[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 412
จตุตถปัณณาสก์
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓
๒. วิภัตติสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรปฏิญญาว่าได้ปฏิสัมภิทา ๔
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 412
๒. วิภัตติสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรปฏิญญาว่าได้ปฏิสัมภิทา ๔
[๑๗๒] พระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมา ฯลฯ กล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าอุปสมบทได้กึ่งเดือนก็ได้ทำให้แจ้งอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา โดยเป็นส่วน โดยพยัญชนะ ข้าพเจ้าบอก แสดง แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกทำให้ตื้น ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นได้โดยอเนกปริยาย ผู้ใดมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง เชิญถามข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักกล่าแก้ พระศาสดาผู้ทรงฉลาดเลิศในธรรมทั้งหลาย ก็ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลาย.
จบวิภัตติสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 413
อรรถกถาวิภัตติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวิภัตติสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺถปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถทั้งหลาย ๕. บทว่า โอธิโส คือโดยเหตุ. บทว่า พฺยญฺชนโส คือ โดยอักษร. บทว่า อเนกปริยาเยน คือ โดยเหตุหลายอย่าง. บทว่า อาจิกฺขามิ แปลว่า บอก บทว่า เทเสมิ คือ บอกกล่าวทำให้ปรากฏ. บทว่า ปญฺาเปมิ คือ ให้เขารู้. บทว่า ปฏฺเปมิ คือ กล่าวยกขึ้นให้เป็นไปแล้ว บทว่า วิวรามิ คือ บอกแบบเปิดเผย. บทว่า วิภชามิ คือ บอกแบบจำแนก. บทว่า อุตฺตานีกโรมิ คือ บอกทำข้อที่ลึกซึ้งให้ตื้น. บทว่า โส มํ ปญฺเหน ได้แก่ ผู้นั้นจงเข้าไปถามปัญหาเรา. บทว่า อหํ เวยฺยากรเณน ความว่า ข้าพเจ้าจักยังจิตของผู้นั้นให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหา. บทว่า โย โน ธมฺมานํ สุกุสโล ความว่า พระศาสดาผู้ทรงฉลาดเลิศในธรรมที่เราบรรลุแล้ว พระองค์ประทับอยู่ต่อหน้าเรา ตรัสว่า ผิว่า อัตถปฏิสัมภิทา เรายังไม่ทำให้แจ้ง ดูก่อนสารีบุตร เธอจงทำให้แจ้งก่อนแล้ว จักทรงห้ามเสีย. เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรชื่อว่านั่งต่อพระพักตรพระศาสดา บันลือสีหนาท. พึงทราบความ ในบททั้งหมดด้วยอุบายนี้. ก็และในปฏิสัมภิทาเหล่านี้ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็น โลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาวิภัตติสูตรที่ ๒