ปัจจุบัน การซื้อตั๋วหนัง สามารถซื้อที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ ที่หน้าโรง หรือซื้อทางอินเตอร์เนท โดยพิมพ์ตั๋วได้ที่เครื่องปริ้นเตอร์ของเราเองที่บ้าน ซึ่งทั้ง 2 วิธี นี้ สามารถเลือก ที่นั่งเองได้ตามใจชอบ และก็มีที่นั่งหลายราคา เช่น ๔ แถวหลังสุด ราคา ๑๔๐ บาท แถวที่ ๕ ลงไปจนถึงหน้าจอ ราคา ๑๒๐ บาท ซึ่งเก้าอี้ ทั้ง ๒ แบบ นี้ ก็จะต่างกัน แค่ว่า ราคา ๑๔๐ บาท นั้น ที่เท้าแขนสามารถยกขึ้นได้ ดังนั้นการที่ผม ซื้อ ๑๒๐ บาท แล้วไปนั่งที่ ๑๔๐ บาท จึงเป็นการผิดสัจจะแน่นอน แม้ว่าจะพยายาม เข้าข้างตัวเอง ว่าเราไม่ได้ ซื้อตั๋วกับคนแต่เราซื้อกับเครื่อง การกระทำดังกล่าวนอกจากเป็นมุสาวาทแล้ว ยังครบองค์ของอทินนาทานด้วย คือ ๑. ทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน (คือที่นั่ง ๑๔๐ บาท เขาหวงไว้สำหรับ ผู้ที่จ่าย ๑๔๐ บาท)
๒. รู้ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
๓. มีเจตนาจะลักเอาไป (คือ ไปนั่งที่ตรงนั้น ขณะนั้นคือ ลักมาเป็นของเรา)
๔. มีความพยายามในการลัก
๕. ลักทรัพย์นั้นมาได้สำเร็จด้วยความพยายามนั้น (นั่งดู ไปจนจบเรื่องเลย) ก็มาเล่าสู่กันฟัง สมาชิกท่านใด มีความเห็น อย่างไร ก็แสดงความเห็นต่อยอดได้นะครับ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสิงคาลกสูตรว่า ทางแห่งการเสื่อมโภคทรัพย์
๑. เล่นการพนัน
๒. คบคนชั่วเป็นมิตร
๓. เที่ยวกลางคืน
๔. เที่ยวดูหนัง ดูการละเล่น
๕. ดื่มสุรา
สัจจะ ต้องเป็นไปในทางกุศลเท่านั้นค่ะ สมมติว่า เพื่อนชวนไปลักทรัพย์ ก็รับปากว่าจะไป แต่พอถึงเวลาคิดได้ว่าเป็นบาปไม่ไป แบบนี้ถือว่าไม่ผิดสัจจะค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ชอบดูหนังดราม่าที่ได้แง่คิดในการดำรงชีวิต เป็นอกุศลหรือปล่าวคะ?
ถ้าจิตไม่เป็นไปในเรื่องทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นจิตเป็อกุศล
ถ้าสังเกต สภาพของจิตขณะที่ดูหนัง จะทราบว่า จิตเป็นอกุศลเกือบตลอดทั้งเรื่อง ที่ใช้คำว่า " เกือบ " เพราะถ้าเป็นผู้มีปัญญามาก ขณะดูหนังวิปัสสนาภาวนาก็เกิดได้หรือ สมถภาวนาก็สามารถเกิดได้เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่า จะเป็นหนังประเภท ดราม่า แอคชั่น ไซไฟ โรมานซ์ คอเมดี้ ทริลเลอร์ ฮอเลอร์ มิสตรี้ - ฯลฯ สติก็เกิดได้ แต่สำหรับผม กิเลสหนา ปัญญาน้อย โอกาสทีสติจะเกิด ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ แล้วคือ
0 . 000000000000000000000000000000000000000000000000000000 ... ฯลฯ ... 1 %
สัจจะมี ๖ ประการ คือ :- ๑. จริงวาจา ๒. จริงสมมติ ๓. จริงสภาวะ ๔. จริงปรมัตถ์ ๕. จริงอริยสัจจะ ๖. จริงนิพพาน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่องการกำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 689 ๑. สาตถกสัมปชัญญะ บรรดาสัมปชัญญะทั้ง ๔ อย่างนั้น การไม่ไปตามอำนาจความคิดที่เกิดขึ้นทีเดียว ในเมื่อคิดจะก้าวไป กำหนดผลได้ผลเสีย (ก่อน) ว่า
การไปที่นี้ จะมีประโยชน์แก่เรา หรือไม่มี แล้วถือเอาแต่ประโยชน์ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาในทุกกุศลจิต รบกวนคุณแล้วเจอกันช่วยขยายความอีกนิดได้ไหมคะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
๑. สาตถกสัมปชัญญะ
บรรดาสัมปชัญญะทั้ง ๔ อย่างนั้น การไม่ไปตามอำนาจความคิด
ที่เกิดขึ้นทีเดียว ในเมื่อคิดจะก้าวไป กำหนดผลได้ผลเสีย (ก่อน) ว่า
การไปที่นี้ จะมีประโยชน์แก่เรา หรือไม่มี แล้วถือเอาแต่ประโยชน์
ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ.
การที่เราจะไปในที่ใด แล้วคิดพิจารณาเสียก่อนด้วยปัญญาว่า ที่นี้เหมาะสมจะเกิดประโยชน์หรือไม่ หรือจะทำให้กุศลเจริญหรืออกุศลเจริญ หรือเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะเช่น การดูหนัง เป็นต้น แล้วพิจารณาในสิ่งที่เป็นประโยชน์กว่า คือ การไปไหว้พระเจดีย์ ฟังธรรม เป็นต้น ถือเอาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ถ้าการดูหนังเรื่องนั้น ทำให้ละคลายการยึดถือตัวตนได้ชั่วครู่ เช่น เห็นว่าชีวิตเป็นของ
ไม่เที่ยงอย่างนี้ถือว่าพอจะได้ประโยนช์บ้างไหมคะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...อุปติสสะ และ โกลิตะ คิดแสวงหาโมกขธรรมเพื่อตน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขณะที่เป็นประโยชน์คือขณะที่เป็นกุศล แต่เกิดยาก ถ้าขาดปัญญา และโดยเฉพาะในสิ่งที่ไม่เอื้ออำนวยให้กุศลเกิด กุศลเกิดได้ ทุกสถานที่เพราะสติ จำปรารถนาในที่ทั้งปวงครับ แต่ถ้าเราปัญญาน้อย ไม่ใช่แบบพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เมื่อเสพใน
สิ่งที่ไม่เหมาะสม ก็เกิดกุศลได้ยาก ต่างจากเสพในสิ่งที่เหมาะสม ก็ทำให้กุศลเกิดได้ง่ายกว่าและปัญญาเจริญด้วยครับ เช่น การฟังพระธรรม ดังข้อความในพระไตรปิฎก ที่แสดงเหตุให้เกิดกุศล คือ...
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่... จักร ๔ เป็นโอกาสในการยังกุศลให้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 26 ความจริง ผู้อยู่ในประเทศอันไม่สมควรหรือผู้เว้นจากการคบสัปบุรุษ
ย่อมไม่มีการฟัง. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาค่ะ