก็จะเป็นเหมือนเมล็ดงาที่ใส่ลงในกระเบื้องอันร้อน กุมภัณฑ์ทั้งพันตนก็จะแตกละเอียดกระจายไปด้วยเหตุนั้น พวกเราจึงไม่อาจให้แก่ท่าน แต่พวกเราจักบอกสถานที่ที่พอจะหาได้. สุวโปดกกล่าวว่า คนใดคนหนึ่งผู้สามารถจะให้ได้ท่านทั้งหลายจงบอกสถานที่ที่ได้เถิด. รากษสเหล่านั้นจึงบอกว่า ในระหว่างตาข่ายแห่งกาญจนบรรพตนี้ มีดาบสชื่อโชติรสท่านบูชาไฟอยู่ในบรรณศาลาชื่อว่ากาญจนปันตี ท่านเป็นกุลุปกะ คือนักบวช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 252
ประจําตระกูลของท้าวเวสวัณ และท้าวเวสวัณส่งผลมะม่วงไปถวายเป็นประจําวันละ ๔ ผล ท่านจงไปยังสํานักของพระดาบสนั้นเถิด.สุวโปดกรับคําแล้วบินไปยังสํานักของดาบสนั้นไหว้แล้วจับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลําดับนั้น ดาบสจึงถามสุวโปดกนั้นว่า เธอมาจากไหน? สุวโปดกเรียนว่า มาจากสํานักของพระเจ้าพาราณสี. พระดาบสถามว่า มาเพื่อต้องการอะไร? สุวโปดกเรียนว่า พระเทวีของพระราชาแห่งกระผมเกิดความแพ้พระครรภ์ อยากเสวย มะม่วงสุกชื่ออัพภันตระ กระผมจึงได้มาเพื่อต้องการมะม่วงอัพภันตระนั้นแต่พวกรากษสจะให้มะม่วงสุกชื่อว่าอัพภันตรแก่กระผมด้วยตนเองไม่ได้ จึงส่งมายังสํานักของพระคุณเจ้า. พระดาบสกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจงนั่งคอยก่อนจึงจักได้ ลําดับนั้น ท้าวเวสวัณส่งผลมะม่วง ๔ผล มาถวายพระดาบสนั้น. พระดาบสฉันไป ๒ ผล จาก ๔ ผลนั้นได้ให้สุวโปดกกินผลหนึ่ง เมื่อสุวโปดกนั้นกินมะม่วงผลนั้นแล้ว พระดาบสจึงเอามะม่วงอึกผลหนึ่งใส่สาแหรกคล้องคอสุวโปดก แล้วกล่าวเธอจงไปในบัดเดี๋ยวนี้ แล้วก็ปล่อยสุวโปดกนั้นไป. สุวโปดกนั้นได้นําผลมะม่วงนั้นมาถวายพระเทวี. พระเทวีเสวยผลมะม่วงนั้นแล้วก็ยังความแพ้พระครรภ์ให้สงบระงับลงได้. พระราชาทรงชื่นชมโสมนัสอันมีการได้มะม่วงอัพภันตระนั้นมาเป็นเหตุ แต่พระราชเทวีนั้นมิได้มีพระราชโอรส.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 253
ชาดกว่า พระเทวีในกาลนั้นได้เป็นราหุลมารดาในบัดนี้ สุวโปดกในกาลนั้น ได้เป็นราหุล พระราชาในกาลนั้นได้เป็นพระอานนท์ ดาบสผู้ให้มะม่วงสุกในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนดาบสผู้อยู่ในพระราชอุทยานในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัพภันตรชาดกที่ ๑