ความรวดเร็วจากปัญจทวารไปมโนทวาร
โดย sutta  11 เม.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 18175

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

บรรดาอารมณ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น อารมณ์แต่ละอารมณ์ย่อมมาสู่ คลองในทวารทั้งสอง. จริงอยู่ รูปารมณ์กระทบจักขุประสาทแล้ว มาสู่คลอง มโนทวารในขณะนั้นทันที อธิบายว่า เป็นปัจจัยแก่ภวังคจลนะ. แม้สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ก็นัยนี้.

เหมือนอย่างว่า นกบินมาทาง อากาศ ซ่อนตัวอยู่ที่ยอดต้นไม้นั่นแหละ ย่อมกระทบกิ่งไม้ด้วย เงาของนกนั้น ย่อมกระทบแผ่นดินด้วย การกระทบที่กิ่งไม้ และการแผ่ไปแห่งเงาที่แผ่นดิน ย่อมมีในขณะเดียวกัน คือไม่ก่อนไม่หลังกัน ฉันใด การกระทบจักขุประสาท เป็นต้นของรูปที่เป็นปัจจุบันเป็นต้น และการมาสู่คลองมโนทวาร เพราะ สามารถให้ภวังค์ไหว ย่อมมีในขณะเดียวกันนั่นแหละไม่ก่อนไม่หลังกันฉันนั้น. ลำดับนั้น มหาจิตนี้ก็เกิดขึ้นในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอารมณ์เหล่านั้น

อันติดต่อกันไปแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่ตัดภวังค์แล้วเกิดขึ้นในจักขุทวาร เป็นต้น มีโวฏฐานจิต เป็นที่สุด แต่ว่าในมโนทวารล้วนๆ ไม่มีกิจกระทบกับ ประสาท โดยปกติอารมณ์เหล่านี้ ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่นที่ดมแล้ว รสที่ลิ้มแล้ว กายที่กระทบแล้วเท่านั้น.



ความคิดเห็น 1    โดย พุทธรักษา  วันที่ 11 เม.ย. 2554

มีโวฏฐานจิต เป็นที่สุด แปลว่าอะไรคะ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 13 เม.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 1

โวฏฐานจิตเป็นที่สุดหมายถึงโวฏฐัพพนจิตครับ


ความคิดเห็น 3    โดย prachern.s  วันที่ 13 เม.ย. 2554

คำว่า โวฏฐานจิต ในที่นี้หมายถึง โวฏฐัพพนจิต ซึ่งเกิดโดยลำดับของ วิถีจิตทางปัญจทวาร เริ่มตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนะ ต่อมาจนถึงโวฏฐัพพนะ จากนั้นจึงเป็นชวนะ (กุศล อกุศล) ดังนั้นในที่นี้ท่านอธิบายก่อนที่ชวนจิต จะเกิดขึ้นมีวิถีจิตอะไรบ้างที่เกิดขึ้นเป็นลำดับครับ


ความคิดเห็น 4    โดย พุทธรักษา  วันที่ 13 เม.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 31 ธ.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น