ก่อนที่จะถึงคำถามเกี่ยวกับ ปปัญจธรรมขอเชิญคลิกอ่านข้อความจากพระไตรปิฎกที่นี่ ครับ
ธรรมเครื่องเนิ่นช้า [ภูตเถรคาถา]--------------------------------------- ปปัญจะ เพราะ
อรรถว่า ทำความสืบต่อแห่งสัตว์ในสงสารให้ชักช้า
คือให้ยืดยาวได้แก่ราคะเป็นต้น และได้แก่มานะเป็นต้น.
เท่าที่ทราบมา ปปัญจธรรมหมายถึง ตัณหา มานะ และ ทิฎฐิ
แต่ตามข้อความนี้ ปปัญจธรรม กล่าวไว้แค่
ตัณหาและมานะ เท่านั้น กรุณาช่วยกันค้นหาหลักฐาน เรื่องนี้ด้วยนะครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
ข้อความบางตอนจาก... อรรถกถาอัจฉริยัพภูตสูตร
อัจฉริยัพภูตสูตร * มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
อัศจรรย์ อธิบายว่า พระตถาคตพระองค์ใด. ที่ชื่อว่า ปปัญจธรรม ในบทว่า
ฉินฺนปปญฺเจ นี้ ได้แก่ กิเลส ๓ อย่าง คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีในความเนิ่นช้านั้น เพราะฉะนั้น ความเนิ่นช้านั้น จึง
ชื่อว่า อาราโม เป็นที่มายินดี. ความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดีของบุคคลนั้น เพราะ
ฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺจาราโม แปลว่าผู้มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.
ความยินดีในความเนิ่นช้าของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺจรตี ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า. บทว่า ปปญฺโจ นั้น เป็นชื่อของตัณหา ทิฏฐิ และมานะอันเป็นไปแล้วโดยความเป็นอาการของผู้มัวเมาและผู้ประมาทแล้ว.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์