๑๐. ปลาสชาดก ว่าด้วยเหตุที่จะต้องหนีจากไป
โดย บ้านธัมมะ  24 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35826

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 841

๑๐. ปลาสชาดก

ว่าด้วยเหตุที่จะต้องหนีจากไป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 841

๑๐. ปลาสชาดก

ว่าด้วยเหตุที่จะต้องหนีจากไป

[๗๙๘] พระยาหงส์ได้กล่าวกะปลาสเทวดาว่าดูก่อนสหาย ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ค่าคบของท่านแล้ว มันเจริญขึ้นแล้ว จะตัดสิ่งอันเป็นที่รักของท่านเสีย.

[๗๙๙] ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งทําต้นไทรให้เจริญขึ้น ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเหมือนมารดาบิดาเป็นที่พึ่งของบุตรแล้วบุตรกลับเป็นที่พึ่งของมารดาบิดาฉะนั้น.

[๘๐๐] มหาใดท่านจึงให้ต้นไม้ที่น่าหวาดเสียดุจข้าศึก เจริญขั้นอยู่ที่ด่าคบ เหตุนั้นข้าพเจ้าบอกท่านแล้วจะไป ความเจริญแห่งต้นไทรนั้นข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย.

[๘๐๑] บัดนี้ ต้นไทรนี้ทําให้เราหวาดเสียว ภัยอันใหญ่หลวงได้มาถึงเรา เพราะไม่รู้สึกถึงคําของพระยาหงส์อันใหญ่หลวง ซึ่งควรเปรียบด้วยขุนเขาสิเนรุราช.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 842

[๘๐๒] ผู้ใดเมื่อกําลังเจริญอยู่ กระทําที่พึ่งอาศัยให้พินาศไปเสีย ความเจริญของผู้นั้นท่านผู้ฉลาดไม่สรรเสริญ นักปราชญ์รังเกียจความพินาศ จึงเพียรพยายามเพื่อจะตัดรากเหง้าของอันตรายนั้นเสีย.

จบ ปลาสชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการข่มกิเลส จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า หํ โสปลาสมวจ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในปัญญาสชาดก. ส่วนในชาดกนี้พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายขึ้นชื่อว่ากิเลสควรจะรังเกียจแท้ กิเลสแม้จะมีประมาณน้อยก็ทําให้ถึงความพินาศได้เหมือนหน่อต้นไทร. แม้โบราณกบัณทิตทั้งหลายก็รังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจมาแล้วเหมือนกัน ครั้นตรัสแล้ว ทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดหงส์ทอง เจริญวัยแล้วอยู่ในถ้ำทอง ณ เขาจิตตกูฏ กินข้าวสาลีที่เกิดเองในสระที่เกิดเอง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 843

ณ หิมวันตประเทศแล้วกลับมา. ในหนทางที่พระโพธิสัตว์นั้นไปๆ มาๆ มีต้นทองหลางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง. พระโพธิสัตว์นั้นแม้เมื่อไปก็พักที่ต้นทองหลางนั้นแล้วก็ไป แม้เมื่อกลับมา ก็พักที่ต้นทองหลางนั้นแล้วจึงมา. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้มีความคุ้นเคยกับเทวดาผู้บังเกิดอยู่ที่ต้นทองหลางนั้น เวลาต่อมา นางนกตัวหนึ่งกินผลไทรสุกที่ต้นไทรต้นหนึ่ง แล้วบินมาจับที่ต้นทองหลางนั้น ถ่ายคูถลงในระหว่างค่าคบ. แต่นั้นจึงเกิดหน่อไทรขึ้น. ในเวลามีขนาดได้๔ นิ้วต้นทองหลางงดงาม เพราะเป็นต้นทองหลางที่มีหน่อแดงและใบเขียวพระยาหงส์เห็นดังนั้น จึงเรียกรุกขเทวดามาพูดว่า ท่านปลาสเทวดาผู้สหาย ธรรมดาตันไทรเกิดที่ต้นไม้ใด เมื่อโตขึ้นย่อมทําต้นไม้นั้นให้ฉิบหาย ท่านจงอย่าให้ต้นไม้นี้เติบโตเลย มันจักทําวิมานของท่านให้พินาศ ท่านจงถอนมันทิ้งเสียก่อนทีเดียว ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ควรจะรังเกียจ ก็ควรจะรังเกียจ เมื่อปรึกษากับปลาสเทวดา จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

พระยาหงส์ได้กล่าวกะปลาสเทวดาว่าดูก่อนสหาย ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ค่าคบของท่านแล้ว มันเจริญเติบโตขึ้นจะตัดสิ่งอันเป็นที่รักของท่านเสีย.

ก็บาทที่หนึ่งในคาถานี้ พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วจึงตรัสไว้. บทว่า ปลาสํ ได้แก่ ปลาสเทวดา. บทว่า สมฺม


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 844

แปลว่า เพื่อน. บทว่า องฺกสฺมึ ได้แก่ ที่ค่าคบ. บทว่า โส เตมมฺมานิ เฉจฺฉติ ความว่า ต้นไทรนั้นเจริญเติบโตที่ค่าคบนั้นแล้วจักตัดชีวิตประดุจข้าศึกฉะนั้น. จริงอยู่ สังขารที่มีชีวิตท่านเรียกว่ามัมมะ ในที่นี้.

ปลาสเทวดาได้ฟังดังนั้น มิได้เชื่อถือคําของพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ต้นไทรจงเจริญเติบโตเถิด ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งของมัน ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เหมือนมารดาบดาเป็นที่พึงของบุตรแล้วบุตรกลับเป็นที่พึ่งของมารดาบิดา ฉะนั้น.

คําอันเป็นคาถานั้น มีความว่า ดูก่อนสหาย ท่านยังไม่รู้ต้นไทรนี้จะเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าในตอนมันเติบโต ข้าพเจ้าจักเป็นที่พึ่งของต้นไทรนี้เหมือนมารดาบิดาเป็นที่พึ่งของบุตรในคราวเป็นเด็กอ่อนฉะนั้น อนึ่ง ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งแม้ของข้าพเจ้าในภายหลังตอนแก่ เหมือนบุตรเติบโตขึ้นแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของมารดาบิดาในภายหลังตอนแก่ ฉะนั้น.

ลําดับนั้น พระยาหงส์ จึงกล่าวคาถาที่๓ ว่า :-

ท่านให้ต้นไม้ซึ่งอาจนําภัยมาดังข้าศึกเจริญเติบโตขึ้นที่ค่าคบเพราะเหตุใด เหตุนั้น


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 845

เราขอบอกท่านให้รู้แล้วจะไป ความเจริญเติบโตของต้นไทรนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ตฺวํ ความว่า เพราะเหตุที่ท่านให้เกษียรพฤกษ์นี้ชื่อว่าน่ากลัว เพราะเป็นผู้ให้ความน่ากลัวประดุจข้าศึก เจริญอยู่ที่ค่าคบ. บทว่า อามนฺต โข ตํ ความว่าเพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเรียกท่านมาปรึกษาให้รู้แล้วก็จะไป. บทว่าวุฑฺฒิมสฺส ความว่า ความเจริญของต้นไทรนั้น ไม่ชอบใจข้าพเจ้าเลย.

ก็แหละพระยาหงส์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกางปีกบินไปยังภูเขาจิตตกูฏทีเดียว. ตั้งแต่นั้นก็ไม่ได้มาอีกเลย. ในเวลาต่อมา ต้นไทรก็เจริญเติบโตขึ้น. ก็มีรุกขเทวดาตนหนึ่งบังเกิดที่ต้นไทรนั้น. ต้นไทรนั้นเจริญขึ้นหักรานต้นทองหลาง วิมานของเทวดาพร้อมกับกิ่งไม้ทั้งหลายก็ร่วงลงไป. ในกาลนั้น เทวดานั้นจึงกําหนดคําของพระยาหงส์ได้ ร่ําไห้ว่า พระยาหงส์เห็นภัยในอนาคตข้อนี้จึงกล่าวไว้ ส่วนเราไม่กระทําตามคําพูดของพระยาหงส์ แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

บัดนี้ ต้นไทรนี้ทําให้เราหวาดกลัว ภัยอันใหญ่หลวงได้มาถึงเรา เพราะไม่รู้สึกถึงคําของพระยาหงส์ อันใหญ่หลวงซึ่งควรเปรียบด้วยขนเขาสิเนรุราช.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 846

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทานิ โข นํ ภายติ ความว่าต้นไทรนี้ทําให้เรายินดีในตอนยังอ่อน บัดนี้ ทําให้กลัวหวาดสะดุ้ง.บทว่า มหาเนรุนิทสฺสนํ ความว่า เพราะได้ฟังคําของพระยาหงส์อันใหญ่หลวงดุจภูเขาสิเนรุ แล้วไม่รู้สุกจึงได้ถอนต้นไทรนี้เสียในคราวยังอ่อนอยู่. ด้วยบทว่า มหา เม ภยมาคตํ นี้ เทวดาคร่ําครวญว่า บัดนี้ ภัยใหญ่มาถึงเราแล้ว.

ฝ่ายต้นไทรก็เจริญเติบโตขึ้นหักรานต้นทองหลางทั้งต้นได้กระทําให้เป็นสักแต่ตอเท่านั้น. วิมานของเทวดาก็หายไปหมดสิ้น.

ผู้ใดเมื่อเจริญขึ้นทําที่พึ่งอาศัยให้พินาศไปเสีย ความเจริญของผู้นั้น ผู้ฉลาดไม่สรรเสริญ นักปราชญ์รังเกียจความพินาศจึงเพียรพยายามตัดรากเหง้าของอันตรายนั้นเสีย.

คาถาที่ ๕ ดังกล่าวมานี้ เป็นอภิสัมพุทธคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลปฺปสตฺถา ความว่า อันท่านผู้ฉลาดทั้งหลายสรรเสริญแล้ว. บทว่า ฆสเต แปลว่า ย่อมกินอธิบายว่า ทําให้พินาศ. บทว่า ปตารยิ แปลว่า ย่อมกลิ้งเกลือกคือ ย่อมพยายาม. ทรงอธิบายไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด.เจริญขึ้นทําที่พึ่งอาศัยของตนให้พินาศ ความเจริญของผู้นั้น บัณฑิตไม่สรรเสริญ ส่วนนักปราชญ์ คือท่านผู้สมบูรณ์ความรู้รังเกียจความ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 847

ดับคือความพินาศอย่างนี้ว่า ความดับสูญจักมีแก่เรา เพราะอันตรายนี้ย่อมพากเพียรเพื่อขจัดรากเหง้าของอันตรายทั้งภายในหรือภายนอกนั้นเสีย.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้บรรลุพระอรหัต. หงส์ทองในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วรรณาโรหชาดก

๒. สีลวีมังสชาดก

๓. หิริชาดก

๔. ขัชโชปนกชาดก

๕. อหิตุณฑิกชาดก

๖. คุมพิยชาดก

๗. สาลิยชาดก

๘. ตจสารชาดก

๙. มิตตวินทุกชาดก

๑๐. ปลาสชาดก

จบ วรรณาโรหวรรคที่ ๒