[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 206
ทุติยปัณณาสก์
เถรวรรคที่ ๔
๕. อักขมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 206
๕. อักขมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ
[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปารมณ์ ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อสัททารมณ์ ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อคันธารมณ์ ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรสารมณ์ ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อดทนต่อรูปารมณ์ ๑ เป็นผู้ อดทนต่อสัททารมณ์ ๑ เป็นผู้อดทนต่อคันธารมณ์ ๑ เป็นผู้อดทนต่อรสารมณ์ ๑ เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.
จบอักขมสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 207
อรรถกถาอักขมสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในอักขมสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อกฺขโม โหติ รูปานํ ได้แก่ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปารมณ์ คือ ย่อมถูกราคะเป็นต้น ซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ครอบงำเอา. ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถา อักขมสูตรที่ ๕