พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
[๗๔๕] คำว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง ความว่า ภิกษุไม่พึงตกใจ ตื่นเต้น สะดุ้ง กลัว ถึงความหวาดเสียวไปว่า
เราไม่ได้ข้าว
ไม่ได้น้ำ
ไม่ได้ผ้า
ไม่ได้สกุล
ไม่ได้คณะ
ไม่ได้อาวาส
ไม่ได้ลาภ
ไม่ได้ยศ
ไม่ได้สรรเสริญ
ไม่ได้สุข
ไม่ได้จีวร
ไม่ได้บิณฑบาต
ไม่ได้เสนาสนะ
ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ไม่ได้คิลานุปัฏฐาก
ไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏดังนี้ คือ
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้ขลาด หวาดเสียว
ไม่สะดุ้งกลัว
ไม่หนีไป
พึงเป็นผู้ละความกลัว และ ความขลาดเสีย
ปราศจากความเป็นผู้ขนลุกขนพองอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
[๗๔๒] ภิกษุได้แล้วซึ่งข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี ไม่ควรทำการสั่งสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้น ก็ไม่พึงสะดุ้ง.
บุคคลได้แล้วซึ่งข้าวรวมทั้งปัจจัยต่างๆ มีปัจจัย 4 เป็นต้น การได้ของภิกษุหรือบุคคล นั้นได้มาโดยธรรมคือได้มาเพราะการไม่ประจบ เพราะการเยินยอ เพราะการทำให้รักจึง ได้ลาภ การพูดเลียบเคียงเพื่อได้ลาภ ภิกษุหรือบุคคนั้นไม่ทำอย่างนั้น ชื่อว่าได้ปัจจัย 4 มาโดยธรรม
ไม่ควรทำการสั่งสม หมายถึงเพศบรรพชิต เป็นผู้ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง ไม่ทำการสะสมปัจจัย มีข้าว อาหาร เป็นต้นด้วยอำนาจกิเลส แต่ เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้น ก็ไม่พึงสะดุ้ง.
เมื่อไม่ได้ข้าว เป็นต้นนั้น ก็ไม่พึงสะดุ้ง คือ เมื่อภิกษุหรือบุคคลเมื่อไม่ได้ปัจจัย 4 มี ข้าว น้ำ รวมทั้งลาภ สักการะ ชื่อเสียง ก็ไม่หวาดสะดุ้งคือไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจกิเลส ไม่ทุกข์โทมนัส เสียใจ ไม่หวาดกลัวในเมื่อไม่ได้สิ่งนั้น แต่พึงละความกลัว ความสะดุ้ง ความทุกข์โทมนัส เสียใจนั้น
การจะละความสะดุ้ง ความกลัวเมื่อไม่ได้สิ่งใดได้ก็ด้วยปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการมั่นคงในเรื่องกรรมและผลของกรรม ใครจะได้หรือไม่ได้อะไรก็เพราะกรรมของบุคคลนั้นทำมาหรือไมได้ทำมา มั่นคงในเรื่องของสภาพธรรมว่าเป็นเพียงธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้นปัญญาเท่านั้นที่จะละความสะดุ้ง ความตื่นเต้น ตกใจโทมนัสเพราะไม่ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เพราะยังมีกิเลส เป็นเหตุ จึงเกิดความสะดุ้ง ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากอกุศลจิตและอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นเครื่องเตือนทุกแง่มุมของชีวิต ทั้งผู้ที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เนื่องจากว่ายังมีกิเลสอยู่กิเลสก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะได้ลาภ ได้สิ่งที่น่าพอใจ หรือ ไม่ได้ลาภ ไม่ได้สิ่งที่น่าพอใจ ก็เป็นที่ตั้งให้จิตสะดุ้งได้ทั้งนั้น กล่าวคือ เป็นอกุศลแต่ในทางตรงกันข้าม ไม่ว่าจะได้ลาภ ได้สิ่งที่น่าพอใจ หรือ ไม่ได้ลาภ ไม่ได้สิ่งที่น่าพอใจ ก็สามารถมีปัญญาเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีจริงในขณะนั้นตามความเป็นจริงได้
ซึ่งจะต้องอาศัยการสะสมปัญญาจากการฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพราะหนทางนี้ เป็นหนทางที่จะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาและจะสามารถดับกิเลส เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งด้วยอำนาจของอกุศลธรรมได้ในที่สุด ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ, คุณผเดิม และ ทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกท่านครับ
ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ แม้จะอยู่บนสวรรค์ มีวิมานแสนสวย มีอาหารทิพย์ ไม่ต้องเจ็บป่วย ไม่ต้องแก่ แต่เทพบุตรมีความทุกข์เพราะรู้ตัวว่าจุติจากชาตินี้ไป แล้วต้องไปเกิดในอบายภูมิ ก็หวาดกลัว มีจิตสะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ภายหลังได้ไปฟังธรรมจากพระ-พุทธเจ้า ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ไม่ต้องเกิดในอบายภูมิอีกค่ะ
มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา...จึงประเสริฐที่สุดค่ะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 605
อนึ่งผู้มีปัญญาเท่านั้นเป็นผู้มีความอดกลั้นต่อความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น. ผู้มีปัญญาทรามไม่เป็นผู้อดกลั้น. ความเสียหายที่ผู้อื่นนำไปให้แก่ผู้ปราศ จากปัญญา ย่อมเพิ่มพูนความเป็นปฏิปักษ์ของความอดทน. แต่ความเสียหาย เหล่านั้นของผู้มีปัญญาย่อมเป็นไป เพื่อความมั่นคงแห่งขันตินั้นด้วยเพิ่มพูน ความสมบูรณ์แห่งขันติ.
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
มีชีวิตประเสริฐอยู่ด้วยปัญญา [วิตตสูตร]
ปัญญา ด้วยอรรถว่า ย่อมรู้ทั่ว
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...