๑๐. ผัสสมูลกสูตร ว่าด้วยเวทนา ๓ เกิดแต่ผัสสะและมีผัสสะเป็นมูล
โดย บ้านธัมมะ  20 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37393

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 23

๑๐. ผัสสมูลกสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ เกิดแต่ผัสสะและมีผัสสะเป็นมูล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 29]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 23

๑๐. ผัสสมูลกสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ เกิดแต่ผัสสะและมีผัสสะเป็นมูล

[๓๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าทุกขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 24

ทุกขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่า อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป.

[๓๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะการเสียดสีกันจึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้นย่อมดับไป สงบไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาอันเกิดแต่ผัสสะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น ย่อมดับเพราะผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้นดับไป.

จบ ผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่ ผัสสะเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. แม้ในบทเหลือก็นัยนี้นั่นแล ส่วนในข้อนี้ การพรรณนาตามลำดับบท ท่านให้


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 25

พิสดารไว้แล้วในหนหลัง. ในสองสูตรนี้ ตรัสถึงเวทนาอันเที่ยวไปในการพิจารณา

จบ อรรถกถาผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐

จบ ปฐมกสคาถวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิสูตร

๒. สุขสูตร

๓. ปหานสูตร

๔. ปาตาลสูตร

๕. ทัฏฐัพพสูตร

๖. สัลลัตถสูตร

๗. ปฐมเคลัญญสูตร

๘. ทุติยเคลัญญสูตร

๙. อนิจจสูตร

๑๐. ผัสสมูลกสูตร.