ถ้าจิตทุกขณะมีรูปเป็นอารมณ์ จิตทางปัญจทวาร ๑๗ ขณะ มีรูปที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ ปัญจวิญญาณทำกิจเห็น ๑ ขณะแล้วดับไป ถามว่าจิตขณะต่อๆ ไป โดยเฉพาะที่ชวนจิตเห็นรูปไหมครับ ถ้าไม่เห็นรูป แล้วรู้รูปได้อย่างไรครับ
ควรทราบว่าจิตที่กระทำกิจเห็นได้มีเพียงจักขุวิญาณเท่านั้น จิตที่เหลือในทางปัจจทวารวิถี (ทางตา) รู้รูปสีเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ทำกิจเห็นเช่น สัมปฏิฉันนะ ทำกิจรับ สัมปฏิฉันนกิจ คือรับอารมณ์เท่านั้น ชวนจิต ทำกิจชวนะ คือเสพหรือแล่นไปเท่านั้น
แล้วที่ติดข้องกันนั้น มันอะไรครับ ไม่ใช่รูปหรือครับ
ที่ติดข้องหรือที่ไม่พอใจนั้น ก็คือ โลภะหรือโทสเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิตในชวนวิถี ขณะที่รับรู้สีเป็นอารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณ และเรารู้ได้แน่ชัด เพราะเกิดดับสืบต่อรู้สี ถึง 7 ขณะ
สภาพรู้ทางจักขุทวารมีอะไรบ้าง และขณะเห็นรู้อะไร
สภาพรู้ทางจักขุทวาร ถ้าหมายถึง จักขุวิญญาณ มีสอง คือ จักขุวิญญาณกุศลวิบาก ๑ จักขุวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ แต่ถ้าหมายถึงจักขุทวารวิถีจิตทั้งหมด มากที่สุดมีถึง ๑๔ ขณะจิต (ไม่รวมภวังคจิต) และขณะที่เห็น จิตเห็นรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะเดียวแล้วดับไป จิตอื่นๆ ที่เกิดต่อในวิถีเดียวกันนั้น แม้จะรู้รูปารมณ์เดียวกันแต่ไม่เห็นเพราะไม่ได้ทำกิจเห็นครับ
ไม่เห็นรูป แล้วรู้อะไร ติดข้องอะไร ยังมีสิ่งที่น่ารื่นรมย์ทางตา มากยิ่งกว่าเห็นรูปอีกหรือ
สิ่งที่น่ารื่นรมย์ หรือเป็นที่มาแห่งความยินดีพอใจ จนติดข้องทางตานั้น มีแค่สีต่างๆ และอนุพยัญชนะของสีนั่นเอง ที่ติดข้องทางหู คือเสียงต่างๆ ที่ติดข้องทางจมูก คือกลิ่นต่างๆ ที่ติดข้องทางลิ้น คือรสต่างๆ ที่ติดข้องทางกายสัมผัส คือเย็นร้อน อ่อนแข็งและตึงไหว ส่วนที่ติดข้องทางใจ คือความคิดต่างๆ เรื่องราวต่างๆ บัญญัติต่างๆ โลภะ ติดข้องทุกอย่าง ยกเว้น โลกุตตรธรรม ๙ ประการ
ก็ไม่เห็นมีอะไรพ้นไปจากหกทวารนี้ ที่พาให้เราติดข้องมากหรือน้อยต่างๆ กันไปตามการสะสมของแต่ละคน
ชวนจิตทางปัญจทวาร ติดข้องในรูปที่เห็นทางตา ได้ยินทางหู ได้กลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น และรู้กระทบสัมผัสทางกาย ชวนจิตทางมโนทวาร ติดข้องในรูปดังที่กล่าวแล้วข้างต้น และติดข้องในรูปร่างและเรื่องราวอันเกิดจากความคิดที่ต่อเนื่องจากรูปที่รู้ทางปัญจทวารครับ
ทางตาเห็นแล้ว ติดข้องผูกพันธ์ในสิ่งที่เห็นรูปสวย ทางหูได้ยินแล้ว ติดข้องผูกพ้นธ์ในเสียงเพราะ ทางจมูกได้กลิ่นแล้ว ติดข้องผูกพันธ์ในกลิ่นหอม ทางลิ้นได้ลิ้มรสแล้ว ติดข้องผูกพันธ์ในรสอร่อย ทางกายกระทบสัมผัสแล้ว ติดข้องผูกพันธ์ในความสบาย ทางใจคิดนึกแล้ว ติดข้องในเรื่องราวผูกพันธ์ในความคิด กิเลสติดทุกอย่าง ยกเว้นปัญญาที่โลภะไม่ติดค่ะ
ถ้าอย่างนั้น ที่ติดข้องกันนั้น ก็เป็นปัญจวิญญาณจิตที่ดับไปแล้ว ดับแล้วติดข้องทำไมก็เลิกติดข้องได้ใช่ไหมครับ? หรือว่ามีอะไรที่น่ารื่นรมย์กว่า ปัญจวิญญาณ ที่เห็น ที่ได้ยิน ฯลฯ สิ่งนั้น คือสัมปฏิจฉันนะจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต หรือ? ถ้าอย่างนั้น การรู้สี การรู้เสียง ฯลฯ ที่สัมปฏิจฉันนะจิต ที่สันตีรณจิต ที่โวฏฐัพพนจิต ที่ชวนจิตน่ารื่นรมย์กว่าการรู้สี การรู้เสียงของปัญจวิญญาณจิต ที่เห็น ที่ได้ยินใช่ไหมครับ?
ที่รื่นรมย์ที่สุด ควรจะเป็นโลกุตตรธรรมทั้งเก้า คือโลกุตตรมรรคจิตสี่ โลกุตตรผลจิตสี่ และนิพพานอีกหนึ่ง นอกนั้น หาสาระใดๆ ไม่ได้เลย ไม่ว่าจิตชนิดใด เพราะเกิดแล้วดับรวดเร็วและน้อยนิดหนึ่ง ไม่สามารถยึดถือได้เลย แต่เมื่อไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดก็ต้องติดข้องหลังจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส เพราะเมื่อโลภะติดข้องในรูปต่างๆ แล้ว เวทนาที่เกิดร่วมย่อมเป็นอย่างน้อยที่อุเบกขาและอย่างมากที่โสมนัส สัญญาเจตสิก ก็จดจำอารมณ์นั้น อันนำมาซึ่งเวทนา ขณะนี้ ไม่ค่อยแน่ใจว่า รื่นรมย์ของคุณหมายถึงอะไร ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ไม่ได้มีอะไรน่ารื่นรมย์ เพราะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งสิ้น เพียงแต่เรา ยังเป็นปุถุชน ก็ยังเห็นที่ไม่งามว่างาม ที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ที่ไม่มีตัวตน เราก็ว่ามีตัวตน ไม่ทราบว่าจะตอบคุณได้สักเท่าไร เพราะความเข้าใจของเราก็น้อยหนึ่ง แต่ถ้าเราสดับอย่างตั้งใจ ศึกษาอย่างจริงจัง เหล่านี้ มีคำตอบทั้งหมด ในหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ที่ทุกคนควรอ่านอย่างช้าๆ และพิจารณา แม้คำตอบจะเป็นเพียงเรื่องราวของปรมัตถธรรมก็ตาม
ตอบความคิดเห็นที่ 11
โลภะติดข้องในอารมณ์ซึ่งมีทั้งอารมณ์ที่เป็นรูป นาม และบัญญัติ
โลภะไม่เกิดกับวิถึจิตที่เป็นวิบากจิตและกิริยาจิต แต่เกิดกับวิถีจิตที่เป็นอกุศลจิตอันได้แก่วิถึจิตในชวนวาระ ๗ ขณะ
ชวนจิตทางปัญจทวารติดข้องใน รูปที่เป็นอารมณ์ของชวนจิตนั้นเอง มิได้ติดข้องในจิต (ปัญจวิญญาณจิต สัมปฏิฉันจิต ฯลฯ) โดยที่ต้องไม่ลืมว่าวิถีจิตทางปัญจทวารทุกดวงมีรูป (เดียวกัน) ที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์
ในชีวิตตามปกตินั้นมีการ รู้อารมณ์ทางปัญจทวารสลับกับทางมโนทวารอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา การศึกษาจึงควรมีความสอดคล้องกับความจริงครับ โดยศึกษาทั้งทางปัญจทวารและมโนทวารซึ่งจะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น หากแยกกล่าวเฉพาะทางปัญจทวารจะเข้าใจได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากในชีวิตประจำวันนั้นส่วนมากเป็นการรู้อารมณ์ทางมโนทวารแต่ ปัญจทวารปิดบังมโนทวาร เป็นปกติ
ป้าจายตอบตรงประเด็นค่ะ คุณlichindaถาม ทุกท่านตอบ ขออนุโมทนาค่ะ
ทางจักขุทวารนั้น เราติดข้องอะไรครับ ๑. เห็นรูป ๒. รูปที่เห็นแล้ว
ทางจักขุทวาร โลภะทีเกิดกับอกุศลชวนะติดข้องในสีหรือสิ่งที่ปรากฏทางตาอันเป็นสิ่งที่มีจริงแม้จะไม่ใช้คำใดในภาษาใดเรียกเลย และที่ติดข้องนั้นเป็นกิจของโลภะซึ่งเกิดและดับในช่วงเวลาที่สั้นแสนสั้น ไม่ใช่เราที่ติดข้อง (สั้นจนไม่ทันจะมีความคิดว่าเรา)
ขณะที่คิดว่าเราติดข้องนั้น เป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้นหลังจากที่วิถีจิตทางจักขุทวารรู้สีนั้นดับหมดไปแล้วหลายขณะจิตจนนับไม่ถ้วนครับ
การเห็นเกิด ๑ ขณะจิตเป็นวิบากจิต ไม่มีการติดข้อง แต่การติดข้องเกิดภายหลัง ขณะที่ติดข้องนั้นจึงไม่ใช่ขณะที่เห็นรูป ถามว่าสภาพรู้สีขณะที่ติดข้องนี้ มีชื่อเรียกไหมครับ ไม่ใช่เห็น แต่เป็นอะไรครับ
ถ้าจะแบ่งสีออกเป็น สีก่อนเห็น (กระทบภวังค์ อาวัชชนะ) สีขณะเห็น (วิญญาณจิต) สีที่เห็นแล้ว (สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณจิต โวฏฐัพนะ ชวนจิต) สีที่เห็นแล้วนี้แหละน่ารื่นรมย์กว่าสีขณะที่เห็นเสียอีกขอให้บ้านธัมมะช่วยตรวจสอบด้วยครับ
ขออนุโมทนาครับ
สภาพรู้สีขณะที่ติดข้องนี้ มีชื่อเรียกไหมครับ ไม่ใช่เห็น แต่เป็นอะไรครับ
สภาพรู้ คือ จิตและเจตสิก ขณะติดข้องทางปัญจทวารนั้นจิตและเจตสิกไม่ได้ทำกิจเห็น แต่ทำกิจ"รู้สี" ติดต่อกันได้มากถึง ๗ ขณะ หรือกล่าวว่าทำกิจเสพหรือแล่นไปในอารมณ์คือสีนั้นเอง
ขออนุญาตเสริมในประเด็นนี้ว่า การศึกษาพระธรรมไม่ควรเพียงเพื่อรู้ชื่อ และไม่ควรติดอยู่ในประเด็นที่ยังไม่เข้าใจครับ หากเราได้ศึกษาในหัวข้ออื่นต่อไป ที่พอจะทำความเข้าใจได้จะเป็นประโยชน์มากกว่า และความเข้าใจที่ได้รับจากการศึกษานี้ก็จะมีส่วนช่วยให้เข้าใจในประเด็นที่เคยติดเคยสงสัยได้ครับ
สีที่เห็นแล้วนี้แหละน่ารื่นรมย์กว่าสีขณะที่เห็นเสียอีก
สีเป็นรูป สีไม่รู้อะไร และสีที่กระทบภวังค์จิตและเป็นอารมณ์ของอาวัชนจิต ไปจนถึงชวนจิตและตทาลัมพนจิตในวิถึจิตเดียวกันนั้น คือ รูปเดียวกันซึ่งมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ในประเด็นนี้ขอเรียนเพิ่มเติมว่า พระธรรมเป็นคำสอนที่มาจากการรู้แจ้งด้วยพระสัมมาสัมโพธิญาณ สาวกคือผู้ศึกษาตามสามารถศึกษาและพิจารณาตามได้ แต่การคิดเพิ่มเติมเกินกว่าที่ทรงแสดงไว้นั้นควรทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งครับ