ทุกคนติดในชื่อที่สมมติบัญญัติต่างๆ ฉะนั้น จึงควรรู้ลักษณะของเสียงซึ่งเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง คำว่า “เสียง” ไม่มีในภาษาบาลี สภาพธรรมที่เป็นเสียงนั้น ภาษาบาลีบัญญัติเรียกว่า “สัททรูป” เสียงเป็นสิ่งที่มีจริง เสียงไม่ใช่สภาพรู้ เสียงเป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่ปรากฏทางหู
ในอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา อรรถกถาอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่ ๘ มีข้อความอธิบายเรื่อง ปรมัตถธรรมและสมมติบัญญัติ ซึ่งเป็นชีวิตประจำวันที่ลึกซึ้งและควรจะได้เข้าใจให้ถูกต้อง แม้ในเรื่องชื่อต่างๆ ซึ่งจะมีได้ก็เพราะมีเสียง
ข้อความในอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา มีว่า
สัททรูป (เสียง) ที่ชื่อว่า “นาม” (ในที่นี้ หมายถึง ชื่อไม่ใช่หมายถึงนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้) เพราะอรรถว่า น้อมไปในในอรรถทั้งหลาย นามนั้นมี ๒ อย่างด้วยอำนาจแห่ง นาม (คือชื่อ) ที่คล้อยตามอรรถ ๑ และนาม (คือชื่อ) ตามนิยม ๑
วันหนึ่งๆ พูดเรื่องอะไร พูดทำไม พูดเพื่อให้คนอื่นเข้าใจเรื่อง เข้าใจสิ่งที่หมายถึง ฉะนั้น สัททรูป ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า น้อมไปในอรรถคือเรื่องราวทั้งหลาย
การที่จะให้ใครเข้าใจความหมายและเรื่องราวต่างๆ นั้นก็ย่อมแล้วแต่ใครนิยมใช้คำอะไร ภาษาอะไร เพื่อให้เข้าใจความมุ่งหมายนั้นๆ เรื่องราวนั้นๆ หรือชื่อนั้นๆ
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ