อรรถกถา ทวยตานุปัสสนาสูตร
โดย khampan.a  1 พ.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 22831

[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ ๖๘๔

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๕ ต่อไป.

บทว่า วิญฺญาณปจฺจยา

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย คือเพราะวิญญาณปรุงแต่งให้เกิดร่วมกับกรรมเป็น

ปัจจัย บทว่า นิจฺฉาโต เป็นผู้หายหิว คือหมดอยาก. บทว่า ปรินิพฺพุโต

ดับรอบแล้ว คือเป็นผู้ดับรอบด้วยการดับกิเลส. บทที่เหลือมีความปรากฏ

ชัดแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๖ ต่อไป. บทว่า ผสฺสปจฺจยา เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย อธิบายว่า เพราะผัสสะสัมปยุตด้วยอภิสังขารและวิญญาณเป็น

ปัจจัย ในที่นี้ท่านกล่าวถึงผัสสะมิได้กล่าวถึงนามรูป สฬายตนะนั้นควรจะกล่าว

ตามลำดับ เพราะนามรูปและสฬายตนะเหล่านั้น มิได้สัมปยุตด้วยกรรมเท่านั้น

เพราะปนกับรูป อนึ่งวัฏทุกข์นี้พึงเกิดจากกรรม หรือจากธรรมอันสัมปยุตด้วย

กรรม. บทว่า ภวโสตานุสารินํ ผู้แล่นไปตามกระแสแห่งภวตัณหา คือแล่น

ไปตามตัณหา. บทว่า ปริญฺญาย กำหนดรู้ คือกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓. บทว่า

ปญฺญาย คือรู้ด้วยอรหัตตมรรคปัญญา. บทว่า อุปสเม รตา ยินดีแล้วใน

ธรรมเป็นที่เข้าไปสงบ คือยินดีแล้วในนิพพานด้วยผลสมาบัติ. บทว่า ผสฺสา-

ภิสมยา คือเพราะการดับไปแห่งผัสสะ. บทที่เหลือมีความปรากฏชัดแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๗ ต่อไป. บทว่า เวทนาปจฺจยา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย คือเพราะเวทนาสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า

อทุกฺขมสุขํ สห คือพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนา. บทว่า เอตํ ทุกฺขนฺติ

ญตฺวาน รู้ว่านี้ทุกข์ คือรู้ว่าการเสวยอารมณ์ทั้งปวงนั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์ หรือ

รู้ว่าทุกข์ เพราะความปรวนแปรไปไม่คงที่ และความเป็นทุกข์เพราะไม่รู้.

บทว่า โมสธมฺมํ มีความสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา คือมีความสูญหายไปเป็น

ธรรมดา. บทว่า ปโลกินํ มีความทรุดโทรมไปเป็นธรรมดา คือมีความ

ทรุดโทรมไปด้วยชราและมรณะเป็นธรรมดา. บทว่า ผุสฺส ผุสฺส ถูกต้อง

ถูกต้อง คือถูกต้อง ถูกต้องแล้วด้วยอุทยัพพยญาณ (ปัญญากำหนดรู้ความเกิด

และความเสื่อม) . บทว่า วยํ ปสฺสํ เห็นความเสื่อม คือเห็นความแตกทำลาย

ในที่สุดนั่นเอง. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิชานติ ย่อมรู้แจ่มแจ้งความเป็นทุกข์

ในเวทนานั้นอย่างนี้ คือรู้แจ่มแจ้งเวทนานั้นอย่างนี้ หรือรู้แจ่มแจ้งความเป็น

ทุกข์ในเวทนานั้น. บทว่า เวทนานํ ขยา เพราะเวทหาทั้งหลายสิ้นไปคือ

เบื้องหน้าแต่นั้น เพราะเวทนาสัมปยุตด้วยกรรมสิ้นไปด้วยมรรคญาณ. บทที่

เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๘ ต่อไป. บทว่า ตณฺหาปจฺจยา เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย คือเพราะตัณหาสะสมกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า เอตมาทีนวํ

ญตฺวา ตณฺหา ทุกฺขสฺส สมฺภวํ ภิกษุรู้โทษนี้ว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่ง

ทุกข์ คือรู้โทษของตัณหานั้นว่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์. บทที่เหลือมีความง่าย

ทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยวาระที่ ๙ ต่อไป. บทว่า อุปาทานปฺปจฺจยา

เพราะอุปทานเป็นปัจจัย คือเพราะอุปทานสะสมกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า ภโว

ภพได้แก่มีภพเป็นวิบาก คือความปรากฏแห่งขันธ์. บทว่า ภูโต ทุกฺขํ สัตว์

ผู้เกิดแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ คือ สัตว์ผู้เกิดแล้วและเป็นแล้วย่อมเข้าถึงวัฏทุกข์.

บท่า ชาตสฺส มรณํ เกิดแล้วต้องตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

จะทรงแสดงถึงทุกข์เท่านั้นในเมื่อคนพาลทั้งหลายสำคัญว่า เกิดแล้วย่อมเข้าถึง

สุข จึงตรัสว่า ชาตสฺส มรณํ โหติ เกิดแล้วต้องตายดังนี้. ในคาถาที่ ๒

โยชนาแก้ว่า บัณฑิตทั้งหลายรู้แล้วโดยชอบ โดยความไม่เที่ยงเป็นต้น รู้ยิ่ง

นิพพานว่าเป็นความสิ้นชาติ เพราะสิ้นอุปาทานแล้วย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๐. ต่อไป. บทว่า อารมฺภปฺปจฺจยา

เพราะความริเริ่มเป็นปัจจัย คือเพราะความเพียรสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย.

บทว่า อนารมฺเภ วิมุตฺติโน ได้แก่น้อมไปในนิพพานที่ไม่มีความริเริ่ม.

บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๑ ต่อไป. บทว่า อาหารปฺปจฺจยา

เพราะอาหารเป็นปัจจัย คือเพราะอาหารสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย. อาจารย์

อีกพวกหนึ่ง กล่าวว่า สัตว์สี่ประเภท คือ รูปูปคา (เข้าถึงรูป) ๑ เวทนูปคา

(เข้าถึงเวทนา) ๑ สัญญูปคา (เข้าถึงสัญญา) ๑ สงฺขารูปคา (เข้าถึงสังขาร) ๑.

ในสัตว์สี่ประเภทนั้นสัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยกามธาตุ ๑๑ อย่าง ชื่อว่า รูปู-

ปคา เพราะเสพกวฬีการาหาร. สัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยรูปธาตุ เว้นอสัญญีสัตว์ชื่อว่า

เวทนูปคา เพราะเสพผัสสาหาร. สัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยอรูปธาตุ ๓ อย่าง เบื้อง

ต่ำชื่อว่า สัญญูปคา เพราะเสพมโนสัญเจตนาหารอันเกิดแต่สัญญา สัตว์ใน

ยอดภูมิ (เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ) ชื่อว่า สังขารูปคา เพราะเสพวิญญา-

หารอันเกิดแต่สังขาร. พึงทราบว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะ

อาหารเป็นปัจจัย. บทว่า อาโรคฺยํ ความไม่มีโรค คือนิพพาน. บทว่า

สงฺขาย เสวิ พิจารณาแล้วเสพ ความว่า พิจารณาปัจจัยแล้วเสพปัจจัย ๔

หรือพิจารณาโลกอย่างนี้ว่าขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ดังนี้แล้วเสพด้วย

ญาณว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังนี้.

บทว่า ธมฺมฏฺโฐ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมคือตั้งอยู่ในสัจธรรม ๔. บทว่า สงฺขฺยํ

โนเปติ ย่อมไม่เข้าถึงการนับ คือไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดาหรือเป็น

มนุษย์เป็นต้น. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๒ ต่อไป. บทว่า อิญฺชิตปฺปจฺจยา

เพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย คือ เพราะในบรรดาความหวั่นไหว คือตัณหา

มานะ ทิฏฐิ กรรมและกิเลส ความหวั่นไหวอย่างใดอย่างหนึ่งสะสมกรรมเป็น

ปัจจัย. บทว่า เอชํ โวสฺสชฺช สละแล้ว คือสละตัณหา. บทว่า สงฺขาเร

อุปรุนฺธิย ดับสังขารทั้งหลายได้แล้ว คือดับกรรมและสังขารสัมปยุตด้วยกรรม.

บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๓ ต่อไป. บทว่า นิสฺสิตสฺส จลิตํ

ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้อันตัณหามานะและทิฏฐิอาศัยแล้ว คือความดิ้นรนเพราะ

ความกลัวย่อมมีแก่ผู้อันตัณหามานะและทิฏฐิอาศัยแล้วในขันธ์ ดุจความดิ้นรน

เพราะควานกลัวย่อมมีแก่เทวดาทั้งหลายในสีหสูตร. บทที่เหลือมีความง่าย

ทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๔ ต่อไป. บทว่า รูเปหิ กว่ารูปภพ

ทั้งหลาย คือ กว่ารูปภพหรือรูปสมาบัติ. บทว่า อารุปฺปา อรูปภพ คือ

อรูปภพหรืออรูปสมาบัติ. บทว่า นิโรโธ คือนิพพาน. บทว่า มจฺจุหานิโย

เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ คือ เป็นผู้ละมรณมัจจุ กิเลสมัจจุ และเทวปุตตมัจจุ

เสียได้. ท่านอธิบายว่า ละมัจจุ ๓ อย่างนั้นไปได้. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๕ ต่อไป. บทว่า ยํ ทรงกล่าวหมายถึงนามรูป.

เพราะนามรูปนั้นอันชาวโลกเข้าไปเพ่งเล็งเห็น ว่านี้เป็นของจริงด้วย

ความยั่งยืน งาม เป็นสุข. บทว่า ตทมริยานํ ตัดบทเป็น ตํ อิทํ อริยานํ

ลบนิคคหิตและอิอักษร ตํ อิทํ จึงสนธิเป็น ตท. บทว่า เอตํ มุสา. นามรูป

นั้นเป็นของเท็จ คือ นามรูปนั้นแม้ยึดถือด้วยเป็นของยั่งยืนเป็นต้นก็เป็นของ

เท็จ คือ ไม่เป็นอย่างนั้น. บทว่า ปุน ยํ ทรงกล่าวหมายถึงนิพพาน.

เพราะนิพพานนั้นอันชาวโลกมองเห็นว่านิพพานนี้เป็นของเท็จ ไม่มีอะไร

เพราะไม่มีรูปและเวทนาเป็นต้น. บทว่า ตทมริยานํ เอตํ สจฺจํ พระอริยเจ้า

ทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาว่านิพพานนั้นเป็นของจริง ความว่า พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นิพพาน

นั้นเป็นของจริงโดยปรมัตถ์ในการไม่ปราศจากความเป็นสุข คือ ไม่มีกิเลส

ความเป็นสุขอันเป็นปฏิปักษ์แห่งความทุกข์ ความเป็นของเที่ยงอันได้แก่ความ

สงบโดยส่วนเดียว.

บทว่า อนตฺตนิ อตฺตมานี มีความสำคัญในสิ่งมิใช่ตนว่าเป็นตัวตน

คือ มีความสำคัญในสิ่งมิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวคนโดยสภาพของนามรูปและเวทนา

เป็นต้น. บทว่า อิทํ สจฺจนฺติ มญฺติ ย่อมสำคัญว่านามรูปที่เป็นของจริง

คือ ย่อมสำคัญว่านามรูปนี้เป็นของจริงโดยความเป็นของยั่งยืนเป็นต้น. บทว่า

เยน เยน หิ คือ ย่อมสำคัญโดยนัยมีอาทิว่า รูปของเรา เวทนาของเรา

ด้วยรูปหรือเวทนาใดๆ . บทว่า ตโต ตํ คือนามรูปนั้นย่อมเป็นอย่างอื่น

ไปจากอาการที่สำคัญนั้น. เพราะเหตุไร เพราะนามรูปของผู้นั้นเป็นของเท็จ

อธิบายว่า เพราะนามรูปนั้นเป็นของเท็จจากอาการตามที่สำคัญไว้ ฉะนั้นจึงเป็น

อย่างอื่นไป.

ก็เพราะเหตุไรจึงเป็นของเท็จเล่า. เพราะนามรูปมีความสูญสิ้น

เป็นธรรมดา คือเพราะสิ่งใดปรากฏขึ้นนิดหน่อยย่อมมีความสูญสิ้นเป็นธรรมดา

คือมีความย่อยยับไปเป็นธรรมดา และนามรูปก็เป็นเหมือนอย่างนั้น. บทว่า

สจฺจาภิสมยา คือรู้นิพพานนั้นโดยความเป็นจริง. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 689

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๖ ต่อไป. บทว่า ยํ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายถึงอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ๖ อย่าง. เพราะอารมณ์นั้นอันชาวโลก

เล็งเห็นว่า เป็นความสุขดุจตั๊กแตนปลาและลิงเล็งเห็นแสงประทีปและเบ็ดที่

เขาล่อไว้ว่าเป็นความสุข. บทว่า ตทมริยานํ เอตํ ทุกฺขํ พระอริยเจ้าทั้งหลาย

เห็นว่านั่นเป็นทุกข์ อธิบายว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีด้วยปัญญา

อันชอบ ตามความเป็นจริงว่านั่นเป็นทุกข์โดยนัยมีอาทิว่า จริงอยู่ กามทั้งหลาย

วิจิตร อร่อย น่ารื่นรมย์ ย่อมย่ำยีจิตให้มีรูปผิดรูปไป. บทว่า ปุน อิทํ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงนิพพานเท่านั้น. เพราะนิพพานนั้นอันชาวโลก

เล็งเห็นแล้วว่าเป็นทุกข์ เพราะไม่มีกามคุณ. บทว่า ตทมริยานํ ความว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วด้วยดีด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า

นิพพานนี้เป็นสุขโดยความเป็นปรมัตถสุข. บทว่า เกวลา คือ ไม่มีเหลือ.

บทว่า อิฏฺฐา คือน่าปรารถนา. บทว่า กนฺตา น่าใคร่ คือน่ารัก. บทว่า

มนาปา น่าพอใจ คือ น่าทำความเจริญให้แก่ใจ. บทว่า ยาวตตฺถีติ วุจฺจติ

โลกกล่าวว่ามีอยู่เท่าใด คือ โลกกล่าวว่าอารมณ์ ๖ เหล่านี้มีอยู่เท่าใด. พึง

ทราบความเฉียบแหลมของถ้อยคำ. บทว่า โว ในบทว่า เอเต โว นี้เป็น

เพียงนิบาต แปลว่า อารมณ์ ๖ เหล่านี้. บทว่า สุขนฺติ ทิฏฺฐมริเยหิ

สกฺกายสฺสุปโรธนํ ได้แก่ ความดับแห่งเบญจขันธ์อันพระอริยเจ้าเห็นแล้วว่า

เป็นความสุข. ท่านอธิบายว่า ได้แก่ นิพพาน. บทว่า ปจฺจนีกมิทํ โหติ

คือ ความเห็นขัดแย้งกัน. บทว่า ปสฺสตํ คือ ผู้เห็นอยู่ ท่านอธิบายว่า

ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ยํ ในบทว่า ยํ ปเร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายถึงวัตถุกาม. ในบทว่า ปุน ยํ ปุเร นี้หมายถึงนิพพาน. บทว่า

ปสฺส จงดู พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้ฟัง. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ธรรม

คือนิพพาน. บทว่า สมฺปมูฬฺเหตฺถ อวิทฺทสุ คือคนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง

พากันหลงในโลกนี้. พากันหลงเพราะกระทำอะไร? เพราะความมืดตื้อย่อมมี

แก่คนพาลทั้งหลายผูกอวิชชาหุ้มห่อแล้วผู้ไม่เห็นอยู่ เพราะเหตุที่ความมืดทำ

ให้คนพาลทั้งหลายถูกอวิชชาหุ้มห่อท่วมทับเป็นคนบอด ดังนั้นคนพาลทั้งหลาย

จึงไม่สามารถเห็นธรรมคือนิพพาน. บทว่า สตญฺจ วิวฏํ โหติ อาโลโก

ปสฺสตามิว ความว่า ส่วนนิพพานเป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษทั้งหลาย

ผู้เห็นอยู่ด้วยปัญญาทัศนะเหมือนแสงสว่างฉะนั้น.

บทว่า สนฺติเก น วิชฺชนฺติ มคา ธมฺมสฺส โกวิทา ชน

ทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้าไม่ฉลาดต่อธรรมย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่ใกล้

ความว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรมอันเป็นทางและมิใช่ทาง

หรือต่อธรรมทั้งหมด ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานนั้น แม้มีอยู่ในที่ใกล้อย่างนี้ เพราะ

กำหนดเพียงตนปัญจกกรรมฐาน (กรรมฐานมีหนังเป็นที่ห้า) ในร่างกายของตน

แล้วพึงบรรลุเป็นลำดับไปเท่านั้น หรือเพราะเพียงดับขันธ์ของตน. พึงทราบ

โดยประการทั้งปวงว่า ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่นไปตาม

กระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนืองๆ ไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ได้

โดยง่าย. ในบทเหล่านั้นบทว่า มารเธยฺยานุปฺปนฺเนภิ ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็น

บ่วงแห่งมารเนืองๆ คือ เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓.

พึงทราบการเชื่อมความในคาถาหลังว่าใครหนอ นอกจากพระอริยเจ้า

ย่อมควรรู้บทคือนิพพานที่ตรัสรู้ไม่ได้ง่ายนักอย่างนี้. บทนั้นมีอธิบายดังนี้

นอกจากพระอริยเจ้าแล้ว คนอื่นใครหนอ ควรจะรู้บทคือนิพพานอันเป็นบทที่

พระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะตามลำดับ เพราะรู้โดยชอบด้วยอริยมรรค

ที่ ๔ ย่อมปรินิพพานด้วยการดับกิเลส หรือเป็นผู้ไม่มีอาสวะเพราะรู้โดยชอบ

ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่สุด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง

เทศนาให้จบลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

บทว่า อตฺตมนา คือมีใจยินดี. บทว่า อภินนฺทุ คือชื่นชม.

บทว่า อิมสฺมึ จ ปน เวยฺยากรณสฺมึ คือ ไวยากรณภาษิตที่ ๑๖ นี้.

บทว่า ภญฺญมาเน คือ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส. บทที่เหลืออปรากฏชัด

แล้ว. ในเพราะไวยากรณภาษิต ๑๖ วาระแม้ทั้งหมดอย่างนี้จิตของภิกษุเก้าร้อย

รูป แบ่งเป็นพวกๆ ประมาณหกสิบ หกสิบ เกินกว่าหกสิบ พ้นจากอาสวะ

เพราะไม่ถือมั่น. ก็ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัจธรรม ๑๖ ครั้ง

ครั้งละ ๔ รวมเป็น ๖๔ ครั้งด้วยไวยากรณภาษิต โดยประการต่างๆ ด้วย

ประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทวยตานุปัสสนาที่ ๑๒ .



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 8 มิ.ย. 2556

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.คำปั่น ด้วยค่ะ...


ความคิดเห็น 2    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 11 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย natural  วันที่ 22 มิ.ย. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ