จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕ (๔๘๕) ว่าด้วยผลแห่งการถวายแก่นจันทร์และดอกรัง
โดย บ้านธัมมะ  30 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41489

[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 126

เถราปทาน

ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕ (๔๘๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายแก่นจันทร์และดอกรัง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 126

จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕ (๔๘๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายแก่นจันทร์และดอกรัง

[๗๕] เราละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่า รื่นรมย์ใจและละทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิแล้ว บวชเป็นบรรพชิต


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 127

ครั้นบวชแล้วได้เว้นการทำความชั่วด้วย กายละความประพฤติชั่วด้วยวาจาอยู่แทบฝั่งแม่น้ำ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ได้เสด็จมา หาเราผู้อยู่คนเดียว เราไม่รู้จักว่าเป็นพระพุทธเจ้า เราได้ทำปฏิสันถาร

ครั้นทำปฏิสันถารแล้ว จึงได้ทูลถามถึง พระนามและพระโคตรว่า ท่านเป็นเทวดาหรือ คนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็น ใคร หรือเป็นบุตรของใคร หรือเป็นท้าวมหาพรหมนาในที่นี้ ย่อมสว่างไสวไปทั่วทิศ เหมือน พระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ จักรมีกำพันหนึ่ง ปรากฏที่เท้าของท่าน ท่านเป็นใคร หรือเป็น บุตรของใคร เราจะรู้จักท่านอย่างไร ขอท่านจง บอกชื่อและโคตรบรรเทาความสงสัยของเราเถิด.

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ และ ความเป็นพรหมก็หามีแก่เราไม่ เราสูงสุดกว่า พรหมเหล่านั้น ล่วงวิสัยของพรหมเหล่านั้น เรา ได้ทำลายเครื่องผูกพันคือกามได้แล้ว เผากิเลส เสียหมดสิ้น บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 128

เราได้สดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี ถ้าพระองค์ เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าขอเชิญพระองค์ประทับ นั่งเถิด ข้าพระองค์จะขอบูชาพระองค์ ขอพระองค์จงทำที่สุดแห่งทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด.

เราได้ลาดหนังสัตว์ถวายพระศาสดาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือหนังสัตว์นั้น ดังสีหราชนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา ฉะนั้น

เรารีบขึ้นภูเขาเก็บเอาผลมะม่วง ดอกรัง อันสวยงามและแก่นจันทน์อันมีค่ามาก

เรารีบถือเอาทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระผู้นำ ของโลก ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า แล้วเอา ดอกรังบูชา ก็เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส มี ปีติอันไพบูลย์ ได้เอาแก่นจันทน์ลูบไล้แล้ว ถวาย บังคม พระศาสดาพระผู้นำของโลกพระนาม ว่าสุเมธะ ประทับนั่งบนหนังเสือ เมื่อจะยังเรา ให้รื่นเริงได้ทรงพยากรณ์กรรมของเราในครั้งนั้น ว่า

ด้วยการถวายผลไม้กับของหอมและ ดอกไม้ทั้งสองอย่างนี้ ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๒,๕๐๐ กัป เขาจักเป็นผู้มีความดำริทางใจไม่ บกพร่อง ยังอำนาจให้เป็นไป


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 129

ในกัปที่ ๒,๖๐๐ จักไปสู่ความเป็นมนุษย์ จักได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิผู้ทรงมหิฤทธิ์ มี มหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต วิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตพระนครอันนามว่า เวกระ ให้ พระนคร นั้นจักสำเร็จด้วยทองล้วนๆ ประดับประดาด้วย รัตนะนานาชนิด เขาจักท่องเที่ยวไปยังกำเนิด ทั้งหลายโดยอุบายนี้เทียว

เขาจักเป็นผู้ถึงความสุขในทุกภพ คือ ในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ เมื่อถึงภพสุดท้าย เขาจักเป็นบุตรพราหมณ์

จักออกบวชเป็นบรรพชิตจักเป็นผู้ถึงฝั่ง อภิญญาไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะผู้นำ ของโลก ครั้นตรัสดังนี้ เมื่อเรากำลังเพ่งมองอยู่ ได้เสด็จเหาะไปในอากาศ

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และด้วย ความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้เข้าถึง สวรรค์ชั้นดุสิต

จุติจากดุสิตแล้ว ไปเกิดในครรภ์ของ มารดา ในครรภ์ที่เราอยู่ ไม่มีความบกพร่อง ด้วยโภคทรัพย์แก่เราเลย

เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์ของมารดา ข้าว น้ำ โภชนาหารเกิดตามความปรารถนาแก่มารดา ของเราตามชอบใจ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 130

เราออกบวชเป็นบรรพชิตแต่อายุ ๕ ขวบ เมื่อปลงผมเสร็จ เราก็ได้บรรลุพระอรหัต

เราค้นหาบุรพกรรมอยู่ ก็มิได้เห็นฝั่ง เลย เราระลึกถึงกรรมของเราในสามหมื่นกัปได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้า พระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าพระองค์อาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ จึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว

ในกัปที่สามหมื่น เราบูชาพระสัมพุทธเจ้า ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น ผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระจันทนมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบจันทนมาลิยเถราปทาน