[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 749
เถราปทาน
ปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑
ปทุมเกสริยเถราปทานที่ ๑ (๓๐๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยการโปรยเกสรดอกบัว
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 749
ปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑
ปทุมเกสริยเถราปทานที่ ๑ (๓๐๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยการโปรยเกสรดอกบัว
[๓๐๓] ในกาลก่อน เราเป็นช้างพลายมาตังคะ อยู่ในที่ใกล้ หมู่ฤๅษีปัจเจกพุทธเจ้า เรามีความเลื่อมใส ได้เอาเกสรดอก บัว โปรยลงบูชาแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.
เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด กำจัดราคะแล้ว ผู้คงที่เหล่านั้น บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้โปรยเกสรดอกบัวบูชา ใน กาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมเกสริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบปทุมเกสริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 750
ปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑
๓๐๑. อรรถกถาปทุมเกสริยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๓๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิสิส เฆ อหํ ปุพฺเพ เชื่อมความว่า ในกาลก่อน คือใน เวลาบำเพ็ญโพธิสมภาร เราได้เป็นช้างชนิดดุร้าย ในตระกูลช้างมาตังคะ อยู่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ ใกล้กับหมู่ฤาษีปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า วารณะ เพราะห้ามมนุษย์เป็นต้นได้. อีกความหมายหนึ่ง ชื่อว่า วารณะ เพราะ ร้อง คือบันลือโกญจนาทออกทางวาจาได้. บทว่า มเหสีนํ ปสาเทน ได้แก่ ด้วยความเลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่. บทว่า ปจฺเจกชินเสฏฺเสุ ธุตราเคสุ ตาทิสุ เชื่อมความว่า เราได้โปรย เกสรดอกบัว บูชาในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ไม่หวั่นไหวด้วย โลกธรรมทั้งหลาย.
จบอรรถกถาปทุมเกสริยเถราปทาน