[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 50
เถราปทาน
สกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓
โสวัณณโกนตริกเถราปทานที่ ๑๐ (๔๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกระโหลกน้ำเต้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 50
โสวัณณโกนตริกเถราปทานที่ ๑๐ (๔๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกระโหลกน้ำเต้า
[๒๐] เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้อบรมใจ ฝึก พระองค์แล้ว มีพระทัยตั้งมั่นเสด็จดำเนินอยู่ใน ทางใหญ่
ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ทรงยินดีในการ สงบระงับจิต ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง มีปรกติเพ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 51
พินิจ ยินดีในณาน เป็นมุนี เข้าสมาบัติ สำรวม อินทรีย์
จึงเอากระโหลกน้ำเต้าตักน้ำเข้าไปเผา พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ล้างพระบาทของ พระพุทธเจ้าแล้วถวายกระโหลกน้ำเต้า
และพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้ทรงบังคับว่า ท่านจงเอากระโหลกน้ำเต้านี้ ตักน้ำมาวางไว้ที่ใกล้ๆ เท้าของเรา
เรารับสนองพระพุทธดำรัสว่า สาธุ แล้ว เอากระโหลกน้ำเต้ามาวางไว้ใกล้พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด เพราะความเคารพต่อพระศาสดา
พระศาสดาผู้ทรงมีความเพียรใหญ่ เมื่อ จะทรงยังจิตของเราให้ดับสนิท ได้ทรงอนุโมทนา ว่าด้วยการถวายน้ำเต้านี้ ขอความดำริของท่าน จงสำเร็จ
ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ เรารื่นรมย์อยู่ใน เทวโลก ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๓ ครั้ง
จะเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม เมื่อ เราเดินหรือยืนอยู่ คนทั้งหลายถือถ้วยทองยืนอยู่ ข้างหน้าเรา
เราได้ถ้วยทองเพราะการถวายกระโหลก น้ำเต้าแด่พระพุทธเจ้า สักการะที่ทำไว้ในท่าน ผู้คงที่ทั้งหลาย ถึงจะน้อยก็ย่อมเป็นของไพบูลย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 52
ในกัปที่แสนแค่กัปนี้ เราได้ถวายน้ำเต้า ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งน้ำเต้า
เราเผากิเลสทั่งหลายแล้ว... คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโสวัณณโกนตริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบโสวัณณโกนตริกเถราปทาน
อรรถกถาสกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓
อปทานของพระเถระทั้งหมดในวรรคที่ ๔๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล ความต่างกันแห่งชื่อของพระเถระทั้งหลาย และความต่างกันแห่งบุญของพระเถระทั้งหลายเท่านั้นเป็นความแปลกกัน.
จบอรรถถาสกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ
๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน
๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน
๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๗. เอกธัมสวนิยเถราปทาน
๘. สุจินติตเถราปทาน
๙. โสณณกิงณยเถราปทาน
๑๐. โสวัณณโกนตริกเถราปทาน
และในวรรคนี้ บัณฑิตคำนวนคาถาไว้ ๑๗๑ คาถา.
จบสกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓