อยากทราบว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย และ นานักขณิกกัมมปัจจัย มีนัยอย่างไรบ้าง
ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ขอบคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นสภาพธรรม ที่มีกำลังจนสามารถ เป็นปัจจัยให้เกิดสภาพธรรม
อื่นที่เป็นจิต เจตสิกครับ ซึ่งปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่กล้าวขวางมากครับ ซึ่ง
สภาพธรรมที่เป็นปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมอื่นๆ เกดินั้น ปัจจัยที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
คือ จิต 89 เจตสิก 52 รูป 28 เป็นต้น ซึ่งปกตูปนิสสยปัจจัย มีหลายอย่างดังนี้ครับ
1.กุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด กุศลที่เป็นจิต เจตสิก เช่น สะสมการฟังธรรม
ความเห็นถูกมา ก็เป็นปัจจัยให้เกดิกุศลจิจ คือปัญญาเกิดได้อีกครับ หรือ อกุศลขั้น การฟังเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลขั้นสูงครับ2.กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศล เช่น เพราะมีความเห็นถูก (ปัญญา) ทำให้
เกิดมานะ ดูหมิ่นผู้อื่น เป็นต้น
3.กุศลเป็นปัจจัยให้เกิด อัพยากตะ เกิดวิบาก
4.อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศล
5.อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศล
6.อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิด อัพยากตะ ที่เป็นวิบากจิต
7.อัพยากตะ เป็นปัจจัยให้เกิด อัพยากตะ
จะเห็นนะครับว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่กว้างขวางครับ สภาพธรรมทั้งที่เป็น
จิต เจตสิก รูปและบัญญัติด้วย
ส่วนนานักขณิกกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยย่อยในกรรมปัจจัยครับ ซึ่งกรรมปัจจัยแบ่งเป็น
2 อย่างคือ สหชาตกัมมปัจจัยและนานักขณิกกัมมปัจจัย
กรรมปัจจัย มุ่งหมายถึง เจตนาเจตสิกเท่านั้นครับ จะเห็นนะครับว่าแคบกว่า ปกตูปนิ
สสยปัจจัยเพราะปกตูปนิสสยปัจจัย รวมธรรมทั้งหมดที่เป็น จิต เจตสิก รูป บัญญัติที่
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยได้ครับ
นานักขณิกกัมมปัจจัย หมายถึง เจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม
เป็นปัจจัยให้เกิดวิบากจิตและเจตสิกนั่นเองครับ ดังนั้น นานักขณิกกัมมปัจจัย จึงมุ่ง
หมายถึง เจตนาเจตสิกเท่านั้นที่เกิดกับกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมครับ แคบกว่า ปกตู
ปนิสสยปัจจัยครับ นานักขณิกกัมมปัจจัย ในชีวิตประจำวัน เช่น เจตนาเจตสิกที่เกิด
กับกุศลกรรมในอดีตชาติ ทำให้ชาตินี้เกิดมาได้เห็นสิ่งที่ดี (วิบาก) เป็นต้นครับ
ดังนั้น ปกตูปนิสสยปัจจัยกว้างกว่า นานักขณิกกัมมปัจจัยครับ ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น -ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงนั้น เป็นสิ่งที่มีจริง และสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นเป็นไปนั้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีธรรมแม้แต่อย่างเดียวที่เกิดขึ้นลอยๆ โดยปราศจากปัจจัย ซึ่งถ้าศึกษาไปตามลำดับก็จะเข้าใจว่า ไม่พ้นไปจากปัจจัย ๒๔ ขึ้นอยู่กับว่าจะมุ่งหมายถึงปัจจัยใด ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ แม้แต่ในขณะนี้ เพียงชั่วขณะจิตเดียว ที่กำลังเห็น ก็มีหลายปัจจัย มี อารัมมณปัจจัย นิสสยปัจจัย สหชาตปัจจัย เป็นต้น
สำหรับปกตูปนิสสยปัจจัย นั้น กว้างขวางมากทีเดียว แต่ที่พอจะเข้าใจได้ชัด คือ เพราะเคยได้สะสมอุปนิสัยมาแล้ว ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ที่ทำให้ แต่ละบุคคลมีอัธยาศัยที่แตกต่างกันไปตามการสะสม, กุศล เป็น ปกตูปนิสสย-ปัจจัยให้เกิดกุศลต่อๆ ไปได้ หรือจะกล่าวว่า กุศล ในอดีต ที่ผู้นั้นได้สะสมมาแล้ว ด้วยดี จนเป็นปกติ ก็ทำให้ผู้นั้น เป็นผู้ที่มีอุปนิสสัยน้อมไปในทางที่เป็นกุศล แต่ถ้าเป็นโดยนัยตรงกันข้าม คือ อกุศลที่ได้สะสม เคยกระทำมาแล้วในอดีต ก็ทำให้ผู้นั้นมีอัธยาศัยน้อมไปในทางที่เป็นอกุศล ทำให้เห็นถึงสภาพธรรมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็เป็นประโยชน์ที่จะทำให้เริ่มสะสมแต่สิ่งที่ดีงาม สะสมเป็นอุปนิสัยที่ดี ต่อไป ส่วนสิ่งที่ไม่ดี ที่เป็นอกุศล นั้น ไม่ควรสะสมให้มีมากขึ้น -ทุกขณะของชีวิตไม่พ้นไปจากจิต ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้นนั้น มีเจตนาเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเจตนาที่เกิดกับจิตประเภทใด ถ้าเกิดร่วมกับอกุศลจิต ก็เป็นชาติอกุศล ถ้าเกิดร่วมกับกุศลจิต ก็เป็นชาติกุศล ถ้าเกิดร่วมกับวิบากจิต ก็เป็นชาติวิบาก ถ้าเกิดร่วมกับกิริยาจิต ก็เป็นชาติกิริยา เจตนาที่เกิดจิตทุกขณะเป็นสหชาตกัมมปัจจัย กล่าวคือ เจตนาเป็นปัจจัยโดยการเกิดพร้อมกับจิตและเจตสิกอื่นๆ ในขณะนั้น โดยมีเจตนา เป็นปัจจัย ส่วนจิตและเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วยนั้น เป็นผลของเจตนาที่เป็นสหชาตปัจจัย แต่ที่จะเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นปัจจัยโดยการให้ผลต่างขณะ [ไม่ใช่ในขณะเดียวกัน] ได้ นั้น ต้องเป็นเจตนาที่เกิดกับจิตชาติกุศล และอกุศล ที่สำเร็จเป็นกรรมแล้วเท่านั้น ซึ่งกรรมปัจจัย นี้ ทำให้เกิดผล คือ วิบากจิต และวิบากเจตสิก และ กัมมชรูป เกิดขึ้น ในภายหลัง เมื่อเจตนาซึ่งเป็นกรรมนั้นดับไปแล้ว ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ปกตูปนิสสยปัจจัย อะไรที่ทำบ่อยๆ เช่น ฝ่ายกุศล ให้ทานบ่อย ฟังธรรมบ่อยๆ สะสมจน
เป็นความเคยชิน ถ้าฝ่ายอกุศล เช่น โกรธบ่อยๆ โกรธครั้ง 1 ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้โกรธ
อีก สะสมจนเป็นนิสัยเป็นปกติ ส่วน นานักขณิกกัมมปัจจัย หมาย ถึงให้ผลต่างขณะ เช่น
ฝ่านกุศล หลังจากทำกุศล ให้ทาน ก็ให้ผลในอนาคต ค่ะ