พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 605
อนึ่งผู้มีปัญญาเท่านั้นเป็นผู้มีความอดกลั้นต่อความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น.
ผู้มีปัญญาทรามไม่เป็นผู้อดกลั้น. ความเสียหายที่ผู้อื่นนำไปให้แก่ผู้ปราศ
จากปัญญา ย่อมเพิ่มพูนความเป็นปฏิปักษ์ของความอดทน. แต่ความเสียหาย
เหล่านั้นของผู้มีปัญญาย่อมเป็นไป เพื่อความมั่นคงแห่งขันตินั้นด้วยเพิ่มพูน
ความสมบูรณ์แห่งขันติ.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คนที่ปัญญาน้อย เมื่อบุคคลอื่นทำความเสียหายหรือทำสิ่งที่ไม่ดี ย่อมเพิ่มพูนความเป็นปฏิปักษ์ของความอดทนหมายถึง ทำให้ไม่อดทนมากขึ้น โกรธมากขึ้นนั่นเอง (ความโกรธเป็นปฏิปักษ์กับความอดทน) แต่คนที่มีปัญญา เมื่อใครทำความเสียหายหรือทำสิ่งไม่ดี ย่อมทำให้ขันติเจริญมากขึ้น อดทนมากขึ้นครับ
เรื่องพิจารณาว่าธรรมเกิดขึ้นและดับไปแล้วจะโกรธทำไม คิดได้ย่อมเพิ่มขันติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 609
การทำความเสียหายด้วยธรรมใดและทำในที่ใด ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็
ดับไปในขณะนั้นเอง. บัดนี้ใครพึงทำความโกรธแก่ใคร. และใครผิดแก่
ใครเพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พิจารณาดังนี้ควรเพิ่มพูนขันติสัมปทา
ด้วยประการฉะนี้.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาค่ะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 608
อนึ่งชื่อว่าขันตินี้ เป็นอาวุธไม่เบียดเบียนคนดี ในเพราะสมบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติ เพราะกำจัดความโกรธอันเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณธรรมไม่มีส่วน
เหลือ เป็นเครื่องประดับของผู้สามารถครอบงำผู้อื่นได้. เป็นพลสัมปทาของ
สมณพราหมณ์. เป็นสายน้ำกำจัดไฟคือความโกรธ. เป็นเครื่องชี้ถึงความ
เกิดแห่งกิตติศัพท์อันดีงาม. เมื่อเป็นมนต์และยาวิเศษระงับพิษคำพูดของคนชั่ว.
เป็นปกติของผู้มีปัญญายอดเยี่ยมของผู้ตั้งอยู่ในสังวร. เป็นสาครเพราะอาศัย
ความลึกซึ้ง. เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ. เป็นบานประตูปิดประตูอบาย.
เป็นบันไดขึ้นสู่เทวโลกและพรหมโลก. เป็นภูมิที่อยู่ของคุณทั้งปวง.
เป็นความบริสุทธิ์ กาย วาจา และใจ อย่างสูงสุด. พึงมนสิการด้วยประการ
ฉะนี้.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อดกลั้นด้วยปัญญาหรือด้วยอกุศล...ก็ต่างกัน
ขันติ -- ความอดทน อดกลั้น ที่ประกอบไปด้วยปัญญา........จึงจะเป็นบารมีครับ