สูตรที่ ๔ ว่าด้วยบริษัทที่มิใช่อริยะ และเป็นอริยะ
โดย บ้านธัมมะ  19 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38482

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 404

สูตรที่ ๔

ว่าด้วยบริษัทที่มิใช่อริยะ และเป็นอริยะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 404

สูตรที่ ๔

ว่าด้วยบริษัทที่มิใช่อริยะ และเป็นอริยะ

[๒๙๐] ๔๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่มิใช่อริยะ ๑ บริษัทที่เป็นอริยะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มิใช่อริยะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 405

บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทที่มิใช่อริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่เป็นอริยะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทที่เป็นอริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นอริยะเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อริยา ได้แก่ อริยสาวกบริษัท. บทว่า อนริยา ได้แก่ ปุถุชนบริษัท. บทว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ นปฺปชานนฺติ ความว่า เว้นตัณหา เบญจขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่าทุกข์ ไม่รู้ทุกข์เพียงเท่านี้ตามสภาวะที่เป็นจริงว่า ทุกข์นอกจากนี้ไม่มี. ในบททั้งปวงก็นัยนี้ ก็ในบทที่เหลือมีอธิบายว่า ตัณหามีในก่อนซึ่งทำทุกข์นั้นให้ตั้งขึ้น ชื่อว่าทุกขสมุทัย ความสิ้นไปอย่างเด็ดขาด คือ ไม่เกิดขึ้นอีกแห่งตัณหานั้นนั่นแล หรือแห่งสัจจะทั้งสองนั้น ชื่อว่าทุกขนิโรธ. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ชื่อว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ในสูตรนี้ ตรัสมรรค ๔ และผล ๔ ด้วยสัจจะ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔