[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 182
๘. พาหิติยสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 182
๘. พาหิติยสูตร
[๕๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังพระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังบุพพารามปราสาทของมิคารมารดาเพื่อพักกลางวัน.
[๕๕๐] ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นประทับคอช้าง ชื่อว่าบุณฑรีก เสด็จออกจากพระนครสาวัตถีในเวลากลางวัน ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์กําลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามมหาอํามาตย์ชื่อสิริวัฑฒะว่า ดูก่อนเพื่อนสิริวัฑฒะ นั่นท่านพระอานนท์หรือมิใช่. สิริวัฑฒมหาอํามาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช นั่นท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาตรัสว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไป จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วจงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้าตามคําของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยพระเศียร และจงเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด บุรุษนั้นรับพระราชดํารัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทท่านพระอานนท์แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 183
ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยพระเศียร และรับสั่งมาว่า ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด ดังนี้. ท่านพระอานนท์ได้รับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
ทรงดําเนินไปหาพระอานนท์
[๕๕๑] ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จพระราชดําเนินด้วยคชสาร ไปจนสุดทางที่ช้างจะไปได้ แล้วเสด็จลงจากคชสาร ทรงดําเนินเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงอภิวาทแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านพระอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอโอกาสเถิด ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำอจิรวดีเถิด. ท่านพระอานนท์รับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ. ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ได้เข้าไปยังฝังแม่น้ำอจิรวดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เข้าจัดถวาย ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จพระราชดําเนินด้วยคชสารไปจนสุดทางที่ช้างจะไปได้ แล้วเสด็จลงทรงดําเนินเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงอภิวาทแล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเถิด ขอนิมนต์ท่านพระอานนท์นั่งบนเครื่องลาดไม้เถิด. ท่านพระอานนท์ทูลว่าอย่าเลย มหาบพิตร เชิญมหาบพิตรประทับนั่งเถิด อาตมภาพนั่งบนอาสนะของอาตมภาพแล้ว. พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงประทับนั่งบนพระราชอาสน์ที่เขาแต่งตั้งไว้.
[๕๕๒] ครั้นแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พึงทรงประพฤติกายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนบ้างหรือหนอ. ท่านพระอานนท์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 184
ถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ไม่พึงทรงประพฤติกายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พึงทรงประพฤติวจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งทั้งหลายพึงติเตียนบ้างหรือหนอ.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ไม่พึงทรงประพฤติมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวายพระพร.
ปัญหากายสมาจารเป็นต้น
[๕๕๓] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ก็เราทั้งหลายไม่สามารถจะยังข้อความที่ท่านพระอานนท์ให้บริบูรณ์ด้วยการแก้ปัญหา ให้บริบูรณ์ด้วยปัญหาได้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาแล้ว ก็ยังกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่นได้ เราทั้งหลายไม่ยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้นโดยความเป็นแก่นสาร ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ส่วนชนเหล่าใดเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา ใคร่ครวญ พิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่น เราทั้งหลายย่อมยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้นโดยความเป็นแก่นสาร ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นอกุศล ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 185
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่เป็นอกุศลเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่มีโทษแล เป็นอกุศล ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีโทษเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่มีความเบียดเบียนแล เป็นกายสมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากแล เป็นกายสมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารใดแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคลผู้มีกายสมาจารนั้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่เป็นอกุศลแล ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่เป็นอกุศลเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีโทษแล เป็นอกุศล ขอถวายพระพร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 186
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีโทษเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียนแลเป็นมโนสมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากแล เป็นมโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารใดแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคลผู้มีมโนสมาจารนั้น กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.
[๕๕๔] ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งปวง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียนเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นกุศลแล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล เป็นกุศล ขอถวายพระพร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 187
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่ไม่มีโทษเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนแล เป็นกายสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นกายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบากเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารใดแล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายของบุคคลผู้มีกายสมาจารนั้นย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจาร ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน เป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารเป็นกุศลแล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่ไม่มีโทษแล เป็นมโนสมาจารเป็นกุศล ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่ไม่มีโทษเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนแล เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวายพระพร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 188
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบากแล เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.
ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบากเป็นไฉน.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารใดแล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายของบุคคลผู้มีมโนสมาจารนั้นย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.
[๕๕๕] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งปวง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร.
ทรงชื่นชมยินดีภาษิต
[๕๕๖] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์กล่าวภาษิตนี้ดีเพียงใด เราทั้งหลายมีใจชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์นี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายยินดีเป็นอย่างยิ่งด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์อย่างนี้ ถ้าว่าช้างแก้วพึงควรแก่ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ช้างแก้ว เราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ถ้าม้าแก้วพึงควรแก่ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ม้าแก้ว เราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ถ้าว่าบ้านส่วยพึงควรแก่ท่านพระ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 189
อานนท์ไซร้ แม้บ้านส่วย เราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ก็แต่ว่าเราทั้งหลายรู้อยู่ว่า นั่นไม่สมควรแก่ท่านพระอานนท์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผ้าพาหิติกาผืนนี้ โดยยาว ๑๖ ศอกถ้วน โดยกว้าง ๘ ศอกถ้วน พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทรงใส่ในคันฉัตรส่งมาประทานแก่ข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์รับผ้าพาหิติกานั้นเถิด.
อา. ดูก่อนมหาบพิตร อย่าเลย ไตรจีวรของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว ขอถวายพระพร.
[๕๕๗] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม่น้ำอจิรวดีนี้ ท่านพระอานนท์และเราทั้งหลายเห็นแล้ว เปรียบเหมือนมหาเมฆยังฝนให้ตกเบื้องบนภูเขา ภายหลังแม่น้ำอจิรวดีนี้ ย่อมไหลล้นฝังทั้งสองฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทําไตรจีวรของตน ด้วยผ้าพาหิติกานี้ และจักแจกไตรจีวรอันเก่ากับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ทักษิณาของเราทั้งหลายนี้คงจักแพร่หลายไปดังแม่น้ำล้นฝั่งฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์โปรดรับผ้าพาหิติกาเถิด.
ท่านพระอานนท์รับผ้าพาหิติกา. ลําดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสอําลาท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ เราทั้งหลายขอลาไปบัดนี้ เราทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก. ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด. ลําดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์แล้ว เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทท่านพระอานนท์ ทรงกระทําประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป.
[๕๕๘] ลําดับนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 190
ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถึงการเจรจาปราศรัยกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และได้ทูลถวายผ้าพาหิติกานั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้วหนอ ที่ท้าวเธอได้เห็นอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบพาหิติยสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 191
อรรถกถาพาหิติยสูตร
พาหิติยสูตร (๑) มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในพระสูตรนั้น บทว่า เอกปุณฺฑริกนาคํ ได้แก่ ช้างที่มีชื่ออย่างนี้.
ได้ยินว่า เหนือซี่โครงของพญาช้างนั้นมีที่ขาวอยู่ประมาณเท่าผลตาล เพราะฉะนั้น เขาจึงตั้งชื่อพระยาช้างนั้นว่า เอกปุณฑริกะ.
บทว่า สิริวฑฺฒํ มหามตฺตํ ได้แก่ มหาอํามาตย์มีชื่ออย่างนั้น ซึ่งขึ้นช้างอีกเชือกหนึ่งต่างหากไปด้วย เพื่อจะสนทนาตามความผาสุก.
บทว่า โน ในคําว่า อายสฺมา โน นี้ เป็นนิบาตใช้ในการถาม. มหาอํามาตย์กําหนดอาการที่พระเถระทรงสังฆาฏิและบาตรได้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช.
บทว่า โอปารมฺโภ ความว่า ควรติเตียน คือ ควรแก่อันยกโทษ. พระราชาตรัสถามว่า เราจะถามอย่างไร. พระราชาตรัสถามว่า พระสูตรนี้เกิดขึ้นในเรื่องที่งาม เราจะถามเรื่องนั้น.
บทว่า ยํ หิ มยํ ภนฺเต ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายไม่อาจถือเอาบทว่า "อันสมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้ง" นี้ใดให้บริบูรณ์ด้วยปัญหาได้ เหตุอันนั้น ท่านพระอานนท์ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้ให้บริบูรณ์แล้ว.
บทว่า อกุสโล ได้แก่ อันเกิดแต่ความไม่ฉลาด.
บทว่า สาวชฺโช ความว่า เป็นไปกับด้วยโทษ.
บทว่า สพฺยาปชฺโฌ ความว่า เป็นไปกับด้วยทุกข์.
ในบทว่า ทุกฺขวิปาโก นี้ ท่านกล่าวถึงวิบากที่ไหลออก.
บทว่า ตสฺส ความว่า แก่กายสมาจารที่เป็นไปแล้วเพื่อประโยชน์แก่ความเบียดเบียนตนเองเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วนั้น.
ในคําว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตละอกุศลธรรมได้ทั้งหมดแล ประกอบด้วยกุศลธรรม นี้ คือ ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมสิ้นทุกอย่างนั้นเองแล
(๑) ฉ. พาหิติกสูตร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 192
เมื่อท่านกล่าวว่า "ขอถวายพระพรย่อมสรรเสริญ" คําถามย่อมมีด้วยประการใด เป็นอันกล่าวอรรถด้วยประการนั้น อนึ่ง พยากรณ์อย่างนี้ ไม่พึงเป็นภาระ เพราะแม้ผู้ที่ยังละอกุศลไม่ได้ ก็พึงสรรเสริญการละ อนึ่ง เพื่อแสดงว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทําอย่างไร ก็มีปรกติกล่าวอย่างนั้น เพราะทรงละอกุศลได้แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนั้น.
แม้ในฝ่ายขาวก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า พาหิติยา นี้ เป็นชื่อของผ้าที่เกิดขึ้นในพาหิติรัฐ.
คําว่า โดยยาว ๑๖ ศอก ความว่า โดยยาวมีประมาณ ๑๖ ศอกถ้วน.
คําว่า โดยกว้าง ๘ ศอก ความว่า โดยกว้าง ๘ ศอกถ้วน.
คําว่า ได้ทูลถวาย (ผ้าพาหิติกา) แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ได้มอบถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็แลครั้นถวายแล้ว ได้ผูกทําเป็นเพดานในพระคันธกุฎี. ตั้งแต่นั้น พระคันธกุฎีก็งดงามโดยยิ่งกว่าประมาณ.
คําที่เหลือในที่ทุกแห่ง ตื้นทั้งนั้นแหละ.
อนึ่ง เทศนานี้ จบแล้วด้วยสามารถแห่งไนยบุคคลแล.
จบอรรถกถาพาหิติยสูตรที่ ๘