[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 146
มหาวรรค
ญาณกถามาติกา
๕๔. อรรถกถา ทิพจักขุญาณุทเทส
ว่าด้วยทิพจักขุญาณ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 146
๕๔. อรรถกถาทิพจักขุญาณุทเทส
ว่าด้วย ทิพจักขุญาณ
คำว่า โอภาสวเสน - ด้วยสามารถแสงสว่าง ความว่า ด้วย อำนาจแสงสว่างแห่งกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือเตโชกสิณ โอทาตกสิณ อาโลกกสิณ อันเป็นอารมณ์แห่งจตุตถฌานอันแผ่ไปเพื่อเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
คำว่า นานตฺเตกตฺตรูปนิมิตฺตานํ - นิมิตคือรูปต่างกันและอย่างเดียวกัน ความว่า รูปแห่งสัตว์ต่างๆ , หรือ รูปสัตว์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 147
ที่เกิดขึ้น ในจำพวกที่มีกายต่างกัน, หรือรูปทั้งหลายในทิศต่างๆ , หรือรูปทั้งหลายที่ไม่ระคนกัน ชื่อว่า นานตฺตรูป - รูปต่างกัน, รูปแห่งสัตว์ผู้เดียว, หรือรูปแห่งสัตว์ผู้เกิดในจำพวกที่มีกายอย่างเดียวกัน, หรือรูปทั้งหลายในทิศเดียว, หรือรูปทั้งหลายเข้ากันได้แห่งทิศต่างๆ เป็นต้น ชื่อเอกตฺตรูป - รูปอย่างเดียวกัน.
ก็ ในคำว่า รูปํ นี้ ได้แก่ วัณณายตนะ (สี) เท่านั้น. เพราะวัณณายตนะนั้น ย่อมแตกดับไป ฉะนั้นจึงชื่อว่า รูป, อธิบายว่า วัณณายตนะนั้น เมื่อถึงซึ่งวรรณวิการ - ความเปลี่ยนไปแห่งวรรณะ ก็ย่อมประกาศความถึงซึ่งหทัย. รูปนั่นแหละ ชื่อว่า นิมิตคือรูป. แห่งนิมิตคือรูปต่างกันและอย่างเดียวกันเหล่านั้น.
คำว่า ทสฺสนฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในอรรถว่าเห็น ได้แก่ ปัญญาในการเห็นเป็นสภาวะ.
คำว่า ทิพฺพจกฺขุาณํ - ญาณในทิพจักขุ ชื่อว่า ทิพย์ เพราะเป็นเช่นกับด้วยของทิพย์. ปสาทจักขุอันเป็นทิพย์ของทวยเทพอันเกิดขึ้นด้วยสุจริตกรรม อันไม่แปดเปื้อนด้วยมลทินทั้งหลาย มี น้ำดี เสมหะและโลหิตเป็นต้น สามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้เพราะพ้นจากมลทินเครื่องเศร้าหมอง. ญาณจักขุแม้นี้อันเกิดเพราะกำลังแห่งวีริยภาวนา ก็เป็นเช่นนั้นนั่นเอง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิพย์ เพราะเป็นเช่นกับของทิพย์. ชื่อว่า ทิพย์ แม้เพราะเป็นธรรมอันตนอาศัยทิพวิหารธรรม เพราะได้เฉพาะด้วยอำนาจทิพวิหารธรรม, ชื่อว่า ทิพย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 148
เพราะเป็นของรุ่งเรืองมากด้วยการกำหนดอาโลกะ - แสงสว่าง, ชื่อว่า ทิพย์ แม้เพราะมีทางไปมาก ด้วยการเห็นรูปภายในฝาเรือนเป็นต้นได้.
คำทั้งหมดนั้น พึงทราบตามครรลองแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์. เพราะอรรถว่าเห็น จึงชื่อว่า จักขุ, ญาณนั้นเหมือนกับจักขุ แม้เหตุนั้น จึงชื่อว่า จักขุ, จักขุนั้นด้วยเป็นเพียงดังทิพย์ด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิพจักขุ, ทิพจักขุนั้นด้วย ญาณด้วย รวมกันเป็น ทิพจักขุญาณ - ญาณในทิพจักขุ.