พระสูตร ครั้งที่ ๗๖ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๒
อร. ขอ..กลับมาถาม ข้อความในพระสูตรที่ว่า สัปบุรุษ กล่าวความเสียหายของตัวเองโดยไม่อ้อมค้อม โดยละเอียด แม้ไม่มีผู้ถาม ไม่ต้องมีผู้ถาม คำถาม คือ สงสัยว่า การกล่าวความเสียหายของตัวเองให้ผู้อื่นฟัง ไม่ทราบว่าเป็นประโยชน์ยังไง
อ.จ. การ..กล่าวไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ไม่ดีของคนอื่น หรือความดีของคนอื่น ความไม่ดีของตัวเอง หรือความดีของตัวเอง นี้เพื่อประโยชน์ไม่ใช่เพื่อต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือการที่จะมีผู้อื่นที่รักใคร่ยินดี เพราะว่าขณะนั้น ก็เป็นเราแน่ๆ แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นความจริง อย่างความไม่ดีของคนอื่น เพื่ออะไรที่จะกล่าวเพื่อที่จะให้บุคคลอื่นนั้นดีขึ้น หรือว่าเพื่อประโยชน์จริงๆ ประโยชน์มีไหมค่ะ ถ้าจะกล่าวถึงความไม่ดีอร. ถ้า..อย่างนั้น ก็ต้องอยู่ที่จิต
อ.จ. แน่..นอนค่ะ ไม่ใช่เป็นการห้าม ไม่ให้พูดถึงสิ่งที่ไม่ดีแล้วใครจะรู้ละค่ะว่าดีหรือไม่ดี แล้วมาสมมติเรียกสิ่งที่ไม่ดีนั้น โดยชื่อต่างๆ ก็จริงๆ แต่ประโยชน์คือ ให้มีความเห็นถูกมีความเข้าใจถูก ถ้าเป็นสิ่งที่จริงเมื่อเป็นสิ่งที่จริงแล้ว แม้ไม่ดี เมตตาหรือเปล่า ก็ยังมีต่อไปอีกค่ะ ไม่ใช่เมื่อกล่าวถึงแล้วก็ช่วยกันซ้ำเติม แต่เมื่อใครก็ตามที่ผิดพลาดทำสิ่งที่ไม่ดีจะกล่าวว่าทำดีไม่ได้ ถูกต้องไหมค่ะ ให้เห็นชัดเจนว่า ไม่ดีคือไม่ดีและการเรียกว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็เป็นการสมมติให้รู้ถึงการสะสมที่จะทำให้บุคคลนั้นกล่าว หรือว่ากระทำ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกต้องก็คือไม่ถูกต้อง แต่เมื่อไม่ดีแล้ว เห็นใจไหม ช่วยยังไงค่ะ ไม่ใช่ซ้ำเติม แต่มีทางไหนที่จะทำให้ดี
ความเป็นเพื่อน ความหวังดีที่แท้จริง ไม่จำกัดบุคคล ถ้ามีคนไม่ดีสักคนหนึ่ง คิดยังไงค่ะ อยากจะให้เขาดีไหม หรือว่าไม่ดีก็ไม่ดีไป ไม่ใช่เรื่องของเรา คิดอย่างนั้นหรือเปล่าค่ะ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีการช่วยใครได้เลย เพราะว่าเรื่องอะไรของเราทั้งนั้น แต่ว่าถ้ารู้ว่าคนที่ไม่ดีนี่ไม่ใช่ไม่อยากไม่ดีแต่สะสมมาที่จะไม่ดี เพราะไม่รู้ความจริง ทางเดียวที่จะช่วยก็คือ ให้มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก ซึ่งจะทำให้เขาเป็นคนดีซึ่งทุกคนก็อยากดี ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวเองแต่คนเดียว คนอื่นด้วยเหมือนกันใช่ไหมค่ะ ทุกคนก็ไม่อยากชั่ว เพราะฉะนั้น เวลาที่มีคนไม่ดีรู้ว่าไม่ดีจะบอกว่าดีไม่ได้แน่ ไม่ดีก็ต้องบอกว่าไม่ดี แต่ควรเห็นใจและควรหวังดีต่อคนนั้นด้วย...
อ.นิภัทร์ ผม..อยากจะเสนอเรื่องคำว่า "สัตบุรุษ" ไม่ใช่อ่านว่า สัตตะบุรุษ อ่านว่า สัต-บุรุษ คือมาจากคำภาษาเดิมมาจาก คำว่า สัปบุรุษ ไม่รู้ว่าใครทำตัว ป. เป็นตัว ต. เอา ป. เป็น ต. ก็เลย เป็น สัตปุรุษ สะตัวนั้นนะ มาจากคำว่า สันตะๆ นี่แปลว่า “ผู้สงบ” ของผู้สงบ หรือแปลจนกระทั่งถึงพระนิพพานก็ได้ มาจาก สมะ ธาตุ เป็นไปในความสงบหมายได้หลายอย่าง สัตบุรุษ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้สงบ เป็นคนดี
ทีนี้..คำว่า ปุรุษ หรือ ปุรุษะ นี้แปลความหมายว่า ผู้ยังดวงใจของมารดา บิดาให้เต็ม บุรุษนี้ไม่ใช่ธรรมดา ผู้ยังดวงใจของมารดา บิดาให้เต็มว่า บุรุษ มาจากคำว่า ปุระ ธาตุ ในคำว่าเต็ม อิษะ ปัจจัยก็เลยเป็น ปุริษะ แปลว่า ผู้ยังดวงใจของพ่อและแม่ให้เต็มชื่อว่า สัปบุรุษ อสัตบุรุษ..ท่านเปรียบเหมือนคนตาบอด ตัวเองก็ไม่เห็นแล้วก็ไม่เห็นคนอื่นด้วย คือไม่เห็นทั้งตัวเองและคนอื่น บอดจริงๆ ก็ย่อมไม่รู้จัก ทั้งสัตบุรุษและอสัตบุรุษ แต่สัตบุรุษเปรียบคนตาดีคนมีจักษุ ย่อมเห็นทั้งตัวเองและเห็นทั้งคนอื่นด้วย...
สำหรับพระสูตรนี้ อสัตบุรุษก็มีหัวใจ ๔ หัวใจสัตบุรุษก็มี ๔ หัวใจเหมือนกัน หัวใจของอสัตบุรุษ
๑. เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของผู้อื่น แม้ไม่มีใครถามก็เผยเรื่องนั้น
๒. เรื่องใดเป็นความดีงามของคนอื่น แม้ถูกถามก็ไม่เผย
๓. เรื่องใดเป็นเรื่อง เสียหายของตน แม้ถูกถามก็ไม่เผยเรื่องนั้น
๔. เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของตน แม้ไม่มีใครถาม ก็เผยเรื่องนั้นขึ้นเอง โดยไม่ต้องถาม
หัวใจของสัตบุรุษ ๔ อย่างก็ตรงกันข้าม
๑. เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของคนอื่น แม้ถูกถามก็ไม่เผยเรื่องนั้น
๒. เรื่องใดเป็นความดี เป็นเกียรติคุณของผู้อื่นแม้ไม่มีใครถามก็ เผยเรื่องนั้น
๓. เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของตน แม้ไม่มีใครถามก็เผยเรื่องนั้น
๔. เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของตน แม้มีใครถาม ก็ไม่เผยเรื่องนั้น แต่เมื่อถูกซักถาม ก็เล่าถึงเกียรติคุณของตน อย่างไม่เต็มปาก
หัวใจของสัตบุรุษกับอสัตบุรุษ ช่างแตกต่างกันเหลือเกิน แต่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวันจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใจตนเอง ว่า ขณะใด พกหัวใจสัตบุรุษ หรือขณะใด ได้สวมหัวใจอสัตบุรุษเข้าแล้ว
...กราบขออนุโมทนา...
ขออนุโมทนาคุณย่า
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ สาธุ
ได้อ่านในสิ่งที่ไม่เคยอ่านและเข้าใจมาก่อนครับ กราบขอบพระคุณ คุณย่ามากๆ ครับ
ขอกราบอนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ