ขอความกรุณาท่านอาจารย์วิทยากรช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ
ขอกราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กรรม คือ การกระทำ เป็นความจงใจ ความตั้งใจกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ เมื่อกล่าวโดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ เจตนาเจตสิก กรรม ไม่ใช่จิต แต่เกิดร่วมกับจิต กรรม เป็นธรรมที่มีจริง เป็นเจตนาที่จงใจขวนขวายกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 144
เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน. บทว่า กมฺมทายาโท แปลว่า เราเป็นทายาทของกรรม อธิบายว่า กรรมเป็นมรดก คือเป็นสมบัติของเรา กรรมเป็นกำเนิดคือเป็นเหตุเกิดของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์.อธิบายว่ามีกรรมเป็นญาติ กรรมเป็นที่อาศัยคือเป็นที่พึ่งของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงชื่อว่ามีกรรมที่อาศัย
บทว่า ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ แปลว่า เราเป็นทายาทของกรรมนั้น อธิบายว่า เราจักเป็นผู้รับผลที่กรรมนั้นให้ ส่วนคำว่ากรรมพันธุ์ (ภาษาไทย) หมายถึง ลักษณะต่างๆ ซึ่งสืบเนื่องมาแต่บรรพบุรุษ
ดังนั้น เราเป็นทายาทของกรรม คือมีกรรมที่ได้ทำไว้จะต้องได้รับผลของกรรม ตามเหตปุัจัจยที่สมควร ครับ
เชิญคลิกอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ เรื่องงกรรม ดังนี้
ท่าน อ.สุจินต์ พุทธศาสนาสอนในเรื่องของกรรม คือ เหตุ ซึ่งจะทำให้เกิดผล คือ วิบาก เพราะฉะนั้นคนอื่นทำให้เราไม่ได้ เราเองเป็นผู้ที่ทำกรรม ใช่ไหมคะ
เพราะฉะนั้นเราเองเป็นผู้ที่รับผลของกรรม ถ้าคนนั้นไม่มีกรรมของเขา สิ่งนั้นก็จะเกิดกับเขาไม่ได้ ไม่ต้องหวั่นเกรงอะไรเลยทั้งสิ้น ถ้าทำกรรมดีคนอื่นจะเปลี่ยนกรรมดีของเราให้เป็นอย่างอื่นได้ไหมคะ ไม่ได้ใช่ไหมคะ เพราะกรรมนั้นทำแล้ว เสร็จแล้ว เป็นสิ่งที่ดีด้วย ถ้าใครที่ทำอกุศลกรรม คนอื่นจะไปเปลี่ยนอกุศลกรรมนั้นให้เป็นกรรมดีได้ไหมคะ เปลี่ยนเถอะ คนนี้เขาทำดีมามากแล้ว ถึงแม้ว่าเขาทำชั่วครั้งเดียว เอาเถอะให้เขาไปเป็นกุศลกรรม เราอภัยให้ได้ แต่สิ่งนั้นเสร็จแล้ว จบแล้ว เป็นผลที่ได้ทำแล้ว เป็นกรรมแล้ว
เพราะฉะนั้นเป็นอกุศลก็ต้องเป็นอกุศล กุศลก็เป็นกุศล อกุศลก็เป็นอกุศล แล้วก็ชั่วขณะจิตที่เกิดแล้วดับ ใครจะไปแก้ไขก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น ทุกคน มีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม เมื่อถึงคราวที่อกุศลกรรมให้ผล ไม่ต้องมีใครทำให้เลย เราตกกระไดเองก็ได้ มีดบาดเราเองก็ได้ แต่เวลาที่คนอื่นมาแทงเรา มาฟันเรา เรากับคิดว่าเขาทำเรา ทำไมไม่คิดถึงเวลาที่เขาไม่ทำ แต่มันเป็นไปเองโดยที่ไม่ต้องมีใครทำ อย่างคนที่บ้านพัง เขาทำหรือเปล่า ผู้ร้ายที่ไหนมาทำหรือเปล่า ก็ไม่มีใครทำเลย แต่พังเองตามกรรมที่จะต้องเป็นไปอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า ถ้าเราไม่เคยทำกรรมอย่างนั้น สิ่งนั้นจะเกิดกับเราไม่ได้ และก็ไม่ใช่คนอื่นทำให้ด้วย กรรมของเราทำ เมื่อถึงคราว ถึงโอกาสที่กรรมจะให้ผล สิ่งนั้นก็ต้องเกิด เปลี่ยนแปลงอะไรก็ไม่ได้
ไม่มีใครมาทำเลย เราทำเองทุกอย่างได้คะ ตกกระไดได้ มีดบาดได้ อะไรได้หมดทั้งนั้น ถ้าเราทำกรรมดีอยู่เสมอ ก็ไม่ต้องห่วงเลย และก็ไม่ต้องไปเชื่อว่า คนอื่นจะมาทำร้ายเราได้ แต่ให้มั่นคงในกรรมของเราเองว่า เป็นสิ่งที่เราได้ทำแล้ว
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๑๔๐
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น ที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขา พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลง ได้
กรรม คือ การกระทำ เมื่อกล่าวโดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ เจตนา เมื่อกรรมได้กระทำสำเร็จแล้วย่อมรอส่งผลเมื่อได้โอกาส กรรมเป็นนามธรรมไม่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่างได้, ในอดีตชาติอันยาวนานที่ผ่านมาอย่างนับไม่ถ้วน รวมถึงชาติปัจจุบันนี้ด้วย เราได้กระทำทั้งกรรมดี และกรรมชั่วไว้มาก กรรมที่กระทำไปแล้วจึงมีมากมายทีเดียว ตามการสะสมของแต่ละบุคคล แต่กรรมใดจะให้ผลเมื่อไหร่ เราไม่สามารถจะรู้ได้ จึงกล่าวตามพระธรรมได้ว่า กรรม เป็นธรรมชาติที่ปกปิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ขณะที่เห็น เป็นผลของกรรมแน่นอน แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นผลของกรรมอะไร ในชาติไหน หรือ แม้แต่ขณะต่อไปจะเห็นอะไร ก็ไม่สามารถจะรู้ได้อีกเช่นเดียวกัน กรรมจึงเป็นสภาพที่ปกปิดอย่างนี้ การที่กรรมใดจะให้ผลนั้น จึงไม่อาจเลือกได้ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น
ระหว่างกรรมดี กับ กรรมชั่ว นั้น มีความแตกต่างกัน ไม่ปะปนกัน เป็นคนละส่วนกัน ที่สำคัญผลของกรรมทั้งสองประเภทนี้ ก็ต่างกันด้วย ให้ผลไม่เหมือนกัน กล่าวคือ กรรมดี เป็นเหตุให้เกิดในสุคติภูมิ ให้ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่กรรมชั่ว ย่อมทำให้ไปเกิดในอบายภูมิ นำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนมากมาย
บุคคลผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ย่อมจะเป็นผู้มีความเข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลแต่ละคน หรือแม้กระทั่งเกิดกับตัวเราเอง ไม่ว่าดีหรือร้าย น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเพราะกรรมที่เคยได้กระทำมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีใครทำให้เลย ดังนั้น ถ้าไม่มีเหตุคือกรรมที่ได้กระทำมาแล้ว ผลที่จะเกิดย่อมมีไม่ได้ แต่เพราะมีเหตุคือกรรมที่ได้กระทำแล้ว เมื่อได้โอกาสที่กรรมจะให้ผล ผลจึงเกิดขึ้น เมื่อมีความเข้าใจอย่างนี้ ก็จะทำให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ต่างๆ น้อยลง รวมไปถึงจะไม่โทษคนอื่นด้วย
ดังนั้น จึงพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงได้ว่า ถ้าไม่มีเหตุคือกรรมที่ได้กระทำแล้ว สิ่งนั้น สิ่งนี้ก็จะเกิดกับเราไม่ได้ หรือจะเกิดกับใครก็ไม่ได้ ซึ่งแต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง ไม่ปะปนกัน
ซึ่งจะต้องไม่ลืมว่า ทำกรรมใด ไว้ ดี หรือ ชั่ว เมื่อถึงกาลเวลาที่กรรมจะให้ผล ผลก็ต้องเกิดขึ้นเป็นไป ใครๆ ก็ยับยั้งไว้ไม่ได้ เป็นทายาทแห่งกรรมอย่างแน่นอน คือ เป็นผู้ที่จะได้รับผลของกรรมที่ตนเองได้กระทำไว้แล้ว
ดังนั้น เมื่อจะสะสมกรรมที่จะทำให้เกิดผลในภายหน้า ก็พึงกระทำกรรมอันงาม คือ ความดี เท่านั้น สิ่งที่ไม่ดีไม่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและแก่บุคคลอื่น ไม่ควรที่จะสะสมให้มีมากขึ้น เพราะเหตุว่า สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้านั้น ก็คือ กุศลธรรม ความดีทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วปัญญาจะมาจากไหน ก็ต้องมาจากการได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาทในพระธรรมแต่ละคำที่พระองค์ทรงแสดง อันเกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์ ที่ควรค่าแก่การฟัง การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ปัญญาจะมาจากไหน ก็ต้องมาจากการได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาทในพระธรรมแต่ละคำที่พระองค์ทรงแสดง อันเกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์ ที่ควรค่าแก่การฟัง การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาสาธุบุญด้วยนะคะ
กราบอนุโมทนายิ่งค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอถวายความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
ปัญญามาจากการฟังพระธรรม ทำให้เข้าใจว่า แม้จะเห็นผู้ที่ทำไม่ดีมากมายแค่ไหนก็ตาม ถ้านึกถึงพระธรรมที่ได้ฟังว่าทุกคนมีกรรมเป็นของของตน ก็เกิดกุศลแทนที่จะเกิดอกุศลได้ เพราะทุกคนต้องตายอยู่แล้วตามกรรมของตน แล้วทำไมต้องไปคิดทำร้ายเบียดเบียนให้เขาเดือดร้อน แม้จนถึงกับอยากให้เขาตาย ซึ่งเป็นโทษเป็นอกุศลกับตนเอง
ฟังพระธรรมทุกครั้ง เมื่อความเข้าใจ ขัดเกลาความไม่รู้ ซึ่งเป็นต้นเหตุของอกุศลทั้งปวง
กราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง กราบ
อนุโมทนาขอบพระคุณคณะอาจารย์.มศพ.ที่ได้เผยแพร่พระธรรมด้วยค่ะ
ศึกษาเพิ่มเติม โดยคลิ๊กที่ ....
แนวทางเจริญวิปัสสนา แผ่นที่ ๓๓ ตอนที่ 1963
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ