[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 46
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ประวัติพระภัททกาปิลานีเถรี
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 46
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
๑๐. ประวัติพระภัททกาปิลานีเถรี
ในสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ปุพเพนิวาสํ อนุสฺสรนฺตีนํ ท่านแสดงว่า พระภัททกาปิลานีเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มีปุพเพนิวาสญาณ ตามระลึกขันธสันดานที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้.
ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ นางบังเกิดในเรือนแห่งสกุล กรุงหังสวดี ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มีบุพเพนิวาสญาณ จึงกระทำกุศลกรรมให้ยิ่งยวด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 47
ขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายตายเกิดไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น ถือเอาปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุงพาราณสี กระทำการทะเลาะกับน้องสาวของตน เมื่อน้องสาวนั้นถวายบิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็คิดว่า นางนี้ถวายบิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว จักให้เราตกอยู่ในอำนาจของตน ดังนี้แล้ว จึงรับบาตรจากมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า เทอาหารทิ้งเสีย เอาเปือกตมใส่จนเต็มแล้วถวายไป. มหาชนต่างติเตียนกันว่า นางนี้เป็นพาล พูดกันว่า เธอทะเลาะกับหญิงผู้ใด ไม่กระทำอะไรแก่หญิงผู้นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทำผิดอะไรต่อเธอหรือ. นางละอายด้วยคำพูดของตนเหล่านั้น จึงรับบาตรมาใหม่ เทเปือกตมออกล้าง เอาฝุ่นหอมขัดสี ใส่อาหารมีรสอร่อย ๔ อย่างจนเต็ม แล้ววางบาตรซึ่งสดใสด้วยเนยใสมีสีประดุจห้องดอกบัวหลวงซึ่งเทราดหน้าไว้บนมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า บิณฑบาตนี้เกิดมีแสงสุกใสฉันใด ขอให้สรีระของดิฉันจงมีแสงสุกใสฉันนั้นเถิด. เรื่องนี้ทั้งหมดพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องของพระมหากัสสปเถระ.
ส่วนพระมหากัสสปเถระถือเอาทางขวา ไปยังโคนต้นไทรชื่อพหุปุตตะอันเป็นสำนักของพระทศพล. นางภัททกาปิลานีถือเอาทางซ้าย ได้ไปยังอารามของพวกปริพาชก เพราะเหตุที่การบรรพชามาตุคามพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงอนุญาต. ต่อเมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงได้บรรพชาแล้ว นางจึงได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักของพระเถรี ในกาลต่อมา กระทำวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุพระอรหัต จึงเป็นผู้มีความช่ำของชำนาญในบุพเพนิวาสญาณ. ลำดับนั้น พระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 48
ประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่างๆ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้มีบุพเพนิวาสญาณ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐