[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 476
ปัณณาสก์
ทานวรรคที่ ๔
๔. เขตตสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 476
๔. เขตตสูตร
[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ ไม่มีผลมาก ไม่มีความดีใจมาก ไม่มีความ เจริญมาก นาประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างไร ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย นาในโลกนี้ เป็นที่ลุ่มๆ ดอนๆ ๑ เป็นที่ปนหินปนกรวด ๑ เป็นที่ดินเค็ม ๑ เป็นที่ไถลงลึกไม่ได้ ๑ เป็นที่ไม่มีทางน้ำเข้า ๑ เป็นที่ไม่มีทางน้ำออก ๑ เป็นที่ไม่มีเหมือง ๑ เป็นที่ไม่มีคันนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีความดีใจมาก ไม่มีความเจริญ มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ทานที่บุคคลให้ใน สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ไม่มีผลมาก ไม่มี อานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่เจริญแพร่หลายมาก สมณพราหมณ์ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๑ เป็นมิจฉาสังกัปปะ ๑ เป็น มิจฉาวาจา ๑ เป็นมิจฉากัมมัมตะ ๑ เป็นมิจฉาอาชีวะ ๑ เป็นมิจฉา วายามะ ๑ เป็นมิจฉาสติ ๑ เป็นมิจฉาสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่เจริญ แพร่หลายมาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ มีผลมาก มีความดีใจมาก มีความเจริญมาก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 477
นาประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นาในโลกนี้ไม่เป็นที่ลุ่มๆ ดอนๆ ๑ ไม่เป็นที่ปนหินปนกรวด ๑ ไม่เป็นที่ดินเค็ม ๑ เป็นที่ไถลงลึกได้ ๑ เป็นที่มีทางน้ำเข้าได้ ๑ เป็นที่มีทางน้ำออกได้ ๑ เป็นที่มีเหมือง ๑ เป็นที่มีคันนา ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีความดีใจมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ เจริญแพร่หลายมาก สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ในโลกนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิ ๑ เป็นสัมมาสังกัปปะ ๑ เป็นสัมมาวาจา ๑ เป็นสัมมากัมมันตะ ๑ เป็นสัมมาอาชีวะ ๑ เป็นสัมมาวายามะ ๑ เป็นสัมมาสติ ๑ เป็น สัมมาสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์ มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความเจริญแพร่หลายมาก ฉะนี้.
พืชอันหว่านลงในนาที่สมบูรณ์ เมื่อฝนตก ต้องตามฤดูกาล ธัญชาติย่อมงอกงาม ไม่มีศัตรู พืช ย่อมแตกงอกงาม ถึงความไพบูลย์ให้ผลเต็ม ที่ ฉันใด โภชนะที่บุคคลถวายในสมณพราหมณ์ ผู้มีศีลสมบูรณ์ ก็ฉันนั้น ย่อมนำมาซึ่งบุคคลอัน สมบูรณ์ เพราะกรรมที่เขาทำนั้นสมบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้นบุคคลในโลกนี้ผู้หวังกุศลสัมปทา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 478
จงเป็นผู้มีประโยชน์ถึงพร้อม พึงคบหาท่านผู้มี ปัญญาสมบูรณ์ บุญสัมปทา ย่อมสำเร็จได้ อย่างนี้ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ได้ จิตสัมปทาแล้ว กระทำกรรมให้สมบูรณ์ ย่อมได้ ผลบริบูรณ์ รู้โลกนี้ตามเป็นจริงแล้ว พึงถึงทิฏฐิ สัมปทา อาศัยมรรคสัมปทา มีใจบริบูรณ์ ย่อม บรรลุอรหัต เพราะกำจัดมลทินทั้งปวงได้แล้ว บรรลุนิพพานสัมปทาได้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจาก ทุกข์ทั้งปวง การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น จัดเป็นสรรพสัมปทา.
จบ เขตตสูตรที่ ๔
อรรถกถาเขตตสูตรที่ ๔
เขตตสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น มหปฺผลํ โหติ ความว่า ไม่มีผลมากด้วยผลแห่ง ธัญพืช. บทว่า น มหาสฺสาทํ ความว่า ความยินดีต่อผลธัญพืชนั้น มีไม่มาก คือมีความยินดีน้อยไม่อร่อย. บทว่า น ผาติเสยฺยํ ความว่า ธัญพืชนั้นย่อมไม่เจริญงอกงาม อธิบายว่า ธัญพืชนั้นจะเจริญคือ มีลำต้นคอยค้ำรองเข้าที่ใหญ่ก็หามิได้. บทว่า อนฺนามินินฺนามิ ได้แก่ พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะดอนและลุ่ม. ในที่เหล่านั้น ที่ดอน ไม่มีน้ำขังอยู่ที่ลุ่มมีน้ำขังมากเกินไป. บทว่า ปาสาณสกฺขริลฺลํ ความว่า ประกอบด้วยหลังแผ่นหินลาดตั้งอยู่ และกรวดก้อนเล็ก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 479
ก้อนใหญ่. บทว่า อูสรํ ได้แก่ น้ำเค็ม. บทว่า น จ คมฺภีรสิตํ ความว่า ไม่สามารถจะไถให้คลองไถลงไปลึกได้เพราะพื้นที่แข็ง คือเป็นคลองไถตื้นๆ เท่านั้น. บทว่า น อายสมฺปนฺนํ ได้แก่ ไม่สมบูรณ์ด้วยทางน้ำไหลออกในด้านหลัง. บทว่า น มาติกาสมฺปนฺนํ ความว่า ไม่สมบูรณ์ด้วยเหมืองน้ำขาดเล็กและขนาดใหญ่. บทว่า น มริยาทสมฺปนฺนํ ความว่า ไม่สมบูรณ์ด้วยคันนา. บท ทั้งหมดมีอาทิว่า น มหปฺผลํ พึงทราบด้วยสามารถเผล็ดผลนั่นเอง.
บทว่า สมฺปนฺเน ได้แก่ บริบูรณ์ คือประกอบด้วยคุณสมบัติ บทว่า ปวุตฺตา พีชสมฺปทา ได้แก่ พืชที่ปลูกสมบูรณ์. บทว่า เทเว สมฺปาทยนฺตมฺหิ ความว่า เมื่อฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล บทว่า อนีติสมฺปทา โหติ ความว่า ความไม่มีภัยจากสัตว์เล็กๆ มีตั๊กแตนและหนอนเป็นต้น เป็นความสมบูรณ์เป็นเอก. บทว่า วิรุฬฺหิ ความว่า ความงอกงามเป็นความสมบูรณ์อันดับ ๒ บทว่า เวปุลฺลํ ความว่า ความไพบูลย์เป็นความสมบูรณ์อันดับ ๓ บทว่า ผลํ ความว่า ผลแห่งธัญพืชที่บริบูรณ์ เป็นความสมบูรณ์อันดับ ๔.
บทว่า สมฺปนฺนสีเลสุ ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้มีศีลบริบูรณ์ บทว่า โภชนสมฺปทา ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างที่สมบูรณ์. บทว่า สมฺปทานํ ได้แก่ กุศลสัมปทา ๓ อย่าง. บทว่า อุปเนติ ได้แก่ โภชนสัมปทานั้นนำเข้าไป. เพราะเหตุไร? เพราะกิจกรรมที่ผู้นั้น ทำแล้วสมบูรณ์ อธิบายว่า เพราะกิจกรรมที่เขาทำแล้วนั้นสมบูรณ์ คือบริบูรณ์. บทว่า สมฺปนฺนตฺถูธ ตัดบทเป็น สมฺปนฺโน อตฺถุ อิธ, แปลว่า จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลสัมปทานี้. บทว่า วิชฺชาจรณ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 480
สมฺปนฺโน ความว่า ประกอบด้วยวิชชา ๓ และจรณะธรรม ๑๕. บทว่า ลทฺธา ความว่า บุคคลเห็นปานนี้ ได้ความสมบูรณ์ คือความ ไม่บกพร่อง ได้แก่ความบริบูรณ์แห่งจิต. บทว่า กโรติ กมฺมสมฺปทํ ได้แก่ ทำกรรมให้บริบูรณ์. บทว่า ลภติ จตฺถสมฺปทํ ได้แก่ ได้ประโยชน์บริบูรณ์. บทว่า ทิฏฺิสมปทํ ได้แก่ ทิฏฐิในวิปัสสนา. บทว่า มคฺคสมฺปทํ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค. บทว่า ยาติ สมฺปนฺนมานโส ความว่า เป็นผู้มีจิตบริบูรณ์ถึงพระอรหัต. บทว่า สา โหติ สพฺพสมฺปทา ความว่า ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น ชื่อว่า เป็นความถึงพร้อมทุกอย่าง.
จบ อรรถกถาเขตตสูตรที่ ๔