สัญญาเจตสิกกระทำกิจจำ
โดย เมตตา  31 ส.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 13408


จิตเกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา สัญญาความทรงจำกระทำกิจจำ หมายรู้ลักษณะของอารมณ์ทุกๆ ขณะที่เกิด ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เพียงแต่ภพชาตินี้ ไม่ว่าภพชาติ

ไหนก็ตาม สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทุกๆ ขณะจำได้หมดทุกๆ ขณะที่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้องกระทบสัมผัส และการคิดนึก สัญญาเจตสิก

กระทำกิจจำ หมายรู้ลักษณะของอารมณ์สืบต่อสะสมอยู่ในจิตต่อไปเรื่อยๆ

ขออนุโมทนาค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย วิริยะ  วันที่ 2 ก.ย. 2552

เรียนถามค่ะ

สัญญาเจตสิกกระทำกิจจำ ในขณะคิดนึกอย่างไร

ขอบพระคุณค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย prachern.s  วันที่ 2 ก.ย. 2552
สัญญาเจตสิกกระทำกิจจำอารมณ์ คือจิตรู้อารมณ์ใดสัญญาก็จำอารมณ์นั้น

ในขณะที่คิดนึกขณะนั้นจิตรู้อะไร สัญญาก็จำอารมณ์นั้นครับ

ความคิดเห็น 3    โดย วิริยะ  วันที่ 2 ก.ย. 2552

เรียนถามความเห็นที่ 2

เมื่อตากระทบรูป เช่นดอกกุหลาบ สัญญาเจตสิก ทำหน้าที่จำได้ว่าเป็นดอกกุหลาบ และเมื่อจิตระลึกรู้ ความรู้สึกเกลียด สัญญาเจตสิก ทำกิจอย่างไร

ขอบพระคุณค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย BudCoP  วันที่ 2 ก.ย. 2552

นโม อนิจฺจสญฺญาย : ขอน้อม อนิจจสัญญา


สวัสดีครับ ทุกท่าน ขอร่วมสนทนาด้วยคน ครับ.


ลักขณาทิจจตุกะของสัญญา

สญฺชานน ลกฺขณา

มีความจำ เป็นลักษณะ

ปุนสญฺชานน ปจฺจยนิมิตฺตกรณ รสา

มีการหมายไว้และจำได้ เป็นกิจ

ยถาคหิต นิมิตฺตวเสน อภินิเวสกรณ ปจฺจุปฏฺฐานา

มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็นผล

ยถาอุปฏฺฐิตวิสยปทฏฺฐานา

มีอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นเหตุใกล้


อธิบาย :

สัญญา เป็นสิ่งที่จำได้ : สัญชานนลักขณา ครับ.

ขณะเกิดขึ้น สัญญาจะทำหน้าที่ (กิจ) ทำเครื่องหมายไว้ คือ จะเล็ง หมายหัว มาร์คตัวสิ่งนั้นไว้ ว่าลักษณะ รูปร่างสัณฐาน หน้าตา ท่าทาง ขอบเขต เป็นต้นเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถจำสิ่งนั้นได้อีก ครับ, ท่านอุปมาเหมือน ช่างไม้ที่ทำเครื่องหมายไว้ที่ไม้ ครับ. ในภาษาบาลีท่านว่า ปุนสัญชานนปัจจยนิมิตตกรณรสา.

ถ้าสัญญาทำกิจในเรื่องใดแล้ว จะพบว่า คนๆ นั้นมักยึดถือ เชื่อมั่น เอาตามที่จำได้นั่นแหละไว้ก่อน เช่น ถ้าเกิดเห็นสีขาวมา คนโดยมากก็จะคิดว่าเป็นสีขาวก่อน ไม่มีค่อยมีใครที่คิดเลยไปถึงว่า "เป็นวัณณรูป" เป็นต้น, ซึ่งการมีสัญญาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ถ้าไม่มีปัญญา จะใกล้ต่อทิฏฐิ, แต่ถ้ามีความรู้จะใกล้ต่อสัมมาทิฏฐิเพราะสัญญาเป็นปทัฏฐานของสติ ครับ.

ถ้ามีลักษณะอย่างนี้ แสดงว่า สัญญาทำกิจไว้ดี แต่ไม่ได้หมายความว่า นั่นเป็นสัญญาที่ดีนะครับ เพราะอาจจำวิธีฆ่าคนเก่งก็ได้. อย่างนี้บาลีท่านว่า ยถาคหิตนิมิตตวเสนอภินิเวสกรณปัจจุปัฏฐานา.

ส่วนเหตุที่ทำให้เกิดสัญญานั้น คือ อารมณ์เหมือนกับที่มาปรากฎทางทวารทั้ง 6ครับ, นั่นหมายถึง สัญญาจะจำทุกอารมณ์แบบเดียวกับที่มาตามทวาร ซึ่งต่างจากจิตและปัญญาที่จะคิดลึกลงไปกว่านั้นอีก ครับ. เหตุให้เกิดอย่างนี้ ตรงกับภาษาบาลีว่ายถาอุปัฏฐิตวิสยปทัฏฐานา ครับ.

สุดท้าย ... ขอจงเป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดลักษณะ

ตามคำสอนโดยทั่วกัน ครับ ...


ความคิดเห็น 5    โดย prachern.s  วันที่ 3 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาในวิริยะของ ท่านBudCoP เป็นอย่างยิ่งครับ เพราะแต่ละครั้ง ท่านให้

รายละเอียดได้ครบเลย

และเรียนความเห็นที่ ๓ ทุกครั้งที่สัญญาเกิดมีกิจจำทั้งนั้น ขณะที่สัญญาเกิดกับจิตใด

สัญญาก็จำในสิ่งที่จิตรู้ ขณะที่สติระลึกรู้ความรู้สึกเกลียด สัญญาก็จำความรู้สึกเกลียด นั้นนั่นเอง เพราะขณะนั้นจิตมีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ครับ


ความคิดเห็น 6    โดย วิริยะ  วันที่ 3 ก.ย. 2552

ขอบคุณและอนุโมทนาต่อความเห็นที่ 4 และความเห็นที่ 5 ค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย วิริยะ  วันที่ 3 ก.ย. 2552

เรียนความเห็นที่ 4 และที่ 5

ที่จริงแล้ว พยายามจะกำลังเชื่อมโยง เกี่ยวกับเรื่องของการถูกชะตา และ ไม่ถูกชะตาคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ว่าเกิดจากอะไร ดิฉันคงต้องย้อนกลับไปที่การระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังเกิดอยู่ขณะนี้คงจะดีกว่า ว่าระลึกรู้ว่าชอบ หรือ ระลึกรู้ว่าไม่ชอบ

ขอบพระคุณค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย BudCoP  วันที่ 3 ก.ย. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13408 ความคิดเห็นที่ 7 โดย วิริยะ

เรียนความเห็นที่ 4 และที่ 5

ที่จริงแล้ว พยายามจะกำลังเชื่อมโยง เกี่ยวกับเรื่องของการถูกชะตา และ ไม่ถูกชะตาคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ว่าเกิดจากอะไร ดิฉันคงต้องย้อนกลับไปที่การระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังเกิดอยู่ขณะนี้คงจะดีกว่า ว่าระลึกรู้ว่าชอบ หรือ ระลึกรู้ว่าไม่ชอบ

ขอบพระคุณค่ะ

นโม สันทิฏฐิกสฺส : ขอนอบน้อมธรรมท้าพิสูจน์

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ประเชิญ ครับ, ผมเองมีประสบการณ์น้อย ศึกษามายังไม่ถึง10 ปี. หากมีอะไรจะให้คำแนะนำ เรียนเชิญ อนุเคราะห์ผมด้วย ครับ.

ขออนุญาตทุกท่านนำเสนอความเห็นเพิ่มเติมในที่นี้อีกครั้งครับ ..

เรื่องถูกชะตาไม่ถูกชะตานี้ ควรมุ่งประเด็นเรื่องของความคุ้นเคย เป็นหลัก คือ ควรเน้นเรื่องอุปนิสสยปัจจัย ในการศึกษาเรื่องถูกชะตาไม่ถูกชะตานี้ ครับ, แต่ถ้าให้เจาะเป็นองค์ธรรมทีละองค์ ผมมักพบว่า ไม่มีใครตอบให้ชัดตรงใจได้ ครับ. อุปนิสสยปัจจัยนี้ซับซ้อนมาก เพราะเป็นเรื่องของความสัมพันธ์กันของสภาพธรรมจำนวนมาก ไม่ใช่เพียงสัญญาดวงเดียว หรือ ตัณหาดวงเดียว, แม้คนมีความรู้มาก ก็ไม่ใช่ว่าจะช่วยอธิบายคำถามแนวอุปนิสสยปัจจัย ให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ ต้องอาศัยความเพียรศึกษา และ ประสบการณ์ โดยเฉพาะความแม่นยำในองค์ธรรม ยิ่งแม่นยำเท่าไร ยิ่งเข้าใจอุปนิสสยปัจจัยได้ดีเท่านั้น ครับ.

เมื่อเป็นเรื่องที่ยากดังกล่าวข้างต้น ผมจึงขอเสนอความเห็นเรื่องถูกชะตาอย่างกว้างๆ โดยแยกเป็น 2 กรณี คือ 1. ถูกชะตากับไม่ถูกชะตา 2. เฉยไม่รู้สึกอะไร ไว้ดังนี้ :

1. กรณีถูกชะตาหรือไม่ถูกชะตา : คุณวิริยะ อาจเคยเสพคนๆ หนึ่งมาบ่อย และอาจจะเพิ่งเสพมาไม่นาน พอมาเจอสภาพแวดล้อมคล้ายๆ กับตอนที่เสพนั่น ทั้งดินฟ้าอากาศ แสงสี กลิ่น รส อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ก็ทำให้รู้สึกสะกิดใจว่าชอบหรือไม่ชอบขึ้นมา ครับ.

จะขอยกตัวอย่างในกรณีที่ถูกชะตา มาให้พิจารณา เช่น คนๆ หนึ่งเคยเป็นลูกชายของคุณวิริยะ ในชาติสองล้านชาติที่แล้ว พอมาชาตินี้ ได้เจอกันอีก เขาคนนั้นก็ดันเกิดเป็นผู้ชาย หน้าตาคล้ายแบบเดิม บ้านก็ดันคล้ายแบบเดิม, อุปนิสัยก็คนๆ เดิม, แต่งตัวก็แบบเดิมๆ , ประเทศก็มีอากาศคล้ายเมื่อ 2 ล้านชาติที่แล้ว เป็นต้น สรุปว่า คล้ายเมื่อ 2 ล้านชาติที่แล้วไปเสียหมด.

ต่างแค่ คุณกับเขา ไม่ได้เป็นแม่ลูกกันแล้ว ในชาตินี้.

อย่างนี้จะไม่รู้สึกถูกชะตาได้อย่างไร.

2. กรณีเฉยไม่รู้สึกอะไร : ข้อนี้เป็นมุมมองในทางกลับกัน คนอื่นๆ ก็อาจเคยเป็นกระทั่งพ่อ แม่ กันมาแล้วในบางชาติที่ผ่านมา แต่ว่า ชาตินี้ เขาเกิดไม่ถูกที่ ไม่ถูกจุด กลายร่างไป ไม่เหมือนกับที่เคยเจอกันในสภาพแวดล้อมของชาตินั้น เราจึงจำเขาไม่ได้.

เช่น สภาพแบบคนฝรั่งยุโรปตอนบน อากาศแบบอังกฤษ ภูมิประเทศแบบอังกฤษ ในภพชาติหนึ่งคุณวิริยะอาจเคยเป็นพี่ชายของเพื่อนบ้าน ซึ่งตอนนั้นเขา ขาว สูง หล่อ ล่ำ, แต่ปัจจุบันชาตินี้ เพื่อนบ้านกลับเตี้ย แคระ ดำ อีกด้วย ซึ่งคุณไม่ค่อยได้เกิดร่วมกับเขาในสภาพนี้ ซ้ำคุณเองก็มาเป็นผู้หญิงเสียอีก ประเทศก็เป็นประเทศไทย ร้อนอบอ้าว ต่างกันไปอีก, จึงไม่แปลกเลย ที่คุณวิริยะจะไม่สะกิดใจเท่าใดนัก เมื่อเจอเพื่อนบ้านคนนี้ เพราะเขาไม่เหมือนกับที่เราเคยคุ้นมาในอดีตชาตินั้น นั่นเอง ครับ.

ดังนั้นเรื่องถูกชะตา ก็คือความรู้สึกเหมือนกับตอนเจอคนที่รู้จักกันนั่นเอง ครับ, ต่างกันแค่ว่า คุณจำเขาคนนั้นไม่ได้เท่านั้นเองว่า "ไปเจอกันมาแต่ภพไหน" เพราะลมกัมมชวาตพัดความจำในอดีตชาติไปหมดแล้ว แต่พัดอุปนิสสยปัจจัยที่เหลือและปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือไปไม่ได้ ก็เลยเหลือแค่ คุ้นๆ หรือ ถูกชะตานั่นเอง.

ลองไปนึกถึงตอนที่คุณวิริยะเจอลูกค้า หรือ เพื่อนเก่า ที่จำกันไม่ได้ เพียงคุ้นๆ ดู นั่นความรู้สึกเดียวกันเลย ต่างกันแค่สิ่งนี้เป็นชาติปัจจุบันเท่านั้นเอง.

สรุปว่า เป็นผลของอุปนิสสยปัจจัยเป็นหลัก ครับ.

เอาอย่างง่ายเท่านี้ก่อนนะครับ, ที่ผมเห็นในอีกกระทู้ ผมว่ามีคนอธิบายเยอะแล้ว ถ้าสามารถจะเข้าใจได้จริง น่าจะเข้าใจได้มาจากกระทู้นั้นแล้ว, ฉะนั้นจึงขอนำเสนอความเห็นอย่างง่ายๆ พอให้ไม่สงสัยไปก่อน ส่วนที่เหลือ คุณอาจจะหาได้เอง หรือพูดคุยกันได้อีกในโอกาสถัดไป (ถ้าไม่ลาโลกกันไปก่อน) ครับ.

ขอบคุณที่ได้ให้โอกาสแสดงความเห็น ครับ.


ความคิดเห็น 9    โดย วิริยะ  วันที่ 3 ก.ย. 2552

เรียนความเห็นที่ 8

ยินดีมากค่ะที่ได้อ่านความเห็นของคุณ อ่านแล้วได้แง่คิดขึ้นมา พร้อมกับคำยากๆ ที่มักได้พบเห็นในความเห็นของคุณ ทำให้รู้สึกว่า ความรู้ทางพระธรรมของดิฉันนั้น แค่หางอึ่งจริงๆ ก่อนอื่นคงต้องไป หาความหมายของ อุปนิสสยปัจจัย เสียก่อน ฟังจากท่านอาจารย์บรรยายมาแล้วนะคะ แต่จำไม่ได้แล้วว่า แปลว่าอะไร

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย เมตตา  วันที่ 4 ก.ย. 2552

การศึกษาพระธรรมไม่ใช่เพียงแต่จำชื่อ หรือเรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การค่อยๆ อบรมเจริญความเข้าใจถูกในลักษณะสภาพธรรมที่กำลัง

ปรากฎในชีวิตประจำวันไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ

เมื่อศึกษาและพิจารณาถูกต้องเห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฎบ่อยๆ เนืองๆ

สัญญาที่เกิดร่วมด้วยขณะนั้น ทำกิจจำถูกต้องในลักษณะสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง สัญญาที่มั่นคงจึงเป็นเหตุใกล้ให้สติปัฏฐานเกิด สภาพธรรม

กำลังปรากฎอยู่ทุกๆ ขณะ เกิดขึ้นแล้วดับไปอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่ควรรู้ควรอบรมให้เกิดความเห็นถูกตรงตามความเป็นจริง สัญญาจำในปรมัตถ์อารมณ์

ไม่ใช่จำแต่ชื่อ และเรื่องราวของสภาพธรรม เพราะเหตุว่า ชื่อปิดบังสิ่งทั้งปวง..

ไม่สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย วันใหม่  วันที่ 4 ก.ย. 2552

เรียนความเห็นที่ 9

ความเห็นที่ 10 มีประโยชน์มาก แสดงว่าควรเข้าใจสิ่งใด ไม่ต้องไปไกล ขอให้เริ่มเข้าใจจริงๆ แม้แต่คำว่าธรรม ให้เข้าใจก่อน สาธุ เชิญคลิกฟังที่นี่

อย่าเพิ่งไปไหนไกล


ความคิดเห็น 12    โดย วิริยะ  วันที่ 5 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ