คนพาล ไม่กล่าวขอโทษในการล่วงเกิน เหตุว่าปัญญาทราม ไม่รู้โทษแม้โดยความเป็นโทษ
โดย DjPut  14 ส.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 43471

อัจจยสูตร
[๒๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปได้โต้เถียงกัน ในการ โต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ครั้งนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นขอโทษ ในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ภิกษุ ๒ รูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ลำดับนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินขอโทษในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คือ ๑. ผู้ไม่เห็นโทษว่าเป็นโทษ ๒. ผู้ไม่ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ คือ ๑. ผู้เห็นโทษว่าเป็นโทษ ๒. ผู้ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงยังเทพชั้น ดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ขอความโกรธจงตกอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย ขอความเสื่อมคลายในมิตตธรรมอย่าได้มีแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน
และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย ความโกรธเป็นดุจภูเขา ย่ำยีคนเลว ฉะนี้แล”
อัจจยสูตรที่ ๔ จบ



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 14 ส.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอเชิญอ่านเพิ่มเติมในส่วนของอรรถกถาได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้
อัจจยสูตร ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
...ยินดีในกุศลของคุณ DjPut และทุกๆ ท่านด้วยครับ....


ความคิดเห็น 2    โดย Dechachot  วันที่ 14 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 14 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ