[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 376
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
ปารายนวรรค
โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕
ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 67]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 376
โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕
ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช
[๔๙๐] (ท่านโมฆราชทูลถามว่า)
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระเทพฤๅษี (มีผู้ทูลถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์.
[๔๙๑] คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว ความว่า พราหมณ์นั้นได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ๒ ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพราหมณ์นั้นทูลถามปัญหา ไม่ทรงพยากรณ์ในลำดับแห่งพระจักษุว่า ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ของพราหมณ์นี้จักมี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สักกะ ในคำว่า สกฺก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงทรงพระนามว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์มาก แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงทรงพระนามว่า สักกะ. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงมีทรัพย์เหล่านั้น คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 377
มรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ด้วยทรัพย์อันเป็นรัตนะหลายอย่างนี้ แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงทรงพระนามว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อาจ ผู้องอาจ ผู้สามารถ มีความสามารถ ผู้กล้า ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงทรงพระนามว่า สักกะ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว.
คำว่า ได้ทูลถามแล้ว ความว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาท ๒ ครั้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โมฆราชา เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า โมฆราชา เป็นชื่อ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านโมฆราชทูลถามว่า.
[๔๙๒] คำว่า มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ในอุเทศว่า น เม พฺยากาสิ จกฺขุมา ความว่า มิได้ตรัสบอก... มิได้ทรงประกาศแก่ข้าพระองค์.
คำว่า พระจักษุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุด้วยจักษุ ๕ ประการ คือ ด้วยมังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ สมันตจักษุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 378
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร สี ๕ อย่าง คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีดำและสีขาว ย่อมปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าในมังสจักษุ ขนพระเนตรตั้งอยู่เฉพาะในที่ใด ที่นั้นมีสีเขียว เขียวดี น่าดู น่าชม เหมือนสีดอกผักตบ ที่ถัดนั้นเข้าไปมีสีเหลือง เหลืองดี เหมือนสีทองคำ น่าดู น่าชม เหมือนดอกกรรณิการ์เหลือง เบ้าพระเนตรทั้งสองข้างของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสีแดง แดงดี น่าดู น่าชม เหมือนสีปีกแมลงทับทิมทอง ที่ท่ามกลางมีสีดำ ดำดี ไม่มัวหมอง ดำสนิท น่าดู น่าชม เหมือนสีอิฐแก่ไฟ ที่ถัดนั้นเข้าไปมีสีขาว ขาวดี ขาวล้วน ขาวผ่อง น่าดู น่าชม เหมือนสีดาวประกายพฤกษ์ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมังสจักษุเป็นปกตินั้น เนื่องในพระอัตภาพ อันเกิดขึ้นเพราะสุจริตกรรมในภพก่อน ย่อมทอดพระเนตรเห็นตลอดที่โยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน แม้ในเวลาใดมีความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้ว คืนวันอุโบสถข้างแรม ๑ แนวป่าทึบ ๑ อกาลเมฆใหญ่ตั้งขึ้น ๑ ในความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ เห็นปานนี้ ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทอดพระเนตรเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ หลุม บานประตู กำแพง ภูเขา กอไม้หรือเถาวัลย์ ไม่เป็นเครื่องกั้นในการทอดพระเนตรเห็นรูปทั้งหลายเลย หากว่าบุคคลพึงเอาเมล็ดงาเมล็ดหนึ่งเป็นเครื่องหมาย ใส่ลงในเกวียนสำหรับบรรทุกงา บุคคลนั้นพึงเอาเมล็ดงานั้นขึ้น มังสจักษุเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 379
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะดูโลกธาตุหนึ่งก็ดี สองก็ดี สามก็ดี สี่ก็ดี ห้าก็ดี สิบก็ดี ยี่สิบก็ดี สามสิบก็ดี สี่สิบก็ดี ห้าสิบก็ดี ร้อยก็ดี พันหนึ่งเป็นส่วนน้อยก็ดี สองพันเป็นปานกลางก็ดี สามพันก็ดี สี่พันเป็นส่วนใหญ่ก็ดี หรือว่าทรงประสงค์เพื่อจะทรงดูโลกธาตุเท่าใด ก็ทรงเห็นโลกธาตุเท่านั้น ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระปัญญาใหญ่ มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาไว มีพระปัญญาคมกล้า มีพระปัญญาทำลายกิเลส ทรงฉลาดในประเภทปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทาแล้ว ทรงถึงแล้วซึ่งเวสารัชชญาณ ๔ ทรงพลญาณ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษผู้องอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไป มีญาณไม่มีที่สุด มีเดชไม่มีที่สุด มียศไม่มีที่สุด เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ เป็นผู้นำ นำไปให้วิเศษ นำเนืองๆ ให้เข้าใจ ให้เพ่งพินิจ เป็นผู้ตรวจ ให้เลื่อมใส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังประชาชนให้เข้าใจมรรคที่ยังไม่เข้าใจ ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้มรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายเป็นผู้ดำเนินตามมรรค ประกอบในภายหลังอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงรู้อยู่ ชื่อว่าทรงรู้ ทรงเห็นอยู่ ชื่อว่าทรงเห็น เป็นผู้มีจักษุ มีญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 380
มีธรรม มีคุณอันประเสริฐ เป็นผู้ตรัสบอกธรรม ตรัสบอกทั่วไป ทรงแนะนำประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เสด็จไปอย่างนั้น บทธรรมที่พระองค์มิได้ทรงรู้ มิได้ทรงเห็น มิได้ทรงทราบ มิได้ทรงทำให้แจ่มแจ้ง มิได้ทรงถูกต้อง ไม่มีเลย.
ธรรมทั้งหมดรวมทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน ย่อมมาสู่คลองในมุข คือ พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว โดยอาการทั้งปวง ขึ้นชื่อว่าบทธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรแนะนำ ควรรู้ มีอยู่ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ประโยชน์ในภพนี้ ประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์เปิดเผย ประโยชน์ลี้ลับ ประโยชน์ที่ควรแนะนำ ประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาว หรือประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ.
กายกรรมทั้งหมด วจีกรรมทั้งหมด มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระญาณมิได้ขัดข้องในอดีต อนาคต ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นที่สุด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีพระญาณเป็นที่สุด พระญาณไม่เป็นไปล่วงบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่ล่วงพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดแห่งกันและกัน ลิ้นผอบ ๒ ลิ้นสนิทกัน ลิ้นผอบข้างล่าง ไม่เกินลิ้นผอบข้างบน ลิ้นผอบข้างบน ก็ไม่เกินลิ้นผอบข้างล่าง ลิ้นผอบทั้งสองนั้นตั้งอยู่ในที่สุดแห่งกัน ฉันใด พระผู้มีพระภาค-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 381
เจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีบทธรรมที่ควรแนะนำ และพระญาณตั้งอยู่ในที่สุดแห่งกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นที่สุด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีพระญาณเป็นที่สุด พระญาณไม่เป็นไปล่วงบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ ก็ไม่เป็นไปล่วงพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดแห่งกันและกัน พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยอาวัชชนะ เนื่องด้วยอากังขา เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบฉันทะเป็นที่มานอน อนุสัย จริต อธิมุตติ ของสัตว์ทั้งปวง ทรงทราบชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือปัญญาน้อย ผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตาคือมีปัญญามาก มีอินทรีย์แก่กล้า ที่มีอินทรีย์อ่อน ที่มีอาการดี ที่มีอาการชั่ว ที่ให้รู้ง่าย ที่ให้รู้ยาก ที่เป็นภัพพสัตว์ ที่เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในแห่งพระพุทธญาณ.
ปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดรวมถึงปลาติมิติมิงคละ ย่อมเป็นไปในภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน นกทุกชนิดโดยที่สุดรวมถึงครุฑสกุลเวนเตยยะ ย่อมบินไปในประเทศอากาศ ฉันใด พระสาวกทั้งหลายเสมอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 382
ด้วยพระสารีบุตรโดยปัญญา ย่อมเป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณย่อมแผ่ปกคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะที่เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด มีวาทะโต้ตอบกับผู้อื่น เป็นดังนายขมังธนู ยิงขนทรายแม่น บัณฑิตเหล่านั้นเป็นประหนึ่งว่า เที่ยวทำลายทิฏฐิเขาด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นปรุงแต่งปัญหาเข้ามาเฝ้าพระตถาคตแล้ว ทูลถามปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและตรัสแก้แล้ว ทรงแสดงเหตุและอ้างผลแล้ว บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไพโรจน์ยิ่งขึ้นด้วยพระปัญญาในสถานที่นั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า มีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือ ปัญญาน้อย ผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือ ปัญญามาก ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ผู้แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้มีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก ดอกอุบลบัวเขียว ดอกปทุมบัวหลวง หรือดอกบุณฑริกบัวขาว บางชนิดเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ไปตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ บางชนิดเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางชนิดเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นจากน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 383
ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือ ปัญญาน้อย ผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือ ปัญญามาก ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ผู้แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต ตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในเพราะอุเทศ และปริปุจฉาในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนาธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู ตรัสบอกอานาปานัสสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต ตรัสบอกความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต ตรัสบอกอาการไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.
บุคคลยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ แม้ฉันใด ข้าแต่พระสุเมธ ผู้มีพระสมันตจักษุ พระองค์เสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ปราศจากความโศก ก็ทรงเห็นหมู่ชนที่อาเกียรณ์ด้วยความโศก ผู้อันชาติและชราครอบงำ เปรียบฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 384
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างไร พระสัพพัญญุตญาณท่านกล่าวว่า สมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
บทธรรมอะไรๆ อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง หรือไม่พึงทราบ มิได้มีเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เฉพาะซึ่งบทธรรมทั้งปวง เนยยบทใดมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนยยบทนั้น เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุ ไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์.
[๔๙๓] คำว่า ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระเทพฤาษี (เมื่อมีผู้ถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ได้ศึกษา ทรงจำ เข้าไปกำหนดไว้แล้วอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าใครทูลถามปัญหา อันชอบแก่เหตุเป็นครั้งที่ ๓ ย่อมพยากรณ์ มิได้ตรัสห้าม.
คำว่า ผู้เป็นพระเทพฤๅษี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นทั้งเทพ เป็นทั้งฤๅษี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพระเทพฤๅษี พระราชาทรงผนวชแล้ว เรียกกันว่าพระราชฤๅษี พราหมณ์บวชแล้วก็เรียกกันว่า พราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 385
ฤๅษี ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นทั้งเทพ เป็นทางฤๅษี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพระเทพฤๅษี.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชแล้ว แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่า พระฤๅษี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ พระองค์จึงชื่อว่าเป็นพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสมาธิขันธ์ใหญ่ ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่า เป็นพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาซึ่งการทำลายกองแห่งความมืดใหญ่ การทำลายวิปลาสใหญ่ การถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ การคลายกองทิฏฐิใหญ่ การล้มมานะเพียงดังว่าธงใหญ่ การสงบอภิสังขารใหญ่ การสลัดออกซึ่งโอฆกิเลสใหญ่ การปลงภาระใหญ่ การตัดเสียซึ่งสังสารวัฏใหญ่ การดับความเดือดร้อน การระงับความเร่าร้อนใหญ่ การให้ยกธรรมดังว่าธงใหญ่ขึ้น แม้เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงชื่อว่า เป็นพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาซึ่งสติปัฏฐานใหญ่ สัมมัปปธานใหญ่ อิทธิบาทใหญ่ อินทรีย์ใหญ่ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคมีองค์ ๘ ใหญ่ นิพพานใหญ่ แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่า พระฤๅษี.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า อันสัตว์ทั้งหลายที่มีอานุภาพมากแสวงหา เสาะหา ค้นหาว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทวดา ล่วงเทวดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้องอาจกว่านรชนประทับอยู่ ณ ที่ไหน แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่า เป็นพระฤๅษี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ยินมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 386
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระฤๅษี (มีผู้ทูลถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระเทพฤๅษี (มีผู้ทูลถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์.
[๔๙๔] โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกกับเทวโลก ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระโคดมผู้มียศ.
[๔๙๕] คำว่า โลกนี้ ในอุเทศว่า อยํ โลโก ปโร โลโก ดังนี้ คือ มนุษยโลก.
คำว่า โลกอื่น คือ โลกทั้งหมด ยกมนุษยโลกนี้ เป็นโลกอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกนี้ โลกอื่น.
[๔๙๖] คำว่า พรหมโลกกับเทวโลก ความว่า พรหมโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พรหมโลกกับเทวโลก.
[๔๙๗] คำว่า ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ ความว่า โลกย่อมไม่ทราบซึ่งความเห็น ความควร ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้มีความเห็นอย่างนี้ มีความควรอย่างนี้ มีความชอบใจอย่างนี้ มีลัทธิอย่างนี้ มีอัธยาศัยอย่างนี้ มีความประสงค์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 387
[๔๙๘] คำว่า พระโคดมผู้มียศ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถึงยศแล้ว เพราะฉะนั้น ทรงมียศ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระโคดมเป็นผู้มียศ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกกับเทวโลก ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระโคดมผู้มียศ.
[๔๙๙] ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้ เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น.
[๕๐๐] คำว่า ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้ ความว่า ผู้เห็นธรรมอันงาม เห็นธรรมอันเลิศ เห็นธรรมอันประเสริฐ เห็นธรรมอันวิเศษ เห็นธรรมเป็นประธาน เห็นธรรมอันอุดม เห็นธรรมอย่างยิ่งอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้.
[๕๐๑] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ความว่า พวกข้าพระองค์เป็นผู้มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ฯลฯ เพื่อให้ทรงชี้แจงเพื่อตรัส แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้า.
[๕๐๒] คำว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างไร ความว่า ผู้มองเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 388
เห็นประจักษ์ พิจารณา เทียบเคียง เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างไร.
[๕๐๓] คำว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น ความว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น ไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้ เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น.
[๕๐๔] ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงข้ามพ้นมัจจุราชได้ด้วยอุบายอย่างนี้ เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น.
[๕๐๕] คำว่า โลก ในอุเทศว่า สุญฺโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ ดังนี้ คือ นิรยโลก ติรัจฉานโลก ปิตติวิสยโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โลก โลก ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ เรากล่าวว่าโลก เพราะเหตุว่า ย่อมแตก อะไรแตก จักษุแตก รูปแตก จักษุวิญญาณแตก จักษุสัมผัสแตก สุขเวทนาก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 389
ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็แตก หูแตก เสียงแตก จมูกแตก กลิ่นแตก ลิ้นแตก รสแตก กายแตก โผฏฐัพพะแตก มนะแตก ธรรมารมณ์แตก มโนวิญญาณแตก มโนสัมผัสแตก สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็แตก ดูก่อนภิกษุ ธรรมมีจักษุเป็นต้นนั้นย่อมแตกดังนี้แล เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่าโลก.
คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยสามารถความกำหนดว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ ด้วยสามารถพิจารณาเห็นสังขารโดยเป็นของว่างเปล่า ๑.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการกำหนดว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ อย่างไร. ใครๆ ย่อมไม่ได้อำนาจในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึงได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อมไม่ได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และพึงได้ในเวทนาว่า ขอเวทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 390
ของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และพึงได้ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.
สังขารเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึงได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึงได้ในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 391
ภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีเจตนาเป็นมูลเหตุ ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมมนสิการโดยแยบคายด้วยดี ถึงปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ.
คือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
ก็เพราะอวิชชานั้นแล ดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการกำหนดว่า ไม่เป็นไปในอำนาจอย่างนี้.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นของว่างเปล่า อย่างไร.
ใครๆ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 392
ไม่ได้แก่นสารในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ.
รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.
เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร สังขารไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.
ต้นอ้อไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นละหุ่งไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นมะเดื่อ ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นรักไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นทองหลางไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ฟองน้ำไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต่อมน้ำไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นกล้วยไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง พยับแดดไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด.
รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.
เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 393
ปราศจากแก่นสาร สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร สังขารไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณาเห็นสังขารโดยเป็นของว่างเปล่า อย่างนี้.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญด้วยเหตุ ๒ ประการนี้.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๖ อย่าง คือ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่ ๑ โดยทำตามความชอบใจไม่ได้ ๑ โดยเป็นที่ตั้งแห่งความไม่สบาย ๑ โดยไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ โดยเป็นไปตามเหตุ ๑ โดยว่างเปล่า ๑ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่... โดยว่างเปล่า บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๖ อย่างนี้.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นรูป โดยความว่าง ๑ โดยความเปล่า ๑ โดยความสูญ ๑ โดยไม่ใช่ตน ๑ โดยไม่เป็นแก่นสาร ๑ โดยเป็นดังผู้ฆ่า ๑ โดยความเสื่อม ๑ โดยเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑ โดยมีอาสวะ ๑ โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความว่าง... โดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 394
ความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๐ อย่างนี้.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๒ อย่าง คือ ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปไม่ใช่สัตว์ ๑ ไม่ใช่ชีวิต ๑ ไม่ใช่บุรุษ๑ ไม่ใช่คน๑ ไม่ใช่มาณพ ๑ ไม่ใช่หญิง ๑ ไม่ใช่ชาย ๑ ไม่ใช่ตน ๑ ไม่ใช่ของที่เนื่องกับตน ๑ ไม่ใช่เรา ๑ ไม่ใช่ของเรา ๑ ไม่มีใครๆ ๑ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่สัตว์... ไม่มีใครๆ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๒ อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่าไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย... สัญญาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย... สังขารไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ใด ที่มีอยู่ในเชตวันวิหารนี้ ชนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 395
ไปเสีย เผาเสียหรือพึงทำตามควรแก่เหตุ ท่านทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำเราทั้งหลายไปเสีย เผาเสีย หรือทำตามควรแก่เหตุบ้างหรือหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ตนหรือสิ่งที่เนื่องกับตนของข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขตลอดกาลนาน บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน ฉะนั้น จึงกล่าวว่า โลกสูญ ดูก่อนอานนท์ สิ่งอะไรเล่าสูญจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน จักษุสูญ รูปสูญ จักษุวิญญาณสูญ จักษุสัมผัสสูญ สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 396
หรือสิ่งที่เนื่องกับตน หูสูญ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญ ธรรมารมณ์สูญ มโนวิญญาณสูญ สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตนนั่นแล ฉะนั้น จึงกล่าวว่า โลกสูญ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
ดูก่อนคามณี เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งสิ้น ซึ่งความสืบต่อแห่งสังขารทั้งสิ้น ตามความเป็นจริง ภัยนั้นย่อมไม่มี เมื่อใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกเสมอหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่พึงปรารถนาภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น เว้นไว้แต่นิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมตามค้นหารูป คติของรูปมีอยู่เท่าไร ตามค้นหาเวทนา คติของเวทนามีอยู่เท่าไร ตามค้นหาสัญญา คติของสัญญามีอยู่เท่าไร ตามค้นหาสังขาร คติของสังขารมีอยู่เท่าไร ตามค้นหาวิญญาณ คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร ก็เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เมื่อภิกษุตามค้นหารูป คติของรูปมีอยู่เท่าไร ตามค้นหาเวทนา คติของเวทนามีอยู่เท่าไร ตามค้นหาสัญญา คติของสัญญามีอยู่เท่าไร ตามค้นหาสังขาร คติของสังขารมีอยู่เท่าไร ตามค้นหาวิญญาณ คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 397
ความถือใดด้วยอำนาจทิฏฐิว่า เราก็ดี ด้วยอำนาจตัณหาว่า ของเราก็ดี ด้วยอำนาจมานะว่า เป็นเราก็ดี ของภิกษุใดมีอยู่ ความถือแม้นั้นย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า จงมองดู จงพิจารณา จงเทียบเคียง จงตรวจตรา จงให้เเจ่มแจ้ง จงทำให้ปรากฏ ซึ่งโลกโดยความเป็นของสูญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ.
[๕๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า โมฆราช ในอุเทศว่า โมฆราช สทา สโต ดังนี้ คำว่า ทุกเมื่อ คือ ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง.
คำว่า ผู้มีสติ คือ มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐาน เครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้นตรัสว่า เป็นผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนโมฆราช... มีสติทุกเมื่อ.
[๕๐๗] ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ตรัสว่า อัตตานุทิฏฐิ ในอุเทศว่า อตฺตานุทิฏฺิํ อูหจฺจ ดังนี้ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง ทิฏฐิอันไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิเป็นทางกันดาร ทิฏฐิเป็นข้าศึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 398
(เสี้ยนหนาม) ทิฏฐิอันแส่ไปผิด ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบไว้ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความจับต้องทางชั่ว ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือโดยการแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในวัตถุไม่จริงว่าเป็นจริง ทิฏฐิ ๖๒ มีเท่าไร ทิฏฐินี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ.
คำว่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว ความว่า รื้อ ถอน ฉุด ชัก ลากออก เพิกขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอัตตานุทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว.
[๕๐๘] คำว่า พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ความว่า พึงข้ามขึ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง แม้ซึ่งมัจจุ แม้ซึ่งชรา แม้ซึ่งมรณะ ด้วยอุบายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
[๕๐๙] คำว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ ความว่า มองเห็น พิจารณาเห็น เทียบเคียง พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโลก ด้วยอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้.
[๕๑๐] แม้มารก็ชื่อว่ามัจจุราช แม้ความตายก็ชื่อว่ามัจจุราช ในอุเทศว่า มจฺจุราชา น ปสฺสติ ดังนี้.
คำว่า ย่อมไม่เห็น ความว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น คือ ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ปะ ไม่ได้เฉพาะ.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในป่า เมื่อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เดินไปก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 399
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เข้าตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดไม่ได้ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะของภิกษุนั้นก็หมดสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่าทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 400
สู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ภิกษุนั้นเดินอยู่ก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นไม่ไปในทางแห่งมารผู้ลามก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้ เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบโมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕
อรรถกถาโมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕
พึงทราบวินิจฉัยในโมฆราชสูตรที่ ๑๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทฺวาหํ คือ เทฺว วาเร อหํ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว. เพราะว่าโมฆราชมาณพนั้น คราวก่อนทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง ๒ ครั้ง เมื่อจบอชิตสูตรและติสสเมตเตยยสูตร. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรอให้โมฆราชมาณพมีอินทรีย์แก่กล้าก่อน จึงไม่ทรงพยากรณ์. ด้วยเหตุนั้น โมฆราชมาณพจึงทูลว่า ทฺวาหํ สกฺก อปุจฺฉิสฺสํ ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว.
บทว่า ยาวตติยญฺจ เทวิสิ พฺยากโร-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 401
ตีติ เม สุตํ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระเทพฤๅษี ย่อมทรงพยากรณ์ในครั้งที่ ๓ ความว่า ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระฤษีวิสุทธิเทพ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีผู้ทูลถามปัญหาเป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์กะสหธรรมิก.
นัยว่าโมฆราชมาณพได้ฟังมาอย่างนี้ ณ ฝั่งแม่น้ำโคธาวารีนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น โมฆราชมาณพจึงทูลว่า พฺยากโรตีติ เม สุตํ ดังนี้ คำใดที่พึงกล่าวในนิเทศแห่งคาถานี้ คำนั้นมีนัยดังได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า อยํ โลโก คือ มนุษยโลกนี้.
บทว่า ปโร โลโก คือ โลกที่เหลือยกเว้นมนุษยโลกนั้น.
บทว่า สเทวโก พร้อมด้วยเทวโลก คือ โลกที่เหลือ ยกเว้นพรหมโลก. ได้แก่ อุปปัตติเทพและสมมติเทพ บทที่ว่า พฺรหฺมโลโก สเทวโก พรหมโลก พร้อมด้วยเทวโลก เป็นเพียงแสดงคำมีอาทิว่า สเทวโก โลโก โลกพร้อมด้วยเทวโลก.
ด้วยบทนั้น พึงทราบโลกแม้ทั้งหมดมีประการดังได้กล่าวแล้วอย่างนั้น.
บทว่า เอวํ อภิกฺกนฺตทสฺสาวิํ พระองค์ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้ คือ โมฆราชมาณพแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธรรมอันเลิศอย่างนี้ สามารถจะทรงเห็นอัธยาศัย อธิมุตติ คติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของโลกพร้อมด้วยเทวโลกได้.
บทว่า สุญฺโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ ท่านจงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงดูโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๒ อย่าง คือด้วยการกำหนดความไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ ด้วยพิจารณาเห็นสังขารว่างเปล่า ๑.
บทว่า อตฺตานุทิฏฺิํ โอหจฺจ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย คือ ถอนความเห็นว่าเป็นตัวตนเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 402
บทว่า ลุชฺชติ คือ ย่อมแตก.
ชื่อว่า จกฺขุ เพราะเห็น. จักษุนั้นให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควร แก่จักษุวิญญาณเป็นต้นในบริเวณที่เห็นได้ อันเป็นสถานที่เกิดของสรีรสัณฐาน อันตั้งอยู่เฉพาะหน้าในท่ามกลางวงกลมสีดำ ซึ่งล้อมด้วยวงกลมสีขาวอันเป็นสสัมภารจักษุ (ดวงตา) ตั้งอยู่.
ชื่อว่า รูปา เพราะย่อยยับ. อธิบายว่า รูปทั้งหลายถึงความวิการด้วยสี ย่อมประกาศความสบายใจ.
ชื่อว่า จกฺขุวิญฺาณํ เพราะวิญญาณเป็นไปแล้วแต่จักษุ หรือวิญญาณของจักษุอาศัยจักษุ.
สัมผัสเป็นไปแล้วโดยจักษุชื่อว่า จักขุสัมผัส.
บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย คือ ผัสสะอันสัมปยุตแล้วด้วยจักษุวิญญาณเป็นปัจจัย.
บทว่า เวทยิตํ คือ การเสวย. อธิบายว่า เวทนา.
ชื่อว่า สุข เพราะทำผู้นั้นให้เกิดสุข. อธิบายว่า ทำบุคคลผู้มีเวทนาเกิดให้ถึงสุข.
หรือชื่อว่า สุข เพราะกัดกินและขุดด้วยดีซึ่งความเจ็บป่วยทางกายและจิต.
ชื่อว่า ทุกข์ เพราะทนได้ยาก. อธิบายว่า ทำบุคคลผู้มีเวทนาเกิดให้ถึงทุกข์.
ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะไม่ทุกข์ ไม่สุข. ม อักษรท่านกล่าวด้วยบทสนธิ.
อนึ่ง จักษุสัมผัสนั้น เป็นปัจจัย ๘ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย ๑ อัญญมัญญปัจจัย ๑ นิสสยปัจจัย ๑ วิปากปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ สัมปยุตตปัจจัย ๑ อัตถิปัจจัย ๑ อวิคตปัจจัย ๑ แก่เวทนาที่สัมปยุตกับตน. เป็นปัจจัย ๕ ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย ๑ สมนันตรปัจจัย ๑ อุปนิสสยปัจจัย ๑ นัตถิปัจจัย ๑ วิคตปัจจัย ๑ แก่สัมปฏิจฉันนะและธรรมที่สัมปยุต เป็นปัจจัยด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น แก่สันตีรณะเป็นต้นและธรรมที่สัมปยุต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 403
ชื่อว่า โสตํ เพราะฟัง. โสตะนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จ ตามสมควรแก่โสตวิญญาณเป็นต้น ในช่องมีสัณฐานพอสอดนิ้วเข้าไปได้ มีขนอ่อนและแดงอยู่ภายในช่องสสัมภารโสตะตั้งอยู่.
ชื่อว่า สทฺทา เพราะไป อธิบายว่า เปล่งออก.
ชื่อว่า ฆานํ เพราะสูดดม. ฆานะนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จตามสมควรแก่ฆานวิญญาณเป็นต้น ในที่มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะภายในโพรงของสสัมภารฆานะตั้งอยู่.
ชื่อว่า คนฺธา เพราะฟุ้งไป. อธิบายว่า ประกาศวัตถุ (เรื่องราว) ของตน.
ชื่อว่า ชิวฺหา เพราะเลี้ยงชีวิต.
หรือ ชื่อว่า ชิวฺหา เพราะอรรถว่าลิ้ม ชิวหานั้นยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จตามสมควรแก่ชิวหาวิญญาณเป็นต้น ในที่ที่มีสัณฐานคล้ายปลายกลีบดอกอุบลซึ่งแยกกลีบในท่ามกลาง ท่ามกลางพื้นเบื้องบนเว้นยอดโคนและข้างของสสัมภารชิวหาตั้งอยู่.
ชื่อว่า รสา เพราะเป็นที่ยินดีของสัตว์. อธิบายว่า ชอบใจ.
ชื่อว่า กาโย เพราะเป็นที่เกิดแห่งธรรมที่เป็นไปกับอาสวะอันน่าเกลียด.
บทว่า อาโย ได้แก่ ที่เกิด.
ชื่อว่า ความเป็นไปแห่งรูปมีใจครองมีอยู่ในกายนี้เท่าใด กายประสาทก็ยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จตามสมควรแก่กายวิญญาณเป็นต้นตั้งอยู่เท่านั้น ในกายนั้นโดยมาก.
ชื่อว่า โผฏฺพฺพา เพราะถูกต้อง.
ชื่อว่า มโน เพราะรู้ อธิบายว่า รู้แจ้ง.
ชื่อว่า ธมฺมา เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน.
บทว่า มโน คือ ภวังค์พร้อมด้วยอาวัชชนะ.
บทว่า ธมฺมา คือ ธรรมารมณ์ที่เหลือเว้นนิพพาน.
บทว่า มโนวิญฺาณํ คือ ชวนะมโนวิญญาณ.
บทว่า มโนสมฺผสฺโส ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วยชวนะมโนวิญญาณนั้น. มโนสัมผัสนั้นเป็นปัจจัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 404
แก่สัมปยุตเวทนา ด้วยอำนาจปัจจัย ๗ (๑) ที่เหลือ เว้นวิปากปัจจัย มโนสัมผัสนั้นเป็นปัจจัยแก่เวทนาทั้งหลาย ที่เหลือจากเวทนาที่สัมปยุตกับชวนะมโนวิญญาณนั้น (ที่เกิด) ในลำดับต่อมา ด้วยอำนาจอุปนิสัยปัจจัยเท่านั้น.
บทว่า อวสิยปฺปวตฺตสลฺลกฺขณวเสน ด้วยสามารถการกำหนดว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ คือ ด้วยสามารถการเห็น การดูสังขารไม่เป็นไปในอำนาจ.
บทว่า รูเป วโส น ลพฺภติ ใครๆ ไม่ได้อำนาจในรูป คือ ไม่ได้ความมีอำนาจในรูป.
แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า น ตุมฺหากํ ไม่ใช่ของท่าน คือ จริงอยู่ เมื่อตนมีอยู่ ย่อมมีสิ่งที่เนื่องด้วยตน ตนนั้นแหละไม่มี. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ใช่ของท่าน.
บทว่า นาปิ อญฺเสํ ของคนอื่นก็ไม่ใช่ คือ ตนของคนอื่น ชื่อว่าคนอื่น เมื่อตนนั้นมีอยู่ ตนของคนอื่นก็พึงมี แม้ตนนั้นก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ของคนอื่นก็ไม่ใช่.
บทว่า ปุราณมิทํ ภิกฺขเว กมฺมํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้ อธิบายว่า กรรมนี้มิใช่กรรมเก่า แต่กายนี้เกิดแต่กรรมเก่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ด้วยปัจจัยโวหาร.
บทว่า อภิสงฺขตํ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วเป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้ว เพราะมีสิงค์เสมอกัน (คือเป็นนปุงสกลิงค์เหมือนกัน) กับคำก่อน (คือ กมฺมํ) ด้วยสามารถแห่งกรรมโวหารนั่นเอง.
พึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า บทว่า อภิสงฺขตํ คือ ปัจจัยปรุงแต่ง.
บทว่า อภิสญฺเจตยิตํ คือ มีเจตนาเป็นที่ตั้ง มีเจตนาเป็นมูลเหตุ.
บทว่า เวทนียํ คือ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.
(๑) สหชาตะ, อัญญมัญญะ, นิสสยะ, อาหาระ, สัมปยุตตะ, อัตถิ, อวิคตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 405
บทว่า รูเป สาโร น ลพฺภติ ใครๆ ย่อมไม่ได้แก่นสารในรูป คือ ไม่ได้สาระในรูปว่าเป็นของเที่ยงเป็นต้น.
แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า รูปํ อสฺสารํ นิสฺสารํ คือ รูปไม่มีแก่นสารและไร้แก่นสาร.
บทว่า สาราปคตํ คือ ปราศจากสาระ.
บทว่า นิจฺจสารสาเรน วา โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร คือ โดยสาระว่าเที่ยงเป็นไปเพราะก้าวล่วงภังคขณะ ไม่มีสาระโดยสาระว่าเที่ยง เพราะไม่มีความเที่ยงอะไรๆ.
บทว่า สุขสารสาเรน วา โดยสาระว่าเป็นสุขเป็นแก่นสาร คือ โดยสาระว่าเป็นสุขเป็นแก่นสาร เพราะไม่มีสาระว่าเป็นสุขอะไรๆ ก้าวล่วงซึ่งสุขในฐิติขณะ.
บทว่า อตฺตสารสาเรน วา โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร คือ โดยสาระว่าตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนว่าเป็นแก่นสาร.
บทว่า นิจฺเจน วา โดยความเที่ยง คือ โดยความเที่ยง เพราะไม่มีความเที่ยงอะไรๆ เป็นไปเพราะก้าวล่วงภังคะ.
บทว่า ธุเวน วา โดยความยั่งยืน คือ โดยความยั่งยืน เพราะไม่มีอะไรๆ เป็นความยั่งยืนแม้ในเวลามีอยู่ ก็เพราะอาศัยปัจจัยจึงเป็นไปได้.
บทว่า สสฺสเตน วา โดยความมั่นคง คือ โดยความมั่นคง เพราะไม่มีอะไรๆ ที่ขาดไปจะมีอยู่ได้ตลอดกาล.
บทว่า อวิปริณามธมฺเมน วา โดยมีความไม่แปรปรวนไปเป็นธรรมดา คือ โดยมีความไม่แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะไม่มีอะไรๆ ที่จะไม่แปรปรวนไปเป็นปกติ ด้วยอำนาจแห่งความแก่และความตาย.
บทว่า จกฺขุ สุญฺํ อตฺเตน วา อตฺตนิเยน วา จักษุสูญจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน คือ สูญจากตนที่กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ผู้ทำ ผู้เสวยเข้าไปอยู่เอง และจากบริขารอันเป็นของตน เพราะความไม่มีตนนั่นเอง. อธิบายว่า ทั้งหมดเป็นธรรมชาติมีอยู่ในโลกมีจักษุเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 406
เพราะตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนไม่มีในธรรมชาตินี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสูญ.
แม้โลกุตรธรรมก็สูญเหมือนกัน เพราะสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน. ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมในอดีตสูญไม่มี. ท่านกล่าวถึงความไม่มีสาระในตน และสิ่งที่เนื่องด้วยตนในธรรมนั้น. ในโลกเมื่อพูดว่า เรือนสูญ หม้อสูญ ไม่ใช่ไม่มีเรือนและหม้อ. ท่านกล่าวถึงความไม่มีสิ่งอื่นในเรือนและในหม้อนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความข้อนี้ไว้ว่า อะไรๆ ในเรือนและในหม้อนั้นไม่มี เรือนและหม้อนั้นก็สูญ ด้วยเหตุนั้น สิ่งใดยังมีเหลืออยู่ในเรือนและในหม้อนั้น สิ่งนั้นเมื่อยังมีอยู่ ก็รู้ว่าสิ่งนี้มีอยู่ดังนี้.
ความนี้ก็เหมือนกันกับในคัมภีร์ญายะ และคัมภีร์สัททะ.
ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึงอนัตตลักขณสูตรไว้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อนิสฺสริยโต โดยความไม่เป็นใหญ่ คือ โดยไม่เป็นไปในอำนาจ ในความเป็นใหญ่ของตน.
บทว่า อกามการิยโต โดยทำตามความชอบใจไม่ได้ คือ ด้วยอำนาจแห่งการทำตามความชอบใจของตนไม่ได้.
บทว่า อผาสุนียโต โดยเป็นที่ตั้งแห่งความไม่สบาย คือ โดยความไม่มีที่พึ่งเพื่อความดำรงอยู่.
บทว่า อวสวตฺตนโต คือ โดยไม่เป็นไปในอำนาจของตน.
บทว่า ปวตฺติโต โดยเป็นไปตามเหตุ คือ โดยเป็นไปอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง.
บทว่า วิวิตฺตโต โดยว่างเปล่า คือ โดยไม่มีสาระ.
บทว่า สุทฺธํ ทั้งสิ้น คือ ชื่อว่าทั้งสิ้นอันเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเกิดเป็นปัจจัยอย่างเดียว เว้นอิสระ กาล ปกติ. และเมื่อบุคคลเห็นซึ่งความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งสิ้นว่า กองแห่งธรรมทั้งสิ้นปราศจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน.
บทว่า สุทฺธํ สงฺขารสนฺตติํ ความสืบต่อแห่งสังขารทั้งสิ้น คือ เมื่อเห็นความสืบต่อแห่งสังขารที่ขาดไปแล้วทั้งสิ้น ท่านกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 407
ความเดียวกันมีสังขารเป็นต้น ๒ - ๓ ครั้งโดยเอื้อเฟื้อ. เมื่อเห็นอย่างนี้ย่อมไม่มีภัยในปากแห่งมรณะ.
บทว่า คามณิ เป็นคำร้องเรียก.
บทว่า ติณกฏฺสมํ โลกํ เห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ คือ เมื่อใดเห็นโลกอันได้แก่ขันธ์มีใจครองนี้เสมอด้วยหญ้าและไม้ ความเห็นว่า เมื่อบุคคลถือซึ่งหญ้าและไม้ในป่าได้ ก็ย่อมถือซึ่งตนหรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนได้ ย่อมไม่มี หรือเมื่อหญ้าและไม้เหล่านั้นหายไปเองบ้าง พินาศไปเองบ้าง ความเห็นว่าตนย่อมหายไป สิ่งที่เนื่องด้วยตนพินาศไปก็มีไม่ได้ ฉันใด เมื่อบุคคลไม่เห็นว่า แม้เมื่อกายนี้หายไปพินาศไป ตนหรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนย่อมแตกดับไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา ฉันนั้น.
บทว่า น อญฺํ ปฏฺยเต กิญฺจิ อญฺตฺร อปฺปฏิสนฺธิยา คือ บุคคลไม่ปรารถนาภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น นอกจากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.
บทว่า รูปํ สมนฺเนสติ บุคคลย่อมตามค้นหารูป คือ แสวงหาสาระแห่งรูป ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิว่า เรา. ด้วยอำนาจแห่งตัณหาว่า ของเรา. ด้วยอำนาจแห่งมานะว่า เป็นเรา.
บทว่า ตมฺปิ ตสฺส น โหติ คือ ความถือแม้ ๓ อย่างนั้นย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.
บทว่า อิธ เป็นนิบาตลงในความอ้างถึงที่อยู่.
อิธ นิบาตนี้ บางแห่งท่านกล่าวหมายถึง โลก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระตถาคตทรงอุบัติใน โลก นี้.
บางแห่งหมายเอา ศาสนา เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่หนึ่งมีอยู่ในศาสนานี้ และสมณะที่สองก็มีอยู่ในศาสนานี้.
บางแห่งหมายเอา โอกาส (คือภพ) เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 408
เมื่อเราเป็นเทพดำรงอยู่ใน ภพดาวดึงส์ นี้แล เราได้อายุเพิ่มขึ้นอีก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงทราบอย่างนี้เถิด. (๑)
บางแห่งหมายเอาเพียงปทปูรณะ (คือทำบทให้เต็ม) เท่านั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๒) เราฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้วดังนี้. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงโลก.
ก็ในบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้.
บุคคลไม่สดับธรรมที่ควรรู้ เพราะไม่มีอาคมและอธิคม (การศึกษาและการบรรลุ) บุคคลใดไม่มีอาคม ปฏิเสธทิฏฐิ เพราะปราศจากการเรียน การสอบถาม การวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐานเป็นต้น ไม่มีอธิคม เพราะไม่บรรลุธรรมที่ควรบรรลุด้วยการปฏิบัติ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่สดับธรรมที่ควรรู้ เพราะไม่มีอาคมและอธิคมด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลายมีการเกิดกิเลสหนาเป็นต้น หรือว่าชนนี้ ชื่อว่าปุถุผู้หนา เพราะความเป็นผู้เกิดกิเลสหนาหยั่งลงในภายใน.
จริงอยู่ ชื่อว่าปุถุชนด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสหนาคือมีประการต่างๆ ให้เกิดขึ้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะยังกิเลสหนาให้เกิด. เพราะไม่กำจัดสักกายทิฏฐิหนา. เพราะมองดูหน้าของพระศาสดาทั้งหลายหนา (มาก). เพราะจมอยู่ด้วยคติทั้งปวงหนา. เพราะปรุงแต่งอภิสังขารต่างๆ หนา. เพราะลอยไปด้วยโอฆะต่างๆ หนา. เพราะเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่างๆ หนา. เพราะถูกเผาด้วยความร้อน
(๑) ที. มหา. ๑๐/ข้อ ๒๖๔.
(๒) ม. มุ. ๑๒/ข้อ ๒๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 409
ต่างๆ หนา. เพราะยินดี อยาก กำหนัด สยบ ถึงทับ ติด คล้อง ผูกพันในกามคุณ ๕ หนา. เพราะร้อยรัด ครอบงำ ถูกต้อง ปิด ปกปิด ครอบไว้ด้วยนิวรณ์ ๕ หนา. เพราะเป็นผู้ล่วงเลยคลองธรรม หันหลังให้อริยธรรม ประพฤติธรรมต่ำ หยั่งลงในภายในหนา.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปุถุชน เพราะชนนี้ผู้ถึงการนับแยกกัน ไม่ปะปนกับพระอริยบุคคล ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้นหนา.
ด้วยบทสองบทนี้อย่างนี้ว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ท่านกล่าวถึงปุถุชนสองจำพวกว่า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย ์ ตรัสถึงปุถุชนสองจำพวก คือ อันธปุถุชนพวกหนึ่ง กัลยาณปุถุชนพวกหนึ่ง.
ในปุถุชนสองจำพวกนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงอันธปุถุชน (ปุถุชนบอด).
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า จริยานํ อทสฺสาวี ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าดังนี้ต่อไป. พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่าพระอริยะ เพราะไกลจากกิเลส, เพราะไม่นำไปในทางเสื่อม, เพราะนำไปในทางเจริญ, เพราะเป็นผู้ทำให้โลกพร้อมทั้งเทวโลกสงบ. ในที่นี้ พระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นพระอริยะ. ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต บัณฑิตกล่าวว่าเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ในบทว่า สปฺปุริสา นี้ พึงทราบว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระตถาคต เป็นสัปบุรุษ. เพราะท่านเหล่านั้นเป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบโลกุตรคุณ จึงชื่อว่าสัปบุรุษ.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้นทั้งหมดท่านกล่าวไว้โดยส่วนสอง. แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 410
พระพุทธเจ้าก็เป็นทั้งพระอริยะเป็นทั้งสัปบุรุษ. พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี สาวกของพระพุทธเจ้าก็ดี ก็เป็นทั้งพระอริยะ เป็นทั้งสัปบุรุษ. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์ เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง กระทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวผู้นั้นว่า เป็นสัปบุรุษ.
จริงอยู่ พระสาวกของพระพุทธเจ้า ท่านกล่าวด้วยบทเพียงเท่านี้ว่า เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านกล่าวด้วยความเป็นผู้มีกตัญญูเป็นต้น.
บัดนี้พึงทราบว่า ผู้มีปกติไม่เห็นพระอริยะเหล่านั้นและไม่ทำกรรมดี ในการเห็น เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย.
ผู้ไม่เห็นนั้นมี ๒ อย่าง คือ ไม่เห็นด้วยจักษุ ๑ ไม่เห็นด้วยญาณ ๑. ในความเห็นทั้งสองอย่างนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาการไม่ได้เห็นด้วยญาณ.
จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลายแม้เห็นด้วยมังสจักษุก็ดี ด้วยทิพยจักษุก็ดี ยังไม่ชื่อว่าเห็น เพราะพระอริยะเหล่านั้นถือเอา (การเห็น) เพียงสีด้วยจักษุ เพราะไม่เป็นอารมณ์ของความเป็นพระอริยะ. แม้สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยะด้วยจักษุ แต่สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าไม่เห็นพระอริยะ.
ในเรื่องนี้มีเรื่องราวดังต่อไปนี้.
มีเรื่องเล่าว่า อุปัฏฐากของพระเถระผู้เป็นพระขีณาสพอาศัยอยู่ ณ จิตตลบรรพต บวชเมื่อแก่ วันหนึ่งไปบิณฑบาตกับพระเถระ รับบาตรและจีวรของพระเถระแล้วเดินตามมาข้างหลังถามพระเถระว่า ท่านขอรับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 411
คนเช่นไรชื่อว่าเป็นอริยะ. พระเถระกล่าวว่า คนแก่บางคนในโลกนี้ รับบาตรและจีวรของพระอริยะทั้งหลาย แล้วทำการปรนนิบัติ แม้เที่ยวไปด้วยกันก็ไม่รู้จักพระอริยะ ดูก่อนอาวุโส พระอริยะทั้งหลายอันบุคคลรู้ได้ยากอย่างนี้. แม้เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนั้น พระอุปัฏฐากนั้นก็ยังไม่เข้าใจอยู่นั่นแหละ.
เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุชื่อว่าไม่เห็น. การเห็นด้วยญาณเท่านั้นชื่อว่าเห็น.
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นร่างกายอันเปื่อยเน่านี้ของเธอ ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. เพราะฉะนั้น แม้เห็นด้วยจักษุ แต่ไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้น ที่พระอริยะทั้งหลายเห็นแล้วด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึงทราบว่าเป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย เพราะไม่เห็นธรรมอันทำให้เป็นอริยะ และความเป็นอริยะ.
บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ คือ ไม่ฉลาดในอริยธรรมอันมีสติปัฏฐานเป็นต้น.
อนึ่ง ในบทว่า อริยธมฺเม อวินีโต ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะนี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้
ชื่อว่าวินัยมี้ ๒ อย่าง ใน ๒ อย่างนี้ แต่ละอย่างแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน เพราะไม่มีวินัยนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ได้รับแนะนำ.
ก็วินัย ๒ อย่างนี้ คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑ แม้ในวินัย ๒ อย่างนี้ วินัยหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น ๕ อย่าง. สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 412
คือ ศีลสังวร ๑ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วิริยสังวร ๑. ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน (ละชั่วคราว) ๑ วิกขัมภนปหาน (ละด้วยข่มไว้) ๑ สมุจเฉทปหาน (ละเด็ดขาด) ๑ ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยสงบ) ๑ นิสสรณปหาน (ละพ้นออกไป) ๑.
ในสังวร ๕ เหล่านั้น การเข้าถึง เข้าถึงพร้อมด้วยปาติโมกขสังวร นี้ชื่อว่า ศีลสังวร. การรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ นี้ชื่อว่า สติสังวร.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ)
กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้น อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้.
นี้ชื่อว่า ญาณสังวร. ความอดทนต่อความหนาวความร้อน ชื่อว่า ขันติสังวร. ความพยายามไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วท่วมทับได้ นี้ชื่อว่า วิริยสังวร.
อนึ่ง สังวรแม้ทั้งหมดนี้ท่านกล่าวว่า สํวร เพราะกั้นกายทุจริตเป็นต้นที่ควรกั้น และที่ควรนำออกไปตามกำลังของตน กล่าวว่า วินย เพราะการนำออกไป.
พึงทราบว่าสังวรวินัยแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน โดยประการฉะนี้.
อนึ่ง การละองค์นั้นๆ ด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เหมือนการละความมืดด้วยแสงประทีป เพราะเป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณทั้งหลาย มีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น เหมือนอย่างเช่นการละสักกายทิฏฐิ ด้วยการกำหนดนามรูป. ละความเห็นว่าสังขารไม่มีเหตุ และความเห็นว่าสังขารมีปัจจัยไม่เสมอกัน ด้วยการกำหนดปัจจัย, ละความเป็นผู้สงสัย ด้วยการข้ามพ้นความสงสัยในภายหลังนั้นนั่นเอง. ละการยึดถือว่าเรา ของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 413
ด้วยการพิจารณาเป็นกลาปะ ละความสำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่าเป็นทาง ด้วยการกำหนดว่าทางและมิใช่ทาง ละอุจเฉททิฏฐิด้วยเห็นการเกิด, ละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นการดับ, ละความสำคัญในสิ่งที่เป็นภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วยการเห็นภัย, ละความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษ ด้วยเห็นว่ามีโทษ, ละความสำคัญในความยินดียิ่ง ด้วยนิพพิทานุปัสสนา, ละความเป็นผู้ไม่ประสงค์จะพ้น ด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ ละความไม่วางเฉย ด้วยอุเบกขาญาณ, ละความเป็นปฏิโลมในการตั้งอยู่ในธรรมและในนิพพาน ด้วยอนุโลมญาณ ละการถือสังขารนิมิต ด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.
การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นเหล่านั้นๆ ด้วยสมาธิอันต่างด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยห้ามความเป็นไป เหมือนห้ามแหนบนหลังน้ำ ด้วยการทุบหม้อเหวี่ยงลงไปฉะนั้น นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.
การละหมู่สรรพกิเลสอันเป็นฝ่ายสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ดังที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนๆ ของบุคคลผู้มีมรรคนั้นๆ เพราะอบรมอริยมรรค ๔ แล้ว โดยไม่ให้เป็นไปได้อีกตลอดไป นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.
ความที่กิเลสทั้งหลายสงบในขณะแห่งผล นี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหาน.
นิพพานอันละสังขตธรรมทั้งปวงแล้ว เพราะสลัดออกซึ่งสังขตธรรมทั้งปวง นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.
เพราะการละทั้งหมด นี้ชื่อว่า ปหาน เพราะอรรถว่า สละออกไป.
ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า นำออกไป.
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปหานวินัย เพราะละกิเลสนั้นๆ และเพราะมีวินัยนั้นๆ.
พึงทราบว่า แม้ปหานวินัยนี้ก็แบ่งออกเป็น ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 414
วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง และโดยประเภทมี ๑๐ อย่าง เพราะความสำรวมต่างกัน และเพราะสิ่งที่ควรละก็ยังละไม่ได้ เพราะวินัยนั้นไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่มีผู้แนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น.
แม้ในบทนี้ว่า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ, ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
โดยความก็ไม่ต่างกัน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นพระอริยะ ผู้นั่นแหละเป็นสัตบุรุษ ผู้ใดเป็นสัตบุรุษ ผู้นั้นแหละเป็นพระอริยะ ธรรมใดของพระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ ธรรมใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของพระอริยะ. อริยวินัย ก็คือสัปปุริสวินัย สัปปุริสวินัย ก็คืออริยวินัย.
บทว่า อริเย สปฺปุริเส อริยธมฺเม สปฺปุริสธมฺเม อริยวินเย หรือ สปฺปุริสวินเย ก็อย่างเดียวกันกับ บทว่า เอกเสเส เอเก เอกฏฺเ สเม สมภาเค ตชฺชาเต หรือ ตญฺเ เอาความทั้งหมดว่า เป็นอันเดียวกัน เสมอกัน เกิดที่เดียวกัน.
บทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน คือ คนบางพวกในโลกนี้ ตามเห็นรูปและตนทั้งสองอย่างว่า รูปก็คือเรา เราก็คือรูป.
เหมือนอย่างว่า ตามเห็นเปลวไฟและสีทั้งสองอย่างของตะเกียงน้ำมัน กำลังเผาอยู่ว่า เปลวไฟก็คือสี สีก็คือเปลวไฟ ฉันใด คนบางพวกในโลกนี้ ก็ฉันนั้น ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน คือตามเห็นทิฏฐิว่า ตนมีรูปอย่างนี้.
บทว่า รูปวนฺตํ วา อฺตตานํ เห็นตนว่ามีรูปบ้าง คือ ถือสิ่งไม่มีรูปว่าเป็นตน แล้วตามเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นรูป ดุจเห็นต้นไม้ว่ามีเงา.
บทว่า อตฺตนิ วา รูปํ เห็นรูปในตนบ้าง คือ ถือสิ่งไม่มีรูปนั้นแหละว่าเป็นตน แล้วตามเห็นรูปในตน เหมือนตามดมกลิ่นในดอกไม้.
บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 415
รูปสฺมิํ วา อตฺตานํ เห็นตนในรูปบ้าง คือ ถือสิ่งไม่มีรูป (อรูป) นั่นแหละว่าเป็นตน แล้วตามเห็นตนนั้นในรูป เหมือนตามเห็นแก้วมณีในหีบ.
แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในบทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ตามเห็นรูปโดยความเป็นตนนั้น ท่านกล่าวถึงรูปล้วนๆ ว่าเป็นตน.
ท่านกล่าวถึงอรูปว่าเป็นตนในฐานะ ๗ เหล่านี้คือ ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง. ท่านกล่าวปนกันไปถึงรูปและอรูป ว่าเป็นตนในฐานะ ๑๒ อย่าง อย่างละ ๓ๆ ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ คือ ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ตามเห็นเวทนาในตนบ้าง ตามเห็นตนในเวทนาบ้าง.
ในบทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ นั้นท่านกล่าวถึงอุจเฉททิฏฐิในฐานะ ๕ คือ ตามเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน.
ท่านกล่าวถึงสัสสตทิฏฐิในส่วนที่เหลือ.
ในบทนี้มีภวทิฏฐิ ๑๕ ด้วยประการฉะนี้. ภวทิฏฐิเหล่านั้นแม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์ พึงฆ่าได้ด้วยปฐมมรรค.
บทว่า อารญฺิโก คือ เมื่ออาศัยอยู่ในป่า.
บทว่า ปวเน คือ ในป่าลึกใหญ่.
บทว่า จรมาโน คือ เดินไปมาในที่นั้นๆ.
บทว่า วิสฺสตฺโต คจฺฉติ เดินไปก็ไม่ระแวง คือ เดินไปก็ไม่กลัว ไม่ระแวง.
บทว่า อนาปาถคโต ลุทฺทสฺส เนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน คือ ไปทางอื่น.
บทว่า อนฺตมกาสิ (๑) มารํ ทำมารให้มีที่สุด คือ ทำกิเลสมารหรือเทวบุตรมารให้มีที่สุด.
บทว่า อปทํ วธิตฺวา กำจัดมารไม่ให้มีทาง คือ ทำทางกิเลสไม่ให้มีทาง คือทำให้พินาศไป.
บทว่า มารจกฺขุอทสฺสนํ
(๑) บาลี เป็น อนฺธมกาสิ กระทำมารให้มืด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้า 416
คโต คือ ไปสู่ที่มารไม่เห็น.
บทว่า อนาปาถคโต คือ ไปพ้นหน้ามาร.
บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ พระอรหัตด้วยประการฉะนี้. และเมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้ว.
จบอรรถกถาโมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕