[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 455
๗. ทกรักขสชาดก
ว่าด้วยผีเสื้อน้ำ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 455
๗. ทกรักขสชาดก
ว่าด้วยผีเสื้อน้ำ
[๒๓๗๒] ถ้าผีเสื้อน้ำแสวงหาเครื่องเซ่น ด้วย มนุษย์ พึงจับเรือของพระนางสลากเทวี พระราชชนนี พระนางนันทาเทวี อัครมเหสี พระติขิณกุมารราช อนุชา ธนุเสขกุมารผู้สหาย เกวัฏพราหมณ์ปุโรหิต มโหสถบัณฑิต และพระองค์รวมเป็น ๗ ผู้แล่นเรือ ไปในทะเล พระองค์จะพระราชทานใครอย่างไร ให้ ตามลำดับ แก่ผีเสื้อน้ำ พระเจ้าข้า.
[๒๓๗๓] ข้าพเจ้าจะให้พระราชมารดาก่อนให้ พระมเหสี ให้กนิษฐภาดา ต่อแต่นั้นไปก็จะให้สหาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 456
ให้พราหมณ์ ปุโรหิต เป็นลำดับที่ ๕ ให้ตนเป็นที่ ๖ มโหสถไม่ให้เลย.
[๒๓๗๔] ก็พระราชชนนีของพระองค์ เป็นผู้ บำรุงเลี้ยง ทรงอนุเคราะห์ตลอดราตรีนาน เมื่อฉัพภิ พราหมณ์ ประทุษร้ายในพระองค์ พระราชมารดาเป็น ผู้ฉลาด ทรงเห็นประโยชน์ ทำรูปเปรียบอื่น ปลด เปลื้องพระองค์จากการถูกปลงพระชนม์ พระองค์จะ พระราชทานพระชนนีผู้มีน้ำพระทัยคงที่ ประทาน พระชนมชีพ ให้ทรงพระเจริญ ณ ระหว่างพระทรวง ทรงพระครรภ์นั้น แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
[๒๓๗๕] พระราชมารดา ทรงเป็นเหมือนหญิง สาว ทรงเครื่องประดับ ซึ่งในสมควรจะประดับ ตรัส สรวลเสเฮฮา กะพวกรักษาประตู และพวกฝึกหัดม้า จนเกินเวลาอันควร อนึ่ง พระราชมารดา ย่อมสั่งทูต ทั้งหลายถึงอริราชศัตรูเอง ข้าพเจ้าจะให้พระราช มารดาแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอันนั้น.
[๒๓๗๖] พระนางนันทาเทวี ผู้ประเสริฐกว่า หมู่สนมนารี มีพระเสาวนีย์น่ารักยิ่งนัก ทรงประพฤติ ตาม ทรงมีศีลาจารวัตร ดุจเงา มีปกติไปตาม ไม่ ทรงพิโรธง่ายๆ ทรงมีบุญบารมี เฉลียวฉลาด ทรง เห็นประโยชน์ พระองค์จะพระราชทานพระราชเทวี แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 457
[๒๓๗๗] พระนางนันทานั้นรู้ว่า ข้าพเจ้าถึง พร้อมด้วยความยินดี ในการเล่นอันกระทำความพินาศ ก็ขอทรัพย์ ที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาของตนและชายา อื่นๆ ข้าพเจ้ามีความกำหนัดมากก็ให้ทรัพย์ทั้งประณีตและทรามเป็นอันมาก ครั้นสละสิ่งที่สละได้ยาก แล้ว ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ ข้าพเจ้าจะให้นาง อุพพรีแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษนั้น.
[๒๓๗๘] พระกนิษฐภาดา ทรงบำรุงชาวชนบท ทั้งหลาย ให้เจริญรุ่งเรือง เชิญพระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ ประเทศอื่นมาสู่พระนครนี้ ทรงอันเคราะห์พระองค์ ครอบงำพระราชาทั้งหลาย เอาทรัพย์เป็นอันมาก มา แต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนู ทั้ง หลาย ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลักแหลมทั้ง หลาย พระองค์จะพระราชทานพระกนิษฐภาดา แก่ ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.
[๒๓๗๙] กนิษฐภาดาของข้าพเจ้าดูหมิ่นข้าพเจ้า ว่า ชาวชนบททั้งหลายเจริญก็เพราะเขา ข้าพเจ้ากลับ มาได้ก็เพราะเขา อนุเคราะห์ข้าพเจ้า ครอบงำพระ ราชาทั้งหลาย นำทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นเลิศกว่านายขมังธนูทั้งหลาย กล้าหาญกว่าผู้มี ความคิดหลักแหลมทั้งหลาย สำคัญข้าพเจ้านี้เป็นพระ ราชาเด็กๆ ได้ความสุขก็เพราะเขา อนึ่ง เมื่อก่อนเขามา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 458
บำรุงข้าพเจ้าแต่เช้า แต่บัดนี้เขาไม่มาอย่างก่อน ข้าพเจ้าจะให้กนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๐] พระองค์ประสูติวันเดียวกันกับธนุเสขกุมาร ทั้งสองพระองค์ เป็นชาวปัญจาลนคร เกิดใน กรุงปัญจาละ เป็นสหายมีวัยเสมอกัน ธนุเสขกุมาร เป็นผู้ติดตามพระองค์ โดยเสด็จจาริกไปยังชนบทร่วม สุขร่วมทุกข์กับพระองค์ ขวนขวายจัดแจง ในกิจทุก อย่างของพระองค์ทั้งกลางวันกลางคืน พระองค์จะพระ ราชทานพระสหายแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.
[๒๓๘๑] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ธนุเสขกุมารนี้ เป็น ผู้หัวเราะต่อกระซิกกับข้าพเจ้า ด้วยความประพฤติมา แต่ก่อน แม้วันนี้ เขาก็ยังซิกซี้เฮฮาเกินเวลา ด้วยกิริยา นั้นอีก ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจะปรึกษาหารือกัน ในที่ลับกับพระนางเทวีบ้าง ข้าพเจ้าไม่ทันเรียกหาก็ เข้ามา มิให้ข้าพเจ้ารู้ตัวก่อน ถึงจะได้รับอนุญาตให้ เข้าเฝ้าได้ไม่จำกัดเวลาและโอกาสก็ตาม ข้าพเจ้าจะ ให้สหายผู้ไม่มีความละอายแก่ใจ หาความเอื้อเฟื้อไม่ ได้ แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๒] เกวัฏปุโรหิต เป็นผู้ฉลาดในนิมิต ทุกอย่าง รู้เสียงร้องทุกชนิด รู้จบไตรเพท เป็นผู้ฉลาด ในจันทรุปราคาเป็นต้นที่จะเกิดขึ้น รู้ทำนายความฝัน รู้การถอยทัพ หรือการรุกเข้าไปต่อสู้ เป็นผู้สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 459
รู้โทษหรือคุณในภูมิภาคและอากาศ เป็นผู้รอบรู้ใน โคจรแห่งนักษัตร พระองค์จะพระราชทานเกวัฏ พราหมณ์ แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
[๒๓๘๓] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า อาจารย์เกวัฏลืมตา ทั้งสอง เพ่งดูข้าพเจ้าแม้ในบริษัท เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงให้อาจารย์เกวัฏผู้ร้ายกาจ ดุจมีคิ้วอันเลิก ขึ้น แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
[๒๓๘๔] พระองค์เป็นผู้อันอำมาตย์แวดล้อม ทรงครอบครองพสุนธรมหิดล มีสมุทรเป็นขอบเขต ดุจกุณฑลแห่งสาคร พระองค์มีมหารัฐซึ่งมีสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะสงความเสร็จแล้ว พระกำลัง มากเป็นเอกราชในปฐพี มีพระอิสริยยศ ถึงความ ไพบูลย์ พระสนมนารีจากชนบทต่างๆ ๑๖,๐๐๐นาง สวมใส่กุณฑลแก้วมณี งามดังเทพกัญญา ดูก่อนขัตติยราช นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตอันสมบูรณ์ ด้วยองค์ทั้งปวง อันสำเร็จด้วยสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง อันยืนนานอย่างนี้ ของชนทั้งหลายผู้ถึงความสุข ว่า เป็นที่รัก เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ตามรักษามโหสถ บัณฑิตยอมทรงสละพระชนมชีพ ซึ่งแสนยากจะพึง สละได้ ด้วยเหตุหรือว่ากรณีอะไร.
[๒๓๘๕] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า จำเดิมแต่มโหสถมา อยู่กับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าไม่เห็นมโหสถผู้มีปัญญา ทำชั่ว แม้แต่สักเล็กน้อยเลย ถ้าแม้ความตายจะพึงมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 460
แก่ข้าพเจ้าเสียก่อนในเวลาหนึ่ง มโหสถก็จะพึงยัง เหล่าโอรส และนัดดาทั้งหลายของข้าพเจ้าให้เป็นสุข ได้ เพราะมโหสถย่อมมองเห็นประโยชน์ทั้งปวง ทั้ง อนาคต ปัจจุบัน และอดีตโดยไม่ผิด ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงจะไม่ให้มโหสถผู้มีการงานอันหาความผิด ได้ แก่ผีเสื้อน้ำ.
[๒๓๘๖] ท่านทั้งหลายชาวปัญจาลนคร จงฟัง ราชภาษิตของพระเจ้าจุฬนีพรหมทัตนี้ พระองค์ทรง ตามรักษามโหสถบัณฑิต ถึงกับสู้สละพระชนมชีพ ซึ่งแสนยากที่จะสละได้ คือพระเจ้าปัญจาลราชทรง สละชีวิตแห่งชนทั้ง ๖ คือ พระราชชนนี พระอัครมเหสี พระกนิษฐภาดา พระสหาย และพราหมณ์ กับทั้งพระองค์เอง แก่ผีเสื้อน้ำ ปัญญา มีประโยชน์ อย่างใหญ่หลวง ละเอียดลออ มีปกติคิด ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบทกรักขสชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 461
อรรถกถาทกรักขสชาดก
ทกรักขสชาดก มีคำเริ่มต้นว่า สเจ โว วุยฺหมานํ ดังนี้ทั้งหมดนั้น จักมีแจ้งในมหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาทกรักขสชาดก