[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 178
ทุติยปัณณาสก์
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยท่อธารบุญกุศล ๔ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 178
ทุติยปัณณาสก์
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยท่อธารบุญกุศล ๔ ประการ
[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (บุญญาภิสันท์) ท่อธารบุญ (กุสลาภิสันท์) ท่อธารกุศล ๔ ประการนี้ นำมาซึ่งความสุข ให้ซึ่งผลอันดีเลิศ มีความสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไปเพื่อผลที่ปรารถนาที่รักใคร่ ที่ ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ท่อธารบุญกุศล ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ
ภิกษุบริโภคจีวรของทายกใด เจ้าเจโตสมาธิอันเป็นธรรมหาประมาณมิได้ ท่อธารบุญกุศลของทายกนั้นย่อมนับประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข ให้ซึ่งผลอันดีเลิศ มีความสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไปเพื่อผลที่ปรารถนาที่รักใคร่ที่ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข
ภิกษุบริโภคบิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยของทายกใด เข้าเจโตสมาธิอันเป็นธรรมหาประมาณมิได้ ท่อธารบุญกุศลของทายกนั้น ย่อมนับประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ
นี้แล ท่อธารบุญ ท่อธารกุศล ๔ ประการ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ
ก็แลการที่จะนับประมาณบุญของอริยสาวก ผู้ประกอบพร้อมด้วยท่อธารบุญกุศลนี้ว่า ท่อธารบุญกุศลประมาณเท่านี้ๆ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ ดังนี้มิใช่ง่าย อันที่แท้ท่อธารบุญกุศลนั้นนับว่าเป็นอสงไขย (ไม่สิ้นสุดด้วยการนับ) เป็นอัประไมย (นับประมาณไม่ได้) เป็นมหาบุญขันธ์ (กองบุญใหญ่)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 179
ทีเดียว เปรียบเหมือนจะนับประมาณน้ำในมหาสมุทร ว่ามีน้ำอยู่เท่านี้อาฬหก เท่านี้ร้อยอาฬหก เท่านี้พันอาฬหก หรือเท่านี้แสนอาฬหก ดังนี้มิใช่ง่าย อันที่แท้น้ำในมหาสมุทรนั้นนับว่าเป็นอสงไขย เป็นอัประไมย เป็นมหาอุทกขันธ์ (ห้วงน้ำใหญ่) ทีเดียวฉันใด การที่จะนับประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบพร้อมด้วยท่อธารบุญกุศล ๔ ประการนี้ว่า ท่อธารบุญกุศลเท่านี้ๆ นำมาซึ่งความสุข ให้ซึ่งผลอันเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไปเพื่อผลที่ปรารถนา ที่รักใคร่ ที่ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ดังนี้มิใช่ง่าย อันที่แท้ท่อธารบุญกุศลนั้นนับว่าเป็นอสงไขย เป็นอัประไมย เป็นมหาบุญขันธ์ทีเดียว ฉันนั้นนั่นแล
แม่น้ำมากหลาย อันเป็นที่ฝูงปลาอาศัยอยู่ ย่อมไหลไปสู่ทะเล อันเป็นที่รับน้ำใหญ่ เป็นที่ขังน้ำใหญ่ สุดที่จะประมาณ เป็นที่ประกอบด้วยสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่ กำเนิดแห่งรตนะต่างๆ ฉันใด ท่อธารบุญ ย่อมหลั่งไปสู่บัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ และให้ผ้า ให้เครื่องที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาดเป็นทาน ดุจแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ ทะเลฉะนั้น.
จบปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 180
ทุติยปัณณาสก์
ปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาปฐมปุญญาภิสันทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุญฺาภิสนฺทา ได้แก่ ความหลั่งไหลมาแห่งบุญ อธิบายว่า ความเกิดขึ้นแห่งบุญ. บทว่า กุสลาภิสนฺทา นั่นเป็นไวพจน์ของบทว่า ปุญฺาภิสนฺทา นั้นเอง. ชื่อสุขัสสาหาร ก็เพราะว่าความหลั่งไหลมาแห่งบุญเหล่านี้นั้น นำซึ่งความสุขมาให้. ชื่อโสวัคคิกา เพราะว่า ให้อารมณ์มีรูป เป็นต้นด้วยดี. ชื่อสุขวิปากาเพราะบุญเหล่านั้นมีความสุขเป็นวิบาก. ชื่อสัคคสังวัตตนิกา เพราะเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.
บทว่า จีวรํ ปริภุญฺชมาโน ความว่า ภิกษุได้ผ้าเพื่อทำจีวร เพราะเข็มและด้ายเป็นต้นไม่มี จึงเก็บไว้เองบ้าง ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง ห่มเองบ้าง ซึ่งผ้านั้น ในเวลาผ้าเก่าทำเป็นผ้าปูนอนบ้าง ไม่อาจทำเป็นผ้าปูนอนได้ ก็ทำเป็นผ้าถูพื้นเสียบ้าง ฉีกผ้าที่ไม่เหมาะจะถูพื้นออกทำเป็นผ้าเช็ดเท้าบ้าง ก็เรียกว่าบริโภคอยู่. แต่เมื่อใดคิดว่า ผ้านี้ใครไม่อาจทำเป็นผ้าเช็ดเท้าได้ก็กวาดทิ้งไป เมื่อนั้น ชื่อว่า ไม่บริโภค. บทว่า อปฺปมาณํ เจโตสมาธึ คือ อรหัตตผลสมาธิ. ด้วยบทว่า อปฺปมาโณ ตสฺส ปุญฺาภิสนฺโท นี้ ตรัสถึงบุญเจตนาของทายก นับประมาณมิได้ ด้วยว่าบุญเจตนาของทายกนั้น ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจการระลึกถึงบ่อยๆ ว่า ภิกษุ ผู้เป็นขีณาสพ บริโภคจีวรของเราดังนี้ ชื่อว่านับประมาณมิได้ คำนี้ตรัส
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 181
หมายถึงข้อนั้น. ส่วนในบิณฑบาตเป็นต้น ภิกษุใด บริโภคบิณฑบาต ดำรงชีพอยู่ด้วยบิณฑบาตนั้นและได้แม้ ๗ วัน ไม่บริโภคบิณฑบาตอื่น. ภิกษุนั้น ชื่อว่าบริโภคอยู่ซึ่งบิณฑบาตนั้นแล อยู่ได้แม้ ๗ วัน. ก็ในเสนาสนะแห่งหนึ่ง ภิกษุจงกรมอยู่บ้าง นั่งอยู่บ้าง ในสถานที่อยู่กลางคืนและพักกลางวันเป็นต้น ชื่อว่าบริโภคอยู่ตราบเท่าที่เธอยังไม่ละทิ้งเสนาสนะที่ได้แล้วไปถือเสนาสนะอื่น. ก็เมื่อความเจ็บไข้ สงบระงับด้วยยาขนานหนึ่ง เธอชื่อว่าบริโภคอยู่ตราบเท่าที่เธอยังไม่บริโภคยาขนานอื่น.
บทว่า พหุเภรวํ ได้แก่ ประกอบด้วยอารมณ์อันน่ากลัวมาก. บทว่า รตนคณานํ ได้แก่ แห่งรตนะที่ประเสริฐ ๗ อย่าง. บทว่า อาลยํ ได้แก่ สถานที่อยู่อาศัย. บทว่า ปุถู สวนฺติ ได้แก่ แม่น้ำเป็นอันมากไหลไป. บทที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑