[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 879
๙. มหาธัมมปาลชาดก
ว่าด้วยเหตุที่ไม่ตายในวัยหนุ่ม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 879
๙. มหาธัมมปาลชาดก
ว่าด้วยเหตุที่ไม่ตายในวัยหนุ่ม
[๑๔๑๐] อะไรเป็นวัตรของท่าน อะไรเป็นพรหมจรรย์ของท่าน การที่คนหนุ่มๆ ไม่ตายนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร ที่ท่านประพฤติดีแล้ว ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่เรา เหตุไรหนอ คนหนุ่มๆ ของพวกท่านจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๑] พวกเราประพฤติธรรม ไม่กล่าวมุสา งดเว้นกรรมชั่ว งดเว้นกรรมอันไม่ประเสริฐทั้งหมด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๒] พวกเราฟังธรรมของอสัตบุรุษ และของสัตบุรุษแล้ว เราไม่ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษเลย ละอสัตบุรุษเสีย ไม่ละสัตบุรุษ เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเรา จึงไม่ตาย.
[๑๔๑๓] ก่อนที่เริ่มจะให้ทาน พวกเราเป็นผู้ตั้งใจดี แม้กำลังให้ ก็มีใจผ่องแผ้ว ครั้นให้แล้วก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 880
ไม่เดือดร้อนภายหลัง เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๔] พวกเราเลี้ยงดูสมณะ พราหมณ์ คนเดินทาง วณิพก ยาจก และคนขัดสนทั้งหลาย ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าว น้ำ เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๕] พวกเราไม่นอกใจภรรยา ถึงภรรยาก็ไม่นอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ นอกจากภรรยาของตน เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๖] พวกเราทั้งหมด งดเว้นจากการสัตว์ งดเว้นสิ่งของ ที่เขาไม่ให้ในโลก ไม่ดื่มของเมา ไม่กล่าวปด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๗] บุตรที่เกิดในภรรยา ผู้มีศีลดีเหล่านั้น เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต เรียนจบไตรเพท เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 881
[๑๔๑๘] มารดาบิดา พี่น้องหญิงชาย บุตร ภรรยา และเราทุกคนประพฤติธรรมมุ่งประโยชน์ ในโลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๑๙] ทาสทาสี คนที่อาศัยเลี้ยงชีวิต คนรับใช้ คนทำงานทั้งหมด ล้วนแต่ประพฤติธรรมมุ่งประโยชน์ ในโลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
[๑๔๒๐] ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
[๑๔๒๑] ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม เหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝน ฉะนั้น ธรรมปาละบุตรของเรา อันธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่ท่านนำเอามานี้ เป็นกระดูกสัตว์อื่น บุตรของเรายังมีความสุข.
จบ มหาธัมมปาลชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 882
อรรถกถามหาธัมมปาลชาดกที่ ๙
พระศาสดา เมื่อเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรก ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ทรงปรารภความไม่ทรงเชื่อของพระพุทธบิดา ในพระราชนิเวศน์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺเต วตํ ดังนี้.
ความย่อว่า ครั้งนั้นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ถวายข้าวยาคู และของเคี้ยว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุ ๒๐,๐๐๐ เป็นบริวาร ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ เมื่อทรงกระทำสัมโมทนียกถา ในระหว่างภัต ได้ตรัสว่า พระเจ้าข้า เวลาที่พระองค์ทำความเพียรอยู่ มีหมู่ เทวดา มายืนอยู่ในอากาศ บอกแก่หม่อมฉันว่า สิทธัตถกุมารโอรสของพระองค์ สิ้นพระชนม์เสียแล้ว เพราะเสวยพระกระยาหารน้อย เมื่อพระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์ทรงเชื่อหรือ? จึงตรัสว่า หม่อมฉันไม่เชื่อดอก พระเจ้าข้า ยังห้ามเทวดา ที่ยืนกล่าวอยู่ในอากาศ เสียอีกว่า พระโอรสของเรา ยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ที่โคนต้นโพธิ์แล้ว จะยังไม่ปรินิพพาน พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ในบัดนี้ พระองค์ จักทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในครั้งก่อน ครั้งหม่อมฉันเกิด เป็นมหาธรรมปาลกุมาร เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์ เอากระดูกแพะ มาแสดงบอกว่า บุตรของท่านตายเสียแล้ว นี่กระดูกบุตรของท่าน พระองค์ก็มิได้ทรงเชื่อ กล่าวกับอาจารย์ว่า ในตระกูลของเรานี่จะตายกำลังหนุ่มนั้น เป็นไม่มี ก็เหตุไร ในบัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อเล่า? พระพุทธบิดาทูลอารารนา ให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 883
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี ได้มีบ้านธรรมปาลคาม ในแคว้นกาสี บ้านนั้นที่ได้ชื่อ อย่างนั้น เพราะเป็นที่อยู่ของตระกูล ธรรมบาลพราหมณ์ที่อยู่อาศัยในบ้านนั้น ปรากฏชื่อว่า ธรรมบาล เพราะเหตุที่รักษาธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ในตระกูลของเขา ชั้นทาส และกรรมกร ก็ให้ทานรักษาศีล ทำอุโบสถกรรม.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลนั้น ได้นามว่า ธรรมปาลกุมาร ครั้นเจริญวัยแล้ว บิดาได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง ส่งไปเรียนศิลปะ ณ เมืองตักกศิลา ธรรมปาลกุมารไป ณ ที่นั้นแล้ว เรียนศิลปะ ในสำนักของอาจารย์ ทิศาปาโมกข์ ได้เป็นหัวหน้ามาณพ พวกอันเตวาสิก ๕๐๐ คน ครั้งนั้นบุตรคนโต ของอาจารย์ตายลง อาจารย์มีศิษย์มาณพแวดล้อม พร้อมด้วยหมู่ญาติ ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ทำฌาปนกิจศพบุตร ในป่าช้า ทั้งอาจารย์ ทั้งศิษย์ และหมู่ญาติ ต่างร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่นั้น ธรรมปาลบุตรคนเดียวเท่านั้น ไม่ร้องไห้ ไม่คร่ำครวญ เมื่อมาณพ ๕๐๐ คนนั้น มาจากป่าช้าแล้ว ได้พากันไปนั่งรำพัน อยู่ในสำนักอาจารย์ว่า น่าเสียดาย มาณพหนุ่มสมบูรณ์ ด้วยมารยาท เห็นปานนี้ พลัดพรากจากมารดาบิดา ตายเสียแต่ยังหนุ่มทีเดียว ธรรมปาลกุมาร กล่าวว่า เพื่อนท่านทั้งหลาย กล่าวว่า ยังหนุ่ม ก็เหตุไรเล่า จึงได้ตายกัน เสียแต่ยังหนุ่ม เวลาหนุ่มยังไม่ควรตายมิใช่หรือ? มาณพเหล่านั้น กล่าวกะธรรมปาลกุมารว่า แน่ะเพื่อน ท่านไม่รู้จักความตายของสัตว์ เหล่านี้ดอกหรือ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 884
ธรรมปาลกุมาร เรารู้ แต่ไม่มีใครตายแต่ยังหนุ่ม ตายกันเมื่อแก่แล้วทั้งนั้น
มาณพทั้งหลาย สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง มีแล้วกลับไม่มี มิใช่หรือ?
ธรรมปาลกุมาร จริง สังขารไม่เที่ยง แต่สัตว์ทั้งหลาย ไม่ตายแต่ยังหนุ่ม ตายกันเมื่อแก่แล้ว ถึงซึ่งความไม่เที่ยง.
มาณพทั้งหลาย แน่ะเพื่อนธรรมปาละ ในเรือนของท่าน ไม่มีใครตายหรือ?
ธรรมปาลกุมาร ที่ตายแต่ยังหนุ่ม ไม่มี มีแต่ตายกัน เมื่อแก่แล้วทั้งนั้น.
มาณพทั้งหลาย ข้อนี้เป็นประเพณี แห่งตระกูลของท่านหรือ?
ธรรมปาลกุมาร ถูกแล้ว เป็นประเพณี แห่งตระกูลของเรา.
มาณพทั้งหลาย ได้ฟังถ้อยคำของธรรมปาลกุมาร ดังนั้นแล้ว จึงพากันบอกแก่อาจารย์ อาจารย์เรียกธรรมปาลกุมาร มาถามว่า พ่อธรรมปาละ. ได้ยินว่า ในตระกูลของท่าน คนไม่ตายกัน แต่ยังหนุ่ม จริงหรือ? ธรรมปาลกุมารตอบว่า จริงท่านอาจารย์ อาจารย์ฟังคำของเขา แล้วคิดว่า กุมารนี้ พูดอัศจรรย์เหลือเกิน เราจักไปสำนักบิดาของกุมารนี้ ถามดู ถ้าเป็นจริง เราจักบำเพ็ญธรรม เช่นนั้นบ้าง อาจารย์นั้น ครั้นทำฌาปนกิจศพบุตรเสร็จแล้ว ล่วงมาได้ ๗, ๘ วัน ได้เรียก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 885
ธรรมปาลกุมารมาสั่งว่า แน่ะพ่อ เราจักจากไป เจ้าจงบอกศิลปะแก่มาณพเหล่านี้ จนกว่าเราจะกลับมา สั่งแล้วก็เก็บกระดูกแพะตัว ๑ มาล้างเอาใส่กระสอบ ให้คนรับใช้ผู้หนึ่ง ถือตามไป ออกจากเมืองตักกศิลา ไปโดยลำดับ ถึงบ้านนั้น เที่ยวถามถึงเรือน ของมหาธรรมปาละว่า หลังไหน รู้แห่งแล้ว ก็ไปยืนอยู่ที่ประตู.
พวกทาสของพราหมณ์ ที่เห็นก่อน ต่างก็รับร่ม รับรองเท้า จากมือของอาจารย์ และรับกระสอบ จากมือของคนรับใช้ เมื่ออาจารย์กล่าวว่า พวกท่านจงไปบอกบิดาของกุมารว่า อาจารย์ของธรรมปาลกุมารบุตร ของท่านมายืนอยู่ที่ประตู พวกทาสรับคำว่า ดีแล้ว แล้วก็พากันไปบอก พราหมณ์รีบไปที่ใกล้ประตู เชื้อเชิญว่า มาข้างนี้เถิดท่าน แล้วนำอาจารย์ขึ้นเรือน ให้นั่งบนบัลลังก์ ทำกิจทุกอย่าง มีล้างเท้า เป็นต้น อาจารย์บริโภคอาหารแล้ว เวลานั่งสนทนากันอยู่ตามสบาย จึงแสร้งกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ธรรมปาลกุมารบุตรของท่าน เป็นคนมีสติปัญญา เรียนจบไตรเพท และศิลปะ ๑๘ ประการแล้ว แต่ได้ตายเสียแล้ว ด้วยโรค อย่างหนึ่ง สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ท่านอย่าเศร้าโศกไปเลย.
พราหมณ์ตบมือหัวเราะดังลั่น เมื่ออาจารย์ถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านหัวเราะอะไร? ก็ตอบว่า ลูกฉันยังไม่ตาย ที่ตายนั้น จักเป็นคนอื่น อาจารย์กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ท่านได้เห็นกระดูกบุตรของท่านแล้ว จงเชื่อเถิด แล้วนำกระดูกออกกล่าวว่า นี่กระดูกบุตรของท่าน พราหมณ์กล่าวว่า นี้จักเป็นกระดูกแพะ หรือกระดูกสุนัข แต่ลูกฉันยังไม่ตาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 886
เพราะในตระกูลของเรา ๗ ชั่วโคตรมาแล้ว ไม่มีใครเคยตายแต่ยังหนุ่มเลย ท่านพูดปด ขณะนั้น คนทั้งหมด ได้ตบมือหัวเราะกันยกใหญ่ อาจารย์เห็นความอัศจรรย์นั้น แล้วมีความโสมนัส เมื่อจะถามว่า ท่านพราหมณ์ ในประเพณีตระกูลของท่าน ที่คนหนุ่มๆ ไม่ตาย ถ้าไม่มีเหตุ คงไม่อาจเป็นไปได้ เพราะเหตุไร คนหนุ่มๆ จึงไม่ตาย? ดังนี้ ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
อะไรเป็นวัตรของท่าน อะไรเป็นพรหมจรรย์ของท่าน การที่คนหนุ่มๆ ไม่ตายนี้ เป็นผลแห่กรรมอะไร ที่ท่านประพฤติดีแล้ว ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้ แก่เรา เหตุไรหนอ คนหนุ่มๆ ของพวกท่านจึงไม่ตาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตํ คือ เป็นวัตตสมาทาน. บทว่า พฺรหฺมจริยํ คือ เป็นพรหมจรรย์อันประเสริฐสุด. บทว่า กิสฺส สุจิณฺณสฺส ความว่า การที่คนหนุ่มๆ ในตระกูลของพวกท่านไม่ตาย เป็นผลแห่งสุจริตอย่างไหน?
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะพรรณนาคุณานุภาพ ที่เป็นเหตุ ให้คนหนุ่มในตระกูลนั้นไม่ตาย จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 887
พวกเราประพฤติธรรม ไม่กล่าวมุสา งดเว้นกรรมชั่ว งดเว้นกรรมอันไม่ประเสริฐทั้งหมด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
พวกเราฟังธรรมของอสัตบุรุษ และของสัตบุรุษแล้ว เราไม่ชอบใจธรรม ของอสัตบุรุษ เลย ละอสัตบุรุษเสีย ไม่ละสัตบุรุษ เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
ก่อนที่เริ่มจะให้ทาน พวกเราเป็นผู้ตั้งใจดี แม้กำลังให้ ก็มีใจผ่องแผ้ว ครั้นให้แล้ว ก็ไม่เดือดร้อนภายหลัง เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
พวกเราเลี้ยงดูสมณะ พราหมณ์ คนเดินทาง วณิพก ยาจก และคนขัดสนทั้งหลาย ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าว น้ำ เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
พวกเราไม่นอกใจภรรยา ถึงภรรยาก็ไม่นอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 888
นอกจากภรรยาของตน เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
พวกเราทั้งหมด งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นสิ่งของ ที่เขาไม่ให้ในโลก ไม่ดื่มของเมา ไม่กล่าวปด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
บุตรที่เกิดในภรรยา ผู้มีศีลดีเหล่านั้น เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต เรียนจบไตรเพท เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
มารดาบิดา พี่น้องหญิงชาย บุตร ภรรยา และเราทุกคน ประพฤติธรรม มุ่งประโยชน์ใน โลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
ทาส ทาสี คนที่อาศัยเลี้ยงชีวิต คนรับใช้ คนทำงานทั้งหมด ล้วนแต่ประพฤติธรรม มุ่งประโยชน์ในโลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 889
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมญฺจราม ได้แก่ ประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ กุศลกรรมทุกอย่าง เป็นต้นว่า พวกเราไม่ปลงสัตว์ โดยที่สุด แม้มดดำจากชีวิต เพราะเหตุแห่งชีวิตตน และไม่มองดูสิ่งของของผู้อื่น ด้วยโลภจิต อันบัณฑิตพึงพรรณนา ให้พิสดาร ก็ในคาถานี้ พราหมณ์กล่าวถึงการพูดมุสา แต่กล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรม ที่สูงขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่าบาปที่บุคคลผู้มักพูดเท็จ จะไม่ทำย่อมไม่มี ได้ยินว่า บุคคลเหล่านั้น ไม่พูดเท็จ แม้ด้วยประสงค์ จะให้หัวเราะ.
บทว่า ปาปานิ ได้แก่ กรรมอันลามก ที่เป็นเหตุให้เข้าถึงนรก แม้ทุกอย่าง. บทว่า อนริยํ ได้แก่ งดเว้นกรรม ที่เว้นจาก ความเป็นกรรมอันประเสริฐ คือ ที่ไม่ดี ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์ทั้งหมด. หิ อักษร ในคำว่า ตสฺมา หิ อมฺหํ นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า เพราะเหตุนี้ คนหนุ่มๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย คือขึ้นชื่อว่า อกาลมรณะในระหว่าง ย่อมไม่มีแก่พวกเรา บาลีว่า ตสฺมา หิ อมฺหํ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุโณม เป็นต้น ความว่า ได้ยินว่า พวกเรา ธรรมอันแสดงกุศลของสัตบุรุษ ก็ฟัง ธรรมอันแสดงอกุศล ของอสัตบุรุษก็ฟังทั้งนั้น แต่พวกเราก็เป็นสักแต่ว่า ฟังธรรมนั้นแล้ว เท่านั้น ไม่ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษนั้นเลย แต่ไม่ให้มีการทะเลาะ หรือวิวาทกับอสัตบุรุษเหล่านั้น แม้ฟังแล้ว ได้แล้ว ก็ประพฤติตามสัตบุรุษ ไม่ละสัตบุรุษแม้สักขณะเดียว ละอสัตบุรุษ คือ บาปมิตรเสียแล้ว เป็นผู้ซ่องเสพ แต่กัลยาณมิตรเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 890
บทว่า สมเณ มยํ พฺราหฺมเณ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ พวกเราเลี้ยงดู สมณพราหมณ์ คือพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันสงบแล้วแล มีบาปอันลอยแล้วบ้าง สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมที่เหลือบ้าง ชนที่เหลือ มีคนเดินทางเป็นต้นบ้าง ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าว น้ำ ก็ในพระบาลีคาถานี้ ก็มาตาม หลังคาถาว่า ปุพฺเพว ทานา เหมือนกัน. บทว่า นาติกฺกมาม ความว่า พวกเรา ไม่นอกใจภรรยาของตน กระทำมิจฉาจารในหญิงอื่น ในภายนอก. บทว่า อญฺญตฺร ตาหิ ความว่า พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ ในหญิงที่เหลือ นอกจากภรรยาของตน แม้ภรรยาของพวกเรา ก็เป็นไปในชายที่เหลืออย่างนี้ เหมือนกัน บทว่า ชายเร แปลว่า ย่อมเกิด. บทว่า สุตฺตมาสุ คือ ในหญิงผู้สูงสุด ผู้มีศีลดีทั้งหลาย.
ข้อนี้มีอธิบายว่า บุตรเหล่าใดของพวกเรา เกิดในหญิงผู้สูงสุด ผู้มีศีลสมบูรณ์เหล่านั้น บุตรเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีประการอย่างนี้ คือ เป็นผู้ฉลาด เป็นต้น ความตายในระหว่าง จักมีแก่บุตรเหล่านั้น แต่ที่ไหนเล่า แม้เพราะเหตุนั้น คนหนุ่มๆ ในตระกูลของพวกเรา จึงไม่ตาย. บทว่า ธมฺมญฺจราม ได้แก่ ประพฤติสุจริตธรรม ๓ ประการ เพื่อประโยชน์แก่ปรโลก. หญิงรับใช้ทั้งหลาย ชื่อว่า ทาสี.
ในที่สุด พราหมณ์ ก็ได้แสดงคุณ ของผู้ประพฤติธรรม ด้วยคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 891
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้ เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม เหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝน ฉะนั้น ธรรมปาละบุตรของเรา อันธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่ท่านนำเอามานี้ เป็นกระดูกสัตว์อื่น บุตรของเรายังมีความสุข.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺขติ ความว่า ธรรมดาว่า ธรรมที่บุคคลรักษาแล้วนี้ ย่อมกลับรักษา ซึ่งบุคคลผู้มีธรรม อันตนรักษาแล้ว. บทว่า สุขมาวหาติ คือ ย่อมนำสุขในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย กับนิพพานสุขมาให้. บทว่า น ทุคฺคตึ คือ ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ อันต่างด้วยทุคติ มีนรก เป็นต้น.
พราหมณ์นั้นแสดงว่า ดูก่อนพราหมณ์ พวกเรารักษาธรรมอย่างนี้ แม้ธรรมก็รักษาพวกเราเหมือนกัน. บทว่า ธมฺเมน คุตฺโต คือ อันธรรมที่ตนรักษา อันเช่นกับด้วยร่มใหญ่ คุ้มครองแล้ว. บทว่า อสฺญสฺส อฏฺฐีนิ ความว่า ก็กระดูกที่ท่านนำมานี้ จักเป็นกระดูก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 892
ของสัตว์อื่น คือ ของแพะก็ตาม ของสุนัขก็ตาม ท่านจงทิ้งกระดูกเหล่านั้นเสีย บุตรของเรายังมีความสุข.
อาจารย์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า การมาของข้าพเจ้า เป็นการมาดี มีผล ไม่ไร้ผล แล้วมีความยินดี ขอขมาโทษกะบิดาธรรมปาละ แล้วกล่าวว่า นี้เป็นกระดูกแพะ. ข้าพเจ้านำมาเพื่อจะลองท่าน บุตรของท่านสบายดี ท่านจงให้ธรรมที่ท่านรักษา แก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้แล้ว เขียนข้อความลงในสมุด อยู่ในที่นั้น ๒,๓ วันแล้ว ไปเมืองตักกศิลา ให้ธรรมปาลกุมาร ศึกษาศิลปะทุกอย่าง แล้วส่งไปด้วยบริวารใหญ่.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแก่ พระเจ้าสุทโธทนมหาราชแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ในเวลาจบสัจจะ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า มารดาบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธมารดา พุทธบิดาในบัดนี้ อาจารย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ บริษัทในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนธรรมปาลกุมาร ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา มหาธัมมปาลชาดกที่ ๙