[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
สัญโญชนโคจฉกะ
[๗๑๙] ธรรมเป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน?
สัญโญชน์ ๑๐ คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อิสสา สัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์
[๗๒๐] บรรดาสัญโญชน์ ๑๐ นั้น กามราคสัญโญชน์ เป็นไฉน? ความพอใจต่อความใคร่ ความกำหนัดคือ ความใคร่ ความเพลิดเพลินคือ ความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือ ความใคร่ ความเร่าร้อนคือ ความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกหมุ่นคือ ความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามราคสัญโญชน์.
[๗๒๑] ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นไฉน? อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาต ย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา, อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำ ความเสื่อมเสีย ฯลฯ ประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาคิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตนี้ เรียกว่า ปฏิฆสัญโญชน์
[๗๒๒] มานสัญโญชน์ เป็นไฉน? การถือตัว ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเสมอกับเขา ว่าเราเลวกว่าเขา การถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การยก ตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้ เรียกว่า มานสัญโญชน์ ฯลฯ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ยินดีในกุศลจิตค่ะ