เคยได้ยินผู้กล่าวว่า เป็นสิ่งอัศจรรย์ของธรรม ที่จะจัดสรรให้ผู้ที่มีธรรมใกล้ เคียงกัน ได้มาพบกัน เป็นกัลยาณมิตรกัน หรือเป็นสามีภรรยากัน คนในครอบครัว เดียวกัน ก็มักจะมีธรรมที่ใกล้เคียงกัน เช่น บางครอบครัวมีการสะสมโทสะกันเป็น ส่วนใหญ่ บางครอบครัวสะสมความตระหนี่ เหมือนๆ กัน เป็นต้น
ดิฉันเอง ตั้งแต่เริ่มสนใจศึกษาธรรม จะได้พบเพื่อน และผู้คนที่มีความสนใจ เช่นเดียวกับเรามากขึ้น และพบผู้คนรอบๆ ตัวที่มีจิตใจดี ช่วยเหลือเกื้อกูลแม้ใน ทางโลกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเพื่อนๆ บางคนก็รู้สึกตรงกัน จึงอยากทราบว่าในเรื่องนี้มีกล่าวไว้ในสมัยพุทธกาลหรือไม่คะ
ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 467
ข้อความบางตอนจาก...
ปัญจสิกขาปทสูตร
[๓๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ พวกทำปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำปาณาติบาต พวกทำอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำอทินนาทานพวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำกาเมสุมิจฉาจาร พวกมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมุสาวาท พวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.
[๓๙๔] พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคบกันกับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต พวกเว้นขาดจากอทินนาทานย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากอทินนาทาน พวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร พวกเว้นขาดจากมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากมุสาวาท พวกเว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
จบ ปัญจสิกขาปทสูตรที่ ๓
เชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ ...
การสมาคมกันโดยธาตุ [จังกมสูตร]
ยังเหลือ ท่านพระเทวทัต ไม่ทราบว่า ร่วมจงกรมกับใคร ขอความกรุณาสักอีกนิดนะครับ
พวกเธอเห็นเทวทัตกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก
ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก ขอความกรุณาช่วยอธิบายเพิ่มเติม มีความปรารถนาลามก ด้วยค่ะ และคำว่า ลามก มีความหมายเดียวกับที่ใช้กันในปัจจุบันหรือไม่ค่ะ
เชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ ...
เปรียบเทียบการสมาคมดุจม้า ๒ ม้า [สุหนุชาดกที่ ๘]
ตอบความเห็นที่ 5
ความหมาย คำว่า "ความปรารถนาลามก " ในพระไตรปิฎกมีความหมายกว้างขวางมาก คือ บางนัยหมายถึง ความคิดที่เป็นอกุศลจิต บางนัยหมายถึง ความต้องการลาภ แล้วกล่าวอวดคุณธรรมที่ไม่มีในตน และคำว่า "ลามก" มาจากบาลีว่า ปาปะ ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ไม่ดี ได้แก่ อกุศลธรรมทั้งหมด คือ มีความหมายกว้างกว่าที่ใช้กันในปัจจุบัน โปรดอ่านข้อความจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา
[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 355
เหล่าภิกษุผู้ประกอบด้วยปรารถนา ความยกย่องคุณที่ไม่มีอยู่เป็นผู้ทุศีลชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาลามกในคำว่า น ปาปิจฺฉา นี้
[เล่มที่ 15] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑- หน้าที่ 90
บทว่า ปาปิจฺโฉ โหติ ได้แก่ ประกอบด้วยความปรารถนาลามก มีการยกย่องและปรารถนาอสัตบุรุษเป็นลักษณะ
บทว่า ปาปิกานํ คือ ลุอำนาจความอยากที่ลามกเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ข้อนั้นมาแล้วในพระอภิธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้ว่าเรามีศรัทธา บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ปรารถนาลามกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นคนล่อลวง
[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 764
[๘๖๘] ความปรารถนาลามก เป็นไฉน คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่าเป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีการศึกษาน้อย ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีการศึกษามาก เป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมปรารถนาว่าขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบสงัด เป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติหลงลืม ย่อมปรารถนาว่าขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้มีปัญญาทราม ย่อมปรารถนาว่าขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ความปรารถนา การปรารถนา ความปรารถนาลามก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความปรารถนาลามก.
อนุโมทนา
อนุโมทนา
ขออนุโมทนา การสนทนาธรรมของทุกๆ ท่านในหัวข้อนี้ด้วยค่ะ
คำอธิบาย ความหมายของคำว่า "ความปรารถนาลามก" ทำให้เราทราบว่า เป็นเรื่องที่ มีในคนทั่วๆ ไปในสมัยนี้นะคะ รวมทั้งตัวเราเอง เมื่อเผลอสติ อาจเกิดอกุศลนี้ได้ง่าย นะคะ เพราะชอบในสรรเสริญ ให้คนชมว่าเราขยัน หรือ มีความสุขุม เป็นต้น ใช่หรือไม่ คะ และดิฉันยังสงสัยอีกนิดหนึ่งค่ะ ว่านอกจากธรรมที่ใกล้เคียงกันของกลุ่มคนที่รวม กันแล้ว การสะสม และวิบากกรรมที่คล้ายคลึงกันจะอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ด้วยใช่ หรือไม่คะ เช่น ดิฉันได้ยินเรื่องครอบครัวมีลูก 5 คน ทุกคนมีชีวิตครอบครัวที่พบกับ การหย่าร้างทุกคน หรือบางครอบครัว มีโรคร้ายทางพันธุกรรมแต่กำเนิด เสียชีวิต ก่อนวัยอันสมควรทีละคนๆ เป็นต้น
ขออนุโมทนาในคำอธิบายเพิ่มเติมค่ะ
เรื่องการกระทำกรรมที่คล้ายกัน และวิบากที่คล้ายกัน เป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่า ในสังสารวัฏฏ์อันยาวไกลนี้ แต่ละชาติที่สัตว์โลกที่มีกิเลส เกิดมาย่อมกระทำกรรมที่เป็นอกุศลที่เหมือนๆ กันมากมาย เมื่อว่าโดยทวาร เมื่อสัตว์ทั้งหลายกระทำกรรมไม่พ้นจากทางกาย ทางวาจา ทางใจ กายกรรม ที่เป็นอกุศลกรรมข้อแรก คือ การฆ่าสัตว์ เราก็เห็นในปัจจุบันว่า วันๆ หนึ่งมีคน ฆ่าสัตว์ตั้งเท่าไหร่ อาจจะต่างสถานที่หรือต่างเวลา ตลอดเดือน ตลอด ปี ตลอดชาติ ตลอดสังสารวัฏฏ์มีเท่าไหร่ ทั้งหมดก็คือการกระทำกรรม คือการฆ่าสัตว์อื่นให้ตาย เมื่อกรรมนั้นให้ผล ทำให้เกิดเป็นสัตว์นรก วิบาก อย่างเบาทำให้เป็นคนอายุสั้น ถูกฆ่า ฆ่าตัวเอง หรือประสบอุบัติเหตุตาย และกรรมอื่นๆ ก็เหมือนกันไม่จำเป็นว่าจะต้องกระทำพร้อมกัน จึงจะรับผล พร้อมกัน สรุปคือ ทุกคนที่เคยเกิดมาในสังสารวัฏฏ์ กระทำกรรมมาคล้ายคลึงกัน คือ ไม่พ้นในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ผลที่ได้รับก็คล้ายคลึงกันเป็นธรรมดา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร
ขอเชิญศึกษาพระธรรม...
รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์
พระไตรปิฎก
ฟังธรรม
วีดีโอ
ซีดี
หนังสือ
กระดานสนทนา