วรรคที่ ๒๐ กถาวัตถุ ทุติยปัณณาสก์
โดย บ้านธัมมะ  17 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42108

[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒

พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๒

ทุติยปัณณาสก์

วรรคที่ ๒๐

อสัญจิจจกถาและอรรถกถา 1809/635

ญาณกถาและอรรถกถา 1814/642

นิรยปาลกถา และอรรถกถา 1818/645

ติรัจฉานกถาและอรรถกถา 1823/650

มัคคกถาและอรรถกถา 1826/653

ญาณกถาและอรรถกถา 1831/658


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 635

วรรคที่ ๒๐

อสัญจิจจกถา

[๑๘๐๙] สกวาที บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง โดยไม่ได้ เจตนา เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำปาณาติบาต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำ อนันตริยกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ฯลฯ กล่าว คำเท็จโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า กล่าวมุสาวาท หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๑๐] ส. บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า ทำ ปาณาติบาต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ฯลฯ กล่าว คำเท็จโดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า กล่าวมุสาวาท หรือ?


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 636

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๑๑] ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า บุคคลแกล้งปลงชีวิตมารดา เป็นผู้ชื่อว่า ทำ อนันตริยกรรม ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า บุคคลแกล้งปลงชีวิตมารดา เป็นผู้ ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคล ปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

[๑๘๑๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่ามารดา เป็นผู้ชื่อว่า ทำ อนันตริยกรรม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้ว มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้ว ด้วยเหตุนั้นนะ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 637

ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลฆ่ามารดา เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่าบิดา เป็นชื่อว่า ทำอนัน- ตริยกรรม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เขาได้ปลงชีวิตมาดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ปลงชีวิตบิดาแล้ว ด้วยเหตุนั้นนะ ท่าน จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่าบิดา เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ.

ส. ถูกแล้ว.

ป. เขาได้ปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลฆ่าพระอรหันต์ เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น เป็นผู้ ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เขาได้ยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อแล้ว มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 638

แล้ว ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

ส. บุคคลทำสังฆเภท เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม ทั้งหมด หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม ทั้งหมด หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญว่า ถูกธรรมอันยังสงฆ์ให้ แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญว่า ถูกธรรมอันยังสงฆ์ให้ แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี บุคคล ผู้ทำสังฆเภท ที่จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ แก้ไข ไม่ได้ มีอยู่ บุคคลผู้ทำสังฆเภท ที่ไม่ต้องไปสู่อบาย ไม่ต้องไปนรก ไม่ ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ มิใช่ผู้แก้ไขไม่ได้ มีอยู่ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


๑. วิ. จุ. ๗/๔๑๑.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 639

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีความ สำคัญว่า ถูกธรรมยังสงฆ์ให้แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่าทำอนันตริยกรรม.

[๑๘๑๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความสำคัญว่า ถูกธรรม ยังสงฆ์ให้แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ เขาเป็นผู้ยินดี ในการแยก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมคลาดจากธรรมเป็นแดนเกษมจาก โยคะ เขาทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัลป์ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ทำสังฆเภท ก็เป็นผู้ชื่อว่า ทำ อนันตริยกรรม น่ะสิ.

อสัญจิจจกถา จบ

อรรถกถาอสัญจิจจกถา

ว่าด้วย อสัญจิจจะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอสัญจิจจะไม่แกล้ง คือไม่เจตนา. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า " ขึ้นชื่อ ว่าอนันตริยวัตถุเป็นของหนักเป็นของใหญ่ เพราะฉะนั้น แม้ในวัตถุ


๑. วิ.จุ ๗/๔๑๑.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 640

ทั้งหลายเหล่านั้น อันผู้ใดทำให้เกิดแล้ว แม้โดยไม่ตั้งใจก็ย่อมเป็นอนันตริกรรม ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง ด้วยสามารถแห่งลัทธิเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ขึ้นชื่อว่าอนันตริยกรรมเป็นกัมมบถ ถ้าว่าบุคคลไม่จงใจ ฆ่าสัตว์พึงเป็นประเภทกัมมบถไซร้ กรรมทั้งหลายที่เหลือแม้มีปาณาติบาต เป็นต้น ก็พึงเป็นกรรมไม่จงใจ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความไม่มี ในลัทธิเช่นนั้น. คำที่เหลือพึงทราบตามพระบาลี.

คำถามว่า ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นผู้ชื่อว่าทำ อนันตริยธรรมหรือ เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองของสกวาทีหมาย เอาการฆ่าโดยไม่มีเจตนาในกาลที่ทำการเยียวยารักษาโรคเป็นต้น. แม้ในปัญหาว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้วมิใช่หรือ คำตอบรับรอง สกวาทีนั้นนั่นแหละ โดยหมายเอาการปลงชีวิตลงโดยไม่มีเจตนา. ก็ ปรวาทีไม่ถือเอาคำอธิบายอย่างนี้ จึงให้ลัทธิของตนตั้งอยู่ด้วยคำว่า หากว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้ว ดังนี้ แต่การตั้งลัทธินั้นย่อมตั้งอยู่ ไม่ได้ เพราะไม่ตั้งไว้โดยอุบายอันแยบคาย. แม้ปิตุฆาตเป็นต้น ก็นัยนี้ นั่นแล.

คำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภท๑ เป็นผู้ชื่อว่าทำ


๑. คำว่า "สังฆเภท" แปลว่าการแยกสงฆ์ เพราะมีคำว่า ผู้มีความสำคัญในธรรมอันนี้ จัดเป็นประเภท ก็ดีก็ได้ เช่นพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระปราบเดียรถีย์ทั้งหลายที่มาปลอมบวชในพระศาสนา หรือจะ เรียกว่า เป็นธรรมวาทีนี้เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม แต่ไม่ตกอุบาย ส่วนสังฆเภท คือการ แยกสงฆ์ของพระเทวทัตต์นั้น เป็นอธัมมาวาทีจัดเป็นสังฆเภทด้วย เป็นอนันตริยกรรมด้วย ตกนรกด้วย.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 641

อนันตริยกรรมหรือ โดยหมายเอาผู้มีความสำคัญในธรรมในการแยก สงฆ์. คำตอบรับรองของปรวาทีเพราะถือเอาพระบาลีว่า บุคคลย่อมไหม้ อยู่ในนรกตลอดกัลป์ เพราะทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ โดยไม่ พิจารณา. ถูกถามอีกว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภทเป็นผู้ชื่อว่าทำอนันตริยกรรม ทั้งหมดหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธโดยหมายเอาบุคคลผู้มีความสำคัญ ในธรรมอันเป็นฝ่ายของตน. ย่อมตอบรับรองโดยหมายเอาบุคคลผู้มี ความสำคัญในธรรมอันเป็นฝ่ายอื่น. แม้ใน ๒ ปัญหาว่า ธัมมสัญญี คือ บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญว่าถูกธรรม ก็นัยนี้นั่นแหละ.

พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี บุคคลผู้ทำสังฆเภท ... มิใช่หรือ ดังนี้ สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่งความที่ บุคคลผู้เป็นธัมมวาทีเป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรมโดยส่วนเดียวเท่านั้น ไม่ตกอบาย. อนึ่ง อธัมมวาทีนั่นแหละพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ ประสงค์เอาในคาถาว่า จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรกตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ดังนี้. แต่ปรวาทีไม่ถือเอาคำอธิบายนี้ จึงให้ลัทธิตั้งไว้. ลัทธินั้นชื่อว่า ตั้งอยู่ไม่ได้เลยเพราะไม่ตั้งอยู่โดยอุบายอันแยบคาย ดังนี้แล.

อรรถกถาอสัญจิจจกถา จบ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 642

ญาณกถา

[๑๘๑๔] สกวาที ญาณไม่มีแก่ปุถุชนหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความ วิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด เฉพาะ ไม่มีแก่ปุถุชน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไป กำหนดรู้เฉพาะ ของปุถุชน มีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความ เข้าไปกำหนดเฉพาะ ของปุถุชน มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ญาณไม่มีแก่ ปุถุชน.

[๑๘๑๕] ส. ญาณไม่มีแก่ปุถุชน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า ญาณไม่มีแก่ปุถุชน.

[๑๘๑๖] ส. ปุถุชนพึงเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ พึงเข้าอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญาสัญายตนะ ปุถุชนพึงให้ทาน ฯลฯ พึงให้จีวร ฯลฯ พึงให้


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 643

บิณฑบาต พึงให้เสนาสนะ ฯลฯ พึงให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปุถุชนพึงให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า ญาณไม่มีแก่ปุถุชน.

[๑๘๑๗] ป. ญาณของปุถุชนมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย กระทำให้แจ้งซึ่ง นิโรธ ยังมรรคให้เกิดด้วยญาณนั้น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา

ว่าด้วย ญาณ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ๑. ในเรื่องนั้น ญาณ ๒ คือ โลกิยญาณ และโลกุตตรญาณ ญาณในสมาบัติก็ดี กัมมัสสกตาญาณที่เป็นไปด้วย สามารถแห่งการให้ทานเป็นต้นก็ดี เรียกว่า โลกิยญาณ มัคคญาณอัน กำหนดสัจจะก็ดี ผลญาณก็ดี เรียกว่า โลกุตตรญาณ. ก็ชนเหล่าใดไม่ ทำวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะว่า ญาณที่กำหนด


๑. ไวพจน์ของญาณ คือ ปัญญา ความเข้าใจ ความวิจัย ความสอบสวน ความใคร่ครวญ ธัมมวิจยะ คือความพิจารณาธรรม ความกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 644

สัจจะเท่านั้นมีอยู่ ญาณนอกจากนี้ไม่มี เพราะฉะนั้น ญาณของปุถุชน จึงไม่มี ดังนี้. คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที.

คำว่า ปัญญา เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงไวพจน์ของญาณ. อธิบายว่า สกวาทีย่อมแสดงซึ่งญาณนั้นด้วยปัญญานั้นว่า ถ้าว่า ญาณ ของบุคคลนั้นไม่มี มีปัญญาเป็นต้นก็ย่อมไม่มี ก็หรือปัญญาเป็นต้นมีอยู่ แม้ญาณก็มีอยู่ เพราะเหตุไร? เพราะความที่ปัญญาเป็นต้นมิใช่เป็นธรรม นอกจากญาณ. คำว่า ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ แสดงญาณในสมาบัติ. คำว่า ปุถุชนพึงให้ทาน เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อแสดงถึงกัมมัสสกตาญาณ คือญาณในความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน. ข้อว่า ปุถุชนกำหนดรู้ทั่วถึงทุกข์ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง แสดงโลกุตตมัคคญาณนั่นแหละ แต่มิได้ทรงแสดงโลกุตตรญาณเท่านั้น หมายความว่าแสดงโลกิยญาณด้วย ดังนี้แล.

อรรถกถาญาณกถา จบ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 645

นิรยปาลกถา

[๑๘๑๘] สกวาที นายนิรยบาลไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การทำกรรมกรณ์ไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การทำกรรมกรณ์มีอยู่ในนรกทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกทั้งหลาย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๑๙] ส. การทำกรรมกรณ์มีอยู่ในมนุษย์ และคนผู้ทำกรรมกรณ์ ก็มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมกรณ์มีอยู่ในนรกทั้งหลาย และคนผู้ทำกรรมกรณ์ ก็มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมกรณ์มีอยู่ในนรกทั้งหลาย แต่คนผู้ทำกรรมกรณ์ ไม่มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมกรณ์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่คนผู้ทำกรรมกรณ์ ไม่มี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒๐] ป. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกทั้งหลาย หรือ?


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 646

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ท้าวเวสสภู ก็มิได้ฆ่า ท้าวเปตติราช ก็มิได้ฆ่า ท้าวโสม ท้าวยม และท้าวเวสสวัณ ก็มิได้ฆ่า กรรมของตนต่างหาก ฆ่าบุคคลผู้สิ้นบุญจากโลกนี้และเข้าถึงปรโลก ในนรกนั้น ๆ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว

ป. อย่างนั้น นายนิรยบาลก็ไม่มีในนรกทั้งหลาย น่ะสิ.

[๑๘๒๑] ส. นายนิรยบาลไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนายนิรยบาล ย่อมยังสัตว์นรกนั้นให้รับกรรมกรณ์ อันชื่อว่าเครื่องจำ ๕ ประการ คือ ตรึงตาปูเหล็กอันร้อนที่มือข้างหนึ่ง ตรึงตาปูเหล็กอัน ร้อนที่มืออีกข้างหนึ่ง ตรึงตาปูเหล็กอันร้อนที่เท้าข้างหนึ่ง ตรึงตาปูเหล็ก อันร้อนที่เท้าอีกข้างหนึ่ง ตรึงตาปูเหล็กอันร้อนที่กลางอก สัตว์นรกนั้น เสวยทุกขเวทนา เผ็ดร้อนอยู่ในนรกนั้น และจะยังไม่ตายตลอดเวลาที่ บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้นนายนิรยบาลก็มีอยู่ในนรกทั้งหลาย น่ะสิ.

[๑๘๒๒] ส. นายนิรยบาลไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย


๑. องฺ ติก. ๒๐/๔๗๕.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 647

พวกนายนิรยบาล ยังสัตว์นรกนั้นให้นอนแผ่ลงแล้ว พากันถากด้วยผึ่ง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลตั้งสัตว์นรกนั้น ให้มีเท้าไปในเบื้องบน มีศีรษะ ในเบื้องต่ำ แล้วถากด้วยพร้า ฯลฯ พวกนายนิรยบาลเทียมสัตว์นรกนั้น เข้าในรถ แล้วให้แล่นกลับไปกลับมาเหนือแผ่นดินอันไฟติดทั่วแล้ว มีเปลวเป็นอันเดียวกัน มีแสงโชติช่วง ฯลฯ พวกนายนิรยบาล ยังสัตว์ นรกนั้นให้ขึ้นไต่ลง ซึ่งภูเขาถ่านเพลิงใหญ่ อันไฟติดทั่วแล้ว มีเปลว เป็นอันเดียวกัน มีแสงโชติช่วง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นรกนั้น ให้มีเท้าในเบื้องบน ให้มีศีรษะในเบื้องต่ำ ใส่เข้าในหม้อทองแดงอันร้อน อันไฟติดทั่วแล้ว มีเปลวเป็นอันเดียวกัน มีแสงโชติช่วง เขาหมกไหม้ มีร่างกายเป็นฟองในหม้อทองแดงนั้น และทั้งที่หมกไหม้มีร่างกายเป็น ฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น บางครั้งโผล่ขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างใต้ บางครั้งพุ่งขวางไป เขาเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ ฯลฯ นายนิรยบาลทั้งหลาย ย่อมใส่เข้าซึ่งสัตว์นรกนั้นในมหานรก ก็มหานรกนั้นแล ๔ มุม ๔ ประตู จำแนกกำหนดไว้เป็นส่วนๆ มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยเหล็ก พื้นแห่งมหานรกนั้นก็แล้วไปด้วยเหล็ก ประกอบด้วยความร้อนลุกเป็น เปลวแผ่ไปร้อยโยชน์โดยรองตั้งอยู่ ในกาลทุกเมื่อ ดังนี้ (๑) เป็นสูตรมี อยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น นายนิรยบาล ก็มีอยู่ในนรกทั้งหลาย น่ะสิ.

นิรยปาลกถา จบ


๑. อง. ติก. ๒๐/๔๗๕., ม.อุ.๑๔/๕๑๒


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 648

อรรถกถานิรยปาลกถา

ว่าด้วย นายนิรยบาล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนายนิรยบาล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น ผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ในนรก กรรมของสัตว์นรกนั่นแหละ ย่อมฆ่าสัตว์นรกทั้งหลายโดยเป็นรูปนายนิรยบาล สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าเป็น นายนิรยบาลหามีไม่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำ ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า การทำ กรรมกรณ์ คือการลงโทษ ไม่มีในนรกทั้งหลายหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วย คำว่า ถ้าว่า นายนิรยบาลทั้งหลายไม่พึงมีในนรกไซร้ แม้กรรมกรณ์ ทั้งหลายก็ไม่พึงมี แต่เมื่อกรรมกรณ์ทั้งหลายมีอยู่ การกระทำกรรมกรณ์ ก็พึงมี มิใช่หรือ ดังนี้.

คำว่า การทำกรรมกรณ์มีอยู่ในมนุษย์ สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อ ให้ทราบโดยแจ่มแจ้ง. ในข้อนี้ มีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า เมื่ออุปกรณ์ เครื่องลงโทษมีในพวกมนุษย์ทั้งหลาย การกระทำก็ย่อมมี ฉันใด แม้ใน นรกนั้น ก็ฉันนั้นนั่นแหละ.

คำถามว่า นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกทั้งหลายหรือ? เป็นของ ปรวาที. คำตอบรับรองเป็นของสกวาที. ปรวาทีนำพระสูตรมาโดยลัทธิ ของตนว่า ท้าวเวสสภูก็มิได้ฆ่า แม้ท้าวเปตติราช คือพญาเปรต ก็ มิได้ฆ่า ฯลฯ กรรมของสัตว์นั้นเองย่อมฆ่าเขาผู้สิ้นบุญจากโลกนี้และ เข้าถึงโลกหน้าในนรกนั้นๆ ดังนี้ พระสูตรนั้นสกวาทียอมรับแล้วว่า นั่นเป็นถ้อยคำที่หยั่งลงในพระศาสนา มีอยู่ ดังนี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ท้าวเวสสภู ได้แก่ เทพองค์หนึ่ง. คำว่า


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 649

ท้าวเปตติราช ได้แก่ เปรตผู้มีฤทธิมากในปิตติวิสัย. ท้าวโสม เป็นต้น ปรากฏชัดเจนแล้วทั้งนั้น. ข้อนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า ท้าวเวสสภู เป็นต้น ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ผู้ละโลกนี้แล้วไปสู่โลกหน้าตามกรรมทั้งหลายของตน อนึ่ง สัตว์นั้นละที่นั้นไปด้วยกรรมเหล่าใด กรรมทั้งหลายอันเป็นของตน เหล่านั้นนั่นแหละ ย่อมฆ่าสัตว์ในที่นั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน มิใช่ทรง แสดงความไม่มีนายนิรยบาลทั้งหลาย. อนึ่ง บทแห่งพระสูตรทั้งหลาย ที่สกวาทีนำมากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนายนิรยบาลย่อมยัง สัตว์นรกนั้นให้รับกรรมกรณ์ ๕ ประการ เป็นต้น มีอรรถที่ท่านแนะนำไว้ แล้วทั้งนั้นแล.

อรรถกถานิรยปาลกถา จบ


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 650

ติรัจฉานกถา

[๑๘๒๓] สกวาที สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เทวดามีอยู่ในหมู่ดิรัจฉาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เทวโลกเป็นกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แมลง ตั๊กแตน ยุง แมลงวัน งู แมลงป่อง ตะเข็บ ไส้เดือน มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒๔] ป. สัตว์ดิรัจฉานไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ช้างตัวประเสริฐ ชื่อ เอราวัณ ยานทิพย์อันเทียม ด้วยม้าหนึ่งพัน มีอยู่ในหมู่เทวดา มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ช้างตัวประเสริฐ ชื่อเอราวัณ ยานทิพย์อัน เทียมด้วยม้าหนึ่งพัน มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าว ว่า สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 651

[๑๘๒๕] ส. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พวกผูกช้าง พวกผูกม้า พวกตะพุ่นหญ้า พวกหัวหน้า งาน พวกทำอาหารสัตว์ มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น สัตว์ดิรัจฉานก็ไม่มีอยู่ในหมู่เทวดา น่ะสิ.

ติรัจฉานกถา จบ

อรรถกถาดิรัจฉาน

ว่าด้วย สัตว์ดิรัจฉาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัตว์ดิรัจฉาน. ในเทพทั้งหลายเหล่านั้น เทพบุตร ทั้งหลาย ชื่อว่าเอราวัณ เป็นต้น ย่อมแปลงเพศเป็นช้าง เป็นม้า สัตว์ ดิรัจฉานทั้งหลายย่อมไม่มีในที่นั้น ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ ของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายมีอยู่ในหมู่เทพ เพราะ เห็นเทพบุตรทั้งหลายผู้นิรมิตเพศเป็นเพศสัตว์ดิรัจฉาน ดังนี้ คำถาม ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เทวดามีอยู่ในหมู่สัตว์ดิรัจฉานหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายพึงมีในเทวกำเนิดได้ไซร้ เทพทั้งหลายก็พึงมีในกำเนิดของสัตว์ดิรัจฉานได ้ ดังนี้.

คำว่า แมลง เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงถึงสัตว์ทั้งหลาย ที่ปรวาทีไม่ปรารถนาเหล่าใดเหล่านั้น.

ในปัญหาว่า ช้างตัวประเสริฐชื่อว่าเอราวัณ สกวาทีกล่าวตอบ


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 652

รับรอง เพราะความที่ช้างชื่อว่าเอราวัณนั้นมีอยู่แต่หาใช่สัตว์ดิรัจฉาน ไม่. คำว่า พวกผูกช้าง เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า ช้างเป็นต้นพึงมีในที่นั้นไซร้ แม้พวกผูกช้างเป็นต้นก็พึงมีในที่นั้น ดังนี้. ในคำเหล่านั้น คำว่า พวกตะพุ่นหญ้า ได้แก่ ผู้ให้หญ้าที่สัตว์กิน. คำว่า พวกหัวหน้างาน ได้แก่ นายหัตถาจารย์เป็นต้น อธิบายว่า นายหัตถาจารย์เหล่านั้นพึงทำวิธีการฝึกโดยวิธีต่างๆ. คำว่า พวกทำ อาหารให้สัตว์ ได้แก่ ผู้หุงต้มอาหารให้สัตว์ทั้งหลายมีช้างเป็นต้น. คำว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ความว่าปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ ดังนี้แล.

อรรถกถาติรัจฉานกถา จบ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 653

มัคคกถา

[๑๘๒๖] สกวาที มรรคมีองค์ ๕ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิไว้ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสมรรคมีองค์ ๘ คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิไว้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า มรรคมีองค์ ๕.

ส. มรรคมีองค์ ๕ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บรรดาทาง ทาง มีองค์ ๗ ประเสริฐที่สุด บรรดาสัจจะ สัจจะ ๔ ประเสริฐที่สุด บรรดา ธรรม วิราคธรรม ประเสริฐที่สุด บรรดาวิบท พระตถาคตผู้มีจักษุ ประเสริฐที่สุด ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น มรรคก็มีองค์ ๘ น่ะสิ.

[๑๘๒๗] ส. สัมมาวาจาเป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาวาจานั้น ไม่เป็นมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาทิฏฐินั้นไม่ เป็นมรรค หรือ?


๑. ขุ.ธ. ๒๕/๓๐.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 654

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจาเป็นของแห่งมรรค แต่สัมมาวาจานั้น ไม่เป็นมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่เป็นมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาอาชีวะนั้น ไม่เป็นมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นองค์แห่งมรรค แต่ สัมมาสมาธินั้นไม่เป็นมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒๘] ส. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจาเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็น มรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 655

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒๙] ป. อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ก็กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของบุคคลนั้น เป็นอาการบริสุทธิ์ ในกาลก่อนเทียวแล อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา แก่บุคคลนั้น ด้วยประการ ฉะนี้ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้นมรรคก็มีองค์ ๕ น่ะสิ.

[๑๘๓๐] ส. มรรคมีองค์ ๕ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสุภัททะ


๑. ที.มหา. ๑๐/๑๓๘.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 656

อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใดแล แม้สมณะก็หามิได้ใน ธรรมวินัย แม้สมณะที่ ๒ ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น แม้สมณะที่ ๓ ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น แม้สมณะที่ ๔ ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น ก็ อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใดแล แม้สมณะก็หาได้ในธรรม วินัยนั้น แม้สมณะที่ ๒ ฯลฯ แม้สมณะที่ ๓ ฯลฯ แม้สมณะที่ ๔ ก็หาได้ ในธรรมวินัยนั้น ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมหาได้ในธรรม วินัยนี้แล สมณะย่อมหาได้ในธรรมวินัยนี้แล สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ สมณะที่ ๔ ย่อมหาได้ในธรรมวินัยนี้ ปรับปวาทโดยเจ้าลัทธิอื่นๆ ว่าง จากสมณะทั้งหลาย ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น มรรคก็มีองค์ ๘ น่ะสิ.

มัคคกถา จบ

อรรถกถามัคคกถา

ว่าด้วย มรรค

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องมรรค. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธินิกายมหิสาสกะทั้งหลายว่า ว่าโดยแน่นอน มรรคมีองค์ ๕ เท่านั้น เพราะอาศัยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของผู้นั้นเป็นอาการหมดจดดีแล้วในกาลก่อนเทียวแล ฯลฯ ดังนี้ นั่นแหละจึงกล่าวว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ว่าเป็น ธรรมไม่ประกอบกับจิต ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า มรรคมีองค์ ๕ หรือ


๑. ที.มหา.๑๐/๑๓๘.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 657

โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ข้อว่า สัมมาวาจาเป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็น มรรคหรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าว ด้วยสามารถแห่งลัทธิของชนเหล่าอื่น. จริงอยู่ ในลัทธินั้นว่า สัมมาวาจาเป็นต้นเป็นองค์แห่งมรรคแต่ไม่ใช่มรรค เพราะความเป็นรูป ดังนี้. คำว่า สัมมาทิฏฐิเป็นองค์แห่งมรรค เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ความที่องค์แห่งมรรคไม่เป็นมรรคหามีไม่ ดังนี้. ในพระสูตรว่า กายกรรม ฯลฯ ของบุคคลนั้นบริสุทธิ์แล้วในกาล ก่อนเทียวแล คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม อาชีวะ เป็นอาการบริสุทธิ์แล้ว ดังนี้ ก็เพื่อแสดงซึ่งความที่ปฏิปทาอัน กุลบุตรพึงบรรลุเป็นภาวะบริสุทธิ์แล้วว่า ชื่อว่ามัคคภาวนาย่อมมีแก่ ผู้บริสุทธิ์แล้ว มิใช่มีแก่บุคคลนอกจากนี้ ดังนี้ มิใช่ตรัสไว้เพื่อแสดงถึง ความที่มรรคประกอบด้วยองค์ ๕ โดยเว้นจากสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะเหล่านี้. ด้วยสูตรนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาแก่บุคคลด้วย ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ ส่วนพระสูตรที่สกวาทีนำมาแล้ว มีอรรถตามที่ ท่านแนะนำไว้แล้วนั่นแล.

อรรถกถามัคคกถา จบ


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 658

ญาณกถา

[๑๘๓๑] สกวาที ญาณโกุตตระมีวัตถุ ๒ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรญาณเป็น ๑๒ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โลกุตตรญาณเป็น ๑๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติมรรคเป็น ๑๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติมรรคเป็น ๑๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็น ๑๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สกทาคามิมรรคเป็น ๑๒ อย่าง ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรหัตตมรรคเป็น ๑๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรหัตตมรรคเป็น ๑๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 659

[๑๘๓๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณโลกุตตระมีวัตถุ ๑๒ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินในกาลก่อนว่า นี้ทุกข์ เป็น ของจริงอย่างประเสริฐดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินในกาล ก่อนว่า ก็ทุกข์อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเราพึงกำหนด รู้ ดังนี้ ฯลฯ ก็ทุกข์อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเรากำหนด รู้แล้ว ดังนี้ ฯลฯ ว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นของจริงอย่างประเสริฐ ดังนี้ ฯลฯ ว่า เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเราพึงละเสีย ดังนี้ ฯลฯ ว่า เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์อันเป็นของจริงอย่าง ประเสริฐนี้นั้นแล อันเราละแล้ว ฯลฯ ว่า นี้ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ เป็น ของจริงอย่างประเสริฐ ดังนี้ ฯลฯ ว่าธรรมเป็นที่ดับทุกข์อันเป็นของจริง อย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเราพึงทำให้แจ้ง ดังนี้ ฯลฯ ว่า ธรรมเป็นที่ ดับทุกข์อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้น อันเราทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ฯลฯ ว่า นี้ปฏิปทาอันให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ เป็นของจริงอย่างประเสริฐ ดังนี้ ฯลฯ ว่า ปฏิปทาอันให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ อันเป็นของจริง อย่างประเสริฐนี้นั้น อันเราพึงให้เกิด ดังนี้ ฯลฯ ว่า ปฏิปทาอันให้ถึง ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเราให้ เกิดแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 660

ป. ถ้าอย่างนั้น ญาณโลกุตตระ ก็มีวัตถุ ๑๒ น่ะสิ.

ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา

ว่าด้วย ญาณ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะทั้งหลายว่า ญาณมีวัตถุ ๑๒ โดยหมายเอาญาณมีอาการ ๑๒ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่าเป็น โลกุตตรญาณ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า ญาณโลกุตตระ วัตถุ ๑๒ หรือ เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าโลกุตตรญาณนั้นมีวัตถุ ๑๒ ไซร้ มรรคญาณทั้งหลายก็พึงมี ๑๒ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาโลกุตตรญาณ นั้นเป็นสภาพเดียวกันกับมรรคญาณ. และตอบปฏิเสธหมายเอาความ ต่างกันแห่งญาณในแต่ละสัจจะด้วยสามารถแห่งสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณทั้งหลาย. ในคำว่า โสดาปัตติมรรคเป็น ๑๒ หรือ ก็นัยนี้ นั่นแหละ. พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มิใช่หรือ ดังนี้ ย่อม แสดงถึงความแตกต่างกันแห่งญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย ที่ได้บรรลุ มิใช่แสดงซึ่งความที่อริยมรรคว่ามี ๑๒ ฉะนั้น พระสูตรนี้ จึงมิใช่ข้ออ้างว่าญาณโลกกุตตระมีวัตถุ ๑๒ ดังนี้แล.

อรรถกถาญาณกถา จบ


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 661

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. อสัญจิจจกถา ๒. ญาณกถา ๓. นิรยปาลกถา ๔. ติรัจฉานกถา ๕. มัคคกถา ๖. ญาณกถา.

วรรคที่ ๒๐ จบ