[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 246
อุรควรรคที่ ๑
กสิภารทวาชสูตรที่ ๔
ว่าด้วยศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาเป็นแอกและไถ 297/246
อรรถกถากสิภารทวาชสูตร 250
ปุเรภัตกิจ 251
ปัจฉาภัตกิจ 252
โปรดกสิภารทวาชพราหมณ์ 254
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 46]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 246
กสิภารทวาชสูตรที่ ๔
ว่าด้วยศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาเป็นแอกและไถ
[๒๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อ เอกนาฬา ในทักขิณาคิรีชนบท แคว้นมคธ ก็สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ ประกอบไถประมาณ ๕๐๐ ในเวลาเป็นที่หว่านพืช ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่การงาน ของกสิภารทวาชพราหมณ์ ก็สมัยนั้นแล การเลี้ยงดูของกสิภารทวาชพราหมณ์ กำลังเป็นไป ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปถึงที่เลี้ยงดู ครั้นแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่เพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ย่อมไถและหว่าน ครั้นไถและ หว่านแล้วย่อมบริโภค แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและ หว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค.
กสิ. ข้าแต่พระสมณะ ก็ข้าพระองค์ย่อมไม่เห็นแอก ไถ ผาล ปฏักหรือโค ของท่านพระโคดมเลย ก็แลเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมตรัส อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถแลหว่านแล้วย่อม บริโภค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 247
ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย คาถาว่า
[๒๙๘] พระองค์ย่อมปฏิญาณว่าเป็น ชาวนา แต่ข้าพระองค์ไม่เห็นไถของพระ องค์ พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอ ได้โปรดตรัสบอกไถแก่ข้าพระองค์ โดยวิธี ข้าพระองค์จะพึงรู้จักไถของพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยคาถาว่า
ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียร ของเราเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเราเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครอง กาย คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้ พลาดด้วยสัจจะความสงบเสงี่ยมของเราเป็น เครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรา นำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจาก โยคะ ไม่หวนกลับมา ย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผล เป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจาก ทุกข์ทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 248
[๒๙๙] ลำดับนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสลงในถาด สำริดใหญ่ แล้วน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกราบทูลว่า ขอท่านพระโคดมเสวยข้าวปายาสเถิด เพราะพระองค์ท่านเป็นชาวนา ย่อมไถนา อันมีผล ไม่ตาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่ควรบริโภค โภชนะที่ขับกล่อมได้มา ข้อนี้ไม่ใช่ธรรม ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เห็นอยู่โดยชอบ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงห้ามโภชนะ ที่ขับกล่อมได้มา ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรม มีอยู่ การแสวงหานี้เป็นความประพฤติของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เชิญท่านบำรุงพระขีณาสพ ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ผู้แสวงหา คุณอันใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว ด้วยข้าวและน้ำอย่างอื่นเถิด เพราะว่าเขต นั้นเป็นเขตของบุคคลผู้มุ่งบุญ.
[๓๐๐] กสิ. ข้าแต่พระโคดม ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์จะถวาย ข้าวปายาสนี้แก่ใคร.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 249
ผู้บริโภคข้าวปายาสนั้นแล้ว จะพึงให้ย่อยได้โดยชอบ นอกจากตถาคตหรือ สาวกของตถาคตเลย ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงทิ้งข้าวปายาสนั้น เสียในที่ปราศจากของเขียวหรือจมลงในน้ำซึ่งไม่มีตัวสัตว์เถิด.
ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสนั้นให้จมลงในน้ำอัน ไม่มีตัวสัตว์ พอข้าวปายาสนั้นอันกสิภารทวาชพราหมณ์เทลงในน้ำ (ก็มีเสียง) ดังจิจจิฏะ จิฏิจิฏะ เป็นควันกลุ้มโดยรอบ เหมือนก้อนเหล็กที่บุคคลเผาให้ร้อน ตลอดวัน ทิ้งลงในน้ำ (มีเสียง) ดังจิจจิฏะ จิฏิจิฏะ เป็นควันกลุ้มโดยรอบ ฉะนั้น.
[๓๐๑] ลำดับนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์สลดใจ มีขนชูชัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดช่องที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป ไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึง พระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่ วันนี้เป็นต้นไป ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระโคดม ผู้เจริญเถิด กสิภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ท่านภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 250
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่ช้านักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ก็ท่านภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย.
จบกสิภารทวาชสูตรที่ ๔
อรรถกถากสิภารทวาชสูตร
กสิภารทวาชสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ :-
มีอุบัติอย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อ เอกนาลา ในทักขิณาคิรีชนบท แคว้นมคธ ทรงยังปุเรภัตกิจเสร็จแล้วใน บรรดาพุทธกิจ ๒ อย่างนี้คือ ปุเรภัตกิจ ๑ ปัจฉาภัตกิจ ๑ ในเวลาเสร็จ ปัจฉาภัตกิจ ทรงตรวจดูโลก ด้วยพระพุทธจักษุ ทรงเห็นพราหมณ์ชื่อ กสิภารทวาชะ ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ทรงทราบว่า ครั้นเรา ไปในพราหมณคามนั้นแล้ว กถาจักเป็นไป แต่นั้น ในเวลาจบกถา พราหมณ์ นั่นฟังธรรมเทศนา บวชแล้ว จักบรรลุพระอรหัต ดังนี้ จึงเสด็จไปใน พราหมณคามนั้น ทรงยังกถาให้ตั้งขึ้นแล้ว ตรัสพระสูตรนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 251
[ปุเรภัตกิจ]
ในพระสูตรนั้น พึงมีคำถามว่า ปุเรภัตกิจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นไฉน ปัจฉาภัตกิจเป็นไฉน ข้าพเจ้าจะเฉลยคำถาม พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงการทำการบริกรรมพระวรกายมีการล้างพระพักตร์เป็นต้น เพื่อทรง อนุเคราะห์ผู้อุปัฏฐาก และเพื่อให้พระวรกายมีผาสุก ทรงพักอยู่บนอาสนะ อันสงัด จนถึงเวลาแห่งภิกขาจาร ในเวลาภิกขาจาร ทรงคาดประคดเอว ทรงห่มจีวร ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จไปพระองค์เดียว บางครั้งมีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จสู่คามหรือนิคม เพื่อบิณฑบาต บางคราวเสด็จไป ตามปกติ บางคราวเสด็จไปด้วยปาฏิหาริย์เป็นไปมากมาย คือ ลมอ่อนพัดไป ข้างหน้าของพระโลกนาถ ผู้เสด็จไปเพื่อบิณฑบาต ยังพื้นดินให้สะอาด เมฆ โปรยหยดน้ำให้ละอองในหนทางสงบ ตั้งเป็นเพดานในเบื้องบน ลมอื่นๆ หอบดอกไม้ทั้งหลายโปรยลงบนทาง ภูมิประเทศที่ดอนก็จะยุบลง ที่ลุ่มก็จะ ฟูขึ้น ในสมัยจะประทับรอยพระบาท พื้นดินก็ราบเรียบ หรือดอกปทุมทั้งหลาย ซึ่งมีสัมผัสสบาย ก็ปกปิดรอยพระบาท พอทรงวางพระบาทเบื้องขวาลงภายใน เสาเขื่อน พระฉัพพัณณรังสีก็เปล่งออกจากพระวรกาย ทำปราสาทและเรือนยอด เป็นต้นเป็นดุจกรงทอง แผ่ซ่านไปข้างโน้นและข้างนี้ บรรดาช้างม้าและนก เป็นต้น ดำรงอยู่ในที่ของตนๆ นั่นเทียว ก็ร้องเสียงระงมไพเราะดุจดุริยางค์ มีกลองและพิณเป็นต้น และบรรดาเครื่องประดับกายของเหล่ามนุษย์ก็กระทำ เสียงไพเราะเหมือนกัน.
ด้วยสัญญาณนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็รู้ว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปบิณฑบาตในบ้านนี้ เขาทั้งหลายก็จะนุ่งดี ห่มดี ถือของหอมและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 252
ดอกไม้เป็นต้น ออกจากเรือน ดำเนินไปตามถนน บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยของหอมดอกไม้เป็นต้นโดยเคารพ ทูลขอว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดทรงให้ภิกษุ ๑๐ รูปแก่ข้าพระองค์ ภิกษุ ๒๐ รูปแก่ข้าพระองค์ ภิกษุ ๑๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ ดังนี้แล้ว รับบาตรแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูอาสนะ ต้อนรับด้วยบิณฑบาตโดยเคารพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรวจดูสันดานของ มนุษย์เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงพระธรรมโดยประการที่บางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางพวกตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วตั้งอยู่ในอัครผล คือ พระอรหัต. ครั้นทรงอนุเคราะห์ชนนั้นๆ อย่างนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จไปสู่วิหาร ประทับนั่งบนบวรพุทธาสน์ที่ปูแล้ว ในโรงมณฑลนั้นๆ รอพระภิกษุทั้งหลายฉันภัตกิจเสร็จ ต่อจากนั้นผู้อุปัฏฐากทูลการเสร็จภัตกิจของ ภิกษุทั้งหลายให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี นี้เป็นปุเรภัตกิจก่อน คำใดที่ไม่ได้กล่าวไว้ในสูตรนี้ คำนั้น อันบัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในพรหมายุสูตรนั้นแล.
[ปัจฉาภัตกิจ]
ลำดับนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงกระทำปุเรภัตกิจเสร็จอย่างนี้แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่บำรุงของพระคันธกุฎี ทรงล้างพระบาท ประทับยืน ณ แท่น ประทับ ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงยัง ประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด การเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 253
ขึ้นของพระพุทธเจ้าได้ยาก การกลับได้มนุษย์ได้ยาก ความถึงพร้อมด้วย ศรัทธาได้ยาก การบรรพชาได้ยาก การฟังธรรมได้ยากในโลก แต่นั้นภิกษุ ทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามกรรมฐาน ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้กรรมฐานด้วยอำนาจแห่งจริยาแก่ภิกษุทั้งหลายภิกษุ เหล่านั้นเรียนกรรมฐาน อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไปสู่สถานที่อยู่ ของตนๆ บางพวกไปสู่ป่า บางพวกไปสู่รุกขมูล บางพวกไปสู่ที่ทั้งหลายมี ภูเขาเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง บางพวกไปสู่ภพของจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น ฯลฯ บางพวกไปสู่ภพชั้นวสวัตดี.
ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ถ้าทรงพระประสงค์ มีพระสติสัมปชัญญะสำเร็จสีหไสยชั่วครู่ โดยปรัศว์เบื้องขวา ครั้นมี พระวรกายกระปรี้กระเปร่าแล้ว เสด็จลุกขึ้น ทรงตรวจดูโลกในส่วนที่สอง. ในส่วนที่สาม พระองค์ประทับอยู่อาศัยคามหรือนิคมใด ชนทั้งหลายในคามนิคมนั้น ในปุเรภัต ถวายทาน ในปัจฉาภัตนุ่งดี ห่มดี ถือเอาดอกไม้และ ของหอมเป็นต้น ประชุมในวิหาร ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป โดยปาฏิหาริย์อันสมควรแก่บริษัทที่ประชุม ประทับนั่งบนบวรพุทธาสนะที่ปูดี แล้วในธรรมสภา ทรงแสดงธรรมอันสมควรแก่กาล สมควรแก่ประมาณ ครั้นทรงรู้กาลแล้ว จึงทรงส่งบริษัทกลับ ถัดจากนั้น ถ้ามีพระประสงค์จะ ชำระพระวรกาย ก็เสด็จลุกจากพุทธาสนะ เสด็จไปสู่โอกาสที่ผู้อุปัฏฐากตระเตรียมน้ำไว้ ทรงเกาะมือของผู้อุปัฏฐาก รับผ้าอาบน้ำ เสด็จเข้าสู่โรงอาบน้ำ ฝ่ายผู้อุปัฏฐากนำพุทธาสนะมาปูที่บริเวณพระคันธกุฎี พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 254
ทรงชำระพระวรกายแล้ว ทรงนุ่งผ้าที่ย้อมแล้ว ทรงคาดประคดเอว ทรงห่ม ผ้าอุตราสงค์ แล้วเสด็จไปในบริเวณพระคันธกุฎีนั้น ประทับนั่งพระองค์เดียว เท่านั้น หลีกเร้นชั่วครู่.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้นๆ มาสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในภิกษุเหล่านั้น บางพวกทูลถามปัญหา บางพวกทูลขอกรรมฐาน บางพวกทูลขอฟังธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังความประสงค์ของภิกษุ เหล่านั้นให้สำเร็จจนถึงปฐมยาม ในมัชฌิมยามเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งหลาย เมื่อได้โอกาส ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาตามที่ประสงค์ โดย ที่สุดแม้ ๔ อักษร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จนถึงมัชฌิมยาม ต่อจากนั้นทรงกระทำปัจฉิมยามให้เป็น ๔ ส่วน ส่วนหนึ่ง ทรงอธิษฐานจงกรม ส่วนที่สองเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสย โดยปรัศว์เบื้องขวา ส่วนที่สาม ทรงยังเวลาให้ล่วงไปด้วย ผลสมาบัติ ส่วนที่สี่ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อ ทรงดูสัตว์ผู้มีธุลีในจักษุน้อย หรือมีธุลีในจักษุมากเป็นต้น นี้ปัจฉาภัตกิจ.
[โปรดกสิภารทวาชพราหมณ์]
ในที่สุดแห่งส่วนที่สี่ กล่าวคือการตรวจดูโลก แห่งปัจฉาภัตกิจนี้ อย่างนี้แล้ว ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้ยังมิได้ กระทำอธิการและได้กระทำอธิการ ในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ในทาน ศีล อุโบสถกรรมเป็นต้น ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ผู้ถึงพร้อมด้วย อุปนิสัย และผู้ถึงพร้อมอุปนิสัยคือพระอรหัต ทรงเห็นกสิภารทวาชพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 255
ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยคือพระอรหัต ทรงรู้ว่า ครั้นเราไปในที่นั้นแล้ว กถาจัก เป็นไป ต่อแต่นั้น ในเวลาจบกถา พราหมณ์นั่นบวชแล้ว จักบรรลุพระอรหัต ดังนี้แล้ว เสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงยังกถาให้ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ได้ตรัสพระสูตรนี้.
ในพระสูตรนั้น คำว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น อันท่านพระอานนท์ ถูกท่านพระมหากัสสปเถระ ผู้ทำธรรมสังคีติ ในมหาสังคีติกาลครั้งแรก ถาม แล้ว จึงกล่าวแก่พระอรหันต์ ๕๐๐. คำว่า ข้าพเจ้าแลย่อมไถ และหว่าน เป็นต้น อันกสิภารทวาชะกล่าว. คำว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส. คำนั้นแม้ทั้งหมดรวมเข้ากันเรียกว่า กสิภารทวาชสูตร.
ในกสิภารทวาชสูตรนั้น เอวํ ศัพท์ ในคำว่า เอวํ นี้มีอาการเป็น อรรถ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ มีอวธารณเป็นอรรถ. จริงอยู่ พระอานนท์ แสดงเนื้อความนี้ ด้วยเอวํศัพท์ที่มีอาการเป็นอรรถ พระดำรัสของพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ละเอียดด้วยนัยต่างๆ มีอัชฌาศัยหลายอย่างเป็น สมุฏฐาน ถึงพร้อมด้วยอรรถพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์หลายอย่าง ลึกโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ มีสภาพอันสัตว์ทั้งปวง พึงเข้ากำหนดตามสมควร แก่ภาษาของตนๆ พระดำรัสนั้นใครจะสามารถรู้แจ่มแจ้งได้ โดยประการ ทั้งปวงเล่า โดยที่แท้ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ คือแม้ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว โดยอาการหนึ่ง.
พระอานนท์เมื่อจะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้ทำให้แจ่มแจ้ง จึงแสดงไขพระสูตรทั้งสิ้น อันจะพึงกล่าวในบัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 256
ด้วยเอวํศัพท์ซึ่งมีนิทัสสนะเป็นอรรถว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ คือได้ฟัง แล้วอย่างนี้.
ด้วยเอวํศัพท์มีอวธารณะเป็นอรรถ พระอานนท์เมื่อจะแสดงกำลัง ทรงจำของตน อันสมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ แล้ว อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์เป็นเอตทัคคะแห่งภิกษุ ทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเราที่เป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ เป็น อุปัฏฐากดังนี้ ยังความใคร่เพื่อจะฟังให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าได้ สดับมาอย่างนี้ และพระสูตรนั้น พึงเห็นว่าไม่หย่อน ไม่ยิ่งโดยอรรถ หรือ โดยพยัญชนะ คือ ไม่พึงเห็นโดยประการอื่น อย่างนี้.
ในบทว่า เม สุตํ นี้ เม ศัพท์มี มยา ศัพท์เป็นอรรถ สุต ศัพท์มีโสตทวารวิญญาณเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า บทว่า เอมฺเม สุตํ ความว่า ข้าพเจ้าทรงจำแล้ว ด้วยโสตวิญญาณวิถี ซึ่งมีโสตวิญญาณ เป็นเบื้องหน้า อย่างนี้.
บทว่า เอกํ สมยํ ความว่า ในกาลครั้งหนึ่ง. บทว่า ภควา ได้แก่ ผู้มีภาคธรรม อธิบายว่า พระผู้มีโชคดี พระผู้ทรงจำแนก. บทว่า มคเธสุ วิหรติ ความว่า พระราชกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นชาวชนบท ชื่อว่า มคธ ชนบทแม้หนึ่งเป็นที่อยู่ของพระราชกุมารเหล่านั้นเรียกว่า มคธ ตามศัพท์ที่ งอกขึ้น. ในชนบทแคว้นมคธนั้น. ก็อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวอย่างยืดยาว โดย นัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะพระเจ้าเจติยราชตรัสเท็จถูกแผ่นดินสูบอันบุรุษทั้งหลายทูลว่า ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้าสู่หลุม หรือเพราะบุรุษเมื่อค้นหาพระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 257
พระองค์นั้น ขุดแผ่นดินอยู่ ก็ถูกกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าทำหลุม เพราะฉะ นั้น จึงชื่อว่า มคธ. ชอบใจคำใด พึงถือคำนั้นเถิด.
บทว่า วิหรติ ความว่า ทรงกำจัดความเบียดเบียนพระอิริยาบถหนึ่ง ด้วยพระอิริยาบถอื่น ทรงบริหารพระอัตภาพอันไม่บอบช้ำ มีอธิบายว่า ทรง ให้เป็นไปอยู่. หรือทรงนำไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลมีอย่างต่างๆ แก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพวิหาร พรหมวิหาร หรือ อริยวิหาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประทับ อยู่. บทว่า หรติ มีอธิบายว่า นำเข้าไป น้อมเข้าไป ให้เกิด ให้เกิดขึ้น. จริงอย่างนั้น ในกาลใด สัตว์ทั้งหลาย ปฏิบัติผิดในกามทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ด้วยทิพวิหาร เพื่อทรงยังกุศลมูล คือ อโลภะ ให้เกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นว่า ไฉนหนอ สัตว์ทั้งหลายเห็น ปฏิบัตินี้แล้ว ยังความพอใจให้เกิดขึ้นในปฏิบัตินั้นแล้ว พึงคลายกำหนัดใน กามทั้งหลาย.
ก็ในกาลใดสัตว์ทั้งหลายปฏิบัติผิด เพื่อความเป็นใหญ่ ในกาลนั้น ประทับอยู่ด้วยพรหมวิหาร เพื่อทรงยังกุศลมูล คือ อโทสะให้เกิดขึ้นแก่สัตว์ เหล่านั้นว่า ไฉนหนอ สัตว์ทั้งหลายเห็นปฏิบัตินี้ ยังความพอใจให้เกิดขึ้นใน ปฏิบัตินั้น พึงยังโทสะให้สงบด้วยอโทสะ.
ส่วนในกาลใด สัตว์ทั้งหลายบวชแล้ว ทะเลาะกันเรื่องธรรม ใน กาลนั้น ประทับอยู่ด้วยอริยวิหาร เพื่อยังกุศลมูล คือ อโมหะให้เกิดขึ้นแก่ สัตว์เหล่านั้นว่า ไฉนหนอ สัตว์ทั้งหลายเห็นปฏิบัตินี้ ยังความพอใจให้เกิด ขึ้นในปฏิบัตินี้ พึงยังโมหะให้สงบด้วยอโมหะ แต่ไม่ประทับอยู่ด้วยอิริยาบถวิหารในกาลไหนๆ หามิได้ เพราะเว้นอริยวิหารนั้น ก็ไม่มีการบริหารพระอัตภาพเลย. ความสังเขปในพระสูตรนี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดารข้าพเจ้า จักกล่าวในมงคลสุตตวัณณนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 258
บทว่า ทกฺขิณาคิริสฺมึ ความว่า ภูเขานั้นใดตั้งล้อมกรุงราชคฤห์ ชนบทโดยทางใต้ของภูเขานั้น เรียกว่า ทักขิณาคิรี หรือบทว่า ทกฺขิณาคิริ มีอธิบายว่า ในชนบทนั้น คำว่า ทักขิณาคิรีนั้นแล เป็นชื่อแม้แห่งวิหารใน ชนบทนั้น.
บทว่า เอกนาลายํ พฺราหฺมณคาเม เป็นชื่อของบ้านนั้นว่า เอกนาลา. ก็พราหมณ์จำนวนมากอาศัยอยู่ หรือการเลี้ยงดูพราหมณ์นั้น มีอยู่ ในบ้านนี้ เพราะฉะนั้น บ้านนี้จึงเรียกว่า พราหมณคาม.
บทว่า เตน โข ปน สมเยน ความว่า ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคู้อปราชิตบัลลังก์ ตรัสรู้เฉพาะ ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ทรงประกาศพระบวรธรรมจักรแล้ว ทรงอาศัยพราหมณคาม ชื่อเอกนาลา ใน แคว้นมคธ ทรงรอความแก่รอบแห่งอินทรีย์ของพราหมณ์ ประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิริมหาวิหาร โดยสมัยนั้น อธิบายว่า เป็นเหตุ. ก็นิบาต ๒ อย่างนี้ ในบทว่า โข ปน นี้ พึงเห็นว่า เป็นเพียงให้บทเต็ม หรือมีการแสดง อธิการอื่นเป็นอรรถ.
บทว่า กสิภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส ความว่า พราหมณ์นั้น เลี้ยงชีพด้วยการทำนา และโคตรของพราหมณ์นั้น ชื่อว่า ภารทวาชะ เพราะ ฉะนั้น จึงเรียกอย่างนั้น.
บทว่า ปญฺจมตฺตานิ มีอธิบายว่า มัตต ศัพท์ ในบทนี้ว่า โภชเน มตฺตญฺญุตา ย่อมเป็นไปในประมาณฉันใด มัตต ศัพท์ ในบทแม้นี้ว่า ปญฺจมตฺตานิ ย่อมเป็นไปในประมาณ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น การประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 259
ไถประมาณ ๕๐๐ ไม่ขาด ไม่เกิน ได้แก่การประกอบไถ ๕๐๐. บทว่า ปยุตฺตานิ ได้แก่ถูกประกอบแล้ว มีอธิบายว่า ประกอบแล้วด้วยไถที่วางไว้ บนคอทั้งหลายของโคพลิพัททั้งหลาย.
บทว่า วปฺปกาเล ได้แก่ ในเวลาหว่าน มีอธิบายว่า ในเวลาเป็น ที่หว่านพืช. วัปปะในบทว่า วปฺปกาเล นั้น มี ๒ อย่าง คือ กัลลวัปปะ ๑ ปังสุวัปปะ ๑ ปังสุวัปปะ ท่านประสงค์ในพระสูตรนี้ และปังสุวัปปะนั้นแล เป็นการหว่านพืชมงคลในวันที่ ๑.
ในวัปปมงคลนั้นมีอุปกรณ์พร้อมดังนี้ โคพลิพัท ๓,๐๐๐ ตัว ถูก ตระเตรียมไว้ โคพลิพัททั้งหมดสวมเขาที่ทำด้วยทอง กลีบที่ทำด้วยเงิน ทั้งหมดประดับด้วยระเบียบขาว กลิ่นหอมด้วยกลิ่นทั้งหมด และเจิม ๕ แห่ง มี อวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์ ถึงพร้อมด้วยลักษณะทุกอย่าง บางพวกดำเหมือน ดอกอัญชัน บางพวกขาวเหมือนเงินยวง บางพวกแดงเหมือนแก้วประพาฬ บางพวกลายเหมือนแก้วลาย. บุรุษไถนา ๕๐๐ ทั้งหมดนุ่งผ้าขาวใหม่ ประดับ ด้วยระเบียบ วางเทริดดอกไม้บนจะงอยบ่าเบื้องขวา มีส่วนร่างกายลูบไล้ด้วย น้ำหรดาลและมโนศิลา. ไถหมวดละ ๑๐ ดำเนินการไถ ไถทั้งหลายมีหัว แอก และปฏักถักด้วยทอง ในไถที่หนึ่ง เทียมโคพลิพัท ๘ ตัว ในไถที่เหลือเทียม โคพลิพัทไถละ ๔ ตัว โคพลิพัทที่เหลือนำมาเพื่อสับเปลี่ยนโคที่เหนื่อยล้า. ใน หมวดหนึ่งมีเกวียนบรรจุพืชหมวดละ ๑ เล่ม มีคนไถหมวดละ ๑ คน มีคน หว่านหมวดละ ๑ คน.
ก็พราหมณ์ให้โกนหนวดแต่เช้าตรู่ อาบน้ำ ลูบไล้ด้วยของหอมทั้งหลาย นุ่งผ้าราคา ๕๐๐ กหาปณะ ทำผ้าราคา ๑,๐๐๐ กหาปณะ เฉวียงบ่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 260
สวมแหวนนิ้วละ ๒ วง รวม ๒๐ วง สวมตุ้มหูสีหะที่หูทั้งสองและโพกผ้าโพก อย่างดี สวมสร้อยทอง ผู้อันพราหมณ์แวดล้อมแล้วสั่งการงาน. ลำดับนั้น นางพราหมณีของพราหมณ์นั้นให้หุงข้าวปายาสใส่ในภาชนะหลายร้อย ยกใส่ เกวียนใหญ่ อาบด้วยน้ำหอม ตกแต่งด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง มีหมู่นางพราหมณีแวดล้อมแล้ว ไปสู่ที่การงาน. แม้เรือนของพราหมณ์ ก็ไล้ทาอย่างดี ด้วยของหอมทั้งหลาย ในที่ทั้งปวงมีพลีกรรมอันทำดีแล้ว ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย และนาก็ยกธงปฏากพร้อมในที่นั้นๆ. บุรุษเข้างานพร้อมกับบริชนและกรรมกรมี ๒,๕๐๐ คน ทั้งหมดนุ่งผ้าใหม่ และโภชนะแห่งข้าวปายาสก็เตรียมแล้ว สำหรับคนงานทั้งหมด.
ลำดับนั้น พราหมณ์สั่งให้ล้างถาดทองคำสำหรับใส่โภชนะที่ตนเองจะ บริโภค บรรจุให้เต็มด้วยข้าวปายาส ปรุงแต่งด้วยเนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น ให้กระทำนังคลพลีกรรม. นางพราหมณีถือภาชนะที่สำเร็จด้วยทอง เงิน สำริด และทองแดง สำหรับคนไถนาจำนวน ๕๐๐ นั่งถือทัพพีทอง ไป เลี้ยงดูด้วยข้าวปายาส ฝ่ายพราหมณ์ให้กระทำพลีกรรมเสร็จแล้ว ก็สวมรองเท้า ทองที่ไล้แล้ว ถือไม้ทองที่ขัดแล้ว เที่ยวสั่งว่า จงให้ข้าวปายาสในที่นี้ จงให้ เนยใสในที่นี้ จงให้น้ำตาลในที่นี้.
ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเทียว ทรงรู้การเลี้ยงดูของพราหมณ์ ทรงดำริว่า นี้เป็นกาลเพื่อฝึกพราหมณ์ดังนี้แล้ว ทรงนุ่ง คาดประคดเอว ทรงห่มผ้าสังฆาฏิ ทรงถือบาตร เสด็จออกจาก พระคันธกุฎี ดุจนายสารถีผู้ฝึกบุรุษอันยอดเยี่ยม ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่าน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 261
พระอานนท์ จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง นุ่งแล้ว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น นิบาตว่า อถ ส่องถึงการปรารภเพื่อจะกล่าวถึงข้อ ความต่อไป. นิบาตว่า โข ลงในการทำบทให้เต็ม. บทว่า ภควา มีนัยที่ กล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ ความว่า สมัยส่วนเบื้องต้นของวัน อธิบายว่า ในเวลาเช้า. หรือ สมัยในเวลาเช้า ชื่อว่า ปุพพัณหสมัย มี อธิบายว่า ขณะหนึ่งในตอนเช้า. ย่อมได้ทุติยาวิภัตติในอัจจันตสังโยคอย่างนี้. บทว่า นิวาเสตฺวา แปลว่า ทรงนุ่งแล้ว. บทว่า นิวาเสตฺวา นั่นพึงทราบ ด้วยอำนาจแห่งการประทับอยู่ในวิหารและการเปลี่ยนแปลง. จริงอยู่ พระผู้มี พระภาคเจ้าไม่ประทับอยู่ ในก่อนแต่นั้น.
บทว่า ปตฺตจีวรํ อาทาย ความว่า ทรงถือบาตรด้วยพระหัตถ์ ทั้งสอง ทรงถือจีวรด้วยพระวรกาย อธิบายว่า รับแล้ว ทรงแล้ว. เนื้อความ แห่งบทว่า ปตฺตจีวรํ อาทาย นั้น พึงทราบอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า บาตร อันสำเร็จด้วยศิลามีสีเหมือนแก้วอินทนิล ย่อมมาสู่ท่ามกลางพระหัตถ์ทั้งสอง ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประสงค์จะเสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต เหมือนแมลงภู่ เข้าสู่ท่ามกลางกลีบปทุมทั้งสองที่บานแล้ว ฉะนั้น. ทรงรับโดยประการใด ประการหนึ่ง เรียกว่า ทรงถือแล้ว เหมือนถือแล้ว หลีกไป ฉะนั้น.
บทว่า เยน ได้แก่ โดยทางใด. บทว่า กมฺมนฺโต ได้แก่ โอกาส แห่งการทำการงาน. บทว่า เตน ได้แก่ โดยทางนั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ ได้แก่ เสด็จไปแล้ว. มีอธิบายว่า การงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ มี สมมติโดยทางใด เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 262
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ติดตาม พระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า? ข้าพเจ้าขอตอบว่า เพราะในกาลใด พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะเสด็จเข้าไปในที่บางแห่ง เฉพาะพระองค์เดียว ในเวลา ภิกขาจาร ทรงปิดพระทวาร เสด็จเข้าไปในภายในพระคันธกุฎี แต่นั้นภิกษุ ทั้งหลายรู้ด้วยสัญญานั้นว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะเสด็จ เข้าบ้านแต่พระองค์เดียว ได้ทรงเห็นบุคคลที่ควรแนะนำบางอย่างแน่แท้ ภิกษุ เหล่านั้น ถือบาตรและจีวรของตน ทำประทักษิณพระคันธกุฎี ไหว้แล้วไปสู่ ภิกขาจาร ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุ นั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า เตน โข ปน สมเยน ความว่า โดยสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังที่การงาน โดยสมัยนั้น การเลี้ยงดูของพราหมณ์นั้น กำลัง เป็นไปอยู่ อธิบายว่า การแจกจ่ายภัตรกำลังเป็นไปอยู่ ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในตอนต้นว่า นางพราหมณีถือภาชนะที่สำเร็จด้วยทอง เงิน สำริด และ ทองแดง สำหรับคนไถนาจำนวน ๕๐๐ นั่งถือทัพพีทอง ไปเลี้ยงดูด้วยข้าว ปายาสดังนี้ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปถึงที่เลี้ยงดู. ถามว่า เพราะเหตุอะไร ตอบว่า เพราะเพื่อทรงกระทำการอนุเคราะห์พราหมณ์.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังที่เลี้ยงดู เพราะพระองค์มี พระประสงค์เพื่อเสวย ดุจบุรุษกำพร้าหามิได้ เพราะพระราชาศากยะและโกลิยะ ฝ่ายละ ๘๒,๐๐๐ พระองค์ ล้วนเป็นพระญาติของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระญาติ เหล่านั้น อาจเพื่อถวายภัตประจำด้วยสมบัติของตนได้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 263
ไม่ได้ทรงผนวช เพื่อประโยชน์แก่ภัตร บัณฑิตพึงทราบว่า ก็โดยที่แท้ พระองค์ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลาย ตลอดอสงไขยไม่น้อย ทรงผนวชแล้ว ด้วยพระดำริว่า เราพ้นแล้ว จักให้พ้น เราฝึกแล้ว จักฝึก เราดับแล้ว จักให้ดับ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะยังคนอื่น ให้พ้นและให้ดับ เพราะความที่พระองค์เป็นผู้พ้นแล้ว และดับแล้ว จึงเสด็จ เที่ยวไปในโลก เสด็จเข้าไปถึงที่เลี้ยงดู เพื่อทรงกระทำอนุเคราะห์แก่พราหมณ์.
บทว่า เอกมนฺตํ ในคำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺาสิ นั้น เป็นการแสดงถึงภาวนปุงสกลิงค์. มีอธิบายว่า ณ โอกาสหนึ่ง ณ ข้างหนึ่ง. หรือว่า เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. ได้ประทับยืนในที่ใกล้ พอที่พราหมณ์จะเห็นได้ คือ ในที่จะฟังกถาได้ ได้แก่ในที่สูง ซึ่งพราหมณ์ มองเห็นพระองค์ยืนได้ ก็ครั้นประทับยืนแล้ว ทรงเปล่งแสงสว่างแห่งพระวรกาย อันสว่างยิ่งกว่าแสงสว่างพระจันทร์และพระอาทิตย์ตั้งพันดวง เหมือน กรงทอง โดยรอบประมาณ ๘๐ ศอก ซึ่งครอบงำแล้ว ทำให้ฝาโรงงาน ต้นไม้ และก้อนดินเหนียวที่ไถแล้วเป็นต้น เป็นเหมือนสำเร็จแล้วด้วยทอง.
ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายบริโภคข้าวปายาสแล้ว เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ซึ่งมีพระวรกายประดับด้วยลักษณะอัน ประเสริฐ ๓๒ ประการ อันมีอนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นบริวาร มีพระพาหุทั้งคู่ รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างวาหนึ่งล้อมรอบ มีพระสิริเปล่งปลั่งด้วยพระเกตุมาลาน่าดู ยิ่งนัก ดุจสระสะพรั่งด้วยดอกปทุม รุ่งเรืองด้วยพระสิริดุจหมู่ดาวที่ระยิบระยับ ด้วยข่ายรัศมี ทำให้ท้องฟ้ารุ่งเรือง ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงเหนือยอดภูเขาทอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 264
ฉะนั้น ล้างมือและเท้าแล้ว ประคองแล้วประคองอีก ซึ่งอัญชลี ได้ยืนแวดล้อม แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนเพื่อบิณฑบาต อันมนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้วอย่างนี้แล ครั้นเห็นแล้วจึงทูลคำนี้กะพระผู้มี พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ย่อมไถและหว่าน ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุอะไร พราหมณ์นี้จึงกล่าวอย่างนี้ เพราะความ ไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้น่าเลื่อมใสรอบด้าน อันพึงเลื่อมใส แม้ ถึงแล้ว ซึ่งการฝึกและสมถะอันอุดม หรือว่า เพราะแม้เตรียมข้าวยาคู แก่ชน ๒,๕๐๐ คน แล้วตระหนี่ด้วยภิกษาทัพพีหนึ่ง.
ตอบว่า ไม่ใช่แม้โดยประการทั้งสอง โดยที่แท้แล พราหมณ์นั้น เห็นชนผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทิ้งการงาน จึงมีความไม่ พอใจว่า เสด็จมาเพื่อทำการงานของเราให้เสื่อมเสีย เพราะฉะนั้น จึงกล่าว อย่างนั้น และพราหมณ์นั้น เห็นสมบัติแห่งลักษณะของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมีความดำริว่า ถ้าสมณะนี้ประกอบการงานทั้งหลายไซร้ ก็จะได้เป็น เหมือนแก้วจุฬามณีในศีรษะ ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ประโยชน์ชื่ออะไร ของ พระสมณะนั้น จักสำเร็จ ด้วยประการดังนี้ พระสมณะนั้น จึงไม่ประกอบ การงานทั้งหลาย เพราะความที่ตนเป็นคนเกียจคร้าน เที่ยวเพื่อบิณฑบาตใน ที่ทั้งหลายมีวัปปมงคลกาลเป็นต้นมาบริโภค เที่ยวไปจนร่างกายอ้วนพี ด้วย เหตุนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ย่อมไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ดังนี้. อธิบายว่า การงาน ทั้งหลายของข้าพระองค์ย่อมไม่เสื่อมเสีย พระองค์เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยลักษณะ เหมือนอย่างนั้น. อธิบายว่า ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ ฯลฯ จักบริโภค ประโยชน์อะไร ไม่พึงสำเร็จแก่พระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะอย่างนี้เล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 265
อนึ่ง กสิภารทวาชพราหมณ์นี้ ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พระกุมาร อุบัติในศากยราชตระกูล พระองค์ทรงสละจักรพรรดิราชสมบัติ ทรงผนวช เพราะฉะนั้น จึงรู้ในบัดนี้ว่า พระกุมารนั้น คือพระสมณะนี้ เมื่อจะทำการ คัดค้านว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงสละจักรพรรดิราชสมบัติ เสด็จออกบวช แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ดังนี้.
อนึ่ง พราหมณ์นี้เป็นคนมีปัญญาเฉียบแหลม ย่อมไม่กราบทูล กระทบ พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่เห็นพระรูปสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อจะกล่าวสรรเสริญพระปัญญาสมบัติ จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ดังนี้ แม้เพื่อให้กถาเป็นไป แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ จะทรงแสดงความที่พระองค์ทรงเป็นชาวนาผู้เลิศในโลกพร้อมกับเทวโลก ด้วย อำนาจแห่งเวไนยสัตว์ จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราแล ดังนี้.
ลำดับนั้น พราหมณ์ได้เกิดความคิดว่า สมณะนี้ตรัสว่า เราก็ไถและ หว่าน ดังนี้ เราไม่เห็นเครื่องมือสำหรับทำนามีแอกและไถเป็นต้น อันโอฬาร ของสมณะนั้น สมณะนั้นพูดเท็จหรือไม่หนอ จึงชำเลืองดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งแต่พื้นพระบาท จนถึงปลายพระเกสา รู้สมบัติคือลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ อย่าง ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เพราะความที่ตนมีอธิการได้กระทำแล้ว ในอังควิชชา คิดว่า นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ที่สมณะเห็นปานนี้ จะพึง พูดเท็จ ในทันใดนั้นเทียว ก็เกิดมานะมาก ละการพูดว่า สมณะ ในพระผู้มี พระภาคเจ้าแล้ว ทูลร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระโคตร จึงกราบทูล ว่า ก็ข้าพระองค์ย่อมไม่เห็นแอกของท่านพระโคดมเลย. พราหมณ์มีปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 266
เฉียบแหลม กราบทูลอย่างนี้แล้ว ก็รู้ว่า พระสมณะนี้ ตรัสอย่างนี้ หมายถึง เนื้อความลึกซึ้ง ประสงค์จะรู้เนื้อความที่ทูลถาม ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถา ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาถาย ได้แก่ ด้วยคำที่กำหนดแล้ว ด้วยอักษรบท. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า ได้กล่าวแล้ว. พราหมณ์เมื่อ ทูลถามถึงการประกอบเครื่องมือของการทำนามีแอกและไถเป็นต้น จึงทูลว่า ไถ ดังนี้ ในคาถานั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระพุทธานุภาพ ซึ่งเป็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประกอบด้วยการเปรียบเทียบบุพธรรมอย่างไร เมื่อจะทรงบัญญัติด้วยรูปธรรม อันเปรียบเทียบด้วยบุพธรรม จึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช.
ถามว่า ก็การเปรียบเทียบด้วยบุพธรรมในคาถานี้เป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพราหมณ์ทูลถามถึงการประกอบเครื่องมือของการทํานามีแอก และไถเป็นต้น แล้วมิใช่หรือ? ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นแล เมื่อจะให้พราหมณ์รู้ด้วย การเปรียบเทียบพืชที่ไม่ได้ทูลถาม จึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช และเมื่อเช่นนั้น มีอยู่ กถานี้ ก็ไม่มีอนุสนธินั่นเทียว.
ตอบว่า กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่มีอนุสนธิ หามีไม่ ทั้งไม่ยกตรัสถึงการเปรียบเทียบด้วยบุพธรรมด้วยก็หามิได้ ก็บัณฑิตพึงทราบ อนุสนธิในพระสูตรนี้อย่างนี้ ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกพราหมณ์นี้ทูลถาม ถึงไถด้วยอำนาจแห่งเครื่องมือของการทำนามีแอกและไถเป็นต้น พระองค์ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 267
ตรัสเลี่ยงว่า สิ่งนี้ ไม่ได้ถาม ด้วยความอนุเคราะห์พราหมณ์ เมื่อทรงแสดงไถ จำเดิมแต่ต้น เพื่อให้พราหมณ์รู้ไถ ซึ่งมีมูล มีอุปการะ มีเครื่องมือ มีผล จึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช จริงอยู่ พืชเป็นมูลแห่งการไถ โดยจะพึงทำในเมื่อ พืชนั้นมี โดยไม่พึงกระทำในเมื่อพืชนั้นไม่มี และโดยพึงกระทำตามประมาณ แห่งพืชนั้น ครั้นเมื่อพืชมี ชาวนาทั้งหลายจึงทำการไถ เมื่อพืชไม่มี ก็ไม่ ทำการไถ ตามประมาณแห่งพืช ชาวนาทั้งหลายผู้ฉลาด ย่อมไถนาด้วยหวังว่า ขอพืชอย่าพร่อง ข้าวกล้าของพวกเราอย่าเสื่อม ว่าขอพืชอย่าเกิน ความ พยายามของพวกเราอย่าสูญเปล่า ก็เพราะพืชนั่นแล เป็นมูล เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงไถจำเดิมแต่ต้น ทรงให้พราหมณ์รู้บุพธรรม แห่งไถของพระองค์ โดยเปรียบเทียบกับพืชอันเป็นบุพธรรมแห่งไถของ พราหมณ์ จึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยบุพธรรม ในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.
หากมีคำถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมที่พราหมณ์ทูลถาม เท่านั้น ภายหลังไม่ตรัสธรรมที่พราหมณ์ไม่ทูลถาม เพราะเหตุอะไร?
ตอบว่า เพราะพระองค์ทรงมีอุปการะแก่พราหมณ์ และเพราะพระองค์ เป็นผู้สามารถในการเชื่อมพระธรรม ก็พราหมณ์นี้มีปัญญา แต่ขาดศรัทธา เพราะตนเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ และคนที่ขาดศรัทธาแต่มีปัญญา ไม่ปฏิบัติใน สิ่งที่ไม่เป็นวิสัยของตน ตามศรัทธาของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษ ก็ ศรัทธาของพราหมณ์นั้น แม้มีลักษณะเพียงความไม่เลื่อมใสในการไปปราศกิเลส และการลุกขึ้นตามกาล ก็ทุรพล เป็นไปพร้อมกับปัญญาที่มีกำลังย่อมไม่ทำความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 268
สำเร็จประโยชน์ ดุจโคเทียมในแอกอันเดียวกันกับช้าง เพราะฉะนั้น ศรัทธา ของพราหมณ์นั้น ยังมีอุปการะ เนื้อความนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง พราหมณ์นั้นให้ตั้งอยู่ในศรัทธา อันจะพึงตรัสแม้ภายหลัง แต่ตรัสก่อน เพราะ ความที่พราหมณ์นั้นยังมีอุปการะ อย่างนี้ เหมือนตรัสไว้แม้ในที่อื่น เพราะ ความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนาว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมเสบียง และว่า ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน และว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐสุดของบุรุษ ในโลกนี้ และว่า คนย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา และว่า มหานาคมีศรัทธา เป็นมือ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้มีศรัทธาแล ดังนี้. ฝน มีอุปการะแก่พืชนั้น ฝนนั้นพระองค์ตรัสในลำดับแห่งศรัทธานั่นแล้ว จึง เป็นการเหมาะสม เนื้อความนี้ พระองค์ควรตรัสแม้ในภายหลัง แต่ตรัสไว้ก่อน เพราะความที่พระองค์เป็นผู้สามารถเชื่อมธรรมด้วยประการฉะนี้. และธรรมอื่น มีงอนไถและเชือกเป็นต้น มีวิธีอย่างนี้.
ในพระสูตรนั้น ศรัทธามีความเลื่อมใสพร้อมเป็นลักษณะ หรือมีการ หยั่งลงเป็นลักษณะ มีการวิ่งไปเป็นรส มีการน้อมใจเชื่อเป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีการไม่ขุ่นมัวเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโสตาปัตติยังคะเป็นปทัฏฐาน หรือ มีธรรมควรเชื่อเป็นปทัฏฐาน เป็นความเลื่อมใสของจิต เหมือนความใสของ วัตถุมีกระจกหรือพื้นน้ำเป็นต้น เป็นที่ผ่องใสของสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ดุจ แก้วมณีอันยังน้ำให้ใส เป็นที่ผ่องใสของน้ำฉะนั้น.
บทว่า พีชํ ได้แก่ พืช ๕ ชนิด คือ มูลพืช ขันธพืช ผลุพืช อัคคพืช พีชพืชเป็นที่ ๕. พืชนั้นแม้ทั้งหมด ย่อมถึงการนับว่าพืชทั้งนั้น เพราะอรรถว่างอกขึ้น เหมือนอย่างท่านกล่าวไว้ว่า ก็นั่นชื่อว่า พืช เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 269
อรรถว่างอกขึ้น. ในพืชเหล่านั้น พืชอันเกิดแต่รากแห่งการไถของพราหมณ์ ย่อมทำกิจ ๒ อย่างคือ ขั้นต่ำดำรงอยู่ด้วยราก ขั้นสูงออกหน่อ ฉันใด ศรัทธา อันเป็นรากแห่งการไถของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขั้นต่ำดำรงอยู่ด้วยรากคือศีล ขั้นสูงออกหน่อสมถะและวิปัสสนา ฉันนั้น.
อนึ่ง พืชนั่นดูดรสแห่งดิน รสแห่งน้ำ ด้วยราก ย่อมเจริญด้วยก้าน เพื่อรับความแก่รอบแห่งธัญชาติ ฉันใด ศรัทธานี้ก็ฉันนั้น รับรสคือสมณะ และวิปัสสนา ด้วยรากคือศีล ย่อมเจริญด้วยก้านคืออริยมรรค เพื่อรับความ แก่รอบแห่งอริยผล.
อนึ่ง พืชนั้นตั้งอยู่ในดินดี ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ด้วยราก หน่อ ใบ ก้าน ลำต้น และใบเหลือง ยังน้ำนมให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมสำเร็จเป็น รวงข้าวสาลีอันเต็มด้วยผลข้าวสาลีมิใช่น้อย ฉันใด ศรัทธานี้ก็ฉันนั้น ดำรง อยู่ในจิตสันดานแล้ว ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ด้วยศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ยังน้ำนมคือญาณทัสสนวิสุทธิให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้สำเร็จ พระอรหัตตผลอันเต็มด้วยปฏิสัมภิทาธรรมมิใช่น้อย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช ดังนี้.
ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ครั้นเมื่อกุศลธรรมมากกว่า ๕๐ อย่าง เกิดรวมกัน เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืชเล่า?
ตอบว่า เพราะศรัทธาทำหน้าที่พืช จริงอยู่ ในธรรมเหล่านั้น วิญญาณ เท่านั้น ย่อมทำหน้าที่รู้แจ้ง ฉันใด ศรัทธาย่อมทำหน้าที่พืชฉันนั้น เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 270
ศรัทธานั้น เป็นรากเหง้าแห่งกุศลทั้งปวง เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า คน เกิดศรัทธาย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยหู เงี่ยหูแล้ว ย่อมฟังธรรม ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงธรรม ย่อมใคร่ครวญอรรถ แห่งธรรมทั้งหลายที่ทรงแล้ว เมื่อใคร่ครวญอรรถ ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อ การเพ่ง เมื่อมีการทนต่อการเพ่งธรรม ฉันทะย่อมเกิด ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม อุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมเทียบเคียง ครั้นเทียบเคียงแล้วย่อมตั้งมั่น เป็นผู้มีตนตั้งมั่นแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยกาย และย่อมเห็น แทงตลอด ซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดังนี้. *
ธรรมใดย่อมแผดเผาอกุศลธรรมทั้งหลายและกาย เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า ตบะ ความเพียร คำว่า ตบะนั่น เป็นชื่อแห่งอินทรียสังวร วิริยธุดงค์ และการบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็อินทรียสังวรท่านประสงค์เอาในพระสูตร นี้. บทว่า วุฏฺิ ได้แก่ ฝนหลายอย่าง มีฝนในฤดูฝน และลมฝนเป็นต้น. ฝนในฤดูฝนท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้. เหมือนอย่างว่า พืชอันฝนในฤดู ฝนอนุเคราะห์ดีแล้ว และข้าวกล้าซึ่งมีพืชเป็นมูลของพราหมณ์ ย่อมงอกงาม ไม่เหี่ยวแห้ง ย่อมถึงความสำเร็จฉันใด ศรัทธาอันอินทรียสังวรอนุเคราะห์ดี แล้ว และธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ซึ่งมีศรัทธาเป็นมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมงอกงาม ย่อมไม่เหี่ยวแห้ง ย่อมถึงความสำเร็จฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตบะคือความเพียรเป็นฝน ดังนี้.
ก็ เม ศัพท์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทว่า ปญฺา เม ดังนี้ นั้น ผู้ศึกษาพึงประกอบในบทแม้เหล่านี้ว่า สทฺธา เม พีชํ ตโป เม วุฏฺิ
* ม.ม. จงฺกีสุตฺต ๕๘๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 271
แปลว่า ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรด้วยบทนี้ พระองค์ทรงแสดงว่า ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อพืชอันท่านหว่านแล้ว ถ้ามีฝน ก็เป็นการดี ถ้าไม่มีฝน แม้น้ำอันท่าน จะต้องให้ ฉันใด เมื่องอนไถคือหิริ แอกและไถคือปัญญา เราทำรวมกัน กับเชือกคือใจ เทียมโคพลิพัทคือความเพียร แทงด้วยปฏักคือสติ หว่านพืช คือศรัทธา ในนาคือจิตสันดานของตน ชื่อว่าความไม่มีฝนไม่มี ก็ตบะคือ ความเพียรติดต่อสม่ำเสมอของเรานี้ เป็นฝน.
ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องรู้ชัดของบุคคล หรือบุคคลย่อมรู้เอง. ปัญญานั้นมีหลายอย่าง ต่างโดยกามาวจรเป็นต้น ก็มรรค ปัญญาพร้อมกับวิปัสสนา ทรงพระประสงค์เอาในคาถานี้. บทว่า ยุคนงฺคลํ ได้แก่ แอกและไถ ชื่อว่า ยุคนงฺคลํ แปลว่า แอกและไถ. ก็แอกและไถ ของพราหมณ์ ฉันใด ปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มีแม้ ๒ อย่าง ฉันนั้น.
ในคาถานั้น แอกเป็นอุปนิสัยของงอนไถ ย่อมอยู่ข้างหน้าเนื่องกับ งอนไถ เป็นนิสัยของเชือกทั้งหลาย ย่อมทรงไว้ซึ่งการไปร่วมกันของโคพลิพัท ทั้งหลาย ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้น เป็นอุปนิสัยของธรรมทั้งหลายมีหิริเป็น ประมุข เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ธรรม (กุศล) ทั้งหมดมีปัญญาเป็นอย่างยิ่ง และว่า ก็บัณฑิตผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐที่สุด ดุจเดือน ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลายฉะนั้น และปัญญาอยู่หน้าของกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะอรรถว่า เป็นหัวหน้า เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ศีล แม้สิริและธรรม ของสัตบุรุษย่อมคล้อยตามคนมีปัญญา ปัญญาชื่อว่าเนื่องกับงอนไถ เพราะไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 272
เกิดขึ้นโดยปราศจากหิริ เป็นนิสัยของเชือกทั้งหลาย โดยเป็นนิสสยปัจจัยแห่ง เชือกคือสมาธิ กล่าวคือใจ ย่อมทรงไว้ซึ่งการไปโดยร่วมกันแห่งโคพลิพัท คือความเพียร เพราะปฏิเสธการปรารภความเพียรจัดและความย่อหย่อนเกินไป.
ก็ไถประกอบกับผาลแล้ว ย่อมทำลายก้อนดิน ในเวลาไถย่อมชำแรก วัชพืชที่มีราก ฉันใด ปัญญาที่ประกอบด้วยสติก็ฉันนั้น ย่อมทําลายก้อนแห่ง อารมณ์อันมีหน้าที่ประชุมความสืบต่อแห่งธรรมทั้งหลาย ในเวลาวิปัสสนา ย่อม ชำแรกการสืบต่อแห่งกิเลสมูลทั้งหมด ก็ปัญญานั้นแล เป็นโลกุตระอย่างเดียว และปัญญานอกนี้พึงเป็นโลกิยะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ ดังนี้.
ชื่อว่า หิริ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องละอายของบุคคล หรือบุคคลย่อมละอายเอง คือเกลียดความเป็นไปแห่งอกุศล โอตตัปปะเป็นอัน ถือเอาแล้วเทียว โดยความเป็นธรรมไปร่วมกันกับหิริศัพท์นั้น. บทว่า อีสา ได้แก่ ท่อนไม้ที่ทรงแอกและไถไว้. เปรียบเหมือนงอนไถของพราหมณ์ ย่อม ทรงไว้ซึ่งแอกและไถ ฉันใด หิริแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ชื่อว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งแอกและไถ กล่าวคือโลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญา เพราะเมื่อ หิริไม่มี ปัญญาก็ไม่มี แอกและไถที่เนื่องด้วยงอนไถ ย่อมทำหน้าที่ไม่ให้หวั่น ไหว ไม่ย่อหย่อน ฉันใด ก็ปัญญาอันเนื่องด้วยหิริก็ฉันนั้น ย่อมทำหน้าที่ ไม่ให้หวั่นไหว ไม่ย่อหย่อน ไม่เกลื่อนกล่นด้วยความไม่มีหิริ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หิริ เป็นงอนไถ ดังนี้.
ชื่อว่า มโน ด้วยอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมรู้ คำว่า มโน นั่นเป็นชื่อ ของจิต ก็สมาธิที่ประกอบพร้อมด้วยจิตนั้น โดยใจเป็นประธาน ทรงพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 273
ประสงค์เอาในคาถานี้. บทว่า โยตฺตํ ได้แก่ เครื่องผูกคือเชือก. เชือกนั้น มี ๓ อย่าง คือ เชือกผูกแอกกับงอนไถ ๑ เชือกผูกโคพลิพัททั้งหลายกับ แอก ๑ เชือกผูกโคพลิพัททั้งหลายกับสารถี ๑. ในเชือก ๓ อย่างนั้น เชือก ของพราหมณ์ทำงอนไถ แอก และโคพลิพัททั้งหลายให้เกี่ยวเนื่องกัน ย่อม ยังกิจของตนสำเร็จ ฉันใด สมาธิของพระผู้มีพระภาคเจ้าผูกธรรมคือ หิริ ปัญญา และวิริยะเหล่านั้นทั้งหมดเทียว ให้เป็นอารมณ์เดียว โดยความเป็น ธรรมไม่ฟุ้งซ่าน ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ใจ เป็นเชือก ดังนี้.
ชื่อว่า สติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องระลึกของบุคคล หรือ บุคคลระลึกถึงประโยชน์ที่ทำไว้แล้วนานเป็นต้นได้ด้วยตนเอง. สตินั้นมีความ ไม่หลงลืมเป็นลักษณะ. ธรรมชาติใดย่อมให้ดินแตก เพราะเหตุนั้น ธรรมชาติ นั้นชื่อว่า ผาล. บุคคลย่อมแทงด้วยวัตถุนั้น เพราะเหตุนั้น วัตถุนั้นชื่อว่า ปาชนํ ปฏัก ปฏักนั้นเรียกว่า ปาจนํ (ปฎัก) ในคาถานี้. คำว่า ปาจนํ นั้น เป็นชื่อของวัตถุสำหรับแทง (ปฏัก). ผาลและปฏัก ชื่อว่า ผาลปาจนํ. ก็ผาลและปฏักของพราหมณ์ฉันใด สติอันประกอบด้วยวิปัสสนา และประกอบ ด้วยมรรคของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น.
ในข้อนั้น ผาลย่อมตามรักษาไถ และไปข้างหน้าของไถนั้น ฉันใด สติก็ฉันนั้นเป็นคติของกุศลธรรมทั้งหลาย ระลึกพร้อมอยู่ หรือให้อารมณ์ ทั้งหลายปรากฏขึ้นอยู่ ชื่อว่า ย่อมรักษาไถคือปัญญา. จริงอย่างนั้น สติ ท่านเรียกว่า อารักขา ดุจในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุอยู่ด้วยจิตอันมีสติเป็น เครื่องอารักขา ดังนี้ * และย่อมนำหน้าปัญญานั้น ด้วยอำนาจความไม่หลงลืม
* ที. ปา. ๒๗๕. สตารกฺเขน เจตสา สมนฺนาคโต วิหรติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 274
เพราะปัญญาย่อมรู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีสติสั่งสมแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งธรรม ทั้งหลายที่มีสติหลงลืมแล้ว. เหมือนอย่างว่า ปฏัก แสดงอยู่ ซึ่งภัยคือการแทง แก่โคพลิพัททั้งหลาย ย่อมไม่ให้หยุด และย่อมห้ามไปนอกทาง ฉันใด สติก็ฉันนั้น แสดงอยู่ซึ่งภัยในอบาย แก่โคพลิพัทคือวิริยะ ย่อมไม่ให้จมอยู่ ในความเกียจคร้าน ย่อมห้ามอโคจรทั้งหลาย กล่าวคือการกามคุณ ครั้นห้ามแล้ว ย่อมให้ประกอบในกรรมฐาน และย่อมห้ามการไปนอกทาง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สติเป็นผาลและปฏักของเรา ดังนี้.
บทว่า กายคุตฺโต ความว่า คุ้มครองด้วยกายสุจริต ๓ อย่าง. บทว่า วจีคุตฺโต ความว่า คุ้มครองด้วยวจีสุจริต ๔ อย่าง. ปาฏิโมกสังวรศีล ตรัสแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในบทว่า อาหาเร อุทเร ยโต นี้ สำรวมคือสำรวมพร้อมแล้ว อธิบายว่า มีอุปกิเลสไปปราศแล้ว ในปัจจัยแม้ ๔ อย่า ง เพราะความที่ปัจจัยทั้งหมดทรงสงเคราะห์แล้ว ด้วยอาหารเป็น ประธาน. อาชีวปาริสุทธิศีล ตรัสแล้วด้วยบทนี้. บทว่า อุทเร ยโต ความว่า สำรวม คือ สำรวมพร้อมแล้วในท้อง คือ บริโภคมีกำหนด มี อธิบายว่า รู้ประมาณในอาหาร. ปัจจัยปฏิเสวนศีล ตรัสแล้วด้วยความเป็นผู้รู้ ประมาณในโภชนะเป็นประธาน ด้วยบทนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไร ด้วยบทนั้น ทรงแสดงว่า ดูก่อน พราหมณ์ ท่านหว่านพืชแล้ว ย่อมทำรั้วหนาม รั้วไม้ หรือล้อมกำแพง เพื่อรักษาข้าวกล้า ด้วยรั้วนั้น ฝูงโค กระบือและเนื้อ เมื่อไม่ได้การเข้าไป ย่อมไม่แย่งกินข้าวกล้าของท่าน ฉันใด เราก็ฉันนั้น หว่านพืชคือศรัทธา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 275
นั้นแล้ว ทำการล้อม ๓ อย่าง อันสำเร็จแต่การคุ้มครองกาย วาจา และอาหาร เพื่อรักษาข้าวกล้า คือ กุศลอันมีประการต่างๆ ด้วยการล้อมนั้น ฝูงโค กระบือและเนื้อ คือ อกุศลธรรมมีราคะเป็นต้น เมือไม่ได้การเข้าไป ย่อม ไม่แย่งกินข้าวกล้า คือ กุศลของเรา ดังนี้.
ในบทว่า สจฺจํ กโรมิ มิทฺธานํ นี้ การตัด การเกี่ยว การถอนขึ้น ชื่อว่า การถอนหญ้า ด้วยสัจจะอันไม่กล่าวให้พลาดด้วยทวารทั้งสอง. ก็คำว่า สจฺจํ นั่นเป็นทุติยาวิภัตติ พึงทราบว่า ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ก็ เนื้อความในบทว่า สจฺจํ กโรมิ มิทฺธานํ นั้นมีดังนี้ว่า สจฺเจน กโรมิ นิทฺธานํ แปลว่า เราย่อมการทำการถอนหญ้า ด้วยสัจจะ.
มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ท่านไถนาภายนอกแล้ว ย่อมกระทำ การถอนหญ้าอันประทุษร้ายข้าวกล้า ด้วยมือ หรือด้วยเคียว ฉันใด แม้เรา ก็ฉันนั้น ไถนาอันมีในภายในแล้ว ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือการกล่าว ให้พลาด ซึ่งประทุษร้ายข้าวกล้า คือ กุศล ด้วยสัจจะ. อีกอย่างหนึ่ง ญาณสัจจะ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณ พึงทราบว่า สัจจะในบทว่า สจฺจํ กโรมิ นิทฺธานํ นี้. ผู้ศึกษาพึงประกอบอย่างนี้ว่า เรากระทำการถอนหญ้าทั้งหลาย มีอัตตสัญญาเป็นต้น ด้วยสัจจะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นิทฺธานํ ได้แก่การตัด การเกี่ยว อธิบายว่า การถอน. เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านย่อมให้ทาสหรือกรรมกรทำการถอนว่า เจ้าจงถอนหญ้าทั้งหลาย คือให้ทำการตัด การเกี่ยว การถอน หญ้าทั้งหลาย ฉันใด เราย่อมกระทำสัจจะฉันนั้น การกล่าวด้วยทุติยาวิภัตตินั่นแล ก็ควร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 276
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สจฺจํ ได้แก่ ทิฏฐิสัจจะ การกล่าวด้วย ทุติยาวิภัตตินั่นแล แม้อย่างนี้ว่า เราย่อมกระทำการถอนนั้น คือ ย่อมกระทำ กิจอันจะพึงตัด พึงเกี่ยว พึงถอนขึ้น ดังนี้ ก็ควร.
ในบทว่า โสรจฺจํ เม ปโมจนํ นี้ ศีลนั้นใดอย่างนี้ว่า ความ ไม่ละเมิดทางกาย ความไม่ละเมิดทางวาจานั่นแล เรียกว่า โสรัจจะ ความสงบ เสงี่ยม ศีลนั้นไม่ประสงค์เอาในคาถานี้ ศีลนั้นได้กล่าวแล้วเทียว โดยนัยมีอาทิ ว่า คุ้มครองกาย แต่พระอรหัตตผลอันท่านประสงค์แล้ว ด้วยว่าพระอรหัตตผล แม้นั้น เรียกว่า โสรัจจะ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยินดีแล้วในนิพพาน อันสุนทร. บทว่า ปโมจนํ ได้แก่ เป็นเครื่องสละโยคะ.
มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า การปลดเปลื้องของท่านยังไม่เป็นการ ปลดเปลื้องเลย เพราะท่านจะพึงประกอบในเวลาเย็น ในวันที่ ๒ หรือในปี ต่อไปแม้อีก ฉันใด การปลดเปลื้องของเราไม่เป็นฉันนั้น เพราะชื่อว่าการ ปลดเปลื้องในระหว่างของเราไม่มี ด้วยว่า เราได้ประกอบโคพลิพัท คือ วิริยะ ทั้งหลายในไถคือปัญญา จำเดิมแต่กาลแห่งพระทศพลพระนามว่า ทีปังกร ไถอยู่ซึ่งการไถใหญ่ตลอดสี่อสงไขยและแสนกัป ยังไม่เลิกละ ตราบเท่าที่เรา ยังไม่ได้ตรัสรู้ชอบเฉพาะ ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ และในกาลใด พระอรหัตตผลอันมีคุณทั้งหมดเป็นบริวารได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ยังกาลนั้นทั้งหมด ให้สิ้นไปแล้ว นั่งในอปราชิตบัลลังก์ ที่โคนต้นโพธิ์ ในกาลนั้น พระอรหัตตผล นั้นเราได้ปลดเปลื้องแล้ว ด้วยการบรรลุปฏิปัสสัทธิอันยอดเยี่ยมทั้งหมด จัก ไม่เป็นกิจที่จะพึงประกอบอีกในบัดนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 277
หมายถึงเนื้อความนั่น จึงตรัสว่า ความสงบเสงี่ยมของเรา เป็นเครื่อง ปลดเปลื้องกิเลส ดังนี้.
ในบทว่า วิริยํ เม ธุรโธรยฺหํ นั่น บทว่า วิริยํ ได้แก่ ปธาน คือความเพียรที่กล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า การปรารภความเพียรทางกายหรือ ทางใจ นำธุระไปเพื่อธุระ ชื่อว่า ธุรโธรยฺหํ อธิบายว่า ย่อมนำธุระไป. เหมือนอย่าง ไถของพราหมณ์ นำธุระไปเพื่อธุระลากมาทำลายก้อนดินและ ชำแรกวัชพืชอันมีรากทั้งหลายให้หมดไป ฉันใด ไถคือปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น คร่ามาด้วยความเพียร ย่อมทำลายก้อนดินตามที่กล่าวแล้ว และชำแรกกิเลสสันดานทั้งหลายให้หมดไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระ.
อีกอย่างหนึ่ง ธุระทั้งหลายนำไปซึ่งธุระก่อน นำไปซึ่งมูลธุระ ชื่อว่า นำธุระไป ธุระด้วย นำธุระไปด้วย ชื่อว่า นำธุระไปเพื่อธุระ. ในข้อนั้น ไถของพราหมณ์นำธุระไปอันต่างด้วยโคพลิพัท ๔ ตัว ประกอบในไถแต่ละไถ เมื่อนำไปย่อมยังการทำลายรากหญ้าที่เกิดแล้วและยังไม่เกิด และสมบัติ คือ ข้าวกล้าให้สำเร็จฉันใด ความเพียรของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น นำธุระ ไปเพื่อธุระอันต่างด้วยความเพียรคือสัมมัปปธาน ๔ เมื่อนำไป ย่อมยังการทำลาย อกุศลมูลซึ่งเกิดขึ้นและยังไม่เกิดขึ้น และสมบัติคือกุศลให้สำเร็จ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระ ดังนี้.
ในบทว่า โยคกฺเขมาธิวาหนํ นี้ นิพพานเรียกว่า เกษมจากโยคะ เพราะนิพพานเป็นธรรมเกษมจากโยคะทั้งหลาย นิพพานนั้นชื่อว่า อธิวาหนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 278
เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อันบุคคลบรรลุแล้วย่อมนำไป หรือย่อมถูกนำไป เฉพาะหน้า การนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ชื่อว่า โยคกฺเขมาธิวาหนํ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรด้วยบทนั้น ทรงแสดงว่า ไถนำธุระไปเพื่อ ธุระของท่าน ย่อมนำไปเฉพาะหน้าสู่ทิศตะวันออก หรือทิศใดทิศหนึ่งในทิศ ทั้งหลายมีทิศตะวันตกเป็นต้น ฉันใด ความเพียรของเราก็ฉันนั้น นำธุระไป เพื่อธุระ คือนำไปเฉพาะพระนิพพาน และเมื่อนำไปอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่หวน กลับมา ไถของท่านเมื่อนำไป ชื่อว่า นำธุระไปเพื่อธุระ คือ ถึงที่สุดนาแล้ว กลับมาอีก ฉันใด ความเพียรของเรา ชื่อว่า ไม่หวนกลับมา จำเดิมแต่ พระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะกิเลสทั้งหลายอันมรรคนั้นๆ ละแล้วไม่พึงละอีก ดุจหญ้าทั้งหลายอันไถของท่านตัดแล้ว พึงตัดในสมัยอื่นแม้อีก แม้เพราะฉะนั้น ความเพียรนั่นเมื่อละกิเลสทั้งหลายอันเห็นแล้ว อันไถแล้ว ด้วยอำนาจแห่ง ปฐมมรรค ละซึ่งกิเลสทั้งหลายอันหยาบ ด้วยอำนาจมรรคที่สอง ละซึ่งกิเลส ทั้งหลายอันสหรคตด้วยอำนาจมรรคที่สาม ละซึ่งกิเลสทั้งหมดด้วยอำนาจแห่ง มรรคที่สี่ ชื่อว่า ไม่หวนกลับมา.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า คจฺฉติ อนิวตฺตนฺตํ ความว่า เป็นอันเว้น จากการกลับ คือ ย่อมไป. บทว่า ตํ ได้แก่ ความเพียรนั้น นำธุระไป เพื่อธุระ. พึงทราบการตัดบทในบทนี้อย่างนี้ ก็ความเพียรนั้น เมื่อไปอย่างนี้ ย่อมไม่หวนกลับถึงสถานที่ที่ชาวนาไปแล้ว ไม่เศร้าโศก ปราศจากความโศก ปราศจากความกำหนัด ดุจไถของท่านนั้นนำธุระไปเพื่อธุระ ก็ความเพียรนั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 279
ย่อมถึงสถานที่นั้น. บทว่า ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจติ ความว่า สถานที่ที่ ชาวนาเช่นท่านโจทอยู่ ตักเตือนอยู่ซึ่งความเพียรนั้น อันนำธุระไปเพื่อธุระ คือวิริยะ ด้วยปฏักคือ สติ ไปแล้วไม่เศร้าโศก ปราศจากความเศร้าโศก ปราศจากความกำหนดแล้วไม่เศร้าโศก ความเพียรนั้นเป็นการถอนขึ้นซึ่งลูกศร คือความเศร้าโศกทั้งหมด ย่อมถึงสถานที่กล่าวคือ อมตนิพพาน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงกระทำคำนิคม จึงตรัสพระคาถา นี้ว่า
การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.
คาถานั้น มีเนื้อความโดยย่อดังนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงดูการไถนา นั้น มีศรัทธาเป็นพืช อันความเพียรเป็นฝนอนุเคราะห์แล้ว เราทำแอกและ ไถ อันสำเร็จแล้วแต่ปัญญา และงอนไถอันสำเร็จแล้วแต่หิริให้เนื่องกัน ด้วย เชือกอันสำเร็จแล้วแต่ใจ ตอกซึ่งผาลคือสติ ในไถคือปัญญา จับปฏักคือสติ คุ้มครองด้วยการคุ้มครองกาย วาจา และอาหาร ทำสัจจะเป็นเครื่องถอนหญ้า นําความสงบเสงี่ยมเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรนำธุระไปเพื่อธุระ นำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา ไถแล้ว ให้ถึงสามัญผล ๔ อย่าง อันมีกสิกรรมเป็นที่สุด.
บทว่า สา โหติ อมตปฺผลา ความว่า การไถนานี้นั้นมีผลเป็น อมตะ. นิพพานเรียกว่า อมตะ อธิบายว่า การไถนามีนิพพานเป็นอานิสงส์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 280
ก็การไถนานี้นั้นแล ย่อมมีผลเป็นอมตะสำหรับเราคนเดียวเท่านั้น หามิได้ แต่โดยที่แท้แล คนใดคนหนึ่งจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็น แพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อม ไถนานั้น คนนั้นแม้ทั้งหมด ครั้นไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง คือ ย่อมพ้นจากวัฏทุกข์ ทุกขทุกข์ สังสารทุกข์ วิปริณามทุกข์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำนิพพานเป็นที่สุด ด้วยยอดคือพระอรหัต ทรงยัง เทศนาให้ถึงพร้อมแก่พราหมณ์ ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พราหมณ์ฟังเทศนาอันมีเนื้อความลึกซึ้งแล้ว และทราบว่า เราบริโภคผลแห่งการทำนาแล้ว ย่อมมีความหิวในวันอื่นทีเดียว แต่การไถนา ของพระสมณะนั้นมีผลเป็นอมตะ บุคคลบริโภคผลแห่งการไถนานั้น ย่อมพ้น จากทุกข์ทั้งปวง ดังนี้ เลื่อมใสแล้ว ปรารภแล้ว เพื่อกระทำอาการแห่งผู้ เลื่อมใส เพื่อถวายข้าวปายาส เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงว่า ลำดับ นั้นแล กสิภารทวาชะ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหติยา ได้แก่ อันใหญ่. บทว่า กํสปาติยา ได้แก่ ในถาดทองคำ คือ ในถาดทองของตน ซึ่งมีราคาแสน กหาปณะ. บทว่า วฑฺเฒตฺวา ได้แก่ ตักแล้ว อธิบายว่า เกลี่ยลงแล้ว. บทว่า ภควโต อุปนาเมสิ ความว่า ทำให้วิจิตรด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และ น้ำอ้อยเป็นต้น คลุมด้วยผ้า ยกขึ้น แล้วน้อมถวายแด่พระตถาคตโดยเคารพ. ถามว่า อย่างไร ตอบว่า ขอท่านพระโคดมเสวยข้าวปายาสเถิด เพราะพระองค์ท่านเป็นชาวนา. แต่นั้น ได้กล่าวถึงเหตุอันได้สำเร็จความเป็นชาวนาว่า ย่อมไถนา อันมีผลไม่ตาย. มีอธิบายว่า เพราะย่อมไถนาอันมีผลไม่ตาย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า คาถาภิคีตมฺเม เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 281
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาถาภิคีตํ ได้แก่ ที่ขับกล่อมด้วยคาถา ทั้งหลาย. อธิบายว่า กล่าวคาถาทั้งหลายแล้วได้มา. บทว่า เม ได้แก่ มยา อันเรา. บทว่า อโภชเนยฺยํ ความว่า ไม่ควรบริโภค. บทว่า สมฺปสฺสตํ ความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งอาชีวปาริสุทธิโดยชอบ หรือผู้เห็นอยู่โดยรอบ ชื่อว่า ผู้เห็นอยู่โดยชอบ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า เนส ธมฺโม ความว่า ข้อว่า เราควรบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา นี้ไม่ใช่ธรรม คือ นั่นไม่ใช่จารีต. เพราะเหตุไร? เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงห้าม โภชนะที่ขับกล่อมได้มา คือ ย่อมทรงปฏิเสธ ย่อมไม่ทรงเสวย.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับคาถาเพื่อข้าวปายาส ซึ่งเป็นเหตุ ให้ตรัสอย่างนี้หรือ?
ตอบว่า พระองค์ไม่ทรงขับคาถาเพื่อประโยชน์แก่ข้าวปายาสนั้น แต่ โดยที่แท้แล้ว โภชนะที่พระองค์ประทับยืนที่ใกล้นาแต่เช้าตรู่ ไม่ทรงได้แม้ ภิกษาทัพพีหนึ่งแล้ว ประกาศคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวงได้มานี้นั้น เป็นเช่น กับโภชนะที่นักขับร้องและนักฟ้อนรำทั้งหลาย ฟ้อนและขับร้องได้มา เพราะ ฉะนั้น จึงตรัสว่า ที่ขับกล่อมได้มา. ก็โภชนะเช่นนั้นย่อมไม่ควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราไม่ควรบริโภคโภชนะ. ก็ โภชนะนั้นไม่สมควรแก่ความเป็นผู้ปรารถนาน้อย แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอนุเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง จึงตรัสว่า เราไม่ควรบริโภค โภชนะที่ขับกล่อมได้มานั่น. และพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปฏิเสธลาภที่เกิดขึ้น ด้วยคุณของตน แม้อันคนอื่นประกาศแล้ว ณ ที่ใดๆ เหมือนฆฏิการ บุตร ช่างหม้อผู้มีความปรารถนาน้อย ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 282
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้ปรารถนาน้อย ถึงสุดยอดแล้ว จักทรงยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการประกาศพระคุณของ พระองค์ได้อย่างไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนั้นเหมาะสมแล้วเทียว.
ตอบว่า ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระองค์เมื่อจะเปลื้องพระองค์จาก คำติเตียนของชาวโลกนี้ว่า พระสมณโคดมทรงทำพราหมณ์ผู้ไม่เลื่อมใส ไม่ ประสงค์จะถวายให้เป็นผู้ใคร่เพื่อถวาย ด้วยการตรัสคาถา แล้วทรงรับโภชนะ พระเทศนาของพระสมณโคดมนี้ มีอามิสเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว ทรงแสดงเทศนา ปาริสุทธิ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอาชีวปาริสุทธิ จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ การแสวงหานี้เป็นความประพฤติ ดังนี้.
เนื้อความแห่งพระดำรัสนั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ เมื่ออาชีวปาริสุทธิ- ธรรม สุจริตธรรม ๑๐ อย่าง หรือจาริตธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่ คือ มีพร้อม ติดตามพร้อม เป็นไปอยู่ การแสวงหา คือ การแสวงหาทั่ว อันขาวสะอาดโดยส่วนเดียว ดุจเหยียดฝ่ามือในอากาศ นี้เป็นความประพฤติ คือ เป็นความประพฤติประจำชีวิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์เกิดโทมนัสว่า พระสมณโคดมทรงปฏิเสธข้าวปายาสของเรา ได้ยินว่า โภชนะนั่นไม่ควร เมื่อเป็นเช่นนี้ เราย่อมไม่ได้เพื่อถวายสิ่งอื่นในพระองค์เลย และคิดว่า พระสมณโคดมพึงทรงรับสิ่งอื่นกระมัง ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดังนั้น แล้ว ทรงดำริว่า เรากำหนดเวลาเพื่อภิกขาจารแล้วจึงมา จักยังพราหมณ์นี้ ให้เลื่อมใส ด้วยกาลเพียงนี้ เมื่อจะยังมโนรถที่พราหมณ์ปรารถนาให้เต็ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 283
เพื่อให้ความเลื่อมใสเกิดแก่พราหมณ์ว่า ก็พราหมณ์ได้ทำโทมนัส บัดนี้ ยัง จิตให้กำเริบในเราด้วยโทมนัสนั้นแล้ว จักไม่อาจเพื่อแทงตลอด ซึ่งธรรมอัน ประเสริฐ คือ อมตะ จึงตรัสว่า อญฺเน จ เกวลินํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลินํ ความว่า ผู้บริบูรณ์แล้วด้วย คุณทั้งปวง คือ ผู้ปราศจากโยคะทั้งหมดแล้วเทียว. ชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณอัน ใหญ่ เพราะแสวงหาคุณทั้งหลาย มีศีลขันธ์เป็นต้นอันใหญ่ ชื่อว่า พระขีณาสพ เพราะความเป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงสิ้นหมดแล้ว ชื่อว่า ผู้มีความคะนองอันสงบ แล้ว เพราะความที่พระขีณาสพมีความคะนองทั้งปวง ซึ่งทำความคะนองมือ และคะนองเท้าเป็นต้น อันสงบแล้ว. บทว่า อุปฏฺหสฺสุ ความว่า เชิญ ท่านอังคาส คือ เชิญท่านนับถือ. ครั้นจิตอันพราหมณ์แม้ให้เกิดอย่างนี้แล้ว พระองค์ตรัสปริยายเท่านั้น แต่ไม่ตรัสว่า ท่านจงนำมา ดังนี้. บทที่เหลือ ในคาถานี้ มีความตื้นทั้งนั้นแล.
ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า ข้าวปายาสนี้เรานำมาเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เราไม่ควรให้ข้าวปายาสนั้นแก่ใครๆ ตามความพอใจของตนดังนี้แล้ว กราบทูลว่า ข้าพระองค์จะถวายข้าวปายาสนี้แก่ใคร. แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ข้าวปายาสนั้นว่า ข้าวปายาสนี้มีความไม่ย่อยเป็นธรรมดาแก่คนอื่น ยกเว้น พระตถาคต และสาวกของพระตถาคต จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺตํ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น ทรงถือเอาเทวดาชั้นกามาวจร ๕ ด้วยพระดำรัสว่า สเทวกะ ทรงถือเอาเทวดาชั้นกามาวจรที่ ๖ ด้วยพระดำรัสว่า สมารกะ ทรง ถือเอารูปาวจรพรหม ด้วยพระดำรัสว่า สพรหมกะ ส่วนเทวดาชั้นอรูปาวจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 284
พึงบริโภค เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องแนะนำเพิ่มอีก ทรงถือเอาสมณพราหมณ์ ผู้เป็นข้าศึกหรือเป็นศัตรูต่อศาสนา และทรงถือเอาสมณพราหมณ์ผู้มีบาปสงบ แล้ว หรือมีบาปอันลอยแล้ว ด้วยพระดำรัสว่า สัสสมณพราหมณี ทรงถือ เอาสัตวโลก ด้วยพระดำรัสว่า ปชา ทรงถือเอาสมมติเทวดาและมนุษย์ที่เหลือ ด้วยพระดำรัสว่า สเทวมนุสสะ ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า โอกาสโลกทรง ถือด้วยพระดำรัส ๓ อย่าง สัตวโลกทรงถือด้วยพระดำรัส ๒ อย่าง ด้วยอำนาจ แห่งปชา ด้วยประการฉะนี้. ความสังเขปเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ข้าพเจ้า จักพรรณนาไว้ในอาฬวกสูตร.
ถามว่า ก็ข้าวปายาสนี้ อันใครๆ ในโลกพร้อมกับเทวโลกเป็นต้น บริโภคแล้ว จะไม่พึงให้ย่อยได้โดยชอบ เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะใส่โอชะอันละเอียดในข้าวปายาสอันหยาบ. จริงอย่าง นั้น เทวดาทั้งหลายใส่โอชะในข้าวปายาสนี้ ที่สักว่าพราหมณ์ถืออุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียว ดุจในข้าวปายาสของนางสุชาดา ในสูกรมัททวะของนาย จุนทะที่กำลังปรุง ในคำข้าวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้วๆ ในเมืองเวรัญชา และในงบน้ำอ้อยที่เหลือในหม้อน้ำอ้อยของพระกัจจายตนะ ในเภสัชชขันธกะ ฉะนั้น.
ข้าวปายาสนั้นย่อมไม่ย่อยสำหรับเทวดาทั้งหลาย เพราะใส่โอชะอัน ละเอียดในของที่หยาบ เพราะเทวดาทั้งหลายมีร่างกายสุขุม อาหารของมนุษย์ ที่หยาบ ย่อมไม่ย่อยโดยชอบแก่เทวดาเหล่านั้น. ย่อมไม่ย่อยแม้แก่มนุษย์ ทั้งหลาย เพราะมนุษย์ทั้งหลายมีร่างกายหยาบ ทิพโพชะอันละเอียด ย่อมไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 285
ย่อยโดยชอบแก่มนุษย์เหล่านั้น. แต่สำหรับพระตถาคตย่อมย่อยตามไฟธาตุปกติ ย่อมย่อยโดยชอบ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ตามอำนาจแห่งกำลังกายและ กำลังญาณ และย่อมย่อยสำหรับพระขีณาสพผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ด้วย กำลังสมาธิ และด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณ ย่อมไม่ย่อยสำหรับบุคคลนอกนี้ แม้จะมีฤทธิ์ อีกอย่างหนึ่ง เหตุในเรื่องนี้เป็นอจินไตย นั่นเป็นวิสัยของ พระพุทธเจ้า.
บทว่า เตนหิ ตฺวํ มีอธิบายว่า เพราะเราไม่เห็นบุคคลอื่น ข้าว ปายาสนั้นไม่ควรแก่เรา เมื่อไม่ควรแก่เรา ก็ไม่ควรแม้แก่สาวกของเรา เพราะ ฉะนั้น ท่าน พราหมณ์.
บทว่า อปฺปหริเต ความว่า ในหญ้าเขียวเล็กน้อย หรือในหญ้า เขียวงอกเล็กน้อย เป็นเช่นกับพลานหีน. บทว่า อปฺปาณเก ความว่า ใน ห้วงน้ำใหญ่อันปราศจากตัวสัตว์ หรือเว้นจากตัวสัตว์อันจะพึงตาย เพราะเหตุ ที่เทข้าวปายาสลง. บทว่า อปฺปาณเก นั่น ตรัสเพื่อประโยชน์แก่การอนุเคราะห์ หญ้าและสัตว์ทั้งหลายรวมทั้งสัตว์ที่อาศัยหญ้า.
บทว่า จิจฺจิฏายติ จิฏิจิฏายติ ความว่า ย่อมทำเสียงอย่างนั้น. บทว่า สนฺธูมายติ ได้แก่ ควันกลุ้มโดยรอบ. บทว่า สํปธุมายติ ได้แก่ ควันกลุ้มมีประมาณยิ่งอย่างนั้นเทียว. ถามว่า ควันกลุ้มได้มีอย่างนั้น เพราะ เหตุอะไร ตอบว่า เพราะอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ใช่เพราะอานุภาพ แห่งน้ำ ข้าวปายาส พราหมณ์ เทวดาหรือยักษ์เป็นต้นเหล่าอื่น ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานอย่างนั้น เพื่อธรรมสังเวชแก่พราหมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 286
บทว่า เสยฺยถาปิ นาม นั่นเป็นการแสดงข้อเปรียบเทียบ. บทว่า ยถา ผาโล เป็นอันตรัสแล้วเพียงเท่านี้แล. พราหมณ์สลดจิต มีร่างกาย ชูชันด้วยขน ได้ยินว่า ขนจำนวน ๙๙,๐๐๐ ขุมในร่างกาย ชูชันขึ้น ดุจฟัน นาคแก้วมณีที่เขาตอกในฝาทองคำฉะนั้น บทที่เหลือปรากฏแล้วเทียว. ส่วน พราหมณ์หมอบลงแทบพระยุคลบาท เมื่อจะชมเชยพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้ เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ดังนี้.
ก็อภิกกันตศัพท์ในพระสูตรนี้ ใช้ในการอนุโมทนาอย่างยิ่ง ส่วน การพรรณนาเนื้อความแห่งอภิกกันตศัพท์นั้น จักแจ่มแจ้งโดยพิสดารในอรรถกถาแห่งมูลสูตร พึงทราบว่า ก็เพราะอภิกกันตศัพท์ใช้ในอรรถแห่งการ อนุโมทนาอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น คำว่า ดีละ ดีแล้ว พระโคดมผู้เจริญ เป็นอันอธิบายแล้ว.
ก็อภิกกันตศัพท์นี้พึงทราบว่า พราหมณ์ได้กล่าวถึง ๒ ครั้ง ด้วยอำนาจความเลื่อมใส และด้วยอำนาจความสรรเสริญในพระธรรมเทศนานี้ โดย ลักษณะนี้ว่า
นักปราชญ์พึงทำการกล่าวย้ำ ใน เพราะความกลัว ในเพราะความโกรธ ใน เพราะความสรรเสริญ ในเพราะความรีบด่วน ในเพราะความโกลาหล ในเพราะความอัศ- จรรย์ ในเพราะความรื่นเริง ในเพราะความ โศก และในเพราะความเลื่อมใส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 287
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺตํ ได้แก่ น่าใคร่นัก น่าปรารถนา นัก น่าพอใจนัก. มีอธิบายว่า ดีอย่างยิ่ง. ในการชมเชยนี้ พราหมณ์ชมเชย เทศนา ด้วยอภิกกันตศัพท์หนึ่ง ชมเชยความเลื่อมใสของตน ด้วยอภิกกันตศัพท์หนึ่ง. ก็อธิบายในอภิกกันตศัพท์นั่นดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต ของพระองค์ คือ พระธรรมเทศนาของพระโคดมผู้เจริญแจ่มแจ้งนัก ภาษิต ของพระองค์ คือ ความเลื่อมใสของข้าพระองค์ เพราะอาศัยพระธรรมเทศนา ของพระโคดมผู้เจริญแจ่มแจ้งนัก หรือ ชมเชยพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล หมายถึงประโยชน์อย่างละ ๒ อย่างคือ พระดำรัสของพระโคดม ผู้เจริญแจ่มแจ้งนัก เพราะยังโทสะให้พินาศ แจ่มแจ้งนักเพราะบรรลุคุณ อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงประกอบด้วยบททั้งหลายอย่างนี้ว่า เพราะให้เกิดศรัทธา เพราะให้ เกิดปัญญา, เพราะมีอรรถ เพราะมีพยัญชนะ, เพราะบทตื้น เพราะอรรถลึก, เพราะไพเราะหู เพราะถึงใจ, เพราะไม่ยกตน เพราะไม่ข่มผู้อื่น, เพราะเย็น ด้วยศีล เพราะผ่องแผ้วด้วยปัญญา เพราะในทางอันพึงรื่นรมย์ เพราะกำจัด ความมัวเมา, เพราะนอนเป็นสุข เพราะประโยชน์เกื้อกูลที่ต้องพิจารณา, เป็นต้น แม้นอกนี้จากนั้น ชมเชยเทศนาเท่านั้นด้วยอุปมา ๔ ข้อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิตํ ความว่า ของที่วางคว่ำปาก หรือ มีปากคว่ำ. บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย ได้แก่ กระทำปากขึ้น. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ ได้แก่ อันวัตถุทั้งหลายมีหญ้าเป็นต้นปกปิดแล้ว. บทว่า วิวเรยฺย ได้แก่ เปิดขึ้น. บทว่า มูฬฺหสฺส ได้แก่ ผู้หลงทิศ. บทว่า มคฺคํ อาจิกฺเขยฺย ความว่า จับเขาที่แขนแล้ว พึงบอกว่า นั่นทาง. บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 288
ในที่มืดมีองค์ ๔ คือ แรม ๑๔ ค่ำ แห่งกาฬปักษ์ ๑ ราตรีข้างแรม ๑ ป่าพงดงทึบ ๑ แผ่นเมฆ ๑ เนื้อความแห่งบทเท่านี้ก่อน ส่วนการประกอบ อธิบาย ดังนี้ :-
พระโคดมผู้เจริญทรงยังข้าพระองค์ผู้หันหลังให้พระสัทธรรมผู้ตกอยู่ ในอสัทธรรมให้ออกจากอสัทธรรม เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ทรงเปิด พระศาสนาอันปกปิดแล้วด้วยรกชัฏ คือ มิจฉาทิฏฐิ จำเดิมแต่พระศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป อันตรธานเปรียบเหมือนเปิดของ ที่ปิด ทรงบอกทางสวรรค์และทางพระนิพพาน แก่ข้าพระองค์ผู้ปฏิบัติทางชั่ว ทางผิด เปรียบเหมือนบอกทางแก่ผู้หลงทาง ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เพราะทรงแสดงโดยปริยายเหล่านั้น โดยตามประทีป คือเทศนาอัน กำจัดความมืดที่ปกปิดธรรมนั้น แก่ข้าพระองค์ผู้จมอยู่ในความมืด คือ โมหะ ไม่เห็นอยู่ ซึ่งรูปรัตนะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เปรียบเหมือนตามประทีปน้ำมัน ไว้ในที่มืด ฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ตามมติบางอย่าง เพราะธรรมนี้เป็นเช่นกับหงายของ ที่คว่ำ ด้วยการเห็นทุกข์ และด้วยการละวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นสิ่งที่งาม, เป็นเช่นกับเปิดของที่ปิด ด้วยการเห็นสมุทัย และด้วยการละวิปลาสในทุกข์ ว่าสุข, เป็นเช่นกับบอกทางแก่ผู้หลงทาง ด้วยการเห็นนิโรธ และด้วยการละ วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นสิ่งที่เที่ยง เป็นเช่นกับตามประทีปในที่มืด ด้วย การเห็นมรรค และด้วยการละวิปลาสในอนัตตาว่าเป็นอัตตา เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันประกาศแล้ว อย่างนี้ว่า เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ฯลฯ หรือ ตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 289
ก็เพราะในสูตรนี้ ทรงประกาศศีลขันธ์ ด้วยศรัทธา ความเพียร และการคุ้มครองกายเป็นต้น ทรงประกาศปัญญาขันธ์ ด้วยปัญญา ทรงประกาศ สมาธิขันธ์ ด้วยหิริและใจเป็นต้น ทรงประกาศนิโรธ ด้วยธรรมอันเป็นแดน เกษมจากโยคะ เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศขันธ์ ๓ อริยสัจ ๒ อย่าง โดยย่อว่า อริยมรรคและนิโรธ ด้วยประการฉะนี้ ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ในพระสูตร นั้น โดยปฏิปักษ์ว่า มรรคเป็นปฏิปักษ์ต่อสมุทัย นิโรธเป็นปฏิปักษ์ทุกข์ โดยปริยาย ๒ ดังกล่าวแล้วนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงประกาศ ธรรมโดยอเนกปริยาย.
ในบทว่า เอสาหํ เป็นต้น เรานั้น ชื่อว่า เอสาหํ. บทว่า สรณํ คจฺฉามิ ความว่า พราหมณ์หมอบลงแทบพระบาท ถึงด้วยสรณคมน์ตลอด ชีวิตก็ตาม บัดนี้ เมื่อยินดี จึงกราบทูลด้วยวาจา. หรือ ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น เป็นสรณะตลอดชีวิต บัดนี้ ทำพระพุทธเจ้านั้นให้เป็นต้น จึงกราบทูลเพื่อ ถึงพระธรรมและพระสงฆ์ที่เหลือด้วย.
บทว่า อชฺชตคฺเค ได้แก่ ทำวันนี้ให้เป็นต้น. หรือว่า อชฺชทคฺเค ท อักษรทำการเชื่อมบท. มีอธิบายว่า ทำวันนี้เป็นเลิศ ผู้ถึงสรณะตลอด ชีวิต ชื่อว่า ปาณุเปตํ. มีอธิบายว่า ชีวิตของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบ ใด ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ คือ ทรงรู้ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ ถึงสรณะตลอดชีวิต คือ ผู้ถึงสรณะ ด้วยสรณคมน์ ๓ ไม่มีศาสดาอื่นเป็น สรณะตราบนั้น การปฏิบัติอันสมควรแก่สุตะ เป็นอันพราหมณ์นี้แสดงแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 290
อีกอย่าหนึ่ง พราหมณ์นี้แสดงสมบัติของพระศาสดา ด้วยคำว่า ของ ที่คว่ำเป็นต้น แสดงสมบัติของศิษย์ ด้วยบทเป็นต้นว่า เอสาหํ นี้. หรือ แสดงการได้ปัญญาด้วยบทนั้น แสดงการได้ศรัทธาด้วยบทนี้. บัดนี้ มีความ ประสงค์เพื่อทำกิจอันผู้มีปัญญาได้ศรัทธาแล้วจะพึงทำ จึงทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ลเภยฺยาหํ. พราหมณ์มีจิตเลื่อมใสยิ่งในบรรพชานั้น ด้วย อิทธิฤทธิ์เป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลขอบรรพชา ด้วยศรัทธาว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงสละจักรพรรดิราชสมบัติแล้ว ทรงบรรพชา ก็จะ ป่วยกล่าวไปไยถึงเราเล่า เมื่อปรารถนาความเป็นผู้ทำบริบูรณ์ในบรรพชานั้น จึงทูลขออุปสมบท ด้วยปัญญา. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้ว.
ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เอโก วูปกฏฺโ เป็นต้น ท่านพระภารทวาชะอยู่ผู้เดียว ด้วยกายวิเวก หลีกออกจากหมู่ด้วยจิตวิเวก ไม่ ประมาทด้วยการไม่ปล่อยสติในกรรมฐาน มีความเพียร ด้วยความเพียรกล่าว คือความเพียรทางกายและทางจิต มีใจเด็ดเดี่ยว ด้วยความไม่เห็นแก่กายและ ชีวิต อยู่ด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างหนึ่ง. บทว่า นจิรสฺเสว กล่าวมุ่งถึง บรรพชา. บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่ กุลบุตร ๒ อย่าง คือ ชาติกุลบุตร ๑ อาจารกุลบุตร ๑. ก็กุลบุตรนี้ ประสงค์เอาแม้ทั้ง ๒ อย่าง.
บทว่า อคารสฺมา ได้แก่ จากเรือน. ก็การงานในการเลี้ยงดูของ กุฏุมพีมีการทำนาและเลี้ยงโคเป็นต้น เรียกว่า กิจของผู้ครองเรือนนั้น. กิจใน การครองเรือนย่อมไม่มีในบรรพชานั้น เพราะเหตุนั้น บรรพชานั้น จึงชื่อว่า อนคาริยะ. คำว่า อนคาริยะ นี้เป็นชื่อของบรรพชา. บทว่า ปพฺพชนฺติ ความว่า เข้าไป เข้าไปนั่งใกล้. พรหมจรรย์นั้น ยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 291
พรหมจรรย์นั้น จึงชื่อว่า ตทนุตตระ. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสานํ ได้แก่ ที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. อธิบายว่า พระอรหัตตผล. จริงอยู่ กุลบุตร ทั้งหลายย่อมบวชเพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตตผลนั้น. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนั้นเที่ยว. บทว่า สยํ อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า รู้ประจักษ์ด้วยปัญญาด้วยตนเองเท่านั้น คือ รู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหาสิ ความว่า บรรลุแล้ว หรือให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงภูมิแห่งการพิจารณาของภารทวาชภิกษุนั้น ด้วยบท นี้ว่า ก็อยู่อย่างนี้แล้ว ก็ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ.
ถามว่า ก็ชาติไหนของภารทวาชภิกษุนั้น สิ้นแล้ว และได้รู้ชัดซึ่ง ชาตินั้นอย่างไร?
ตอบว่า ชาติอดีตของภิกษุนั้น ไม่สิ้นก่อน เพราะได้สิ้นแล้วในอดีต เทียว ชาติอนาคตกไม่สิ้นแล้ว เพราะไม่มีความพยายาม ชาติปัจจุบัน ก็ไม่ สิ้นแล้ว เพราะชาติยังมีอยู่ แต่ชาติใดอันต่างด้วยขันธ์หนึ่ง ขันธ์สี่และขันธ์ห้า ในเอกภพ จตุภพ และปัญจโวการภพพึงเกิดขึ้น เพราะความที่มรรคยังไม่ อบรมแล้ว ชาตินั้น ชื่อว่า สิ้นแล้วโดยถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะ ความที่มรรคได้อบรมแล้ว. ภิกษุนั้นพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ด้วยมรรคภาวนา รู้อยู่ว่า กรรมแม้มีอยู่ในเพราะไม่มีกิเลส จึงไม่มีปฏิสนธิต่อไป ชื่อว่า ย่อมรู้ ชาตินั้น.
บทว่า วุสิตํ ความว่า อยู่จบแล้ว คือ ทำแล้ว อยู่จบรอบแล้ว อธิบายว่า กระทำแล้ว ประพฤติแล้ว ให้จบแล้ว. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์. บทว่า กตํ กรณียํ ความว่า กิจ ๑๖ อย่าง ด้วยอำนาจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 292
แห่งปริญญาภาวนา ปหานภาวนา และสัจฉิกิริยาภาวนา ด้วยมรรค ๔ ใน สัจจะ ๔ ให้จบแล้ว. บทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตาย ความว่า มรรคภาวนา เพื่อความเป็นอย่างนี้ คือ เพื่อความเป็นกิจ ๑๖ อย่าง หรือ เพื่อความสิ้น กิเลส มิได้มีอีกในบัดนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ความว่า รู้ชัดว่า ขันธสันดาน อื่นจากขันธสันดาน อันเป็นไปอยู่ในปัจจุบันนี้ มีประการอย่างนี้ โดยความ เป็นอย่างนี้ มิได้มี แต่ขันธ์ ๕ เหล่านี้ ได้กำหนดรู้แล้ว ดำรงอยู่ ดุจต้นไม้ ที่มีรากขาดแล้ว ฉะนั้น. บทว่า อญฺตโร ได้แก่ รูปหนึ่ง. บทว่า อรหตํ ความว่า ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์ภายในพระมหาสาวก แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ได้ยินว่า นี้เป็นอธิบายในกสิภารทวาชสูตรนี้แล.
จบ กสิภารทวาชสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อ ปรมัตถโชติกา