เญยยธรรม ๕
โดย ลุงหมาน  13 พ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 20022

พระพุทธองค์ผู้ตรัสรู้ เญยยธรรม ทั้งหลายเอง ไม่มีผู้เปรียบปาน

เญยยธรรม มี ๕ ได้แก่ ๑.สังขาร ๒.วิการ ๓.ลักษณะ ๔.บัญญัติ ๕.นิพพาน

เท่าที่อ่านมา แต่ไม่ทราบความหมายว่า คืออะไร ท่านอาจารย์ หรือท่านผู้รู้ ช่วยอธิบายรายละเอียดให้ด้วย ขอขอบพระคุณล่วงหน้าทุกท่านครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เญยธรรม คือ สภาพธรรมทั้งหมด ซึ่งเมื่อแสดงโดยนัยที่พระพุทธเจ้า ทรงมีพระปัญญา รู้ เญยธรรมทั้งหมด คือ มีพระปัญญารู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นสังขารธรรม คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป คือ จิต เจตสิก และ รูปทั้งหมด ลักษณะของสภาพธรรมเหล่านั้น บัญญัติ เรื่องราวที่สมมติจากสิ่งที่มีจริงทั้งหมด และพระนิพพานอันเป็นความจริงแท้สูงสุด ก็อยู่ในสภาพธรรมทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ เป็น เญยยธรรม สภาพธรรมทั้งหมดนั่นเองครับ นี่แสดง คำว่า เญยยธรรม โดยนัยของสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้ด้วยพระปัญญา พระองค์ทรงรู้ทั้งหมดครับ แต่อีกนัยหนึ่งที่สำคัญ เญยยธรรม มุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็น จิต เจตสิก รูป ว่าเป็นสภาพธรรมที่ควรรู้ยิ่งบ้าง เช่น อภิญญเญยยธรรม เป็นสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา ปริญญาเญยยธรรม เป็นต้น เญยยธรรมในที่นี้จึงมุ่งหมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็น จิต เจตสิก รูป ว่าเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยปัญญา รู้ว่าสภาพธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน คือ จิต เจตสิกและรูป เป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ซึ่งการเจริญสติปัฏฐาน อริยมรรคมีองค์ 8 ก็ต้องรู้เญยยธรรมคือ จิต เจตสิกและรูปว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ แต่ไม่ใช่รู้บัญญัติและกำหนดรู้พระนิพพานครับ โดยนัยนี้ เญยยธรรมจึงมุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่มีจริงที่ควรรู้ยิ่ง คือ จิต เจตสิกและรูปเท่านั้นครับ พระธรรมจึงมีการแสดงหลากหลายนัย ตามที่กล่าวมา ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย nong  วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 13 พ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมและทุกท่านครับ

ความคิดเห็น 4    โดย ลุงหมาน  วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขอบคุณครับ อ. ขอถามต่ออีกนิดครับอยากรู้องค์ธรรมว่า

๑. สังขาร หมายถึงอาการปรุงแต่งจิต หรือ เจตสิก ๕๐ ครับ อย่างนี้ใช่หรือเปล่า

๒. วิการ หมายถึง วิการรูป ๓ ใช่หรือเปล่าคือ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตาน่ะครับ

๓. ลักษณะ คือลักขณะรูป ๔ ใช่หรือเปล่า คือ อุปจย สันตติ ชรตา อนิจจตา

๔. บัญญัติ คือ การบัญญัติชื่อตามสภาวธรรมตั้งชื่อ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท อย่างนี้ใช่หรือเปล่า

๕. นิพพาน คือสภาพธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์ทั้งปวงครับ

เป็นความคิดเห็นส่วนตัว อยากให้ อ. ช่วยอธิบายให้เข้าใจอีกทีตามที่ผมเข้าใจว่าผิดหรือถูก ไม่รู้จะหาคำตอบที่ถูกต้องได้ที่ไหนก็หวังพึ่ง อ. แหละครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


ความคิดเห็น 5    โดย paderm  วันที่ 13 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

1.สังขารในที่นี้หมายถึงสภาพธรรมที่กิดขึ้นและดับไป มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งจึงหมายรวมถึงสภาพธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นและดับไปคือจิต เจตสิก 52 และรูป 28 ส่วนที่ท่านผู้ถามยกมาเป็นเพียงสังขารขันธ์จึงแคบกว่า ที่เป็นสังขารธรรมครับ

2.วิการก็น่าจะมุ่งหมายถึงวิการรูป 3 ก็ไม่พ้นจาก เญยยธรรมครับ

3.ลักษณะ น่าจะมีความหมายกว้างที่เป็นสามัญญลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

4.บัญญัติ ก็คือ ชื่อต่างๆ ที่อาศัยสภาพธรรรมที่มีจริง เช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น เรียกชื่อเป็นบัญญัติครับ

5.ถูกต้องครับ


ความคิดเห็น 6    โดย เซจาน้อย  วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย khampan.a  วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง ทุกอย่างทุกประการนั้น เป็นสิ่งที่ควรรู้ควรศึกษาให้เข้าใจเพื่อเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏตามความเป็นจริงเพื่อละคลายความไม่รู้ที่ได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งจะต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย จะเห็นได้ว่าไม่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแสดงพระธรรมโดยนัยใด ก็ตาม ก็เพื่อให้พุทธบริษัทได้เข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่มีจริงที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ ครับ.

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 8    โดย jaturong  วันที่ 14 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 14 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย ลุงหมาน  วันที่ 15 พ.ย. 2554

กราบขอบพระคุณท่าน อ. ผเดิม อ. คำปั่นมากครับ