เหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน [ชนสันธชาดก]
โดย webdh  12 ส.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 4531

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 159

๕. ชนสันธชาดก

ว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน

[๑๖๕๖] ผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา ย่อมเดือดร้อน ในภายหลังว่า เราสามารถพอที่จะเลี้ยงดูมารดาและ บิดาผู้แก่เฒ่าชราได้ ก็มิได้เลี้ยงดูท่าน



ความคิดเห็น 1    โดย แวะเข้ามา  วันที่ 13 ส.ค. 2550
อกุศลทุกอย่าง ย่อมนำความเดือดร้อนมาให้

ความคิดเห็น 2    โดย ทิวา  วันที่ 13 ส.ค. 2550

อยากทราบเหตุที่มาของคำสุภาษิตว่า "ผู้ชนะย่อมก่อเวร" มีที่มาและความหมายเป็นอย่างไร ผู้ที่อยากรู้เป็นผู้พิพากษามีหน้าที่ไกล่เกลียประณีประณอมทั้งสองฝ่ายขอรบกวนครับ


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 13 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
"ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่ เป็นสุข"
เมื่อมีการแข่งขันอะไรซักอย่างหรือการพิพากษาหรือสงครามด้วยอำนาจของกิเลส ก็ ย่อมจะมีผู้ชนะและผู้แพ้ ผู้ที่ชนะ เมื่อชนะ ย่อมทำให้ผู้แพ้ ไม่พอใจ (พราะผู้แพ้ยังมีกิเลส) เมื่อไม่พอใจ ก็ย่อมหาหนทางที่จะเอาชนะคืน ด้วยวิธีการใด วิธีการหนึ่ง จึงชื่อ ว่า ผู้ชนะย่อมก่อเวร คือ คนที่แพ้ต้องการล้างแค้น เอาชนะคืนนั่นเอง ผู้แพ้ก็ย่อมเป็น ทุกข์จากการพ่ายแพ้ เพราะอะไร เพราะตัวเองต้องการชนะ เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่หวังก็ ย่อมเป็นทุกข์ ทั้งกายและใจ ส่วนผู้ไม่มีกิเลสแล้วนั้น ย่อมละการชนะและแพ้ คือ ละ ความที่จะเอาชนะด้วยกิเลส และละการพ่ายแพ้อันเนื่องมาจากความทุกข์ใจ คือ ไม่ ทุกข์ใจคืไม่หวั่นไหวด้วยกิเลส จึงละความพ่ายแพ้แล้วครับ ขอให้ทุกท่าน อบรม ปัญญาเพื่อ ไม่ต้องชนะและแพ้ใครด้วยอำนาจกิเลสครับ

ขออนุโมทนา

ขอเชิญอ่าน ข้อความโดยตรงในเรื่อง

ผู้ชนะก่อเวร


ความคิดเห็น 4    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 13 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 369

๓. เรื่องปราชัยของพระเจ้าโกศล

[๑๕๙] พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปราชภความปราชัย ของพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ชย เวร" เป็นต้น

อาแพ้หลาน

ได้ยินว่า พระเจ้าโกศลนั้นทรงอาศัยกาสิกคาม รบอยู่กับพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้เป็นพระเจ้าหลาน อันพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นให้แพ้แล้ว ๓ ครั้ง ในครั้งที่๓ ทรงดำริว่า "เราไม่อาจจะยังเด็กซึ่งมีปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ให้แพ้ได้ ประโยชน์อะไร ด้วยความเป็นอยู่ของเรา" ท้าวเธอทรงตัด พระกระยาหาร เสด็จบรรทมบนพระแท่น

ครั้งนั้น ความเป็นไปอันนั้น ของท้าวเธอ กระฉ่อนไปทั่วพระนคร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระตถาคตว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า พระราชาทรงอาศัยกาสิกคาม อันพระเจ้าอชาตศัตรูให้ทรงปราชัยแล้ว ๓ ครั้ง บัดนี้ ท้าวเธอทรงปราชัย (กลับ) มาแล้ว ทรงตัดพระกระยาหารผทมบนพระแท่น ด้วยทรงดำริว่า 'เราไม่อาจจะยังเด็กซึ่งมีปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมให้แพ้ได้ ประโยชน์อะไร ด้วยความเป็นอยู่ของเรา'


ความคิดเห็น 5    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 13 ส.ค. 2550

พระศาสดา ทรงสดับกถาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย แม้ผู้ชนะย่อมก่อเวร ฝ่ายผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์เหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่ เป็นสุข"

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชย ความว่า ผู้ชนะผู้อื่น ย่อมกลับ ได้เวร.

บทว่า ปราชิโต ความว่า ผู้อันคนอื่นให้แพ้แล้ว ย่อมอยู่เป็น ทุกข์ คือ ย่อมอยู่ลำบาก ในอิริยาบถทั้งปวงทีเดียว ด้วยคิดว่า "ในกาล ไรเล่าหนอ เราอาจเห็นหลังของปัจจามิตร"

บทว่า อุปสนฺโต ความว่า พระขีณาสพ ผู้มีกิเลสมีราคะ เป็นต้น ในภายในสงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้ ย่อมอยู่เป็นสุข คือ ย่อมอยู่สบายแท้ ในอิริยาบถทั้งปวง.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องปราชัยของพระเจ้าโภกล จบ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 7    โดย Komsan  วันที่ 28 ส.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 8    โดย wannee.s  วันที่ 4 ก.ย. 2550

การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ พักผ่อนด้วยการเจริญกุศล คือ การอ่าน การฟังธรรมะค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย พุทธรักษา  วันที่ 6 ก.ย. 2550
จากข้อ ๘.

เห็นด้วยจริงๆ ค่ะ นอกจากจะไม่เหนื่อยแล้ว สุขภาพจิตก็ดีขึ้นด้วยค่ะ.

ความคิดเห็น 10    โดย chatchai.k  วันที่ 5 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย chatchai.k  วันที่ 5 ม.ค. 2564

ขอเชิญอ่าน...

อรรถกถาชนสันธชาดก