วิบาก คือ ผลของกรรม องค์ธรรมได้แก่ วิบากจิต วิบากเจตสิกกรรม คือ การกระทำ องค์ธรรม ได้แก่ เจตนาเจตสิก มีความจงใจ เป็นลักษณะ การได้รับมรดกหรือได้ทรัพย์ โดยนัยพระสูตรก็ว่า การได้ทรัพย์เป็นผลของกรรมดีที่เคยทำไว้ เป็นเรื่องราวที่รวมกันหลายอย่าง โดยนัยปรมัตถธรรม ได้แก่ จิตทางตาเห็นสี จิตทางหูได้ยินเสียง เป็นต้น เป็นวิบาก สรุปคือถ้าใช้ คำว่า วิบากต้องเป็นนามธรรมเท่านั้น รูปเป็นวิบากไม่ได้ ส่วนผลของกรรมมีทั้งรูปและนาม
การได้รับมรดกหรือได้ทรัพย์ ไม่ใช่วิบาก แต่ต้องเป็นผลของกุศลกรรม ดังนั้น กุศลกรรมไม่จำเป็นต้องให้ผลเป็นกุศลวิบากเสมอ เช่น ผู้ที่ได้ทรัพย์มหาศาลอาจไม่ได้เห็นได้ยิน ฯลฯ สิ่งที่ดีเสมอ ซึ่งคงต้องพิจารณาแต่ละขณะจิตใช่ไหมครับ ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือไม่ และการได้รับมรดกหรือได้ทรัพย์เป็นผลของกุศลกรรมทำให้ได้รูป คือ ทรัพย์สินเงินทองหรือบ้านช่องใช่ไหมครับ
ถูกครับ วิบากต้องพิจารณาแยกเป็นขณะจิต การได้รับทรัพย์สินเงินทองเป็นผลของกุศลกรรม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
[๕๙๑] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์. เขาตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก.
ดิฉันคิดว่า การได้รับมรดกมหาศาล น่าจะเป็นกุศลวิบาก เพราะจะเป็นปัจจัยให้เห็นรูปที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี ได้กลิ่นดี รับรสอร่อย ได้รับความสบายทางกาย รับ/ไต่สวนอารมณ์ที่ดี ดิฉันอ่านจากในพระสูตร วิบาก=ผลของกรรม น่าจะเป็นความหมายเดียวกัน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ ฯ