ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอเรียนถาม ว่า
๑. คุณสมบัติของ “ความเป็นอุบาสิกา” มีประการใดบ้าง
๒. ที่เรียกว่า เป็นแม่ชี ชีพราหมณ์ จะขาดคุณสมบัติของ “ความเป็นอุบาสิกา” ในข้อไหน ประการใด หรือ ก็เป็นอุบาสิกา ได้เหมือนกัน หรือ ไม่ว่าใคร ก็ตาม หากเป็นผู้มีความเห็นผิด ก็ ขาดคุณสมบัติ ของ “ความเป็นอุบาสิกา”
๓. ความเห็นผิด เรียก มิจฉาทิฏฐิ หรือ ทิฏฐิ สองคำนี้ ใช้ต่างกันอย่างไร อย่างไร เป็น “ความเห็นผิด” ยกตัวอย่างด้วยค่ะ
๔. วัด เป็น ที่อยู่เฉพาะภิกษุ ใช่หรือไม่ มีบัญญัติไว้ อย่างไร หรือไม่ อุบาสก อุบาสิกา อยู่อาศัยในวัด ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด เด็กวัด อยู่อาศัย ในวัด ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ที่เรียกว่า เป็นแม่ชี ชีพราหมณ์ อยู่อาศัยในวัด ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ขอบพระคุณยิ่งนะคะ ในความอนุเคราะห์เกื้อกูลที่ให้ได้รับความรู้ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อุบาสก อุบาสิกา คือ ผู้ที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ด้วยความมีศรัทธาในพระรัตนตรัย ซึ่งแม่ชี ก็ตั้งกันขึ้นมา หากไม่ได้นับถือ มีศรัทธาในพระรัตนตรัยก็ไม่ใช่อุบาสิกา
ความเห็นผิด เรียกเต็มๆ ว่า มิจฉาทิฏฐิ แต่ถ้าเป็นสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก ความเห็นผิด คือ ทิฏฐิเจตสิก แต่ถ้าใช้โดยนัยพระสูตร ทิฏฐิ หมายถึง ความเห็น ซึ่งเห็นผิดหรือเห็นถูกก็ได้ ครับ
วัดเป็นที่อยู่ของพระภิกษุเท่านั้น แม่ชี ผู้หญิง หรือเด็กวัดที่สมควรแล้ว ไม่ควรอาศัยอยู่วัด ครับ
ขออนุโมทนา
ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะคะ ว่า
อุบาสก อุบาสิกา ต้องเป็นผู้สมาทานรักษาศีล กี่ข้ออะไรบ้าง หรือไม่
ขอความละเอียดด้วยค่ะ ใน
๑. คุณสมบัติของ “ความเป็นอุบาสิกา” มีประการใดบ้าง ผู้ฟังธรรม อย่างชาว มศพ. เป็น อุบาสก อุบาสิกา หรือไม่ หากไม่ได้ คงเป็นแค่ “ผู้ฟังธรรม” กระมังคะ เพราะ การที่จะ มีสภาพธรรม ที่เป็น “ผู้ที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ด้วยความมีศรัทธาในพระรัตนตรัย” นั้น คงเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะ “ไม่รู้จักธรรมะจริงๆ ” และ “ไม่เข้าใจจริงแม้ในขั้นการฟัง”
ขอบพระคุณยิ่งนะคะ ในความอนุเคราะห์เกื้อกูลที่ให้ได้รับความรู้ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอร่วมสนทนาในประเด็นดังกล่าวด้วยครับ
๑. คุณสมบัติของ “ความเป็นอุบาสิกา” มีประการใดบ้าง
-คฤหัสถ์ผู้หญิง ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เป็นผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ชื่อว่า อุบาสิกา ดังนั้น การเป็นอุบาสิกา (ถ้าเป็นผู้ชายก็เป็นอุบาสก) ไม่ใช่อยู่ที่เครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช่อยู่ที่การไปอยู่ ณ ที่หนึ่งที่ใด แต่อยู่ที่สภาพจิต ที่น้อมที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา และ ไม่ประมาทในการสะสมความดีประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ว่าแต่ละคนเป็นอุบาสก อุบาสิกา ที่แท้จริงในพระพุทธศาสนาหรือไม่ พระธรรมเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลที่ดี
อุบาสก อุบาสิกา ต้องเป็นผู้ที่ ได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีความเข้าใจพระธรรม พึ่งพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์
ข้อความโดยสรุปจากอรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สามัญญผลสูตร แสดงไว้ว่า อุบาสก อุบาสิกา คือ คฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เหตุที่เรียกว่าอุบาสก อุบาสิกา ก็เพราะนั่งใกล้พระรัตนตรัย
นอกจากนั้น ยังแสดงต่อไปว่า ศีลของอุบาสก คือ ศีล ๕ (เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท) อาชีพของอุบาสก คือ อาชีพที่สุจริต เว้นจากอาชีพที่ทุจริต และไม่ประกอบอาชีพที่ไม่ควรประกอบ คือ ค้ามนุษย์ ค้าสัตว์ที่จะต้องฆ่า ค้ายาพิษ ค้าอาวุธ ค้าน้ำเมา วิบัติ (ความเสื่อมของอุบาสก) คือ เป็นคนทุศีล เป็นผู้ประกอบอาชีพที่ผิด ไม่มีศรัทธา ถือมงคลตื่นข่าว แสวงหาเขตบุญภายนอกพระพุทธศาสนา ไม่ทำการสนับสนุนในพระพุทธศาสนา และ สมบัติ (ความสมบูรณ์พร้อม) ของอุบาสก คือ เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว แต่เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกพระพุทธศาสนา และ ทำการสนับสนุนในพระพุทธศาสนา.
๒. ที่เรียกว่า เป็นแม่ชี ชีพราหมณ์ จะขาดคุณสมบัติของ “ความเป็นอุบาสิกา” ในข้อไหน ประการใด หรือ ก็เป็นอุบาสิกา ได้เหมือนกัน หรือ ไม่ว่าใครก็ตาม หากเป็นผู้มีความเห็นผิด ก็ ขาดคุณสมบัติ ของ “ความเป็นอุบาสิกา”
-ถ้ามีการไปทำอะไรด้วยความเห็นผิด เข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ก็ไม่ใช่อุบาสก อุบาสิกาจริงๆ
๓. ความเห็นผิด เรียก มิจฉาทิฏฐิ หรือ ทิฏฐิ สองคำนี้ ใช้ต่างกันอย่างไร อย่างไรเป็น “ความเห็นผิด” ยกตัวอย่างด้วยค่ะ
-มิจฉาทิฏฐิ เป็นความเห็นผิด เท่านั้น แต่ถ้ากล่าวถึง ทิฏฐิ คำเดียว ก็ต้องดูว่า ณ ที่นั้น กำลังแสดงถึงความเห็นประเภทใด เช่น ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ณ ตรงนี้ หมายถึง ความเห็นถูก ถ้าเป็นทิฏฐิวิบัติ ความวิบัติเพราะความเห็น ก็ต้องเป็นความเห็นผิด เช่น เห็นว่า ทานไม่มีผล ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี การบูชา ไม่มีผล สักการะที่นำมาเพื่อแขกไม่มีผล เป็นต้น หรือ ถ้าในส่วนของการอธิบาย ความเป็นทิฏฐิเจตสิก ก็ต้องเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ถ้าเป็นสัมมทิฏฐิ ความเห็นถูกตามความเป็นจริง เป็นปัญญาเจตสิก
๔. วัด เป็น ที่อยู่เฉพาะภิกษุ ใช่หรือไม่ มีบัญญัติไว้ อย่างไร หรือไม่ อุบาสก อุบาสิกา อยู่อาศัยในวัด ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด เด็กวัด อยู่อาศัย ในวัดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ที่เรียกว่า เป็นแม่ชี ชีพราหมณ์ อยู่อาศัยในวัดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
-วัดวาอาราม ควรจะเป็นที่อยู่ของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น เพราะคฤหัสถ์มีบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย คฤหัสถ์ก็ควรอยู่ในที่ของคฤหัสถ์ ไม่ควรอยู่ปะปนกับพระภิกษุสามเณร ตามความเป็นจริงในพระวินัยไม่ได้บัญญัติไว้ว่าห้ามคฤหัสถ์อยู่วัด แต่อารามทั้งหลายคฤหัสถ์สร้างถวายสงฆ์ให้เพศบรรพชิตอาศัยอยู่ ส่วนคฤหัสถ์ก็อยู่ที่บ้าน ไม่ควรอยู่วัดที่เขาสร้างถวายสงฆ์ ในพระวินัยมีกล่าวถึงคนวัดหรือคนทำงานวัด แต่มีหมู่บ้านแยกอยู่ต่างหาก ไม่ใช่ในวัดวาอาราม
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 2 โดย ใหญ่ราชบุรี
ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะคะ ว่า
อุบาสก อุบาสิกา ต้องเป็นผู้สมาทานรักษาศีล กี่ข้ออะไรบ้าง หรือไม่ ขอความละเอียดด้วยค่ะ ใน
๑. คุณสมบัติของ “ความเป็นอุบาสิกา” มีประการใดบ้าง ผู้ฟังธรรม อย่างชาว มศพ. เป็น อุบาสก อุบาสิกา หรือไม่ หากไม่ได้ คงเป็นแค่ “ผู้ฟังธรรม” กระมังคะ เพราะ การที่จะ มีสภาพธรรม ที่เป็น “ผู้ที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ด้วยความมีศรัทธาในพระรัตนตรัย” นั้น คงเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะ “ไม่รู้จักธรรมะจริงๆ ” และ “ไม่เข้าใจจริงแม้ในขั้นการฟัง”
ขอบพระคุณยิ่งนะคะ ในความอนุเคราะห์เกื้อกูลที่ให้ได้รับความรู้ค่ะ
-ปกติ ก็ศีล ๕ และถ้ามีอัธยาศัยในการขัดเกลายิ่งขึ้น ก็รักษาศีล ๘
-คุณสมบัติของอุบาสกอุบาสกา ต้องเป็นผู้มีศรัทธา ศีล ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว เป็นต้น
-แต่ละท่านก็ตั้งใจฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง พึ่งพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้พึ่งอย่างอื่น ขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลย ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ