๑๐. อรัญญสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
โดย บ้านธัมมะ  27 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 39180

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 248

ตติยปัณณาสก์

ผาสุวิหารวรรคที่ ๑

๑๐. อรัญญสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุ ผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 248

๑๐. อรัญญสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุ ผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด

[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวม ด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 249

อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ๑ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า และป่าชัฏ.

จบอรัญญสูตรที่ ๑๐

จบผาสุวิหารวรรคที่ ๑

อรรถกถาอรัญญสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอรัญญสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อลํ แปลว่า ควร. แม้ในสูตรนี้ ก็ตรัสเฉพาะพระขีณาสพ เท่านั้นแล.

จบอรรถกถา อรัญญสูตรที่ ๑๐

จบผาสุวิหารวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เวสารัชชกรณสูตร ๒. สังกิตสูตร ๓. โจรสูตร ๔. สุขุมาลสูตร ๕. ผาสุวิหารสูตร ๖. อานันทสูตร ๗. สีลสูตร ๘. อเสขิยสูตร ๙. จาตุทิสสูตร ๑๐. อรัญญสูตร และอรรถกถา.