๖. มหากัมมวิภังคสูตร
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36142

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 268

๖. มหากัมมวิภังคสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 268

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่านพระสมิทธิอยู่ในกระท่อมในป่า. ครั้งนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรเดินเล่นไปโดยลําดับเข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่อยู่แล้ว ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสมิทธิ ครั้นผ่านคําทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระสมณโคดมดังนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรมเท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้น มีอยู่.

ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรมเท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้น มีอยู่.

ปริพาชก. ดูก่อนท่านสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว.

สมิทธิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา.

ปริพาชก. ในเมื่อภิกษุไหนเข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้วคราวนี้พวกเราจักพูดอะไรก่อนภิกษุผู้เถระได้ ดูก่อนท่านสมิทธิ บุคคลทํากรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจเขาจะเสวยอะไร.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 269

สมิทธิ. ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ เขาจะเสวยทุกข์

ลําดับนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของท่านพระสมิทธิ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๖๐๐] ครั้นปริพาชกโปตลิบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระอานนท์ครั้นผ่านคําทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงบอกเรื่องเท่าที่ได้สนทนา กับ ปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด แก่ท่านพระอานนท์. เมื่อท่านพระสมิทธิบอกแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ เรื่องนี้มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ มาเถิด เราทั้งสองพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราพึงทรงจําคําพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น. ท่านพระสมิทธิรับคําท่านพระอานนท์ว่า ชอบแล้วท่านผู้มีอายุ.

ต่อจากนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องเท่าที่ท่านพระสมิทธิ ได้สนทนากับปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๖๐๑] เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระอานนท์ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์แม้ความเห็นของปริพาชกโปตลิบุตร เราก็ไม่ทราบชัด ไฉนเล่า จะทราบชัดการสนทนากันเห็นปานนี้ได้โมฆบุรุษสมิทธินี้แล ได้พยากรณ์ปัญหาที่ควรแยกแยะพยากรณ์ของปริพาชกโปตลิบุตรแต่แง่เดียว.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 270

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าวหมายทุกข์นี้แล้ว ไม่ว่าการเสวยอารมณ์ใดๆ ต้องจัดเข้าในทุกข์ทั้งนั้น.

[๖๐๒] เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของโมฆบุรุษ อุทายีนี้เถิด เรารู้แล้วละ เดี๋ยวนี้แหละ โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้นโดยไม่แยบคาย ดูก่อนอานนท์ เบื้องต้นทีเดียว ปริพาชกโปตลิบุตรถามถึงเวทนา ๓ ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิผู้ถูกถามนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ บุคคลทํากรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกายด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นสุข เขาย่อมเสวยสุข บุคคลทํากรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นทุกข์เขาย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทํากรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกายด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข ดูก่อนอานนท์โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบแก่ปริพาชกโปตลิบุตร ก็แต่ว่าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นนั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ใครเล่าจักรู้มหากัมมวิภังค์ของตถาคต ถ้าพวกเธอฟังตถาคตจําแนกมหากัมมวิภังค์อยู่.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคต เป็นกาลสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงจําแนกมหากัมมวิภังค์ ภิกษุทั้งหลายสดับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักได้ทรงจําไว้.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 271

[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ บุคคล๔ จําพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก. ๔ จําพวกเหล่าไหน คือ

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคําหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด มักพูดคําหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี.

(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 272

[๖๐๔] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทํานองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดส่อเสียด มักพูดคําหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เองเห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ. ในที่นั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.

[๖๐๕] ดูก่อนอานนท์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทํานองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้น


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 273

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่าผู้ใดมักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เองเห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.

[๖๐๖] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทํานองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคําหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌามีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นเมื่อตายไปแล้วเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมดีมี วิบากของสุจริตมี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่าผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 274

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละในที่นั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.

[๖๐๗] ดูก่อนอานนท์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจนั้น ความประกอบเนืองๆ ความไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทํานองที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรกได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดีไม่มีวิบากของสุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปานาจิบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็นแล้ว กล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้น ทุกคนตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก. ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.

[๖๐๘] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๘ จําพวกนั้น เราอนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 275

เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราก็อนุมัติ ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าได้รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละในที่นั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั้นเพราะเหตุไรดูก่อนอานนท์เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น

[๖๐๙] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ จําพวกนั้น เราไม่อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราอนุมัติส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเองนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่า


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 276

นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนอานนท์เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.

[๖๑๐] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๕ จําพวกนั้น เราอนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมดีมี วิบากของสุจริตมี แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราก็อนุมัติ ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั่นแหละในที่นั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่านี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนอานนท์เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.

[๖๑๑] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ จําพวกนั้น เราไม่อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเป็นอันว่ากรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้และผู้นั้นตายไปแล้วเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราอนุมัติ ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึง


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 277

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่อนุมติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกําลังและความแน่ใจว่านี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไรดูก่อนอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.

[๖๑๒] ดูก่อนอานนท์ในบุคคล จําพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เป็นอันว่า เขาทํากรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีมิจฉาทิฏฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้นเขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.

[๖๑๓] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นี้ เป็นอันว่า เขาทํากรรมดีที่ไห้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีสัมมาทิฏฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไปจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.

[๖๑๔] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้วเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 278

นี้ เป็นอันว่า เขาทํากรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีสัมมาทิฏฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้นเขาตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.

[๖๑๕] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก นี้ เป็นอันว่า เขาทํากรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อนๆ หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีมิจฉาทิฏฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตายเพราะฉะนั้น เขาตายไปจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็แหละบุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบาก ของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป. [๖๑๖] ดูก่อนอานนท์ ด้วยประการนี้แล กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มี. กรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่าควรก็มี กรรมที่ควรแท้และส่องให้เห็นว่าควรก็มี กรรมที่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ มหากัมมวิภังคสูตรที่ ๖


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 279

อรรถกถามหากัมมวิภังคสูตร

มหากัมมวิภังคสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในสูตรนั้น บทว่า โมฆํ (เป็นโมฆะ) ได้แก่ว่างเปล่า ไม่มีผล. บทว่า สจฺจํ (จริง) ได้แก่ แท้ มีจริง. ก็ข้อนี้อันปริพาชกโปตลิบุตรนั้น ไม่ได้ฟังมา เฉพาะพระพักตร์. แต่มโนกรรมอันมีโทษมากกว่าได้บัญญัติไว้แล้วในอุปาลิสูตร คํานี้ว่า กายกรรมไม่เป็นอย่างนั้น วจีกรรมไม่เป็นอย่างนั้น แห่งการทํากรรมชั่วแห่งความเป็นไปของกรรมชั่ว เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมีอยู่ กถานั้นเกิดปรากฏในระหว่างเดียรถีย์ทั้งหลาย. ปริพาชกโปตลิบุตรคือเอากถานั้นกล่าว. กล่าวคํานี้ว่า ก็สมาบัตินั้น มีอยู่ ดังนี้ หมายถึง อภิสัญญานิโรธกถาที่เกิดแล้ว ในโปฏฐปทสูตรว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อภิสัญญานิโรธมีอย่างไรหนอแล. บทว่า กิฺจิ เวทิยติ (ไม่เสวยเวทนาอะไรๆ) ความว่า ไม่เสวยแม้เวทนาหนึ่ง. บทว่า อตฺถิ จ โข (ก็แลสมาบัติมีอยู่) ความว่า พระเถระย่อมรับรู้หมายถึงนิโรธสมาบัติ. บทว่า ปริรกฺขติพฺพํ (การระแวดระวัง) ความว่า พึงรักษาด้วยการเปลื้องจากคําติเตียน. ความจงใจแห่งกรรมนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่า สฺเจตนิกํ แปลว่า ประกอบด้วยความจงใจ อันมีความมุ่งหมาย. บทว่า ทุกฺขํ ความว่า พระเถระหมายถึงอกุศลเท่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยสําคัญว่าปริพาชกจะถาม บทว่า ทสฺสนํ ปิ โข อหํ (แม้... เราก็ไม่เคยเห็น) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นสังขารแม้เพียงเมล็ดงาในที่ประมาณหนึ่งโยชน์โดยรอบ ในที่มืดแม้มีองค์สี่ ด้วย มังสจักษุเทียว. ก็ปริพาชกนี้อยู่ในที่ไม่ไกล ในภายในประมาณคาวุต. ถามว่าเพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะตรัสมุ่งถึงการเห็นสมาคมเท่านั้น. บทว่า อุทายี คือ พระโลลุทายี. บทว่า ตํ ทุกฺขสฺมึ (การเสวยอารมณ์ทุกอย่างจัดเข้าในทุกข์)


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 280

ได้แก่ทุกข์นั้นทั้งหมดเทียว. กล่าวว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงมีภาษิตไซร้ดังนี้ หมายถึง วัฏฏทุกข์ กิเลสทุกข์ และสังขารทุกข์นี้ ด้วยประการฉะนี้.บทว่า อุมฺมงฺคํ (ความนอกลู่นอกทาง) ได้แก่การปรากฏออกมาของปัญญา. บทว่า อมฺมุชฺชมาโน (เมื่อจะโพล่งขึ้น) ได้แก่ ยื่นศีรษะ. บทว่า อโยนิโส อุมฺมุชฺชิสฺสติ ได้แก่โผล่ศีรษะโดยไม่มีอุบาย.

ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เรื่องนี้ ไม่ใช่ทรงรู้ด้วยทิพยจักษุเจโตปริยญาณ และสัพพัญุตญาณ. แต่ทรงรู้ด้วยอธิบายเท่านั้น. ก็เมื่อกล่าวธรรมดาอธิบายก็รู้ได้โดยง่าย ผู้ประสงค์จะกล่าวย่อมยืดคอ สั่นคาง ปากของเขาก็ขมุบขมิบ ไม่อาจเพื่อสงบนิ่งได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอาการนั้นของพระอุทายีนั้นแล้ว ทรงดูแล้วว่า อุทายีนี้ ไม่อาจเพื่อจะสงบนิ่งได้จักกล่าวถ้อยคําที่ไม่เป็นจริงนั้นแล ได้ทรงรู้แล้ว. บทว่า อาทึเยว คือในเบื้องต้นนั้นเทียว. บทว่า ติสฺโสว เทวทนา (เวทนา๓) ความว่า ปริพาชกโปตลิบุตร เมื่อจะถามว่า บุคคลนั้นจะเสวยอะไรก็กําหนดอย่างนี้ว่า เราจะถามเวทนาสามดังนี้ แล้วจึงถามเวทนาสาม. บทว่า สุขเวทนียํ (อันให้ผลเป็นสุข) ได้แก่ อันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา.แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เช่นเดียวกัน. ก็ในที่นี้ ชื่อว่า กรรมอันให้ผลเป็นสุขเพราะเกิดสุขเวทนาในปฏิสนธิและประวัติอย่างนี้คือ เจตนาสี่ ซึ่งสัมปยุตด้วยจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส โดยกามาวจรกุศล เจตนาในฌานหมวดสามเบื้องต่ําก็ในที่นี้ กามาวจรย่อมยังสุขโดยส่วนเดียวให้เกิดขึ้นในปฏิสนธินั้นเทียว ย่อมยังอทุกขมสุขให้เกิดขึ้นในมัชฌัตตารมณ์อันน่าปรารถนาที่เป็นไปแล้ว. อกุศลเจตนา ชื่อว่าให้ผลเป็นทุกข์ เพราะเกิดทุกข์เท่านั้นในปฏิสนธิและประวัติก็ครั้นกายทวารเป็นไปแล้ว ก็ยังทุกข์โดยส่วนเดียวนั้นให้เกิดขึ้น. ย่อมยังอทุกขมสุขให้เกิดขึ้นในวาระอื่น. ก็เวทนานั้น ถึงอันนับว่า ทุกข์นั้นเทียว เพราะ


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 281

เกิดขึ้นในอารมณ์ทั้งหลาย อันปานกลางที่ไม่น่าปรารถนา ก็ชื่อว่า กรรมให้ผลเป็นอทุกขมสุข เพราะเกิดเวทนาที่สามในปฏิสนธิและประวัติอย่างนี้ คือเวทนาสี่ที่สัมปยุตด้วยจิตอันสหรคตด้วยอุเบกขา โดยกามาวจรกุศล เวทนาในจตุตถฌานโดยรูปาวจรกุศล. ก็ยังอทุกขมสุขโดยส่วนเดียวให้เกิดในกามาวจรปฏิสนธินั้นเทียว. ยังแม้สุขให้เกิดในอิฏฐารมณ์ที่เป็นไปแล้ว. อนึ่ง กรรมที่ให้ผลเป็นสุข ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจแห่งความเป็นไปแห่งปฏิสนธิ กรรมที่ให้ผลเป็นอทุกขมสุข ย่อมเป็นไปเหมือนกัน กรรมที่ให้ผลเป็นทุกข์ ย่อมเป็นไปด้วยอํานาจแห่งความเป็นไปเหมือนกัน. ก็ด้วยอํานาจแห่งทุกข์เวทนียกรรมนั้น กรรมทั้งหมดย่อมเป็นไปด้วยอํานาจแห่งความเป็นไปนั้น เทียว.

บทว่า เอตสฺส ภควา (ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า... จะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์) ความว่า พระตถาคตทรงแสดงอาลัย เพื่อทรงแสดงมหากัมมวิภังค์ เราทูลขอพระตถาคตแล้ว จักกระทํามหาวิภังคญาณให้ปรากฏแก่พระภิกษุสงฆ์ดังนี้ แล้วกล่าวอย่างนี้ เพราะความที่คนฉลาดในการเชื่อมความ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหากมฺมวิภงฺคํ ได้แก่ การจําแนกมหากรรม. คําว่า บุคคลสี่เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ย่อมเข้าถึงนรกนี้ เป็นมหากัมมวิภังคญาณภาชนะ แต่ก็เป็นมาติกาฐปนะ เพื่อประโยชน์แก่มหากัมมวิภังคญาณภาชนะ. คําว่า ดูก่อนอานนท์สมณะบางคนในโลกนี้ แต่ละคําเป็นอนุสนธิ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภถึงอนุสนธินี้ เพื่อทรงประกาศว่า สมณะหรือ พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์ ทําอนุสนธินี้เป็นอารมณ์ได้ปัจจัยนี้ ถือทัสสนะนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาตปฺปํ (ความเพียรเครื่องเผากิเลส) เป็นต้นเป็นชื่อของความเพียร ๕ ประการนั้นเทียว. บทว่า เจโต สมาธึ ได้แก่ทิพยจักษุสมาธิ. บทว่า ปสฺสติ (ย่อมเห็น) ความว่า ย่อมเล็งเห็นว่า สัตว์นั้น เกิดแล้ว แม้ในที่ไหน. บทว่า เย อญฺถา (ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น) ความว่า ย่อมกล่าวว่า ชนเหล่าใดย่อมรู้ว่า บุคคลนั้น เข้าถึงนรก เพราะ


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 282

ความที่กุศลกรรมบถสิบอันตนประพฤติแล้ว ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้. บทว่า วิทิตํ (ทราบ) ได้แก่ปรากฏ. บทว่า ถามสา (ตามกำลัง) ได้แก่ ด้วยกําลังทิฏฐิ. บทว่า ปรามาสา (ตามความแน่ใจ) ได้แก่ ลูบคลําด้วยทิฏฐิ. บทว่า อภินิวิสฺส โวหรติ ความว่า พูดปักลงไปยึดถือ. ก็บทว่า ตตฺรานนฺท (อานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น) นี้ เป็นบทจําแนกมหากัมมวิภังคญาณ ถึงกระนั้น ก็ยังเป็นบทตั้งมาติกาด้วย. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทนี้ว่า วาทะมีประมาณเท่านี้ เราอนุมัติ วาทะมีประมาณเท่านี้ เราไม่อนุมัติ ตามคําของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์. บทว่า ตฺตร ตฺตร คือในสมณะหรือพราหมณ์สี่เหล่านี้. บทว่า อิทมสฺส ตัดบทเป็น อิทํ วจนํ อสฺส แปลว่าคํานี้จะพึงมี. บทว่า อฺถา คือ โดยอาการอื่น. พึงทราบวาทะที่ทรงอนุมัติ ไม่ทรงอนุมัติ ในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า ทรงอนุมัติในฐานะ ๒ อย่างไม่ทรงอนุมัติในฐานะ ๓ อย่าง ในวาทะของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอนุมัติ และไม่อนุมัติตามคําของสมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์อย่างนี้แล้วบัดนี้ เมื่อจะทรงจําแนกญาณในมหากัมมวิภังค์ จึงตรัสว่า ตตฺรานนฺท ยฺวายํ ปุคฺคโล (อานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคล) ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ปุพฺเพ วสฺสสตํ กตํ โหติ (บุคคลนั้นทำ กรรมชั่ว ไว้ในกาลก่อน) ความว่า บุคคลผู้ทํากรรมใด อันสมณะหรือพราหมณ์นี้ ผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์เห็นแล้ว. ก็กรรมอันบุคคลทําแล้วในกาลก่อนแต่นั้น บุคคลย่อมเกิดในนรกด้วยกรรมที่ตนทําแล้วในกาลก่อนบ้าง ย่อมเกิดด้วยกรรมที่ตนทําในภายหลังบ้าง. ก็แลในมรณกาลก็ย่อมเกิดเหมือนกัน แม้ด้วยการเห็นผิดเป็นต้นว่า พระขันธ์ประเสริฐที่สุด พระศิวะประเสริฐที่สุด พระพรหมประเสริฐที่สุด หรือโลกประเสริฐพิเศษด้วยอิสระเป็นต้น. บทว่า ทิฏเว ธมฺเม (ในชาตินี้) ความว่า กรรมใดพึงให้ผลในปัจจุบัน.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 283

นั้น บุคคลย่อมได้เสวยผลของกรรมนั้น ในปัจจุบันเทียว กรรมใดให้ผลเมื่ออุบัติ บุคคลอุบัติแล้วย่อมได้เสวยผลของกรรมนั้น กรรมใดให้ผลในลําดับถัดไป ย่อมได้เสวยผลของกรรมนั้น ในลําดับถัดไป. สมณะ หรือ พราหมณ์นี้ได้เห็นกองแห่งกรรม ๑ อย่าง และกองแห่งวิบาก ๑ อย่าง ด้วยประการฉะนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นกองแห่งกรรม ๓ อย่างและกองแห่งวิบาก ๒ อย่างซึ่งสมณะหรือพราหมณ์นี้ไม่เห็นแล้ว แต่ทรงเห็นกองแห่งกรรม ๔ อย่างและกองแห่งวิบาก ๓ อย่าง ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์นี้เห็นแล้ว. ญาณในการรู้ฐานะทั้ง ๗ อย่างนี้ ชื่อว่า ญาณในมหากัมมวิภังค์ ของพระตถาคต สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์ไม่เห็นอะไรในวาระที่สอง ก็ญาณในการรู้ฐานะ ๕ อย่างแม้นี้ คือ กองแห่งกรรม ๓ อย่าง กองแห่งวิบาก ๒ อย่างอันพระตถาคตทรงเห็นแล้วดังนี้ ชื่อว่า ญาณในมหากัมมวิภังค์ของพระตคาคตแม้ในวาระ ๒ อย่างที่เหลือ ก็มีนัยนี้เช่นเดียวกัน. บทว่า อภพฺพํ (ไม่ควร) ได้แก่เว้นจากความจริง คือเป็นอกุศล. บทว่า อภพฺพาภาสํ (ส่องให้เห็ว่าไม่ควร) ความว่า กรรมไม่ควรย่อมส่องให้เห็น คือย่อมครอบงํา อธิบายว่าย่อมห้าม. ก็ครั้นเมื่ออกุศล.กรรมมีมาก อันบุคคลทําไว้แล้ว กรรมอันมีกําลังห้ามวิบากของกรรมที่ไม่มีกําลังย่อมทําโอกาสให้แก่วิบากของตน กรรมนี้ ชื่อว่า กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่า ไม่ควร. ส่วนบุคคลทํากุศลกรรมแล้ว ทําอกุศลกรรมในเวลาใกล้ตาย. อกุศลกรรมนั้น ห้ามวิบากของกุศลกรรม ทําโอกาสให้แก่วิบากของตน กรรมนี้ชื่อว่ากรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าควร ครั้นเมื่อกุศลมากอันบุคคลแม้ทําไว้แล้วกรรมมีกําลัง ห้ามวิบากของกรรมที่ไม่มีกําลัง ย่อมทําโอกาสแก่วิบากของตนกรรมนี้ ชื่อว่า กรรมควรและส่องให้เห็นว่าควร ส่วนบุคคลทําอกุศลแล้วทํากุศลในเวลาใกล้ตาย กุศลกรรมนั้น ห้ามวิบากของอกุศลกรรม ทําโอกาสให้แก่วิบากของตน กรรมนี้ ชื่อว่า กรรมควรและส่องให้เห็นว่า ไม่ควร


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 284

อนึ่ง พึงทราบเนื้อความในที่นี้ โดยอาการที่ปรากฏ. ก็มีอธิบายดังนี้ กรรมใดย่อมส่องให้เห็น คือ ย่อมปรากฏโดยไม่ควร เพราะฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่า ส่องให้เห็นว่าไม่ควร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลสี่พวก โดยนัยเป็นต้นว่า ในบุคคลสี่พวกนั้น บุคคลนี้ใดในโลกนี้ ผู้มักทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ดังนี้. ในบุคคลสี่พวกนั้น กรรมของบุคคลพวกที่หนึ่ง ชื่อว่า กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควร. ก็กรรมนี้ ชื่อว่า ไม่ควร เพราะเป็นอกุศล. กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรกนั้น ชื่อว่า เป็นอกุศลปรากฏ เพราะความที่บุคคลพวกที่หนึ่งนั้นเกิดในนรก. กรรมของบุคคลพวกที่สอง ชื่อว่า กรรมไม่ควรของให้เห็นว่า ควร. ก็กรรมนั้น ชื่อว่า ไม่ควร เพราะเป็นอกุศล. ก็กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์ของอัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นกุศลปรากฏเพราะความที่บุคคลพวกที่สองเกิดในสวรรค์. กรรม ๒ อย่าง แม้นอกนี้ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหากัมมวิภังคสูตรที่ ๖