สนทนาธรรมกับเจ้าของรีสอร์ท ดร.ณัฏฐพัฒน์ ธีรนันทวาณิช
ช่วงเช้า วันที่ ๕ พ.ย. ๕๘
- เมื่อมั่นคงในความเป็นธรรมะแล้วย่อมไม่หวังสิ่งใด
- กำลังของกิเลสมีมาก และอาจทำให้เกิดความเห็นผิดได้ หากไม่มั่นคง
- สภาพธรรมต้องเกิดขึ้นจึงจะปรากฏให้เข้าใจตามความเป็นจริงได้
- ที่กล่าวว่าหมุนเกลียวลงในวัฏสงสาร หากรู้ใครจะหมุนเกลียวลงไปเช่นนั้น
- เมื่ออวิชชายังมีอยู่ย่อมทำหน้าที่ปิดบังความจริงอยู่ตลอด
- รูปารมณ์เกิดดับเป็นนิมิตให้ปรากฏเป็นสิ่งต่างๆ ตามขอบเขตของมหาภูตรูป และจิตรู้ได้โดยอาการนั้น แล้วจำไว้ จึงเห็นเป็นฟัน เป็นนิ้ว เป็นสิ่งต่างๆ
- ที่กล่าวว่าเป็นบัญญัตินั้น เมื่อไหร่ ตรงไหน ต้องชัดเจน
- เมื่อบัญญัติเกิดเป็นอาการปรากฏจึงมีสมมติโดยความเห็นร่วมกันว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นๆ หมายถึงสิ่งใด
- ดังนั้นเมื่อมีบัญญัติแล้วถ้าไม่มีสมมติก็จะไม่รู้ว่ากล่าวถึงสิ่งใด
- ปัญญาที่ละกิเลส ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ถ้าไม่เริ่มจากปริยัติ
- ถ้าไม่ตื่นขึ้นจากกิเลส ไม่มีทางออกจากสังสารวัฏฏ์ไปได้
- ผู้ที่ไม่ศึกษาย่อมถูกมอมเมาด้วยคำต่างๆ เช่น นิพพาน กรรมฐาน วิปัสสนา ฌาน สมาธิ ฯลฯ
- ใครเลือกอะไรได้ เพียงเห็น เลือกได้ไหมที่จะไม่ให้เห็น เห็นแล้วติดข้องหรือเดือดร้อน เลือกได้ไหม ด้วยความไม่รู้จึงทำให้มีขึ้นตามเหตุและปัจจัย
- ความสงบที่แท้จริงคือไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นเลย สงบจริงๆ ท่านจึงแสดงถึงนิพพาน
- ถึงการดับซึ่งกิเลสก็ต้องด้วยความดีทั้งหลายและด้วยปัญญา
- ก่อนที่จะจากโลกนี้ไป ควรเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้อง เป็นเครื่องต้านทานความเห็นผิดในภายหน้า
- ชราคือสภาพธรรมที่เกิดดับต่อเนื่องเกิดความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- รู้นั้นมีหลายประเภท ผู้ไม่ศึกษารู้ได้โดยสัญญาและวิญญาณ ส่วนผู้ที่ศึกษารู้ได้ด้วยปัญญา
- พรหมบุคคลคือผู้ที่เห็นโทษของกาม ท่านจึงไม่ติดข้องในกามคุณทั้งหลายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ท่านจึงมีเพียงเห็นและได้ยินเพราะยังเห็นประโยชน์อยู่ในการได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและได้ยินพระธรรม
- เราไม่รู้ว่ามีความมัวเมาขนาดไหน แต่ผู้เห็นโทษย่อมรู้ว่าวันทั้งวันมีแต่ความมัวเมา
- จิตไม่สงบเพราะความมัวเมา พรหมบุคคลเห็นโทษและมีปัญญามากพอที่จะละอกุศลนั้นด้วยความสงบ
- ที่กล่าวว่าปฐวีกสิณ เพราะท่านเห็นว่าโลกทั้งหมดในธาตุดินที่ทำให้ติดข้อง แท้จริงแล้วหาสาระใดๆ มิได้ ท่านจึงพิจารณาด้วยความเข้าใจที่ตั้งมั่นอันเป็นปัญญา ไม่ใช่มีแต่ไปตั้งมั่นเป็นสมาธิที่ไม่พ้นไปจากมิจฉาสมาธิ
- ผู้ที่ไม่รอบคอบและมีความรอบรู้พระธรรมเมื่ออ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วย่อมขาดความเข้าที่ถูกต้องแล้วไปทำอะไรตามโดยไม่รู้
- ที่ท่านอธิบายในคัมภีร์นั้นเพื่อให้ทราบได้แท้จริงว่า สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร เพื่อกันไม่ให้เห็นผิดไปทำอะไรด้วยความไม่รู้
- เป็นโลภะทั้งหมดที่ไปทำอะไรตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคด้วยความไม่รู้
- ปัญญาเท่านั้นที่รู้ว่าสงบเพราะอะไร?
- อาจารย์ทั้งหลายที่แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เหาะเหินเดินอากาศ แสดงคุณวิเศษต่างๆ แต่อาจารย์เหล่านั้นต้องตายไหม แล้วให้ปัญญาที่แท้จริงอะไรได้บ้าง แล้วเกิดประโยชน์อะไร
- ถ้าไม่มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง อวิชชาก็พาไปทุกที่ที่ไม่รู้
- ฌานจิตเกิดได้ยากมาก ที่พูดกันว่าได้ฌานระลึกชาติได้นั้น ไม่รู้ว่าคิดนึกไปเองแบบผิดๆ เพี้ยนๆ หรือไม่
สนทนาธรรม วันที่ ๕ พ.ย.
- ที่ระลึกชาติได้จริงๆ ต้องด้วยฌานที่ระลึกถอยไปในอดีตได้โดยตลอดจนถึงชาติก่อนๆ แต่ที่ระลึกกันตามที่อ้างนั้น เพียงแค่เมื่อวานนี้ทำอะไรบ้างโดยละเอียดก็จำไม่ได้แล้ว
- ปฏิสนธิจิต ทำกิจได้ครั้งเดียวในชาตินี้ แต่ภวังคจิตทำกิจไปตลอดทั้งชาติ เมื่อไม่ใช่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ จนกว่ากิจสุดท้ายของจุติจิตจะทำกิจเคลื่อนไปจากชาตินี้
- ชีวิตคือกระแสของภวังคจิตที่คั่นด้วยวิถีจิต เพียงเท่านี้ แล้วจะเอาอะไร?
- ที่ศึกษาเรื่องกิจของจิต ก็เพื่อให้เข้าใจว่าไม่ใช่เราที่ไปทำอะไร
- ต้องฟังต้องศึกษาอีกไม่รู้จบเพราะกิเลสนั้นมีมากมายเหลือเกิน
- ปัญญาจากการฟังด้วยดีแล้ว ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมานั่งเตรียมตัวอะไรเลย เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น
- อ่านพระสูตรก็ต้องอาศัยความเห็นถูก มิฉะนั้นกลายเป็นเราหมดเลย
- ขณะใดที่เป็นปกติ นั้นคือเริ่มละความต้องการแล้ว
- ฟังธรรมศึกษาธรรมอย่างเดียวย่อมไม่พอหากไม่ความดีที่เป็นบารมีเกื้อหนุน
- ปัญญาเมื่อมีกำลังย่อมนำไปในกิจทั้งปวงที่ถูกต้อง
- จะละคลายสิ่งใดได้ต้องมั่นคงว่าต้องเป็นกิจของปัญญา ไม่ใช่กิจของตัวเรา
- ที่กลัวตายเพราะยังไม่รู้จักความตายจริงๆ ว่าคืออย่างไร?
- ไม่ได้กลัวตายก็จริงแต่เสียดายชีวิตนี้ ถามว่าเสียดายอะไรในเมื่อขณะนี้สภาพธรรมกำลังหมดไปอยู่ทุกขณะ
- สำหรับผู้มีปัญญา หลับแล้วตื่นก็เปรียบเสมือนตายแล้วเกิด
- เมื่อโลภะเกิด ทิฏฐิเกิด จึงเห็นผิดในสิ่งที่หมดไปแล้ว
- เพียงแต่เอาความเห็นผิดออกไปได้ กิเลสลดลงไปมากเท่าไหร่ เบาสบายแค่ไหน?
- กลัวเจ็บตอนจะตาย ถามว่าต่างกับเจ็บปวดตอนที่ไม่ตายอย่างไร?
- หลับสนิทเหมือนตายไหม? ในเมื่อภวังคจิตก็เป็นวิบากเหมือนจุติจิต
- ที่กล่าวว่าประสบอุบัติเหตุแล้วตายเลยจิตขณะนั้นเป็นอกุศล ถามว่ารู้ไหมว่าขณะนี้ชวนจิตเกิดดับ ๗ ขณะ เป็นกุศลหรืออกุศล แล้วชวนจิต ๕ ขณะก่อนจุติจิตจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นกุศลหรืออกุศล
- ควรกลัวตายหรือกลัวไม่เข้าใจธรรมะไปทุกๆ ชาติ
- ที่ว่าอยู่กับปัจจุบัน อยู่อย่างไร? ต้องชัดเจน ไม่ใช่อยู่กับความคิด แต่ต้องระลึกได้ถึงสภาพธรรมที่กำลังเกิดปรากฏตามความเป็นจริง
- ปัญญาที่ละกิเลสด้วยความเข้าใจ ทำหน้าที่ได้ดีมากและเหลือเชื่อ
- หากไม่รอบรู้ในคำเพียงคำเดียว. แล้วจะรอบรู้คำอื่นๆ ได้อย่างไร
- ปทปรมะ คือ ผู้มีบทอย่างยิ่ง จึงเป็นผู้ที่ต้องฟังพระธรรมเป็นอย่างมาก
- สัจจะในบารมี ๑๐ คือ การที่เป็นผู้ตรงต่อความจริง
- เมื่อเป็นสัจญาณจึงเป็นความมั่นคงว่าความจริงต้องเป็นเช่นนี้ จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้
- เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยจนชินและมั่นคงเป็นสัจญาณ
- อวิชชาเกิดได้ แล้วทำไมปัญญาจะเกิดไม่ได้
สนทนาธรรม วันที่ 5 พ.ย. ตอนสุดท้าย
- กุศลย่อมมีกำลังกว่าอกุศล เพราะอกุศลมีมากมายเพียงใด กุศลก็สามารถเกิดได้
- ปัญญาคืออะไรยังไม่รู้แต่อยากได้ ถูกหรือผิด
- อบรมเจริญปัญญา. ต้องเข้าใจตั้งแต่คำว่าอบรมคืออะไร?
- การทำให้สิ่งที่ไม่มีให้เกิดมีขึ้น. สิ่งที่มีอยู่แล้วทำให้เพิ่มขึ้น ความเข้าใจไม่มีทำให้มีขึ้น ความเข้าใจที่มีอยู่แล้วทำให้เพิ่มขึ้น นั้นคือการอบรมปัญญา. คำที่ทรงแสดงเป็นภาษาเดิมที่เราเข้าใจอยู่ แต่ทรงแสดงให้เห็นความลึกซึ้งและถูกต้องที่สุด
- อกุศลมีมากอยู่แล้วไม่ต้องอบรม แต่ปัญญามีน้อยนิดย่อมต้องอบรมให้เพิ่มขึ้นตามลำดับ
- กำลังฟังพระธรรมจนเข้าใจเป็นการนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว เป็นนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต. ไม่ต้องท่องเพราะบูชาด้วยความเข้าใจพระธรรมด้วยความนอบน้อม
- ทุกขันธ์ โลภะแทรกได้หมด เป็นอุปาทานขันธ์
- ขณะใดที่ไม่เข้าใจลักษณะที่เป็นสภาพธรรม ขณะนั้นเป็นเราหรือเปล่า
- คำแรกที่สำคัญ คือ ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ต้องมั่นคงตลอด
- ที่เห็นว่าไม่เที่ยงนั้น เป็นปัญญาขั้นไหน ขั้นจำขั้นคิดหรือเปล่า
- ที่ทำโคลนนิ่งแล้วคิดว่าสามารถสร้างสิ่งเหมือนกันได้นั้น อย่าเข้าใจว่าใครทำได้นอกจากกรรม
- ถ้าไม่มีเราได้ ก็จบได้ แต่เพียงแค่คิดยังไม่จบเพราะเป็นเรา
- ปัญญาทำหน้าที่เข้าใจไปเรื่อยๆ แต่ตัวตนก็ทำหน้าที่กั้นความเข้าใจเรื่อยๆ เช่นกัน
- สีลพตปรามาสะนั้นเป็นการปฏิบัติด้วยความเห็นผิด มีแต่ปัญญาเท่านั้นที่รู้ว่าผิดไม่ตรงไม่ถูกต้อง
- ปรมัตถของสังฆรัตนะ คือ พระอริยบุคคล
- จะชายหรือหญิงก็บรรลุธรรมได้. เพราะปัญญาไม่ใช่เพศชายหรือหญิง
- พระธรรมที่เพียงได้ยินแล้วผ่านไปจะมีประโยชน์อย่างไร
- การสอบถามย่อมเกื้อกูลได้เมื่อทำให้รู้ได้ว่า รู้อะไร ไม่รู้อะไร
- อโหสิกรรม คือ กรรมที่ได้ทำสำเร็จแล้ว ส่วนผลของกรรมจะเกิดแล้ว หรือยังไม่เกิด ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย
- ขออโหสิกรรมเป็นคำที่ใช้ในปัจจุบันซึ่งหมายถึงการขออภัย เมื่อทำสิ่งไม่ดีไปแล้วไม่สบายใจก็ขออภัยเพื่อไม่เดือดร้อนใจ แต่กรรมไม่ดีที่ทำไปแล้วย่อมต้องให้ผลตามเหตุปัจจัย
- ธรรมต้องตรง เมื่อไม่มีเจตนากระทำกรรมไม่ดี ก็ไม่ต้องรับผลของกรรมนั้น
จบการสนทนาธรรมที่พัทยา วันที่ ๓-๕ พ.ย.๒๕๕๘
เรียบเรียงโดย : จักรกฤษณ์ เจนเจษฎา
ภาพถ่ายโดย : ฟองจันทร์ วอลช และทัสนีย์ ภิรมย์แก้ว
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
น้อมกราบ ขออนุโมทนาในพระสัทธรรมอย่างสูงครับ
ขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาครับ
น้อมกราบ และ ขออนุโมทนาในพระสัทธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นอย่างสูงครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ