[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 237
๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 237
๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร
[๔๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในอังคชนบท มีนิคมของชาวอังคะ ชื่ออัสสปุระ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว.ภิกษุทั้งหลายทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดํานี้ไว้ว่า คนเขารู้จักท่านทั้งหลายว่าสมณะๆ ดังนี้ ถึงท่านทั้งหลายเล่า เมื่อมีคนมาไต่ถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นอะไร ท่านทั้งหลายก็ปฏิญญาตัวว่าเราเป็นสมณะ เมื่อท่านทั้งหลายมีชื่อว่าสมณะ และปฏิญญาตัวว่าเป็นสมณะอยู่อย่างนี้แล้ว ก็จําต้องสําเหนียกว่า ข้อปฏิบัติสิ่งใดสมควรแก่สมณะ เราจักปฏิบัติข้อปฏิบัติสิ่งนั้น เมื่อความปฏิบัติของเราอย่างนี้มีอยู่ ชื่อแลคําปฏิญญาของเรานี้ก็จักเป็นจริง อนึ่ง เราบริโภคจีวรบิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริกขารของทายกเหล่าใด ความอุปการะเกื้อหนุนของเขาในเราทั้งหลายก็จักมีผลใหญ่มีอนิสงส์ใหญ่อนึ่ง บรรพชาของเราก็จักไม่เป็นหมัน ไม่เปล่าจากประโยชน์ และจักประกอบด้วยผล ประกอบด้วยกําไร ดังนี้.
[๔๘๐] ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาชอบเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้มีอภิชฌา คือความเพ่งเล็งพัสดุของผู้อื่นมาก ละอภิชายังไม่ได้ เป็นผู้มีใจพยาบาท คือคิดล้างผลาญสัตว์ให้ฉิบหาย ละพยาบาทยังไม่ได้ เป็นผู้มักโกรธ ละความโกรธยังไม่ได้ เป็นผู้มักถือโกรธ ละความถือโกรธยังไม่ได้ เป็นผู้มักมีความลบหลู่คุณ ละความลบหลู่ยังไม่ได้ เป็นผู้มักถือเป็นคู่แข่งดี ละความถือเป็นคู่แข่งดียังไม่ได้ เป็นผู้มักริษยาละความริษยายังไม่ได้ เป็นผู้ตระหนี่ ละความตระหนี่ยังไม่ได้ เป็นผู้มักอวดตัว ละความอวดตัวยังไม่ได้ เป็นผู้มีมายา คือบังโทษตนไว้ ละมายายัง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 238
ไม่ได้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ละความปรารถนาชั่วยังไม่ได้และเป็นผู้มีความเห็นผิดละความเห็นผิดยังไม่ได้ เพราะยังละไม่ได้ซึ่งกิเลส เครื่องเศร้าหมองใจ ๒ อย่าง มีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ ที่เป็นเครื่องหมองใจเป็นโทษเป็นของจับใจดุจน้ำฝาดของสมณะเป็นเหตุจะให้สัตว์เกิดใน บาย มีวิบากอันสัตว์ทั้งหลายจะต้องเสวยในทุคคติ เราไม่กล่าวว่าเธอเป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควรแก่สมณะเปรียบเหมือนอาวุธอย่างหนึ่งชื่อว่า มะตะชะ มีคมสองข้าง ทั้งกําซาบด้วยยาพิษทั้งคมกล้า เขาปิดคลุมหุ้มห่อไว้ด้วยผ้าสําหรับห่อ ฉันใดเราก็กล่าวการบรรพชาของภิกษุนี้ฉันนั้น
[๔๘๑] ภิกษุทั้งหลายถึงบุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิอยู่ เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการสักว่า ครองผ้าสังฆาฏิไม่ ถึงบุคคลถือเพศเป็นชีเปลือยไม่นุ่งห่มผ้า เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ไม่มีผ้านุ่งห่มไม่ถึงบุคคลถือการหมักหมมเหงื่อไคลไม่อาบน้ำชําระกายเราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่หมักหมมเหงื่อไคลไม่ ถึงบุคคลถือการลงอาบน้ำ (วันละสามครั้ง) เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ลงอาบน้ำไม่ ถึงบุคคลถือการอยู่ใต้ต้นไม้เป็นนิตย์เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่อยู่ใต้ต้นไม้ไม่ ถึงบุคคลถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นนิตย์เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่อยู่ณ ที่แจ้งไม่ถึงบุคคลถือการอบกายด้วยหมายจะทรมานกิเลสเป็นนิตย์ เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยการที่อบกายไม่ ถึงบุคคลถือการบริโภคอาหารมีการกําหนดเป็นครั้งคราว เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ยักย้ายผ่อนผันบริโภคอาหารเป็นครั้งเป็นคราวไม่ ถึงบุคคลที่ท่องบ่นจํามนต์ได้มาก เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ท่องบ่นจํามนต์ไม่ ถึงบุคคลเกล้าผมเป็นเซิง เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการเกล้าผมไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายถ้าว่า บุคคลผู้ครองสังฆาฏิมีอภิชฌามาก ละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาทอยู่ ละพยาบาทเสียได้ มีความโกรธอยู่ ละความโกรธ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 239
เสียได้เป็นผู้มักถือโกรธ ละความถือโกรธเสียได้ เป็นผู้ลบหลู่อยู่ ละความลบหลู่เสียได้ เป็นผู้ถือเป็นคู่แข่งดีอยู่ ละความถือเป็นคู่แข่งดีเสียได้เป็นผู้มักริษยาอยู่ละความริษยาเสียได้เป็นตระหนี่อยู่ละความตระหนี่เสียได้ เป็นผู้มักโอ้อวดตัวอยู่ ละความโอ้อวดตัวเสียได้เป็นผู้มีมายาอยู่ละมายาเสียได้ เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วละความปรารถนาชั่วเสียได้และเป็นผู้มีความเห็นผิดอยู่ ละความเห็นผิดเสียได้ด้วยอาการที่ครองผ้าสังฆาฏิ ตั้งแต่แรกเกิดมาและจะพึงชักชวนให้ผู้นั้นครองผ้าสังฆาฏิเท่านั้นด้วยคําชักชวนว่า มาเถิดท่านจงครองผ้าสังฆาฏิเถิดเมื่อท่านครองผ้าสังฆาฏิอยู่ เครื่องเศร้าหมองทั้ง ๑๒ อย่าง มีอภิชฌามากจักละอภิชฌาเสียได้ด้วยอาการที่ครองผ้าสังฆาฏินั้นแล. เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้ถึงครองผ้าสังฆาฏิอยู่ ก็มีอภิชฌามาก มีความเห็นผิดฉะนั้น เมื่อครองผ้าสังฆาฏิ เราก็ไม่กล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ครองผ้าสังฆาฏิเลยฯลฯ ถ้าว่าคนเปลือยผู้เกล้าผม มีอภิชฌามากละอภิชฌาเสียได้แล้วผู้มีความเห็นผิดละความเห็นผิดเสียได้ด้วยอาการที่เกล้าผม มิตร สหาย ญาติสาโลหิตทั้งหลายก็จะพึงทําผู้นั้นให้เป็นคนเกล้าผม แต่แรกเกิดมาและจะพึงชักชวนให้เกล้าผม ด้วยคําชักชวนว่า มาเถิดเจ้าเกล้าผมเสียเถิดเมื่อท่านเกล้าผมอยู่มีอภิชฌามากจักละอภิชฌาได้มีความเห็นผิดละความเห็นผิดเสียได้ด้วยอาการที่เกล้าผมนั้นแล. เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้ ถึงเกล้าผมอยู่ก็ยังมีอภิชฌามาก มีความเห็นผิดอยู่ฉะนั้น เราผู้ที่เกล้าผมเราก็ยังหาละมลทินได้ไม่ จึงไม่กล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่เกล้าผมเลย.
[๔๘๒] ภิกษุปฏิบัติอย่างไรจึงเป็นผู้ปฏิบัติชอบ สมควรแก่สมณะภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีอภิชฌาอยู่มาก ละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาทอยู่ละพยาบาทเสียได้ เป็นผู้มักโกรธอยู่ละความโกรธเสียได้เป็นผู้มักถือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 240
โกรธอยู่ ละความถือโกรธเสียได้เป็นผู้มักลบหลู่อยู่ ละความลบหลู่เสียได้ เป็นผู้มักถือเป็นคู่แข่งดีอยู่ ละความถือเป็นคู่แข่งดีเสียได้เป็นผู้มักริษยาอยู่ ละความริษยาเสียได้เป็นผู้ตระหนี่อยู่ ละความตระหนี่เสียได้เป็นผู้มักโอ้อวดตัวอยู่ ละความโอ้อวดตัวเสียได้ เป็นผู้มีมายาอยู่ ละมายาเสียได้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วออยู่ ละความปรารถนาชั่วเสียได้ และเป็นผู้มีเห็นผิดอยู่ ละความเห็นผิดเสียได้เพราะละเสียได้ซึ่งกิเลส ๑๒ อย่างเหล่านี้ ที่เป็นทินโทษ เป็นของจับใจดุจน้ำฝาดของสมณะ เป็นเหตุจะให้สัตว์เกิดในอบายมีวิบากอันสัตว์ทั้งหลายจะต้องเสวยในทุคคติ เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควรแก่สมณะ
ผู้ปฏิบัติชอบนั้น ย่อมพิจารณาเห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ พ้นจากบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แล้วเมื่อเธอพิจารณาเห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ พ้นบาปจากอกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดอยู่ ปราโมช คือความบันเทิงใจก็บังเกิดขึ้น เมื่อเธอบันเทิงใจแล้ว ปีติก็เกิดขึ้น เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติด้วยนามกายก็สงบ เธอมีนามกายสงบระงับกระวนกระวายแล้วก็ได้เสวยสุขเมื่อเธอมีสุขแล้วจิตของเธอก็ตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยกรุณา คือปรารถนาให้หมู่สัตว์พ้นจากทุกข์ทั่วหน้า มีใจประกอบด้วยมุทิตาคือร่าเริงบันเทิงใจต่อสมบัติของผู้อื่น คือไม่มีริษยา มีใจประกอบด้วยอุเบกขา คือความเฉยเป็นกลางคือไม่มียินดียินร้าย แผ่อัปปมัญญาพรหมวิหารคือภาวนาที่แผ่ไปในหมู่สัตว์ไม่มีประมาณ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ของคนประเสริฐ ทั้ง ๔ ประการนี้ ตลอดทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ มีใจประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตาอุเบกขาไพบูลย์เต็มที่ เป็นจิตใหญ่มีสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน แผ่อัปปมัญญาพรหมวิหารนั้น ตลอดโลกอันสัตว์ทั้งปวงในที่ทั้งปวง ด้วยความเป็นผู้มีใจโอบอ้อมเสมอไปในสัตว์ทั้งปวง ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องต่ําเบื้องขวางอยู่เสมอ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 241
เปรียบเหมือนสระบัว มีน้ำใสและจืดเย็นขาวสะอาด มีท่าเรียบราบควรรื่นรมย์ ถ้าว่าบุรุษจะพึงมาแต่ทิศตะวันออก ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ อันความร้อนกระวนกระวายเผาระงมครอบงํา เหน็ดเหนื่อยลําบากกระหายหิว บุรุษนั้น มาถึงสระนั้นแล้วจะพึงทําความกระหายน้ำและความร้อนกระวนกระวายให้เสื่อมสูญได้ ฉันใด. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกบวชจากตระกูลกษัตริย์ถือเพศเป็นบรรพชิต และภิกษุทั้งหลายนั้น อาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเจริญ เมตตากรุณา มุทิตาอุเบกขาได้ความระงับสงบใจในภายในสันดานตน ฉันนั้น เรากล่าวว่าบรรพชิตนั้น เป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควรแก่สมณะ ถ้าออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ จากตระกูลแพศย์ จากตระกูลศูทร หรือออกบวชจากตระกูลไหนก็ตาม และบรรพชิตนั้น ครั้นอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญพรหมวิหารทั้ง ๔ มีเมตตาเป็นต้น ได้ความระงับสงบใจในภายใน อย่างนี้ เรากล่าวว่า บรรพชิตนั้นปฏิบัติสมควรแก่สมณะ. ถ้าว่ากุลบุตรออกบวชจากตระกูลกษัตริย์ จากตระกูลพราหมณ์ จากตระกูลแพศย์ จากตระกูลศูทร หรือตระกูลไหนก็ตาม ครั้นบวชแล้วเธอทําเจโตวิมุตติ คือความมีจิตพ้นจากเรื่องมองด้วยกําลังฌาน และปัญญาวิมุติ คือความที่จิตพ้นจากเครื่องหมองด้วยกําลังปัญญา อันไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่หมักหมม เพราะสิ้นอาสวะแล้วให้แจ้งประจักษ์ด้วยปัญญาที่รู้ยิ่งลําพังตนได้แล้ว เข้าถึงพร้อมอยู่ในอัตภาพนี้ เรากล่าวบรรพชิตนั้นว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระสูตรนี้จบ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจยินดีเพลิดเพลินรับภาษิตแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้.
จบจูฬอัสสปุรสูตรที่ ๑๐
จบมหายมกวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 242
อรรถกถาจูฬอัสสปุรสูตร
จูฬอัสสปุรสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ
เหตุแห่งการแสดงพระสูตรนั้น เช่นกับสูตรก่อนนั่นแหละ. บทว่า สมณสามีจิปฏิปทา ได้แก่ ปฏิปทาอันสมควรแก่สมณะทั้งหลาย คือปฏิปทาอันเกื้อกูลแก่สมณะทั้งหลาย. ในบทว่า สมณมลานํ เป็นต้น ความว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมกระทําสมณะทั้งหลาย ให้มีมลทินคือมลทินจับ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นมลทินของสมณะสมณะทั้งหลายย่อมเสียหาย ย่อมประทุษร้าย ด้วยมลทินเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นโทษของสมณะ. และธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมกระทําสมณะทั้งหลายให้เป็นเหมือนหยากเยื่อหมดโอชะ ให้เหี่ยวแห้ง เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นดังน้ำฝาดของสมณะ ดังนี้. บทว่า อาปายิกานํานานํ ความว่า เหตุให้เกิดในอบาย. บทว่า ทุคฺคติเวทนียานํ ความว่า เป็นปัจจัยแห่งการเสวยวิบากในทุคคติ.
บทว่า มตชนฺนาม ความว่า พวกมนุษย์ตะไบเหล็กกล้าด้วยเหล็กแล้วขยําผงเหล็กนั้นเข้ากับเนื้อให้นกกระเรียนกิน นกกะเรียนเหล่านั้น ไม่อาจถ่ายอุจจาระก็ตาม ถ้าไม่ตาย ก็จะประหารให้ตาย. เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะผ่าท้องของนกกะเรียนเหล่านั้น เอาน้ำล้างผงเหล็กเหล่านั้น ถือเอาผงละเอียดคลุกกับเนื้อให้นกกระเรียนทั้งหลายกิน ดังนั้นจึงให้นกกระเรียนกินอย่างนี้ ๗ ครั้งแล้วกระทําอาวุธด้วยผงเหล็กที่ถือเอาแล้ว ช่างเหล็กศึกษาดีแล้ว ได้มูลเหตุหัตถกรรมเป็นอันมาก ย่อมกระทําอาวุธนั้น เขาจึงเรียกอาวุธนั้นว่า มตชะ เพราะเกิดจากนกที่ตายแล้ว. อาวุธนั้นเป็นอาวุธคมยิ่งนัก. บทว่า ปีตินิสฺสิตํ ได้แก่ชุ่มด้วยน้ำและลับด้วยหิน. บทว่า สํ ฆาฏิยา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 243
ได้แก่ ฝัก. บทว่า สํ ปารุตํ ได้แก่ หุ้มไว้แล้ว. บทว่า สมฺปลิเวิตํ ได้แก่พันไว้โดยรอบ.
บทว่า รโชชลฺลิกสฺส ได้แก่ผู้หมักหมมด้วยธุลี. บทว่า อุทโกโรหกสฺส ได้แก่ ลงอาบน้ำวันละสามครั้น. บทว่า รุกฺขมูลิกสฺส ได้แก่อยู่โคนไม้. บทว่า อพฺโภกาสิกสฺส ได้แก่ อยู่กลางแจ้ง. บทว่า อุพฺภฏกสฺสได้แก่ การอบกาย. บทว่า ปริยายภตฺติกสฺส ได้แก่ การบริโภคอาหารเดือนละครั้น หรือว่า ครึ่งเดือนต่อครั้ง. คําทั้งหมดนั่นตรัสถึงลัทธิภายนอก. เพราะในพระศาสนานี้ ภิกษุผู้ทรงจีวร ไม่เรียกว่า ครองสังฆาฏิ. อนึ่ง วัตรมีการหมักหมมด้วยธุลีเป็นต้น ในพระศาสนานี้ก็ไม่มี พระดํารัสของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เป็นชื่อของพระพุทธพจน์ ไม่ใช่มนต์ เพราะฉะนั้น ก็บทว่ารุกฺขมฺลิโกอพฺโภกาสิโกย่อมได้เพียงนี้เท่านั้น. แม้คําที่กล่าวแล้วนั้น ก็ตรัสไว้โดยลัทธิภายนอก. บทว่า ชาตเมว นํ ได้แก่ สักว่าเกิดแล้วในวันนั้นทีเดียว.บทว่า สงฺฆาฏิกํ กเรยฺยุํ ความว่า นุ่งแล้ว ห่มแล้ว ซึ่งผ้าสังฆาฏิ พึงทําให้เป็นสังฆาฏิ. ในคําทั้งปวงก็นัยนี้.
บทว่า วิสุทฺธมตฺตานํ สมนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมเห็นตนว่า บริสุทธิ์. แต่ว่า บทว่า บริสุทธิ์ ดังนี้ ไม่พึงกล่าว. บทว่า ปาโมชฺชํชายติ ได้แก่ อาการแห่งความยินดีย่อมเกิดขึ้น. อธิบายว่า ปีติอันยังสรีระทั้งสิ้นของผู้บันเทิงแล้ว ร่าเริงแล้วด้วยปีติ ให้หวั่นไหวเกิดขึ้นอยู่. บทว่าปีติมนสฺส กาโย ได้แก่ นามกายของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยปีติ. บทว่าปสฺสมฺภติ ได้แก่ ปราศจากความกระวนกระวาย. บทว่า สุขํ เวเทติ ความว่า ย่อมเสวยความสุขอันเป็นทางกายบ้าง ทางใจบ้าง. บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติความว่า จิตของบุคคลผู้มีความสุข ด้วยเนกขัมมสุขนี้ย่อมตั้งมั่น ย่อมเป็นเหมือนบรรลุอัปปนา. บทว่า โส เมตฺตาสหคเตน เจตสา ความว่า เทศนา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 244
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มแล้ว ด้วยอํานาจแห่งกิเลสในหนหลัง หยั่งลงแล้วสู่การเจริญพรหมวิหารตามอนุสนธิ ดุจฝนที่ตกแล้ว ตกเล่า บนภูเขาไหลลงสู่แม่น้ำฉะนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น คําที่ควรกล่าวทั้งหมดได้กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค. บทว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว โปกฺขรณี นี้พึงทราบว่าในมหาสีหนาทสูตร มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบด้วยสระโบกขรณีใหญ่พระศาสดาก็ทรงเปรียบไว้ในที่นี้. บทว่าอาสวานํ ขยา สมโณโหติ ความว่า ชื่อว่า เป็นสมณะอย่างยิ่ง เพราะกิเลสทั้งหมดสงบแล้ว.คําที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความง่ายนั้นแล.
จบอรรถกถาจูฬอัสสปุรสูตร ที่ ๑๐
จบวรรคที่ ๔