[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 100
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๓๓. อรรถกถา อรณวิหารญาณุทเทส
ว่าด้วยอรณวิหารญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 100
๓๓. อรรถกถาอรณวิหารญาณุทเทส
ว่าด้วย อรณวิหารญาณ
ญาณทั้ง ๔ มี อรณวิหารญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงใน ลำดับแห่งญาณนี้ เพราะเกิดแก่พระอริยะทั้งหลายผู้บรรลุอริยผลด้วย มรรคญาณนี้เท่านั้น. ก็ในญาณทั้ง ๔ แม้นั้น ท่านยกอรณวิหารญาณ ขึ้นแสดงก่อน เพราะเกิดติดต่อกันไปแก่พระอรหันต์นั่นแล, และต่อ แต่นั้น ท่านก็ยกนิโรธสมาปัตติญาณขึ้นแสดง เพราะนิโรธสมาบัติ นั้นเป็นธรรมมีสัมภาระมาก แม้ในเมื่อเกิดแก่พระอนาคามีและพระอรหันต์ และเพราะนิโรธสมาบัติเป็นธรรมอันท่านสมมติว่าเป็นนิพพาน โดยพิเศษ ต่อจากนั้น ท่านก็ยกปรินิพพานญาณขึ้นแสดงว่า ทีฆ- กาลิกะ - มีกาลนาน เพราะตั้งอยู่จดกาลเป็นที่ปรินิพพานในระหว่าง กาลปรินิพพาน, ในลำดับต่อจากนั้นท่านก็ยกสมสีสัฏฐฌาณ ขึ้นแสดง ว่า รัสสกาลิกะ - มีกาลสั้น เพราะตั้งอยู่จดกาลเป็นที่ปรินิพพาน ในลำดับแห่งการสิ้นกิเลสทั้งปวงของพระอรหันต์ผู้สมสีสะ.
๑. อภิ. ปุ. ๓๖/๓๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 101
บรรดาคำเหล่านั้น จ อักษรในคำว่า สนฺโต จ พึงแปลควบเข้ากับบทแม้ทั้ง ๓ ดังนี้คือ ทสฺสนาธิปเตยฺยํ จ, สนฺโต วิหาราคโม จ, ปณีตาธิมุตฺตตา จ. (พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้)
คำว่า ทสฺสนํ - การเห็น ได้แก่ วิปัสสนาญาณ, ความเป็นใหญ่นั่นแหละ ชื่อว่า อาธิปเตยยะความเป็นแห่งความเป็นใหญ่, อีกอย่างหนึ่ง เพราะบรรลุถึงโดยอธิปติ จึงชื่อว่า อาธิปเตยฺยํ - ความเป็นแห่งความเป็นใหญ่, ทัสนะคือวิปัสสนาญาณนั้นด้วย เป็นอาธิปเตยยะด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทัสนาธิปเตยยะ - วิปัสสนาญาณเป็นอธิปติ. (๑)
ธรรมใดย่อมอยู่ ฉะนั้นธรรมนั้น ชื่อว่า วิหาระ, หรือว่า พระโยคีบุคคลย่อมอยู่ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่าวิหาระ เป็นเครื่องอยู่ของพระโยคีบุคคล, ธรรมใดอันพระโยคีบุคคลย่อมถึงทับ คือ ย่อมบรรลุ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า อธิคมะ - ธรรมอันพระโยคีบุคคลบรรลุ, วิหารธรรมนั่นแหละเป็นองค์คุณที่บรรลุ ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิหาราธิคมะ - วิหารธรรมที่บรรลุ.
ก็วิหาราธิคมนั้น เป็นนิพพุตะดับสนิทเพราะเว้นจากการเบียดเบียนของกิเลส ฉะนั้น จึงชื่อว่า สันตะ - สงบ. ก็สันตะนั้นคือ อรหัตตผลสมาปัตติปัญญา.
๑. วิมังสาธิปติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 102
เพราะอรรถว่าสูงสุดและเพราะอรรถว่าไม่ทำให้เร่าร้อน จึงชื่อ ว่า ปณีตะ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปณีตะ - เพราะนำไปสู่ความเป็นประธาน, การมีใจน้อมไป คือมีจิตส่งไปแล้วในปณีตะมีผลสมาบัตินั้นเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่า ปณีตาธิมุตตะ - น้อมใจไปในผลสมาบัติ, ความเป็นแห่งการน้อมใจไปในผลสมาบัตินั้น ชื่อว่า ปณีตาธิมุตตตา - ความน้อมใจไปในผลสมาบัติอันประณีต. ก็ปณีตาธิมุตตตานั้นเป็นบุรพภาค ปัญญามีอันน้อมใจไปในผลสมาบัติแล.
คำว่า อรณวิหาเร - ในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก ได้แก่ วิหารธรรมมีกิเลสไปปราศแล้ว. จริงอยู่กิเลสทั้งหลายมีราคะ เป็นต้น ย่อมรุกราน บดขยี้ เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น ราคาทิกิเลสนั้น จึงชื่อว่า รณา ผู้เบียดเบียน, อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมร้องไห้คร่ำครวญร่ำไรด้วยราคาทิกิเลสเหล่านั้น ฉะนั้น ราคาทิกิเลสเหล่านั้น จึงชื่อว่า รณา - กิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คร่ำครวญ, วิหารธรรมแม้ทั้ง ๓ อย่าง ท่านได้กล่าวไว้แล้ว, รณะคือกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คร่ำครวญไม่มีแก่ธรรมนี้ ฉะนั้น ธรรมนี้ จึงชื่อว่า อรณะ, พระอริยบุคคลย่อมนำธรรมอันเป็นข้าศึกออกได้ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า วิหาระ นำธรรมที่เป็นข้าศึกออก. อรณธรรมนั้น ก็ชื่อว่าวิหารธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 103
ในนิทเทสวาระ (๑) ปฐมฌานเป็นต้น ท่านสงเคราะห์ไว้ในปณีตาธิมุตตตาเหมือนกัน. ก็เพราะประสงค์จะเข้าผลสมาบัติ จึงเข้าฌานมีปฐมฌานเป็นต้นออกแล้ว เห็นแจ้งธรรมที่สัมปยุตกับฌาน, ก็อรณปฏิปทาอันใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วในอรณวิภังคสูตร, (๒) อรณปฏิปทาแม้นั้น ก็พึงทราบว่าท่านสงเคราะห์ด้วยข้อนี้แล.
จริงอย่างนั้น ในอรณวิภังคสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงธรรมชื่ออรณวิภังค์แต่เธอทั้งหลายว่า ... ไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งสุขอาศัยกามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณเป็นไป เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
๑. ขุ.ป. ๓๑/๒๑๖. ๒. ม.อุ. ๑๔/๖๕๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 104
ตรัสรู้ เพื่อนิพพานพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่ฟังตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น, พึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขภายใน, ไม่กล่าววาทะที่ลับหลัง ไม่ฟังกล่าวคำล่วงเกินต่อ หน้า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรับปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญเสีย นี้เป็นอุทเทสแห่งอรณวิภังค์ ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การไม่ตามประกอบความเพียรเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของผู้มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นสัมมาปฏิปทา. เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม (๑) .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตน
๑. ม.อุ. ๑๔/๖๖๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 105
ให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม (๑) .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น มัชฌิมาปฏิปทานี้ อันพระตถาคตรู้พร้อมยิ่งแล้ว ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม (๒) .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นี้ การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงธรรมเท่านั้น, นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม (๓) .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น สุขอาศัยเนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้, นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรรณธรรม (๔) .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น วาทะหลับหลัง ที่จริง ที่แท้ ประกอบด้วย
๑. ม.อุ. ๑๔/๖๖๔. ๒. ม.อุ. ๑๔/๖๖๔. ๓. ม.อุ. ๑๔/๖๖๖. ๔. ม.อุ. ๑๔/๖๖๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 106
ประโยชน์, นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะ ฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม (๑).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้า ที่จริง ที่แท้ ประกอบ ด้วยประโยชน์, นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม (๒) .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำที่ไม่รีบด่วนพูด นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม (๓) .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การไม่ปรับปรำภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลยสามัญภาษา นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะ ฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม (๔) .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แลว่า เราทั้งหลายจักรู้ธรรม
๑. ม.อุ. ๑๔/๖๖๘. ๒. ม.อุ. ๑๔/๖๖๙. ๓. ม.อุ. ๑๔/๖๗๐. ๔. ม.อุ. ๑๔/๖๗๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 107
ชื่อว่าสรณะ (๑) และรู้ธรรมชื่อว่าอรณะ (๒) ครั้นรู้แล้ว จักปฏิบัติอรณปฏิปทา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล กุลบุตรชื่อ สุภูติ เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว ซึ่งอรณปฏิปทา (๓) ดังนี้.
ในอรณวิภังคสูตรนั้น มัชฌิมาปฏิปทาท่านสงเคราะห์ด้วยทัสนาธิปเตยยะ พระนิพพาน และวิหารธิคมะ.
การไม่ประกอบกามสุขัลลิกานุโยคและอัตกิลมถามุโยค เป็นมัชฌิมาปฏิปทาแท้เทียว. จริงอยู่ สำหรับพระอรหันต์ บุรพภาคแห่งวิปัสสนาเป็นมัชฌิมาปฏิปทา และอรหัตตผลสมาบัติก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยสามารถแห่งมรรคมีองค์ ๘. ส่วนปฏิปทาที่เหลือ พึงทราบว่า สงเคราะห์ด้วยปณีตาธิมุตตตานั่นแล.
พระอรหันต์ทั้งปวงเป็นผู้อยู่ด้วยอรณธรรมก็จริง, ถึงอย่างนั้น พระอรหันต์เหล่าอื่นเมื่อจะแสดงธรรม ก็ย่อมแสดงธรรมยกย่องและข่มด้วยสามารถแห่งบุคคลว่า กุลบุตรเหล่านี้ปฏิบัติชอบในสัมมาปฏิบัติ และกุลบุตรเหล่านี้ปฏิบัติผิดในมิจฉาปฏิบัติ, แต่พระสุภูติเถระแสดงธรรมด้วยสามารถแห่งธรรมเท่านั้นว่า นี้เป็นมิจฉาปฏิบัติ, นี้เป็นสัมมาปฏิบัติ. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
๑. สรณะ ธรรมมีกิเลสเป็นเหตุยังสัตว์ให้ร้องไห้ ๒. อรณะ ธรรมไม่มีกิเลสเป็นเหตุยังสัตว์ให้ร้องไห้. ๓. ม.อุ. ๑๔/๖๗๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 108
สรรเสริญว่า พระสุภูติเถระเป็นผู้ปฏิบัติอรณปฏิปทานั้นนั่นแล, ทรงตั้งไว้ในฐานะอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้อรณวิหารีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้มีปกติอยู่ด้วยอรณธรรม ฉะนี้แล.