มหาวรรค กถาวัตถุ มหาปัณณาสก์
โดย บ้านธัมมะ  17 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42088

[เล่มที่ 80] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๑

มหาปัณณาสก์

มหาวรรค

ปุคคลกถา

นิคคหะ ๘

นิคคหะที่ ๑ หน้า 1

อนุโลมปัญจกะและอรรถกถา 1/1

ปฏิกัมมจตุกกะและอรรถกถา 2/35

นิคคหจตุกกะและอรรถกถา 3/37

อุปนยนจตุกกะและอรรถกถา 4/40

นิคคมจตุกกะและอรรถกถา 5/43

นิคคหะที่ ๒ หน้า 45

ปัจจนีกปัญจกะและอรรถกถา 6/45

ปฏิกัมมจตุกกะและอรรถกถา 7/47

นิคคหจตุกกะและอรรถกถา 8/49

อุปนยนจตุกกะและอรรถกถา 9/50

นิคคมจตุกกะและอรรถกถา 10/51

นิคคหะที่ ๓ และอรรถกถา 11/53

นิคคหะที่ ๔ และอรรถกถา 12/55

นิคคหะที่ ๕ และอรรถกถา 13/57

นิคคหะที่ ๖ และอรรถกถา 14/59

นิคคหะที่ ๗ และอรรถกถา 15/60

นิคคหะที่ ๘ และอรรถกถา 16/61

สุทธิกสังสันทนาและอรรถกถา 17/64

โอปัมมสังสันทนาและอรรถกถา 26/74

จตุกกนยสังสันทนาและอรรถกถา 50/87

ลักขณยุตติกถาและอรรถกถา 60/97

วจนโสธนะและอรรถกถา 62/100

ปัญญัตตานุโยคและอรรถกถา 68/106

คติอนุโยคและอรรถกถา 76/113

อุปาทาปัญญัตตานุโยคและอรรถกถา 92/132

กัลยาณวรรคและอรรถกถา 122/158

อภิญญานุโยคและอรรถกถา 165/186

ญาตกานุโยคและอรรถกถา 166/188

ปกิณณกะและอรรถกถา 177/201

ปริหานิกถาและอรรถกถา 191/222

พรหมจริยกถาและอรรถกถา 255/279

โอธิโสกถาและอรรถกถา 279/302

ชหติกถาและอรรถกถา 286/313

สัพพมัตถีติกถาและอรรถกถา 301/325

อตีตขันธาติกถาและอรรถกถา 389/391

เอกัจจมัตถีติกถาและอรรถกถา 408/406

สติปัฏฐานกถาและอรรถกถา 426/418

เหวัตถีติกถาและอรรถกถา 437/428


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 80]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ (๑) ภาคที่ ๑

มหาปัณณาสก์

มหาวรรค

ปุคคลกถา

นิคคหะ ๘

อนุโลมปัญจกะ

[๑] สกวาที ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.


(๑) คัมภีร์ที่ ๕ บาลีเล่มที่ ๓๗


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 2

ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ (๑) เป็นปรมัตถะ (๒) ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ (๓) หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่าข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเป็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.

อนุโลมปัญจกะ จบ


(๑) สัจฉิกัตถะ สภาวะที่จริงแท้.

(๒) ปรมัตถะ อรรถอันยิ่ง อันอุดม อันไม่ต้องยึดถือด้วยอาการมีการฟังตามกัน มาเป็นต้น ทั้งนี้ หมายถึงสภาวธรรมที่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ อย่าง.

(๓) นิคคหะ การข่ม การปราบปราม.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 3

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาปัญจปกรณ์

อรรถกถากถาวัตถุ

อารัมภกถา

    พระสัมมาสัมพุทธะผู้เป็นศาสดาของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้หาบุคคลอื่นเปรียบมิได้ ผู้อันหมู่แห่งทวยเทพยกย่องแล้ว ทรงประทับนั่ง ณ เทวโลก. พระองค์ทรงเป็นผู้ฉลาดในบัญญัติทั้งปวง ทรงเป็นอุตตมบุคคลในโลก ครั้นตรัสคัมภีร์ปุคคลบัญญัติอันแสดงถึงบัญญัติจบลงแล้ว จึงทรงแสดงกถาวัตถุปกรณ์โดยความเป็นเรื่องแห่งถ้อยคำ มีเรื่องบุคคลเป็นต้นอันใดไว้แล้วโดยสังเขป.

บัดนี้ ลำดับแห่งการสังวรรณนาเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้แล้วในสุราลัยเทวโลกโดยการเริ่มตั้งไว้แต่เพียงหัวข้อนั่นแหละ อันพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเจ้า


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 4

จำแนกแล้วในมนุษย์โลกนั้นถึงพร้อมแล้วเพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนากถาวัตถุ-ปกรณ์นั้น ขอท่านทั้งหลายผู้มีจิตตั้งมั่น จงสดับตรับฟังพระสัทธรรมนั้นเทอญ.

นิทานกถา

    ความย่อว่า ในที่สุดลงแห่งการแสดงยมกปาฏิหาริย์ พระผู้มี-พระภาคเจ้าเสด็จเข้าจำพรรษา ณ แท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่โคนไม้ปาริชาติในเทวนคร ทรงกระทำพระมารดาให้เป็นองค์พยานตรัสอยู่ซึ่งพระอภิธรรมกถาแก่เทวบริษัท ครั้นทรงแสดงปกรณ์ธัมมสังคณีได้ ๑๐๐ ปี พวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ อันผิดจากพระ-ธรรมวินัย คือ :-

๑. ภิกษุเก็บเกลือเหลือไว้ในกลักสำหรับฉันกับอาหาร เห็นว่าสมควร.

๒. ภิกษุฉันอาหารเมื่อตะวันบ่าย ๒ นิ้ว เห็นว่าสมควร.

๓. ภิกษุห้ามภัตแล้วเข้าไปในละแวกบ้าน แล้วฉันภัตที่ไม่ทำวินัยกรรมก่อน หรือไม่เป็นเดนภิกษุไข้ เห็นว่าสมควร.

๔. ภิกษุอยู่ในอาวาสเดียวกันจะแยกทำสังฆกรรม เห็นว่าสมควร.

๕. ภิกษุทำอุโบสถไม่รอฉันทานุมัติ เห็นว่าสมควร.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 5

    ๖. ข้อปฏิบัติที่อุปัชฌาย์อาจารย์เคยประพฤติมาผิดถูกอย่างไรประพฤติตาม เห็นว่าสมควร.

๗. ภิกษุห้ามภัตแล้วฉันนมสดที่ยังไม่แปรเป็นนมส้ม เห็นว่าสมควร.

๘. ภิกษุดื่มสุราอ่อนๆ เห็นว่าสมควร.

๙. ภิกษุใช้ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชาย เห็นว่าสมควร.

๑๐. ภิกษุรับหรือยินดีเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน เห็นว่าสมควร.

พระยสเถระผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า กากัณฑกะ ฟังวัตถุ๑๐ ประการนั้นแล้ว ได้ถือเอาพระเจ้าอโศกราช ผู้เป็นโอรสของพระ-เจ้าสุสุนาคะ ให้เป็นพระสหาย แล้วคัดเลือกพระเถระ ๗๐๐ รูป ในจำนวนภิกษุ ๑,๒๐๐,๐๐๐ รูป คือ ๑๒ แสน ย่ำยีวัตถุ ๑๐ ประการเหล่านั้นแล้วก็ยกสรีระ คือ พระธรรมวินัยขึ้นสังคายนา.

ก็ภิกษุวัชชีบุตร มีประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป ถูกพระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายข่มขู่แล้ว คือติเตียนแล้ว จึงแสวงหาพวก ครั้นได้พวกที่เป็นทุพพลวะ อันสมควรแก่ตนก็จัดตั้งสำนักตระกูลอาจารย์ใหม่ชื่อว่า มหาสังฆิกะ แปลว่า พวกมาก ตระกูลอาจารย์ ๒ พวกอื่นอีกเกิดขึ้น คือ โคกุลิกะ และ เอกัพโยหาริกะ ซึ่งแตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะนั้น. ตระกูลอาจารย์ ๒ พวกอื่นอีก คือบัญญัตติวาทะ และพหุลิยะ ซึ่งมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า พหุสสุติกะ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 6

แตกแยกมาจากนิกายโคกุลิกะ. อาจริยวาท อื่นอีกชื่อว่า เจติยวาทเกิดขึ้นแล้วในระหว่างนิกายพหุลิยะนั้น นั่นแหละ. ในร้อยแห่งปีที่ ๒ คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ตระกูลอาจารย์ทั้ง ๕ ตระกูลเกิดขึ้นจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะด้วยประการฉะนี้. ตระกูลอาจารย์ทั้ง ๕ เหล่านั้น รวมกับมหาสังฆิกะเดิม ๑ ก็เป็น ๖ ตระกูลด้วยกัน.

ในร้อยแห่งปีที่ ๒ นั้น นั่นแหละ อาจริยวาท ทั้ง ๒ คือ มหิ-สาสกะ และวัชชีปุตตกะเกิดขึ้น แตกแยกมาจากเถรวาท. ในบรรดาอาจริยวาททั้ง ๒ นั้น อาจริยวาททั้ง ๔ คือ :- ธัมมุตตริยะ ๑ ภัทรยานิกะ ๑ ฉันนาคาริกะ ๑ สมิติยะ ๑ เกิดขึ้นเพราะแตกแยกมาจากนิกายวัชชีปุตตกะ. ในร้อยแห่งปีที่ ๒ นั่น นั่นแหละ อาจริยวาท ๒พวก คือ :- สัพพัตถิกวาทะ และ ธัมมคุตติกะ เกิดขึ้นเพราะการแตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหิสาสกะอีก. นิกายชื่อว่า กัสสปิกะเกิดขึ้นเพราะแตกแยกจากตระกูล สัพพัตถิกวาทะอีก. เมื่อนิกายกัสสปิกะทั้งหลายแตกกันแล้วก็เป็นเหตุให้นิกายชื่อว่า สังกันติกะอื่นอีกเกิดขึ้น เมื่อนิกายสังกันติกะทั้งหลายแตกกันแล้ว นิกายชื่อว่า สุตตวาทะก็เกิดขึ้น. อาจริยวาท ๑ นิกายเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะแตกแยกมาจากเถรวาทอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อาจริยวาท ๑๑ นิกายเหล่านี้รวมกับเถรวาทเดิมก็เป็น ๑๒ นิกาย.

ในร้อยแห่งปีที่ ๒ คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี อาจริยวาทคือ ลัทธิแห่งอาจารย์ ทั้งหมดรวม ๑๘ นิกาย คือ ๑๒ นิกาย


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 7

ที่แยกมาจากเถรวาทเหล่านี้ และนิกายอาจริยวาท ๖ ที่แตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะทั้งหลาย ฉะนี้แล.

คำว่า นิกาย ๑๘ นิกายก็ดี ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูลก็ดีเป็นชื่อของนิกายที่กล่าวมาแล้วเหล่านั้น นั่นแหละ. อนึ่งบรรดานิกาย ๑๘ นิกายเหล่านั้น ๑๗ นิกาย บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่แตกแยกกันมา ส่วนเถรวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน.

(โปรดดูแผนผังความเป็นมา ดังต่อไปนี้ :-)


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 8

แผนผังแสดงนิกายสงฆ์ในศตวรรษที่ ๓

เถรวาท มหาสังฆิกะ

มหิสาสกะ วัชชีปุตตกะ โคกุลิกะ เอกัพโยหาริกะ

สัพพัตถิกวทะ ธัมมุตตริยะ สมิติยะ

ฉันนาคาริกะ

กัสสปิกะ ภัทรยานิกะ ปัณณัตติวาทะ พหุลิยะ

สังกันติกะ เจติยวาทะ

สุตตวาทะ

๑. ภิกษุผู้ลามกทั้งหลาย ผู้เป็นชาววัชชีบุตร ผู้เป็นอธรรมวาที ถูกพระเถระ ผู้เป็นธรรมวาที ทั้งหลายขับออกแล้ว ได้พวกอื่นจึงตั้งคณาจารย์ใหม่.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 9

๒. ภิกษุ (๑) เหล่านั้นมีประมาณหมื่นรูปได้ประชุมกันรวบรวม คือทำการร้อยกรองพระธรรมวินัย เพราะฉะนั้น การร้อยกรองพระธรรมวินัยนี้ ท่านจึงเรียกว่า "มหาสังคีติ"แปลว่า การร้อยกรองใหญ่.


(๑) ภิกษุประมาณหมื่นรูปเหล่านั้นในที่นี้หมายถึงภิกษุวัชชีบุตร แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่าเป็นภิกษุพวกพระมหาเทพ ซึ่งให้กำเนิดนิกายมหาสิงฆิกวาที ปราวนย่อว่า พระมหาเทพเป็นบุตรพ่อค้าขายเครื่องหอมในแคว้นอวันตี ท่านอุปสมบทที่เมืองปาฏลีแคว้นมคธ เป็นผู้เรียนพระไตรปิฎกแตกฉาน วันหนึ่ง ถึงวาระที่ท่านจะแสดงปาฏิโมกข์ ท่านได้เสนอความเห็น ๕ ข้อ คือทิฏฐิ ๕ ข้อ ต่อที่ประชุมสงฆ์ ดังนี้ :-

๑. พระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนในความฝันได้.

๒. พระอรหันต์ยังมีอัญญาณ.

๓. พระอรหันต์ยังมีความสงสัย.

๔. พระอรหันต์จะต้องรู้ว่าตนได้มรรคผลต้องอาศัยผู้อื่นอีก.

๕. มรรคผลเกิดขึ้นอาศัยเปล่งคำว่า ทุกข์หนอๆ

ข้อเสนอของท่านนี้ บางพวกไม่เห็นด้วยจึงทำสังฆกรรมไม่ได้ ครั้นทราบถึงพระเจ้ากาลาโศกราชๆ ก็เสด็จมาห้ามมิให้เกิดการแตกแยกกัน พระมหาเทพจึงชี้ขาดโดยให้ระงับอธิกรณ์ ด้วยมติของที่ประชุมสงฆ์ ในที่สุดฝ่ายพระมหาเทพชนะเพราะมีพวกมาก ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้นเป็นฝ่ายเถรวาท ต่อมาพวกมหาเทพได้จัดการทำสังคีติด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่ จึงเรียกว่า มหาสังคีติ และต่อมานิกายนี้เกิดแตกกันอีก.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 10

๓. ภิกษุทั้งหลายผู้ทำมหาสังคีติ ได้ทำความขัดแย้งไว้ในพระศาสนา ทำลายสังคายนาเดิม แล้วทำการรวบรวมธรรมวินัยไว้เป็นอีกอย่างหนึ่ง.

๔. ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรที่สังคายนาไว้แล้วให้เป็นอย่างอื่น และทำลายอรรถและธรรมในพระวินัยในนิกายทั้ง ๕ ด้วย.

๕. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้แม้ซึ่งธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วโดยปริยายและทั้งโดยนิปปริยาย ไม่รู้อรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้แล้วและทั้งไม่รู้จักอรรถที่ควรแนะนำ.

๖. ภิกษุเหล่านั้นๆ ได้กำหนดอรรถไว้เป็นอย่างอื่นจากอรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยหมายเอาอย่างหนึ่ง ได้ยังอรรถมากมายให้พินาศไปเพราะฉายาแห่งพยัญชนะ (๑)


(๑) บาลีว่า "พยญฺชนจฺฉายาย" มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ พยญฺชน + ฉายา ก็ได้ พยญฺชน + อจฺฉายาย ก็ได้ นัยแรกแปลว่า เพราะเงาพยัญชนะ หรือเพราะรูปพยัญชนะ นัยหลังแปลว่า เพราะไม่มีพยัญชนะ เพราะไม่มีรูปพยัญชนะเพราะไม่รุ่งโรจน์ในพยัญชนะ เพราะไม่ฉลาดในพยัญชนะ.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 11

    ๗. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งพระสูตรบางอย่างและพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย แล้วแต่งพระสูตรเทียม พระวินัยเทียมทำให้เป็นอย่างอื่น.

๘. คัมภีร์บริวารอัตถุธาระก็ดี อภิธรรมทั้ง๖ ปกรณ์ก็ดี ปฏิสัมภิทานิทเทสก็ดี ชาดกบางส่วนก็ดี.

๙. คัมภีร์มีประมาณเท่านี้ ถูกภิกษุเหล่านั้นจำแนกไว้ต่างๆ กันแล้วแต่งให้เป็นอย่างอื่นทั้ง นาม ลิงค์ บริขาร และอากัปปกรณียะ.

๑๐. ภิกษุผู้เป็นหัวหน้าคณะ ผู้มีวาทะอันแยกกันแล้ว ผู้ทำมหาสังคีติเหล่านั้นได้พากันละทิ้งซึ่งความเป็นปกตินั้นเสียแล้วแต่งให้เป็นอย่างอื่น.

๑๑. ก็โดยการเรียนแบบอย่างแห่งภิกษุเหล่านั้น ได้มีลัทธิอันแตกแยกกันขึ้นมาก-มาย และภายหลังแต่กาลนั้นมาได้เกิดแตก-แยกกันขึ้นในมหาสังฆิกะนั้น ดังนี้คือ :-

๑๒. ภิกษุผู้มหาสังฆิกะได้แตกแยกกันเป็น ๒ พวก คือ เป็นโคกุลิกะพวกหนึ่งเป็น


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 12

เอกัพโยหาริกะพวกหนึ่ง ต่อมาอีกนิกายโคกุลิกะแตกกันออกเป็น ๒ พวก คือ :-

๑๓. เป็นนิกายพหุสสุติกะพวกหนึ่ง เป็นนิกายบัญญัติพวกหนึ่ง แต่นิกายเจติยะนั้นแตกแยกมาจากพวกมหาสังคีติได้เป็นอีกพวกหนึ่ง.

๑๔. ก็นิกายทั้ง ๕ เหล่านี้ทั้งหมดมีมูลมาจากพวกทำมหาสังคีติที่ทำลายอรรถและธรรม และทำลายการสงเคราะห์ธรรมวินัยบางอย่าง.

๑๕. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์และกระทำให้เป็นอย่างอื่นทั้ง นาม ลิงค์บริขาร และอากัปปกรณียะ.

๑๖. อนึ่ง ในเถรวาทผู้บริสุทธิ์ เหล่าภิกษุผู้ละทิ้งปกติภาวะและกระทำให้เป็นอย่างอื่นนั้น ได้เกิดการแตกแยกกันขึ้นอีก ดังนี้คือ :-

๑๗. เป็นมหิสาสกะพวกหนึ่ง เป็นวัชชีปุตตกะพวกหนึ่ง สำหรับพวกวัชชีปุตตกะ


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 13

นั้นได้แตกแยกออกไปอีก ๔ พวก คือ:-

๑๘. ธัมมุตตริกะ ๑. ภัทรยานิกะ ๑. ฉันนาคาริกะ ๑. สมิติยะ ๑. ในกาลต่อมาพวกมหิสาสกะแตกแยกกันเป็น ๒ พวกอีกคือ :-

๑๙. เป็นพวกสัพพัตถิกวาทะ และธัมมคุตตวาทะ สำหรับสัพพัตถิวาทะยังแตกออกเป็นนิกายกัสสปิกะ ต่อมานิกายกัสสปิกะแตกแยกเป็นนิกายสังกันติกวาทะ.

๒๐. ต่อมาสังกันติกวาทะแตกกันเป็นสุตตวาที ได้แตกแยกกันมาโดยลำดับดังนี้วาทะ คือนิกาย เหล่านี้ทั้ง ๑๑ นิกายแตกแยกออกไปจากเถรวาททั้งสิ้น.

๒๑. ภิกษุเหล่านั้นทำลายทั้งอรรถและธรรม ทำการรวบรวมอรรถธรรมไว้บางอย่างและได้ทอดทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์ ทั้งกระทำให้เป็นอย่างอื่น.

๒๒. ตลอดทั้ง นาม ลิงค์ บริขาร และอากัปปกรณียะ ได้พากันละทิ้งความเป็นปกติ


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 14

เสียแล้ว.

๒๓. นิกายที่แตกแยกกัน ๑๗ นิกายนิกายที่ไม่แตกแยกกันมี ๑ นิกาย คือเถรวาทรวมนิกายทั้งหมดเป็น ๑๘ นิกาย อีกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูล.

๒๔. คำสั่งสอนของพระชินะเจ้าเป็นของบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็นหลักมั่นคงสูงสุดของเถรวาททั้งหลาย ราวกะต้นไม้ใหญ่ ชื่อว่า นิโครธ ฉะนั้น.

๒๕. นิกายที่เหลือ คือนอกจากเถรวาทเกิดขึ้นแล้วเป็นดุจกาฝากเกิดอยู่ที่ต้นไม้ นิ-กายที่แตกแยกกันมาทั้ง ๑๗ นิกายานี้ ไม่มีในร้อยปีแรก แต่ในระหว่างร้อยปีที่ ๒ คือภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ได้เกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระชินะพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

อนึ่ง อาจริยวาท ๖ แม้อื่นอีก คือ ๑. เหมวติกะ ๒. ราชคิริกะ ๓. สัทธัตถิกะ ๔. ปุพพเสลิยะ ๕. อปรเสลิยะ ๖. วาชิริยะ


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 15

เกิดขึ้นแล้วในกาลอันๆ อีก อาจริยวาทเหล่านั้น พระคันถรจนาจารย์ท่านไม่ประสงค์จะกล่าวไว้ในที่นี้.

พระราชาผู้ทรงธรรม

    ก็พระราชาผู้ทรงตั้งอยู่ในธรรมทรงพระนามว่า พระเจ้าอโศก ผู้มีศรัทธาอันได้เฉพาะแล้วในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายอาจริยวาททั้ง ๑๘นิกายที่มีมาในกาลก่อน จึงทรงสละพระราชทรัพย์วันละห้าแสนทุกๆ วัน คือเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ๑ แสน เพื่อบูชาพระธรรมเจ้า ๑ แสนเพื่อบูชาพระสังฆเจ้า ๑ แสน เพื่ออาจารย์ของพระองค์ ชื่อว่านิโครธ-เถระ ๑ แสน และเพื่อให้สำเร็จประโยชน์จากยารักษาโรค ที่ประตูทั้ง ๔ อีก ๑ แสน ได้ให้ลาภสักการะอันมากมายเป็นไปในพระพุทธ-ศาสนาแล้ว. เดียรถีย์ทั้งหลาย คือ นักบวชนอกพระพุทธศาสนาได้เป็นผู้เสื่อมจากลาภสักการะทั้งปวง ไม่ได้อะไรเลยโดยที่สุด แม้แต่อาหารหรือผ้าสำหรับปกปิดร่างกาย เมื่อพวกเขาต้องการลาภสักการะอยู่ จึงพากันไปบวชในสำนักพระภิกษุทั้งหลายและแล้วก็แสดงทิฏฐิ คือ ความเห็นของตนๆ ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดาดังนี้ แม้เมื่อเขาเหล่านั้นไม่ได้การบรรพชาตามประสงค์ เขาก็พากันโกนผม นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เอาเองนั่นแหล่ะ ได้พากันเที่ยวไปในวิหารทั้งหลาย และได้เข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ในกาลเป็นที่กระทำซึ่งอุโบ-สถกรรมเป็นต้น. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น แม้ถูกภิกษุสงฆ์ติเตียนอยู่โดย


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 16

ธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ คือ คำสั่งสอนของพระศาสดา ก็ไม่อาจตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติอันสมควรแก่พระธรรมวินัยได้ กลับยังเสนียดมลทินและเสี้ยนหนามมากมายให้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา คือ บางพวกก็บำเรอไฟ บางพวกก็ย่างตนในความร้อน ๕ อย่าง บางพวกก็แหงนหน้าตามดูพระอาทิตย์เรื่อยไป บางพวกก็คิดมุ่งมาดว่า เราจักทำลายธรรมและวินัยของพวกท่าน ดังนี้ ต่างก็พากันพยายามแล้วโดยอาการนั้นๆ. ในกาลครั้งนั้น พระภิกษุสงฆ์ไม่ยอมทำอุโบสถและปวารณาร่วมกับพวกเดียรถีย์เหล่านั้น. ในอโศการามขาดอุโบสถกรรมไปถึง ๗ ปี. พระราชาแม้ทรงพยายามอยู่ด้วยความปรารถนาว่า เราจักให้สงฆ์กระทำอุโบสถกรรมด้วยพระราชอาชญา ก็ไม่อาจเพื่อกระทำได้. ครั้นเมื่อพวกภิกษุมิใช่น้อย ถูกอำมาตย์ผู้เป็นพาล ผู้เห็นผิดประหารชีวิตแล้วความเร่าร้อนก็ได้เกิดแก่พระราชาผู้ทรงธรรม. พระองค์เป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะระงับความเดือดร้อนอันนั้น และเสนียดมลทินที่เกิดขึ้นในพระ-ศาสนานั้น จึงตรัสถามพระสงฆ์ว่า ใครหนอเป็นผู้สามารถในคดีนี้ทรงสดับว่า ข้าแต่มหาราช พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ทรงรับสั่งให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาจากอโธคงคาบรรพตตามคำของสงฆ์ ได้เป็นผู้หมดความสงสัยด้วยอานุภาพของพระเถระที่แสดงอิทธิปาฏิหาริย์จึงตรัสถามความรำคาญใจของพระองค์ ได้ยังความวิปฏิสารให้สงบระงับลงแล้ว. แม้พระเถระก็อยู่กับพระราชาในพระราชอุทยานนั่นแหละ ได้ให้พระราชาศึกษาลัทธิสมัยตลอด ๗ วัน.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 17

กุสโลบายการคัดเลือกลัทธิที่เป็นธรรมวาที

    พระราชาผู้มีลัทธิที่ทรงศึกษาเสร็จแล้ว ก็รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมาประชุมกันในอโศการามในวันที่ ๗. แล้วทรงรับสั่งให้กั้นม่านเป็นกำแพงรอบด้าน และทรงประทับนั่งภายในกำแพงม่าน ทรงให้รวมภิกษุทั้งหลายผู้มีลัทธิอย่างเดียวกันให้อยู่เป็นพวกๆ และรับสั่งให้ภิกษุเข้าไปเฝ้าทีละพวกๆ แล้วรับสั่งถามว่า ภนฺเต กึวาที สมฺมาสมฺพุทฺโธ แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร?

ลำดับนั้น พวกสัสสตวาที คือ ผู้มีวาทะว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีวาทะว่า อัตตาและโลกเที่ยง.

พวก เอกัจจสัสสตทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า บางอย่างเที่ยง ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีวาทะว่า เที่ยงแต่บางอย่าง.

พวก อันตานันติกทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า โลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.

พวก อมราวิกเขปิกาทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า มีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว.

พวก อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นเอง ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเอง.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 18

    พวก สัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตามีสัญญา ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า อัตตามีสัญญา.

พวก อสัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตาไม่มีสัญญาก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า อัตตาไม่มีสัญญา.

พวก เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะว่า อัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.

พวก อุจเฉทวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า ขาดสูญ ก็ทูลว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า ขาดสูญ.

พวก ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า นิพ-พานมีในทิฏฐธรรม ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่านิพพานมีในทิฏฐธรรม. พวกที่มีวาทะว่า นิพพานมีในทิฏฐธรรมหรือ นิพพานปัจจุบันนี้ พวกเขาย่อมบัญญัติศัพท์ว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ:-

๑. สมณะ หรือ พราหมณ์บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตตภาพนี้ต้องบริบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้ง ๕ จึงบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

๒. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุปฐมฌาน จึงบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 19

๓. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุทุติยฌาน จึงบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

๔. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุตติยฌาน จึงบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

๕. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีสุขและทุกข์มีแต่อุเบกขา อันเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ จึงบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

พระราชาทรงทราบว่า " พวกนี้ เป็นอัญญเดียรถีย์ไม่ใช่พระภิกษุ" เพราะพระองค์ได้ทรงศึกษาลัทธิมาก่อนนั่นแหละ จึงทรงพระราชทานผ้าขาวแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้นให้สึกไปเสีย. อัญญเดียรถีย์ทั้งหมดที่สึกออกไปมีถึง ๖๐,๐๐๐ คน.

พระราชารับสั่งให้ภิกษุพวกอื่นเข้าเฝ้า แล้วรับสั่งถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะอย่างไร? ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นวิภัชชวาที เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาทีหรือ? พระเถระทูลว่าใช่แล้ว มหาบพิตร.

ลำดับนั้น พระราชารับสั่งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ พระศาสนาบริสุทธิ์แล้ว ขอภิกษุสงฆ์จงทำอุโบสถเถิด ทรงพระราชทานอารักขาแล้วเสด็จเข้าสู่พระนคร. พระสงฆ์ได้พร้อมเพรียงประชุมกัน


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 20

ทำอุโบสถแล้ว. ในสันนิบาตนั้นได้มีภิกษุสงฆ์ถึง ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป.

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ แสดงกถาวัตถุ

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เมื่อจะห้ามวัตถุทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในครั้งนั้นและเรื่องที่จะเกิดขึ้นในกาลต่อไป จึงจำแนกมาติกาที่พระตถาคตทรงตั้งไว้แล้ว ด้วยสามารถแห่งนัย ที่พระศาสนาทรงประทานไว้ แล้วก็นำพระสูตร ๑,๐๐๐ คือ พระสูตร ๕๐๐ สูตร สำหรับสกวาทะ คือ วาทะของตน และพระสูตร ๕๐๐ สูตร สำหรับปรวาทะคือ วาทะของผู้อื่น แล้วได้ภาษิตกถาวัตถุปกรณ์ ซึ่งมีลักษณะอันกว้างใหญ่ไพศาล ย่ำยีปรัปปวาทะ คือ การโต้แย้ง หรือการขัดแย้งของผู้อื่น นี้ในสมาคมนั้น.

ลำดับนั้น ท่านได้คัดเลือกเอาภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ผู้ทรงปริยัติคือ พระไตรปิฎกและผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณ จำนวน ๑,๐๐๐ รูปในจำนวนภิกษุ ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป กระทำตติยสังคีติ คือการร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ชำระล้างมลทินในพระศาสนาเหมือนกับ พระ-มหากัสสปเถระ และพระยศเถระสังคายนาพระธรรมวินัย ฉันนั้น.

ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น เมื่อท่านสังคายนาพระอภิธรรมปิฎก ท่านได้ยกกถาวัตถุปกรณ์นี้ขึ้นสงเคราะห์ ตามที่ท่านได้ภาษิตไว้แล้ว.

เตน วุตฺตํ ด้วยเหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า:-


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 21

พระสัมมาสัมพุทธะ ผู้เป็นศาสดาของโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ฉลาดในบัญญัติทั้งปวง เป็นบุคคลผู้สูงสุด ได้ทรงแสดงกถาวัตถุปกรณ์ โดยความเป็นเรื่อง แห่งกถาทั้งหลาย มีปุคคลกถาเป็นต้น อันใดไว้โดยสังเขป บัดนี้ ถึงลำดับการสังวรรณนากถาวัตถุปกรณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้แล้วโดยการตั้งไว้แต่เพียงมาติกา ณ สุราลัยเทวโลก อันพระโมคคัลลบุตรติสสเถระจำแนกในมนุษย์โลกนั้นแล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาคัมภีร์นั้น ขอท่านทั้งหลาย ผู้มีจิตตั้งมั่น จงสดับรับรสพระสัทธรรมนั้นเทอญ.

นิทานกถา แห่งอรรถกถา จบ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 22

มหาวรรค

ปุคคลกถา

อนุโลมปัญจกะ

ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏปรมฏฺเน สกวาที ถามว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถะ คือ อรรถอันเป็นจริง และปรมัตถะ คือ อรรถอย่างยิ่ง หรือ?

อามนฺตา (ปรวาที ตอบว่า) ใช่. ปรวาทีหมายเอาอุปาทาบัญญัติ ซึ่งเป็นสมมติสัจจะตามลัทธิที่ท่านได้ตั้งไว้ ส่วนสกวาที มุ่ง เอาปรมัตถสัจจะ จึงได้ซักเพื่อพิสูจน์ความเป็นปรมัตถ์ต่อไป.

สกวาทีซักว่า สภาวธรรมใดมีอรรถอันเป็นจริง มีอรรถอย่าง ยิ่งมีอยู่ ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอย่าง ยิ่งนั้น หรือ? คำว่า สภาวธรรมใด มีอรรถอันเป็นจริงมีอรรถอย่าง ยิ่ง นั้น ได้แก่ สภาวธรรม ๕๗ ประเภท คือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ และพระนิพพาน หรือสังขตธรรม และ อสงขตธรรมเป็นต้น ธรรมเหล่านี้บัณฑิตไม่พึงถือเอาโดยสมมติสัจจะ.

ปรวาที ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

สกวาที จึงกล่าวว่า ท่านจงรู้นิคคหะ คือการผิดพลาด หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะไซร้ ด้วยเหตุนั้นแหละ


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 23

ท่านพึงกล่าวว่า ภาวะใดที่เป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้น พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเป็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลนั้นด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ คำของท่านจึงผิด.

แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ ด้วยสัจฉิกัตถประมัตถะนั้นไซร้ ท่านก็ไม่ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะที่ท่านกล่าว ในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่ กล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลนั้นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ คำของท่านจึงผิด.

อนุโลมปัญจกะ (๑) จบ


(๑) คำว่า อนุโลมปัญจกะ คือหมวด ๕ แห่งอนุโลม เป็นแบบแผนที่ท่านจะต้องดำเนินการเช่นนี้เสมอไป หรือเรียกว่า เป็น หลัก คำโต้ตอบในลักษณะที่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลม ดังเช่นในเรื่องนี้ ท่านได้ยกเอาเรื่องบุคคลขึ้นเป็นประธาน เช่นคำถามของสกวาทีว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ (ปัญหาแรก) ปรวาทีตอบว่าใช่ เพราะท่านถือลัทธิฝ่ายสมมติสัจจะ ฝ่ายสกวาทีผู้ถือ ลัทธิฝ่ายปรมัตถสัจจะเห็นว่าไม่ถูกโดยปรมัตถะอันเป็นสภาวะที่แท้จริง จึง


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 24

ซักต่อไปอีกว่า สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริงมีอรรถอย่างยิ่งมีอยู่ ท่าน หยั่งเห็นบุคคลได้โดยอรรถอันเป็นจริง และอรรถอย่างยิ่งนั้นหรือ (ปัญหาหลัง) ปรวาทีตอบปฏิเสธไปเพราะความจริงเป็นเช่นนั้น แต่ ว่าปัญหาเดียวกัน ปัญหาแรกตอบรับรอง ปัญหาหลังปฏิเสธเช่นนี้ ท่านสกวาทีพึงตำหนิ คำตำหนินี้แหละท่านเรียกว่า นิคคหะ ดุจ คำเขาพูดกันว่า ท่านรับรองแล้วก็กลับปฏิเสธเป็นผู้ไม่มีสัจจะ คำว่า นิคคหะ นี้ ท่านจัดเป็นองค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.

คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะไซร้ เพียงเท่านี้ท่านเรียกว่า อนุโลมฐปนา คือ การตั้งอนุโลม ท่านต้องการจะกล่าวคำนั้นไปอีกว่า ด้วยเหตุนั้นนั่น แหละ ท่านจึงกล่าวว่า ภาวะใดที่เป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น แม้คำเพียงเท่านั้น ท่านเรียกว่า อนุโลมปาปนา คือ การให้ถึงอนุโลม คือ หมายความว่า ให้อนุโลมคือปัญหาแรกไว้นั้นปรากฏอีก เพื่อแสดงว่า ปัญหามีเนื้อความ อย่างเดียวกัน ปัญหาแรกตอบรับรอง ปัญหาหลังก็ต้องตอบรับรองจึง จะถูกต้องก็คำว่า อนุโลมฐปนา และ อนุโลมปาปนา นี้ท่านจัดไว้เป็น องค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.

คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า คำที่ท่านกล่าวรับรองในปัญหาแรก นั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ท่านไม่รับรอง ปัญหาหลังว่า ภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 25

บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นดังนี้คำของท่านผิด คำเพียงเท่านี้ ท่านเรียกว่า อนุโลมอาโรปนา คือการยกอนุโลม เพื่อให้เห็นความ บกพร่อง คือไม่สมเหตุสมผล ฉะนั้นคำว่า อนุโลมอาโรปนา นี้ ท่าน ก็จัดเป็นองค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.

คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า แต่ถ้าท่านไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นไซร้ เพียงเท่านี้ ท่านเรียกว่าปฏิโลมฐปนา คือการตั้ง ปฏิโลม เพื่อต้องการจะกล่าวคำต่อไปว่า ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ และคำเพียงเท่านี้ ท่าน เรียกว่า ปฏิโลมปาปนา คือการให้ถึงปฏิโลม หมายความว่ายกเอา ปัญหาหลังเป็นปัญหาแรกบ้าง ถึงอย่างไรความหมายก็เป็นเช่นเดียวกัน

คำว่า ปฏิโลมฐปนา และ ปฏิโลมปาปนา นี้ ท่านจัดเป็นองค์อัน หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ. คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า ที่ท่านกล่าวในปัญหานี้ว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่กล่าวว่า สภาวะใดเป็น สัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ นั้น คำเพียงเท่านี้ท่านเรียกว่า ปฏิโลมาโรปนา คือการยกปฏิโลม คำว่า ปฏิโลมาโรปนา นี้ ท่านก็จัดเป็นองค์อันหนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ รวมทั้ง ๕ ข้อนี้เรียกว่า อนุโลมปัญจกะ คือ หมวด ๕ แห่ง อนุโลม ดังนี้.


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 26

อนึ่ง เนื้อความใดๆ ที่ท่านกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกโดยพิสดาร ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวในที่นี้ทั้งหมด จะกล่าวแต่ที่เห็นว่าเหมาะสม ส่วน เนื้อความอรรถกถาจะนำมาทั้งหมดเพื่อแนวทางค้นคว้าของผู้สนใจ ต่อไป.


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 27

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาปัญจปกรณ์

อรรถกถา ปุคคลกถา

ว่าด้วยบุคคลจะกล่าวคำว่าสัจฉิกัตถะก่อน

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะ นี้ เป็นคำถาม

คำว่า "อามนฺตา" นี้ เป็นคำตอบรับรอง.

ถามว่า ก็คำถามที่กล่าวว่า " ท่านหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะ " และคำตอบรับรองที่ว่า "อามนฺตา" นี้ เป็นของใคร?

ตอบว่า คำถามและคำตอบรับรองนี้ ใครๆ ไม่ควรจะกล่าวว่า เป็นของบุคคลอื่น เพราะว่าในปกรณ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้ง มาติกา คือ หัวข้อธรรมไว้สำหรับเป็นแบบฉบับ เพื่อชำระล้างลัทธิอัน เห็นผิดทั้งหลายมีประการต่างๆ. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ท่านตั้ง มาติกานี้ตามนัยที่พระศาสดาทรงประทานไว้ และแล้วก็จำแนกความ ตามแบบที่พระองค์ทรงแสดงไว้นั้น. อนึ่ง วาทมรรค คือ ทางแห่งวาทะ ที่พระศาสดาทรงแสดงแนะไว้ในปกรณ์นี้มีประมาณเท่าใด พระเถระ ท่านมิได้แสดงวาทมรรคอันเป็นถ้อยคำที่โต้เถียงกันกับวาทะด้วยวาทะมี ประมาณเท่านั้น ก็ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนี้ เพื่อประโยชน์แก่การ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 28

กำหนดจดจำอรรถแห่งถ้อยคำเหล่านั้นได้โดยง่าย ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) จักแสดงวิภาค คือ การจำแนกความอย่างนี้ คือ เป็น คำถามของพระสกวาที ๑ เป็นคำตอบของพระปรวาที ๑ เป็นคำถาม ของพระปรวาที ๑ และเป็นคำตอบของพระสกวาที ๑ แล้วจักพรรณนา ความต่อไป.

ก็คำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเน นี้ เป็นคำถามของสกวาที. ด้วยคำถามนั้นท่านแสดงว่า ชนเหล่าใดผู้เป็น ปุคคลวาทีมีความเห็นอย่างนี้ว่า บุคคลมีอยู่ บัณฑิตควรถามชน เหล่านั้นอย่างนี้.

ถามว่า ชนเหล่าไหนเป็นปุคคลวาที คือ ผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่ โดยแท้จริง

ตอบว่า (๑) พวกภิกษุวัชชีปุตตกะ ภิกษุนิกายสมิตยะในพระพุทธ ศาสนา และอัญญเดียรถีย์เป็นอันมาก ภายนอกพระพุทธศาสนา

บรรดาคำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเน เหล่านั้น คำว่า ปุคฺคโล แปลว่า บุคคลได้แก่อัตตา สัตว์ และชีวะ. ว่า อุปลพฺภติ ท่านอธิบายว่า ผู้เข้าถึงแล้วย่อมรู้ได้ คือ ย่อม รู้ได้ด้วยปัญญา. คำว่า สจฺฉิกฏฺโ ในคำว่า สจฉิกฏิปรมฺฏ-


(๑) ทั้ง ๒ นิกายนี้มีความเห็นว่า บุคคลมีอยู่โดยปรมัตถะ โดยอธิบาย บุคคลของเขาไม่ใช่ขันธ์ ๕ และไม่นอกจากขันธ์ ๕ เหมือนไม่ใช่เชื้อไฟแต่ไม่ นอกไปจากเชื้อไฟ ผิดหลักอนัตตาของเพราะสารีบุตรนี้ถูกพระมหาโมคคัล- ลีบุตรติสสเถระโจมตีมากกว่า ลัทธิ อื่นๆ.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 29

เน นี้ ได้แก่อรรถอันเป็นจริงที่บัณฑิตไม่พึงถือเอาด้วยอาการอันไม่ เป็นจริง ดุจพยับแดดอันเป็นมายา เป็นต้น. คำว่า ปรมฏฺโ ได้แก่ อรรถอันอุดม อันบัณฑิตไม่พึงถือเอาด้วยสามารถแห่งคำที่เล่าลือ กันมา เป็นต้น อธิบายว่า สกวาทีถามว่า ประเภทแห่งธรรม ๕๗ อย่าง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ และอินทรีย์ ๒๒ ด้วยอรรถทั้ง ๒ คือสัจฉิกัตถะและปรมัตถะนั้นว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปปรมัตถะ หรือ เป็นต้นข้างหน้าประเภทแห่งธรรมนั้นบัณฑิตย่อมหยั่งเห็นได้ด้วย ความเป็นจริงด้วยอรรถอันเป็นจริงฉันใด ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ตาม ความเห็นของท่านฉันนั้นหรือ? ปรวาทีตอบรับรองว่า อามนฺตา แปลว่า ใช่ หรือ ถูกแล้ว ก็คำรับรองที่มาในที่อื่นๆ ท่านใช้ คำว่า อาม ภนฺเต แปลว่า ใช่ครับ และใช้คำว่า อาม ซึ่ง แปลว่าใช่ เป็นต้น แต่ในพระอภิธรรมนี้ คำรับรองท่านใช้คำว่า อามนฺตา

อธิบายในคำว่า อามนฺตา ต่อไป :-

ก็ปรวาทีบุคคล คือผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่ ถือเอาพระสูตรที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ตนมีอยู่ แล้วจึงถือเอาความเห็นว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น สัจวาที ผู้มีวาทะอันหาโทษมิได้ย่อมไม่ทรงแสดงธรรมด้วยสามารถ แห่งคำที่ได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา ก็เพราะเหตุที่พระองค์ทรงกระทำโลกนี้


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 30

กับทั้งเทวโลกให้แจ่มแจ้งด้วยพระองค์เองแล้วประกาศพระศาสนา เพราะ เหตุนั้น คำว่าบุคคลใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนมีอยู่ บุคคลนั้นต้องมีอยู่โดย สัจฉิกัตถะ และ ปรมัตถะ (๑) ดังนั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ทีนั้นสกวาทีเมื่อไม่ให้โอกาส แก่ปรวาทีผู้มีข้ออ้างอันพลั้งพลาดเช่นนั้น จึงกล่าวว่าสภาวะใดมีอรรถ อันเป็นจริง เป็นปรมัตถะมีอยู่ ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอัน เป็นจริงและอรรถอย่างยิ่งอันนั้น หรือ?

พึงทราบคำอธิบายในคำว่า สัจฉิกัตถะ และ ปรมัตถะ ต่อไป :-

ประเภทแห่งธรรม ๕๗ อย่าง มีรูปเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่าธรรมใดมีปัจจัย ไม่มีปัจจัย เป็นสังขตะ เป็นอสังขตะ เป็นของเที่ยง ไม่เที่ยง มีนิมิต ไม่มีนิมิต ธรรมเหล่านั้นบัณฑิตไม่พึงถือ เอาด้วยสมมติสัจจะและไม่พึงถือเอาตามคำเล่าลือกันมาเป็นต้น. ประเภท แห่งธรรม ๕๗ อย่างนี้แหละ ชื่อว่า สัจฉิกัตถะ เพราะความที่ตน คือสภาวะแต่ละอย่างนั้น เป็นสภาพมีอยู่จริงนั่นแหละ และได้ชื่อว่า ปรมัตถะ เพราะความประจักษ์ชัดแก่ตนเอง คือแก่ตัวสภาวะนั้น โดย มิต้องเชื่อตามคำเล่าลือกัน. พระสกวาที หมายเอาอรรถทั้ง ๒ อย่างนี้


(๑) คำว่า สัจฉิกัตถะ และ ปรมัตถะ ว่าโดยอรรถแล้วก็เป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะ คือหมายถึงจิต เจตสิก รูป และพระนิพพาน. ส่วนคำว่า บุคคล เป็นเพียงอุปาทาบัญญัติเท่านั้น.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 31

จึงซักว่า สภาวธรรมใดที่เป็นสัจฉิกัตถะและปรมัตถะมีอยู่ ท่านหยั่งเห็น บุคคลนั้นได้ด้วยสัตฉิกัตถะและปรมัตถะนั้น หรือ.

คำว่า ตโต เป็นตติยาวิภัตติ เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึง อธิบายว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นหรือข้อนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า พระสกวาทีถามว่า สภาวธรรมใดที่เป็นสัจฉิกัตถะมีอยู่ โดยอาการอันต่างด้วยลักษณะ มีรุปปนลักขณะ (๒) เป็นต้น หรืออันต่าง ด้วยสภาวธรรม มีธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นต้น ท่านหยั่งเห็นบุคคล นั้นได้ด้วยอาการอันนั้น หรือ?

ข้อว่า ไม่พึงกล่าว นี้เป็นคำหมิ่นของพระปรวาที อธิบายว่า ก็เมื่อปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาคำที่สกวาทีนั้นกล่าว คือไม่เห็นด้วย จึง กล่าวปฏิเสธ คำพระบาลีว่า น เหวํ วตฺตพฺเพ นี้ แยกบทเป็น นหิ เอวํ วตฺตพฺเพ หรือเป็น นห เอวํ ดังนี้ก็สมควร ถึงอย่าง นั้นบททั้ง ๒ นั้นก็แปลว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เช่นเดียวกัน.

ข้อว่า ท่านจงรู้นิคคหะ คือ ความผิดพลาดเถิด เป็นคำของ สกวาที. อธิบายว่า สกวาทีกล่าวว่า ท่านกล่าวรับรองปัญหาก่อนว่า ใช่ แต่กลับปฏิเสธในปัญหาหลังว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น คำก่อน


๒. คำว่า ลักษณะ มีหลายอย่าง เช่น.- รุปปนลักขณะ ได้แก่ ลักษณะที่ย่อยยับไปเพราะวิโรธิปัจจัย เป็นต้น ปัตจัตตลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่มีเฉพาะตน สามัญญลักขณะ ได้แก่ ลักษณะที่เสมอกัน มีความไม่เที่ยงเป็นต้น.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 32

ไม่สมกับคำหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจงถึงนิคคหะ จงรับนิคคหะนั้นๆ ครั้นพระสกวาทีให้ปรวาทีรับนิคคหะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทำนิคคหะ นั้นให้ปรากฏด้วยสามารถแห่งฐปนา คือการตั้ง ปาปนา คือการให้ถึง และอาโรปนา คือการยกขึ้น จากอนุโลมและปฏิโลม จึงกล่าวคำว่า หากว่าบุคคล เป็นต้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า "หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล" อธิบายว่า ถ้าว่าท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถ อย่างยิ่งไซร้. ข้อว่า หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ เบื้องต้นนี้ ชื่อ อนุโลมปฐปนา เพราะเป็นลักษณะแห่งการให้ถึงนิคคหะและการยก นิคคหะขึ้นจากการตั้งไว้ของฝ่ายปรวาที. ข้อว่า เตน วต เร เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลมปาปนา เพราะความที่นิคคหะอันท่านให้ถึงแล้ว ในฝ่ายแห่งอนุโลม. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เตน เป็นคำ แสดงถึงเหตุ. คำว่า วต เป็นคำแสดงถึงความเชื่อมั่น. คำว่า เร เป็นคำสำหรับร้องเรียก. ท่านอธิบายคำว่า เตน วต เร วตฺตพฺเพ นี้ไว้ว่า ดูก่อนเธอผู้มีหน้าอันเบิกบาน ผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นแลข้าพเจ้า จึงกล่าวนั่นเทียว. ข้อว่า ยํ ตตฺถ วเทสิ เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลมอาโรปนา เพราะความที่นิคคหะอันท่านยกขึ้นแล้วในส่วนแห่งอนุโลม. อนึ่ง บทว่า มิจฺฉา ในบทที่สุดแห่งอนุโลมนั้น นักศึกษาพึงนำ คำว่า อิทนฺเต มาประกอบไว้ข้างหน้าแห่งคำว่า มิจฺฉา นั้น. ก็ใน คำนี้ ท่านอธิบายว่า " นี้เป็นความผิดของท่าน" และข้อความนี้มีใน พระบาลีข้างหน้านั้นแหละ. ข้อว่า โน เจ ปน วตฺตพฺเพ เป็นต้น


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 33

ชื่อว่าปฏิโลมฐปนา เพราะเป็นลักษณะแห่งการให้ถึงและการยกนิคคหะ ขึ้นจากปฏิโลม เพราะท่านตั้งไว้ในคำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. ข้อว่า โน วต เร เป็นต้น ชื่อว่าปฏิโลมปาปนา เพราะความที่ นิคคหะอันท่านให้ถึงแล้วในส่วนแห่งปฏิโลม. ข้อว่า ยํ ตตฺถ วเทสิ เป็นต้นอีก ชื่อว่าปฏิโลมอาโรปนา เพราะท่านยกนิคคหะในฝ่ายแห่ง ปฏิโลมขึ้นฯ บทว่า มิจฺฉา ในที่สุดแม้นี้ ก็พึงนำคำว่า อิทนฺเต มาไว้ข้างหน้าเหมือนกัน. ในฐานะทั้งหลายที่มีรูปอย่างนี้แม้ข้างหน้าก็ ก็นัยนี้นั่นแหละ.

บัณฑิตพึงสรุปเนื้อความจำเดิมแต่ต้นในคำว่า หญฺจิ ปุคฺคโล ฯลฯ สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเน นั้น ดังต่อไปนี้ว่า

ถ้าว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะไซร้ ด้วยเหตุนั้นแลจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น. ก็ท่านกล่าวคำใดในปัญหาแรกนั่นแหละว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยสัจฉิกัตถ์ปรมัตถะ แต่ในปัญหาที่ ๒ ท่านไม่ กล่าวว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลนั้นได้ด้วยสภาวะนั้น. คำว่า อิทนฺเต มิจฺฉา ได้แก่ เป็น การตั้ง การให้ถึง และการยกขึ้นแต่อนุโลม ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.

อนึ่ง ปรวาทีไม่ได้กล่าวในปัญหาที่ ๒ ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอย่างยิ่งนั้น. แม้ในปัญหา แรกก็ไม่ควรกล่าวรับรองเช่นกัน. ในปัญหาแรกนั่นแหละท่านกล่าวว่า


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 34

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะ แต่ในปัญหาที่ ๒ ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะ นั้น ดังนี้ คำว่า อิทนฺเต มิจฺฉา ได้แก่การตั้ง การให้ถึง การ ยกขึ้น แต่ปฏิโลมอย่างนี้.

คำว่า ย่อมหยั่งเห็น เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลมปัญจกะ เพราะ เป็นคำที่ท่านกล่าวถึง นิคคหะ กล่าวถึงปาปนา และอาโรปนา แต่อนุโลม และปฏิโลม ๔ รวมเป็น ๕ ด้วยประการฉะนี้. ในธรรมเหล่านั้น นิคคหะท่านทำไว้ ๒ อย่าง คือ นิคคหะหนึ่งทำด้วยปาปนาและอาโรปนาแต่อนุโลม นิคคหะอีกหนึ่งทำด้วยปาปนาและอาโรปนานาปฏิโลม. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นิคคหะอันหนึ่งนี้ อาศัยวาทะแรกว่า ท่านย่อม หยั่งเห็นบุคคลได้ ในปัญหานั้นแห่งคำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ ดังนี้ นั่นแหละแล้วจึงยกนิคคหะแรกขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น นิคคหะนี้ จึงชื่อว่าเป็นนิคคหะที่ ๑ สำหรับนิคคหะที่ ๒ นั้น ปรวาที เป็นผู้ทำกับสกวาที เพราะอาศัยเลศนัยว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล ฯลฯ ที่จะมีข้างหน้า.

ปุคคลกถา อนุโลมปัญจกะ จบ


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 35

ปฏิกัมมจตุกกะ

[๒] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่ หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม. (๑) หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่ พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ


๑. ปฏิกรรม การกระทำคืน คือ ปัดไม่รับนิคคหกรรม


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 36

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งการทำตอบ

บัดนี้ สกวาทีย่อมรับรองคำต้น เพราะหยั่งเห็นบุคคลไม่ได้ด้วย ปรมัตถสัจจะ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นในปัญหาหลังท่านก็ปฏิเสธด้วย สามารถแห่งสมมติสัจจะ หรือด้วยสามารถแห่งมิสสกสัจจะ. แต่ปรวาที อาศัยวาทะเลศนัยสักว่า ย่อมหยั่งเห็นไม่ได้ ดังนี้ จึงกระทำตอบ คือทำคืน นิคคหกรรมที่สกวาทีทำแล้วแก่ตน แล้วกล่าวว่า ท่านจง รับรู้ปฏิกรรม คือการทำตอบ เหมือนการด่าตอบของผู้ด่าอยู่ด้วยคำว่า ท่านรับคำก่อนแล้วภายหลังปฏิเสธ. บัดนี้นิคคหะอันสกวาทีทำการ ตั้งวาทะไว้ในอนุโลมปัญจกะแก่ปรวาทีนั้นให้ปรากฏด้วยปาปนา อาโรปนาแต่อนุโลมและปฏิโลมโดยวิธีใด ปรวาทีนั้นเมื่อจะทำปฏิกรรมนั้น ให้ปรากฏโดยวิธีนั้น จึงกล่าวคำว่า " หากว่าบุคคล " เป็นต้น. ข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในข้อนี้ชื่อว่า ฐปนา เพราะการตั้งไว้ซึ่งส่วนของปรวาทีอันเป็นคำสักว่าการตั้งไว้เท่า นั้น เพื่อแสดงว่า นี้เป็นโทษของท่าน ไม่ได้กระทำนิคคหะหรือ ปฏิกัมมะให้ปรากฏ แต่การกระทำที่ปรากฏแก่สกวาทีนั้นย่อมมีด้วย ปาปนาด้วย ด้วยอาโรปนาด้วย เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงชื่อว่า ปฏิกัมมจตุกกะ เพราะปฏิกรรม คือการทำตอบ หรือการทำคืน อันท่านทำ แล้วด้วยอาการ ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งปาปนาและอาโรปนา แต่ อนุโลมและปฏิโลม ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบจตุกกะหมวด ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 37

นิคคหจตุกกะ

[๓] ป. ก็ถ้าท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่ ข้างปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ก็ต้องนิคคหะอย่างนี้ ดังนั้น เราจึงนิคคหะท่าน ท่านถูกนิคคหะชอบแล้วเทียว. หากท่านไม่หยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมิตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่าสภาวะ ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.

นิคคหจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 38

อรรถกถานิคคหจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งนิคคหะ

ครั้นทำปฏิกรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ปรวาทีใดที่ถูกสกวาทีทำนิคคหะในอนุโลมปัญจกะแก่ตนได้อาศัยวาทะอันมีเลศนัยนั้นๆ นั่นแหละ แห่งปัญหานั้นแสดงความกระทำที่ไม่ชอบ โดยกล่าวคำเป็นต้นว่า ตฺวญฺเจ ปน มญฺสิ ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้นคำว่า ตฺวญฺเจ ปน มญฺสิ แปลว่า ก็ท่านยังจะยืนยัน.

คำว่า พึงกล่าว นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำรับรองว่า " ใช่ " ในปัจจนิก. ก็ข้อว่า ไม่พึงกล่าว นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำหมิ่น คือ คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ข้อว่า เตน ตฺวํ ตตฺถ ได้แก่ ด้วยเหตุนั้น ท่านนั่นแหละย่อมมีในฝักใฝ่ ที่หยั่งเห็นไม่ได้. คำว่า เมื่อรับรองอยู่ ได้แก่รับรองอยู่ว่า ใช่ อย่างนี้ ดังนี้. คำว่า พึงนิคคหะอย่างนี้ ความว่า เมื่อหมิ่นอยู่ด้วยคำว่า ไม่พึงกล่าว อีกชื่อว่า พึงนิคคหะอย่างนี้. คำว่า ดังนั้นเราจึงนิคคหะท่าน ความว่า ที่นั้นพวกเราย่อมนิคคหะซึ่งท่านอันควรแก่การนิคคหะทีเดียว. คำว่า ท่านเป็นผู้อันเรานิคคหะดีแล้ว ความว่า ท่านชื่อว่าเป็นผู้อันเรา นิคคหะชอบแล้ว เพราะความเป็นนิคคหะตามมติของตน.

ปรวาทีนั้น ครั้นแสดงซึ่งภาวะอันตนพึงนิคคหะอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะนิคคหะสกวาทีนั้น จึงกล่าวคำว่า หากว่า เป็นต้น.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 39

บรรดาคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบ ปนา ปาปนา และ อาโรปนา โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในบทที่สุด คำว่า นี้เป็นความผิดของท่าน อธิบายว่า คำของท่านนี้ผิด. ข้อนี้ชื่อว่า นิคคหะจตุกกะเพราะปรวาที ทำนิคคหะโดยอาการ ๔ อย่าง ด้วยวาทะ อันมีเลศนัย.

อรรถกถานิคคหจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 40

อุปนยนจตุกกะ

[๔] ป. หากนิคคหะที่เราทำแก่ท่านนี้ เป็นนิคคหะชั่วไซร้ ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ในนิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ใน กรณีว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็เราผู้ปฏิญาณอยู่ข้างรับรองบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ อันท่านไม่พึงนิคคหะ อย่างนี้ ดังนั้น ท่านนิคคหะชั่วเทียว คือนิคคหะว่า หากว่า ท่านหยั่ง เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า สภาวะ ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง กล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่ พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหา นั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.

อุปนยนจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 41

อรรถกถาอุปนยนจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งการน้อมไป

ครั้นปรวาทีทำนิคคหะอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงว่า ถ้า นิคคหะอันเราทำแก่ท่านนี้เป็นนิคคหะชั่วไซร้ นิคคหะอันใดที่ท่านทำ แล้วแก่ข้าพเจ้าในอนุโลมปัญจกะในหนหลัง นิคคหะแม้นั้นก็เป็น นิคคหะชั่ว ดังนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า หากนิคคหะที่เราทำแก่ ท่านนี้เป็นนิคคหะชั่วไซร้. ในข้อนี้อธิบายว่า ถ้าวาทะนี้เป็นวาทะอัน เรานิคคหะชั่วไซร้. อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้านิคคหะอันเราทำแก่ท่านนี้เป็น นิคคหะชั่วไซร้. ข้อว่า ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ใน นิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ความว่านิคคหะอันท่านทำแล้วแก่เราใน หนหลัง ในนิคคหะแม้นั้นท่านจงเห็นนิคคหะนั้นนั่นแหละ.

บัดนี้ นิคคหะอันใดที่สกวาทีทำแล้วแก่ปรวาทีนั้นในหนหลัง ปรวาทีนั้นจึงแสดงซึ่งคำนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า พึงกล่าว ดังนี้ เมื่อ จะน้อมไปซึ่งนิคคหะนั้นให้ไม่มีนิคคหะอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ก็เราผู้ปฏิญาณอยู่อย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้อันท่านไม่พึงนิคคหะอย่างนี้ ในคำว่า โน จ มยํ ตยา ตตฺถ เหตาย ปฏิญฺาย เป็นต้นนี้ อธิบายว่า นิคคหะนั้น ท่านทำแก่เราเป็นนิคคหะชั่วเหตุใด เพราะเหตุ นั้น ในอนุโลมปัญจกะนั้น เราจึงรับรองอย่างนี้ ด้วยคำปฏิญญานั้นว่า อามนฺตา ใช่ เมื่อคำปฏิเสธแม้เราทำแล้วว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น อีก ก็ถูกท่านนิคคหะอย่างนี้ว่า ท่านจงรับรู้นิคคหะนั่นเทียว ท่าน


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 42

นิคคหะเราแม้ผู้ไม่ควรนิคคหะ ก็พวกเราถูกท่านนิคคหะชั่วแล้ว ด้วย นิคคหะอย่างนี้.

บัดนี้ ปรวาทีนั้นอาศัยนิคคหะอันใดได้กล่าวว่า พวกเราเป็น ผู้อันท่านนิคคหะชั่วแล้ว ดังนี้ เพื่อแสดงนิคคหะอันนั้น จึงกล่าวคำว่า หญฺจิ ปุคฺคโลฯ เปฯ อิทนฺเต มิจฺฉา เป็นต้น นี้ชื่อว่าอุปนยนจตุกกะ เพราะนิคคหะอันปรวาทีนั้นน้อมไปแล้วด้วย ปาปนา อาโรปนา ๔ จากอนุโลมและปฏิโลม ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาอุปนยนจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 43

นิคคมจตุกกะ

[๕] ป. เราไม่พึงถูกนิคคหะอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ที่ ท่านนิคคหะเราว่า " หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็น ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ภาวะใด เป็นสัจฉิ- กัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ดังนี้ จึงกลับเป็นความผิดของท่าน ด้วยเหตุนั้นแหละ นิคคหะที่ท่านทำแล้วจึงทำไม่ชอบ ปฏิกรรมข้าพเจ้า ได้ทำชอบแล้ว การดำเนินความข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้วแล.

นิคคมจตุกกะ จบ

นิคคหะที่ ๑ จบ


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 44

อรรถกถานิคคหจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งนิคม คือ บทสรุปนิคคหะที่ ๑ - ๘

บัดนี้ ชื่อว่า นิคคมจตุกกะ มีคำว่า เราไม่พึงถูกนิคคหะ อย่างนี้ เป็นต้น. ในข้อว่า เราไม่พึงถูกนิคคหะอย่างนี้ ถ้าว่า ความเป็นแห่งนิคคหะนี้เป็นนิคคหะชั่วอันเราให้สำเร็จแล้วไซร้ ท่านก็ ไม่พึงนิคคหะเราอย่างนี้. คำว่า ด้วยเหตุนั้นแหละ อธิบายว่า ด้วย เหตุนั้น นิคคหะนี้เป็นนิคคหะชั่ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงนิคคหะอันใด กะเราว่า ถ้าว่า บุคคล ฯลฯ นี้เป็นความผิดของท่าน ดังนี้ การ นิคคหะของท่านนี้ผิด. ข้อว่า ด้วยเหตุนั้นแหละนิคคหะที่ท่านทำแล้ว อธิบายว่า นิคคหะใดที่ท่านทำแล้ว นิคคหะนั้น เป็นการทำที่ไม่ดี ด้วย เหตุใด เป็นความผิดด้วยเหตุนั้นแหละ. ปฏิกรรมใดเราทำแล้ว ปฏิกรรม นั้นนั่นแหละเราทำดีแล้ว. ก็การยังกถามรรคให้สำเร็จนี้ท่านทำแล้วทำดี แล้วด้วยสามารถแห่งปฏิกัมมจตุกกะเป็นต้น. ข้อนี้พึงทราบว่าชื่อว่า อนุโลมปัจจนิกปัญจกะ อันท่านชี้แจงแล้วด้วยสามารถแห่งปฏิกัมมะ นิคคหะ อุปนยนะและนิคคมจตุกกะทั้งหลาย มีคำว่า หยั่งเห็นไม่ได้ เป็นต้น แห่งอนุโลมปัญจกะมีคำว่า ย่อมหยั่งเห็นบุคคล เป็นต้น ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถานิคคมจตุกกะ จบ

อรรถกถานิคคหะที่ ๑ จบ


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 45

นิคคหะที่ ๒

ปัจจนีกปัญจกะ

[๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่ หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.

ปัจจนีปัญจกะ จบ


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 46

นิคคหะที่ ๒

อรรถกถาปัจจนีกกปัญจกะ

หมวด ๕ แห่งปัจจนิก

เมื่อความชนะฝ่ายแรกของสกวาทีมีอยู่ประมาณเท่าใด ความ ชนะของปรวาทีด้วยวาทะอันมีเลศนัยสักว่าเป็นคำธรรมดาก็มีประมาณ เท่านั้น. บัดนี้ ครั้นเมื่อความชนะฝ่ายแรกของปรวาที่มีอยู่ฉันใด ความ ชนะของสกวาทีโดยธรรมตามความเป็นจริงก็มีอยู่ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่ง ความเกิดขึ้นแห่งวาทะเช่นนั้น ท่านจึงเริ่มปัจจนิกานุโลมปัญจกะด้วย คำว่า ย่อมหยั่งเห็นบุคคลไม่ได้ เป็นต้น. ในปัจจนิกนั้นเป็นคำถาม ของปรวาที. คำรับรองของสกวาทีหมายเอาสัจฉิกัตถปรมัตถะอันต่างด้วย รูปเป็นต้น. คำซักถามของปรวาทีอีกว่า " สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะ หมายเอาสมมติสัจจะล้วน หรือสมมติสัจจะที่เจือด้วยปรมัตถะ " คำปฏิเสธ ของสกวาทีว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นใครๆ ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นไม่ได้ด้วยสามารถแห่งสมมติสัจจะ หรือเพราะ ความซักถามอันระคนแล้วด้วยสัจจะทั้ง ๒. คำเป็นต้นว่า ท่านจงรับรู้ นิคคหะ ดังนี้ ด้วยสักว่าเป็นคำธรรมดาว่า ท่านปฏิเสธอยู่ซึ่งคำอัน ท่านรับรองแล้ว เป็นของปรวาที. พึงทราบว่า นิคคหะที่ ๒ อาศัยวาทะ ที่ ๒ ว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. ปรวาที ยกนิคคหะขึ้นแล้วด้วยเลศนัยนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาปัจจนีกปัญจกะ จบ


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 47

ปฏิกัมมจตุกกะ

[๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านหยั่ง เห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม. หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นว่า ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด.

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 48

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งการทำตอบ

บัดนี้ เป็นคำถามของสกวาทีในนัยแห่งอนุโลม เพื่อแสดงถึง ความชนะในวาทะของตนโดยเป็นธรรม เสมอด้วยการรับรองปัญหานั้น นั่นแหละ. คำตอบรับรองของปรวาทีอาศัยลัทธิของตน. การซักถามไม่ ให้โอกาสแก่ลัทธิของปรวาทีด้วยสามารถแห่งปรมัตถะอีกเป็นของสกวาที. การปฏิเสธของปรวาที เพราะความที่บุคคลเป็นสภาพไม่มีอยู่โดยปรมัตถะ. เบื้องหน้าแต่นี้ คำของสกวาทีทั้งปวงมีคำว่า ท่านจงรู้ปฏิกรรม เป็นต้นนั่นเทียว เพื่อแสดงความชนะของตนโดยธรรมเสมอ. ในปฏิ- กัมมจตุกกะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่งปฏิกัมมะนิคคหะ อุปนยนะและ นิคคมจตุกกะทั้งปวง โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ข้อนี้ชื่อว่าปัจจนิกานุโลมปัญจกะ พึงทราบว่าท่านชี้แจงแล้ว ด้วย สามารถแห่งปฏิกัมมะ นิคคหะ อุปนยนะ และนิคคมจตุกกะอันมีคำว่า ย่อมหยั่งเห็นได้ เป็นต้น แห่งปัจจนิกปัญจกะคำว่า ย่อมหยั่งเห็น บุคคลไม่ได้ เป็นต้น ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. ปัญจกะ คือ หมวด ๕ ทั้ง ๒ ในปฐมสัจฉิกัตถะเหล่านี้ ท่านอธิบายแล้วด้วยประการฉะนี้. ใน ปัญจกะทั้ง ๒ นั้น ปัญจกะแรกสกวาทีทำนิคคหะแก่ปรวาที ชื่อว่าเป็น นิคคหะดี แต่ความชนะที่ปรวาทีอาศัยวาทะอันมีเลศนัย ทำตอบแก่สกวาที ที่ตนให้สำเร็จแล้ว เป็นความชนะที่ไม่ดี ในปัญจกะที่ ๒ ปรวาทีทำ นิคคหะแก่สกวาทีเป็นนิคคหะที่ไม่ดี. แต่ความชนะที่สกวาทีอาศัยวาทะ อันเป็นธรรม อันตนให้สำเร็จแล้วทำตอบแก่ปรวาทีเป็นการชนะที่ดี.

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 49

นิคคหจตุกกะ

[๘] ส. ก็ท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่ข้างรับรอง บุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญาอย่างนี้ ก็ต้องนิคคหะอย่างนี้ ดังนั้น เรา จึงนิคคหะท่าน ท่านถูกนิคคหะชอบแล้วเทียว. หากว่าท่านหยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิสัตถปรมัตถะด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะ ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตกะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.

นิคคหจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 50

อุปนยนจตุกกะ

[๙] ส. หากนิคคหะที่เราทำแก่ท่านนี้ เป็นนิคคหะชั่วไซร้ ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ในนิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ใน กรณีว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า ไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็เราผู้ ปฏิญาณอยู่ข้างปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ อันท่านไม่พึง นิคคหะอย่างนี้ ดังนั้นท่านนิคคหะเรา เราจึงถูกนิคคะชั่วเทียว คือ นิคคหะว่า หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น บุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.

อุปนยนจตุกกะ จบ


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 51

นิคมจตุกกะ

[๑๐] ส. เราไม่พึงถูกนิคคหะอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ที่ ท่านนิคคหะเราว่า หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็น ปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเป็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด " ดังนี้ จึงกลับเป็นความ ผิดของท่านด้วยเหตุนั้นแหละ นิคคหะที่ท่านทำแล้ว จึงทำไม่ชอบ ปฏิกรรมข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้ว การดำเนินความข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้ว แล.

นิคคมจตุกกะ จบ

นิคคหะที่ ๒ จบ


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 52

อรรถกถาปฐมสัจฉิกัตถะ

ในปฐมสัจฉิกัตถะนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ปฐมปัญจกะ สกวาทีทำนิคคหะอัน บริสุทธิ์แก่ปรวาที แต่การชนะในการทำตอบ ของปรวาทีในปัญหานั้นนั่นแหละ ไม่บริสุทธิ์. ในทุติยปัญจกะปรวาทีทำนิคคหะแก่สกวาที เป็นนิคคหะที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ชัยชนะในการ ทำตอบของสกวาทีในที่นั้นนั่นแหละ บริสุทธิ์ วิเศษแล้ว. เพราะฉะนั้นในฐานะแม้ทั้ง ๒ ความชนะของสกวาทีเทียวชื่อว่าชนะโดยธรรม ความชนะโดยอธรรมของปรวาทีจักมีแต่ที่ไหน. ความมีชัยและความปราชัยในสัจฉิกัตถะอัน ประดับด้วยหมวด ๒ แห่งปัญจกะนี้ท่านกล่าว แล้วด้วยสามารถแห่งธรรม และอธรรม ฉันใด ในสัจฉิกัตถะทั้งปวงอื่นจากนี้ บัณฑิตพึงยัง ความมีชัยและปราชัยทั้ง ๒ ให้แจ่มแจ้ง ฉันนั้นนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถานิคคหะที่ ๒ จบ


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 53

นิคคหะ ที่ ๓

[๑๑] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง (๑) โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลในที่ทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตปรมัตถะ แต่ไม่พึง กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตปรมัตถะ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลในที่ทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯลฯ

นิคคหะที่ ๓ จบ


๑. หมายถึง สรีระ เอาความว่า สรรพางค์กาย


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 54

อรรถกถานิคคหะที่ ๓

ครั้นยังสัจฉิกัตถะอันบริสุทธิ์ให้พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะ ยังสัจฉิกัตถะอันบริสุทธิ์นั้นนั่นแหละให้พิสดาร โดยนัยอื่นอีกมีโอกาส นัยเป็นต้น ท่านจึงเริ่มคำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ อีกเป็นต้น. ในนิคคหะที่ ๓ นี้ คำถามเป็นของสกวาที. คำตอบรับรองเป็นของ ปราวที. คำซักถามหมายเอาสรีระในคำว่า ในที่ทั้งปวง อีกเป็น ของสกวาที. คำปฏิเสธเป็นของปรวาทีเพราะเห็นข้อบกพร่องในการ พิจารณาเห็นตนในรูปด้วย ข้อบกพร่องที่จะประสบว่า ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่งด้วย ดังนี้คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบในอนุโลมปัจจนิกปัญจกะ โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในที่นี้ ท่านย่อพระบาลีไว้.

คำที่ท่านกล่าวไว้ในนิคคหะที่ ๖ นั้นว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล ในที่ทั้งปวง ดังนี้ ท่านหมายเอาสรีระ บุคคลนั้นย่อมหยั่งเห็นได้ภายนอกจากสรีระย่อมไม่ถูก เหตุใด เพราะเหตุนั้นในปัจจนิก สกวาทีจึง ปฏิเสธ. ปฏิกรรมของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งวาทะอันมีเลศนัยน่า ท่านรับรองคำแรกแล้วภายหลังย่อมดูหมิ่น ดังนี้. คำที่เหลือปรากฏ ชัดแล้วนั่นแล.

อรรถกถานิคคหะที่ ๓ จบ


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 55

นิคคหะที่ ๔

[๑๒] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น ว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย สัจฉิกัตถปมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า หยั่งเป็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.

นิคคหะที่ ๔ จบ


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 56

อรรถกถานิคคหะที่ ๔

นัยที่ ๒ คำว่า ในกาลทั้งปวง เป็นคำซักถามของสกวาที หมายถึงกาลคือชาติที่มีมาก่อนและมีในภายหลัง และกาลที่พระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่และปรินิพพานแล้ว. การปฏิเสธเป็นของปรวาที เพราะเห็นข้อบกพร่องแห่งคำว่า เป็นกษัตริย์ก็คนนั้นแหละ เป็น พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ เป็นต้น และเห็นโทษคือความพลั้งพลาด เพราะไม่มีอะไรแปลกกันของกาลที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่หรือ ปรินิพพานแล้ว. คำที่เหลือเป็นเช่นกับคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนัยแรก นั่นเทียว.

อรรถกถานิคคหะที่ ๔ จบ


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 57

นิคคหะที่ ๕

[๑๓] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวงโดยสัจฉิ กัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่าข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว ในปัญหานั้นว่าพึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯลฯ

นิคคหะที่ ๕ จบ


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 58

อรรถกถานิคคหะที่ ๕

นัยที่ ๓ คำว่า ในสภาวธรรมทั้งปวง ดังนี้ เป็นคำซัก ถามของสกวาทีหมายถึงขันธ์และอายตนะทั้งหลายเป็นต้น. คำปฏิเสธ เป็นของปรวาที เพราะกลัวแต่ความผิดพลาดในคำว่า อัตตาในรูป อัตตาในจักษุ เป็นต้น. คำที่เหลือเป็นเช่นนั้นนั่นแหละด้วยประการ ฉะนี้.

อรรถกถานิคคหะที่ ๕ จบ


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 59

นิคคหะที่ ๖

[๑๔] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถประมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่าข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลใน ที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯลฯ

นิคคหะที่ ๖ จบ


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 60

นิคคหะที่ ๗

[๑๕] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น บุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้า ไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่ พึงกล่าวว่าข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯลฯ

นิคคหะที่ ๗ จบ


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 61

นิคคหะที่ ๘

[๑๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้า ไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิถัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯลฯ

นิคคหะที่ ๘ จบ


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 62

อรรถกถานิคคหะที่ ๖, ๗, และที่ ๘

หัวข้อที่เป็นประธานทั้ง ๓ (คือ นิคคหะที่ ๓. ๔. และที่ ๕.) เหล่านี้ท่านแบ่งไว้ในอนุโลมปัจจนิกปัญจกะตามลำดับ ด้วยสามารถแห่ง อนุโลมพอประมาณก่อนนั่นแหละ เพื่อจะแจกปัจจนิกานุโลมปัญจกะ ด้วยสามารถแห่งปัจจนิกพอประมาณอีก จึงเริ่มคำว่า ปุคฺคโล นูปลพฺภติ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดย นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในปัจจนิกตามที่ย่อมาไว้ในพระบาลีแห่งอนุโลมนั่น แหละ และโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอนุโลมตามที่ย่อไว้ในพระบาลี แห่งปัจจนิกนั่นแหละด้วย. บัณฑิตพึงทราบ การประกอบวาทะนี้ ชื่อว่า อัฏฐมุขตามที่ท่านชี้แจงไว้แล้วด้วยสามารถแห่งปัจจนิกอย่างละ ๒ คือ สัจฉิกัตถะทั้ง ๔ คือ สุทธิกสัจฉิกัตถะ (๑) ๑. และสัจฉิกัตถะทั้ง (๒) ๓ เหล่านี้ ด้วย แห่งอนุโลมปัจจนิกและปัจจนิกานุโลมในสัจฉิกัตถะอย่างละหนึ่ง ด้วย ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. การประกอบวาทะ ชื่อว่า อัฏฐมุขอันใด ที่ท่านจารึกไว้ในพระบาลีว่า นิคคหะ ๘ ในฝ่ายละหนึ่ง ย่อมมีด้วย สามารถแห่งนิคคหะอย่างละหนึ่ง ดังนี้ ท่านกล่าวคำนั้นไว้ในที่นี้ว่า.-

การประกอบวาทะ อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้วนี้ ชื่อว่า อัฏฐมุข โดยประเภทแห่งปัญจกะทั้ง ๒ ในปัญหา ๔ อย่าง ด้วยประการ


๑. คำว่า สุทธิกสัจฉิกัตฉะ ได้แก่ สัจฉิกัตถะล้วน คือไม่เจือด้วยอย่าง อื่น.

๒. คำว่า สัจฉิกัตถะทั้ง ๓ ได้แก่ สัจฉิกัตถะที่ท่านกล่าวถึงที่ทั้งปวง ในกาลทั้งปวง และในธรรมทั้งปวง.


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 63

ฉะนี้. นิคคหะ ๘ ในที่นั้นนั่นแหละ บรรดานิคคหะเหล่านั้น นิคคหะ ที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ที่ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ความมีชัยด้วย ความปราชัยด้วย แห่งสกวาที และปรวาที มีอยู่ในที่ทั้งปวง ดังนี้แล. จบนิคคหะที่ ๖. ๗. และ ๘ เพียงนี้.

อรรถกถาสัจฉิกัตถะ จบ


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 64

สุทธิกสังสันทนา

[๑๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าว ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเป็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๑๘] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นเวทนา โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ยตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ฯลฯ


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 65

ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๑๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นจักขายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น โสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นฆานายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นกายายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูปายตนะ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นสัททายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นคันธายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น รสายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมนา-


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 66

[๒๐] ... ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นฆานธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นชิวหาธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นกายธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูปธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัททธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นคันธธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นรสธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นจักขุ วิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นกายวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมโนธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมธาตุ ฯลฯ โดยสัจฉิกัตถปมัตถะ หรือ ฯลฯ

[๒๑] ... ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นฆานินทรีย์ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นกายินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น มนินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นชีวิตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอิตถินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นปุริสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสุขินทรีย์ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นทุกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นอุเปกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัทธินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น วิริยินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสมาธิ- นทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นปัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น อัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 67

ป. ถูกแล้ว

ส. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็ เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็น อื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็ เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่นดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๒๒] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ (๑) และท่านก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?


๑. องฺ. จตุกก. ๒๑/๙๖. อภิ. ปุ. ๓๖/๑๐.


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 68

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่ง เห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูป เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูปโดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็น อื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นเวทนา ฯลฯ และท่านก็


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 69

หยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ และท่านก็ หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่ง เห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว ได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง กล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด. แต่ถ้าไม่พึงกล่าว ว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้า ก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น พึง กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ กูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๒๓] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯลฯ และท่านหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ และท่าน ก็หยั่งเห็นธัมมายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯลฯ


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 70

[๒๔] ... ท่านก็หยั่งเห็นจักขุธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ? ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นกายธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นรูปธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นโผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นมโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่ง เห็นธัมมธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯลฯ

[๒๕] ... และท่านก็หยั่งเห็นจักขุนทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นโสตินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯลฯ

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็น อัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว ว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหา


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 71

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็ เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคล ก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าว ว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

สุทธิกสังสันทนา จบ


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 72

อรรถกถาสุทธิกสังสันทนา

ว่าด้วยการเทียบเคียงสุทธิกะ

บัดนี้ เป็นการเทียบเคียงสัจฉิกัตถะกับรูปเป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า รูป เป็นคำถามของสกวาที โดยหมายเอาด้วยคำว่า ท่าน หยั่งเห็นรูปได้โดยปรมัตถะฉันใด แม้บุคคลท่านก็หยั่งเห็นตามลัทธิของ ท่านฉันนั้นหรือ ดังนี้. คำรับรองถือเอาเพียงคำว่า บุคคลมีอยู่ ดังนี้ เป็นของปรวาที. การซักถามของสกวาทีว่า ถ้าว่าบุคคลมีอยู่จากรูป ปรมัตถะราวกะรูปตามลัทธิของท่านไซร้ ความเป็นอย่างอื่น คือการเกิด ดับ แม้เหล่าบุคคลก็ย่อมปรากฏราวกะธรรมทั้งหลายมี เวทนาเป็นต้น ดังนี้ การปฏิเสธเป็นของปรวาที เพราะเห็นผิดจากพระสูตรที่เป็นลัทธิ. คำที่เหลือปรากฏชัดแล้วโดยอรรถนั้นเทียว ก็ในที่นี้เมื่อว่าโดยธรรม ท่านแสดงอนุโลมปัญจกะ ๕๗ ประเภท ในอนุโลมปัญจกะที่เป็นมูลใน ฝ่ายสกวาที ด้วยสามารถแห่งสัจฉิกัตถปรมัตถะ ๕๗ ประเภทฯ หมวด ๔ แห่งปฏิกัมมะท่านย่อไว้. และท่านแสดงปฏิโลมปัญจกะ ๕๗ ประเภท ในอนุโลมแห่งปัจจนิกแม้อันเป็นมูลฝ่ายปรวาทีอีก. หมวด ๔ แห่ง ปฏิกัมมะ เป็นต้น ท่านย่อไว้. คำซักถามของปรวาทีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เป็นต้นเพื่อแสดงถึงความที่บุคคลเป็นของมีอยู่ ด้วยคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้แล้วด้วย ซึ่งความที่รูปเป็นสภาวะที่หยั่ง เห็นได้ด้วยสามารถแห่งสัจฉิกัตถะและปรมัตถะด้วย แล้วจึงให้สกวาที รับรองซึ่งความเป็นอย่างอื่น คนละอย่าง แห่งธรรมทั้ง ๒. คำปฏิเสธ


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 73

เป็นของสกวาที เพราะความที่ปัญหาอันมีอรรถอย่างเดียวกัน และมี อรรถต่างกันแห่งสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะทั้งหลายควรงดตอบ. คำ ที่เหลือแม้ในที่นี้ก็ปรากฏชัดเจนแล้วโดยอรรถทั้งนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถาสุทธิกสังสันทนา จบ


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 74

โอปัมมสังสันทนา

[๒๖] ส. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น เวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นรูปโดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น (อย่างเดียว) ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็น อื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะรูปเป็นอื่น เวทนา


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 75

ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็น อื่น เวทนาก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคล ก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๒๗] ส. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น สัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่ง เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็น อื่น วิญญาณก็เป็นอื่น (อย่างเดียวกัน) ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น ว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 76

เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเป็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๒๘] ส. ท่านหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ เวทนาเป็นอื่น รูปก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ

[๒๙] ท่านหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ สัญญาเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 77

[๓๐] ส. ท่านหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ สังขารเป็นอื่น สัญญาก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๓๑] ส. ท่านหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่ง เห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็น อื่น หรือ? ฯลฯ

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณ เป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น อย่างเดียวกัน ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นสังขาร โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 78

สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว ได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่งเห็นสังขาร โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๓๒] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ จักขายตนะเป็นอื่น ธัมมายตนะก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๓๓] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ ท่านหยั่งเห็น ธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขายตนะ ฯลฯ ดุจ หยั่งเห็นมนายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ธัมมายตนะเป็นอื่น มนายตนะก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๓๔] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขุธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นโสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ จักขุธาตุเป็นอื่น ธัมธาตุก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 79

[๓๕] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตธาตุ ฯลฯ ท่านหยั่งเห็นธัม ธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น มโนวิญญาณธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ธัมธาตุเป็นอื่น มโนวิญญาณธาตุ ก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๓๖] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขุนทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ จักขุนทรีย์เป็นอื่น อัญญาตาวินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๓๗] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ท่านหยั่งเห็น อัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น อย่างเดียว กัน ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตา-


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 80

วินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้อง ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง กล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๓๘] ป. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น เวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 81

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า ท่านหยั่งเป็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็น อื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่นบุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าว ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็น อื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนา ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล ตนมีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 82

[๓๙] ป. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๐] ป. ท่านหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ เวทนาเป็นอื่น รูปก็เป็นอื่นหรือ? ฯลฯ

[๔๑] ป. ท่านหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ สัญญาเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๒] ป. ท่านหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง เห็นวิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ สังขารเป็นอื่น สัญญาก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๓] ป. ท่านหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่ง เห็นรูป ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็น อื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๔] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นโสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 83

จักขายตนะเป็นอื่น ธัมมายตนะก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๕] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตายนะ ฯลฯ ธัมมายตนะโดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมนายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ธัมมายตนะเป็นอื่น มนายตนะก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๖] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขุธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นโสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ จักขุธาตุเป็นอื่น ธัมธาตุก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๗] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ฯลฯ ท่านหยั่งเห็นธรรมธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นมโนวิญญาณธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ธัมธาตุเป็นอื่น มโนวิญญาณธาตุก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๘] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขุนทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ จักขุนทรีย์เป็นอื่น อัญญาตาวินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ? ฯลฯ

[๔๙] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็น อัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ ก็เป็นอื่น หรือ ฯลฯ

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 84

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า ท่านหยั่งเห็น อัญญาตาวินทริย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล ตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ หยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ


ความคิดเห็น 85    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 85

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิ- กัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง เห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง กล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

โอปัมมสังสันทนา จบ

อรรถกถาโอปัมมสังสันทนา

ว่าด้วยการเทียบเคียงสัจฉิกัตถะด้วยความอุปมา

บัดนี้ ชื่อว่าเป็นการเทียบเคียงสัจฉิกัตถะด้วยสามารถแห่งการ เปรียบกับธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั่นแหละ บรรดาคำเหล่านั้นแม้ ทั้ง ๒ คำถาม คือ คำถามถึงความที่รูปและเวทนาเป็นคนละอย่างด้วย ความเห็นทั่วไปอย่างหนึ่ง คำถามที่ถามถึงความเห็นทั่วไปของบุคคลกับ รูปอย่างหนึ่ง เป็นของสกวาที. คำตอบรับรองแม้ทั้ง ๒ ปัญหา เป็น ของปรวาที. คำซักถามถึงความเป็นคนละอย่างของรูปกับบุคคล ดุจรูป กับเวทนาด้วยความเห็นทั่วไปที่ปรวาทีไม่เห็นด้วย เป็นของสกวาที. คำ ปฏิเสธเป็นของปรวาที. คำที่เหลือแม้ในที่นี้ชัดเจนแล้วโดยอรรถนั่น เทียว. ก็เมื่อว่าโดยธรรมแล้ว ในข้อนี้ในฝ่ายสกวาทีท่านแสดงนิคคหปัญจกะ คือหมวด ๕ แห่งนิคคหะ ไว้ถึง ๙๒๐ นัย ด้วยสามารถ


ความคิดเห็น 86    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 86

แห่งความหมุนไปซึ่งธรรมมีรูปเป็นมูละเป็นต้น. ถามว่า " แสดง อย่างไร " ตอบว่า ในขันธ์ทั้งหลายก่อน คือธรรมที่เป็นรูปเป็นมูละ หมุนไปได้ ๔ นัย ในเวทนามูละเป็นต้นก็เหมือนกัน รวมเป็น ๒๐ นัย (๔ x ๕=๒๐). ในอายตนะทั้งหลาย จักขายตนะมูละหมุนไปได้ ๑๑ นัย ในอายตนะที่เหลือก็ฉันนั้น รวมเป็น ๑๓๒ นัย (๑๑ x ๑๒=๑๓๒). ในธาตุทั้งหลาย จักขุธาตุมูละหมุนไปได้ ๑๗ นัย ในธาตุที่เหลือก็ฉัน นั้น รวมเป็น ๓๐๖ นัย (๑๗ x ๑๘=๓๐๖). ในอินทรีย์ทั้งหลาย จักขุนทริยมูละหมุนไปได้ ๒๑ นัย ในอินทรีย์ที่เหลือก็ฉันนั้น รวม เป็น ๔๖๒ นัย (๒๑ x ๒๒=๔๖๒) รวมทั้งหมดเป็นนิคคหปัญจกะ ๙๒๐ นัย ด้วยประการฉะนี้. แม้ในฝ่ายปรวาที ท่านก็ทำให้สกวาที รับคำถึงความเป็นคนละอย่างแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปกับเวทนาเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งอนุโลมว่า รูปํ อุปลพฺภติ แปลว่า ท่านหยั่ง เห็นรูป เป็นต้น แล้วจึงยกเอาความเห็นทั่วไปขึ้นทำการซักถามถึงความ เป็นคนละอย่างด้วยธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นกับบุคคล ด้วยสามารถ แห่งคำอันมีเลศนัยเพราะอาศัยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลมีอยู่ อีก. คำที่เหลือแม้ในที่นี้ เป็นของง่ายโดยเนื้อความ ทั้งนั้น. เมื่อว่าโดยธรรมท่านแสดงปฏิกัมมจตุกกะ คือ หมวด ๔ แห่ง ปฏิกรรม ไว้ ๙๒๐ นัย โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในฝ่ายสกวาที. การ เทียบเคียงสัจฉิกัตถะกับรูปเป็นต้นด้วยสามารถแห่งการอุปมามีประมาณ เท่านี้.

อรรถกถาโอปัมมสังสันทนา จบ


ความคิดเห็น 87    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 87

จตุกกนยสังสันทนา

[๕๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นบุคคลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนี้.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้า ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๕๑] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลในรูปหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากรูปหรือ? ฯลฯ รูปในบุคคลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย


ความคิดเห็น 88    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 88

สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่ พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่าข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่าข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๕๒] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในเวทนาหรือ? ฯลฯ บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ ฯลฯ เวทนาในบุคคลหรือ ฯลฯ สัญญา เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในสัญญาหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากสัญญา หรือ ฯลฯ สัญญาในบุคคลหรือ ฯลฯ สังขารเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคล ในสังขารหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากสังขารหรือ ฯลฯ สังขารในบุคคล หรือ ฯลฯ วิญญาณเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในวิญญาณหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ ฯลฯ วิญญาณในบุคคลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณใน บุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้า หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง


ความคิดเห็น 89    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 89

กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง กล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๕๓] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขายตนะหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากจักขายตนะหรือ ฯลฯ จักขายตนะใน บุคคลหรือ ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในธัมมายตนะ หรือ ฯลฯ ธัมมายตนะในบุคคลหรือ? ฯลฯ

[๕๔] ... จักขุธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขุธาตุ หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากจักขุธาตุหรือ ฯลฯ จักขุธาตุในบุคคลหรือ ฯลฯ ธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในธัมธาตุหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากธัมธาตุหรือ ฯลฯ ธัมธาตุในบุคคลหรือ? ฯลฯ

[๕๕] ... จักขุนทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขุนทรีย์หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากจักขุนทรีย์หรือ ฯลฯ จักขุนทรีย์ใน บุคคลหรือ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลใน อัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯลฯ บุคคคลอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคลหรือ? ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากท่านหยั่งเห็นบุคคล โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์.


ความคิดเห็น 90    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 90

ในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าว ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๕๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมิตถะหรือ? ฯลฯ

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นบุคคลหรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ


ความคิดเห็น 91    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 91

เกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๕๗] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลในรูปหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากรูปหรือ ฯลฯ รูปในบุคคลหรือ ฯลฯ เวทนาเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในเวทนาหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ ฯลฯ เวทนาในบุคคลหรือ ฯลฯ สัญญา เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในสัญญาหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากสัญญา หรือ ฯลฯ สัญญาในบุคคลหรือ ฯลฯ สังขารเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในสังขารหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากสังขารหรือ ฯลฯ สังขาร ในบุคคลหรือ ฯลฯ วิญญาณเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ วิญญาณในบุคคล หรือ ฯลฯ บุคคลในวิญญาณหรือ ฯลฯ หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจาก วิญญาณหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ ฯลฯ วิญญาณใน บุคคลหรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ


ความคิดเห็น 92    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 92

ท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ กูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่ พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีภาคเจ้าได้ตรัส ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ กูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๕๘] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. จักขายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขายตนะหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากจักขายตนะหรือ ฯลฯ จักขายตนะใน บุคคลหรือ ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในธัมมายตนะหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากธัมมายตนะหรือ ฯลฯ ธัมมายตนะใน บุคคลหรือ ฯลฯ จักขุธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขุธาตุ หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากจักขุธาตุหรือ ฯลฯ จักขุธาตุในบุคคลหรือ ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในธัมมธาตุหรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจาก ธัมมธาตุหรือ ฯลฯ ธัมมธาตุในบุคคลหรือ? ฯลฯ


ความคิดเห็น 93    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 93

[๕๙] ... จักขุนทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในจักขุนทรีย์หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากจักขุนทรีย์หรือ ฯลฯ จักขุนทรีย์ใน บุคคลหรือ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯลฯ บุคคลในอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคลหรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหา นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯลฯ

จตุกกนยสังสันทนา จบ

และ

สังสันทนากถา (๑) จบ


๑. สังสันทนากถา คือ เรื่องเปรียบเทียบในเรื่องบุคคลมี ๓ คือ ก. สุทธิกสังสันทนา ข. โอปัมมสังสันทนา ค. จตุกกนยสังสันทนา.


ความคิดเห็น 94    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 94

อรรถกถาจตุกกนย (๑) สังสันทนา

ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัยแห่งจตุกกะ

บัดนี้ คำใดที่ปรวาทีหยั่งเห็นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะในบรรดา สัจฉิกัตถปรมัตถะ ๕๗ อย่าง มีรูปเป็นต้น โดยอาศัยแล้วซึ่งรูปเป็นต้น หรือเว้นจากรูปเป็นต้น หรือกำลังอาศัยรูปเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น พึงมีเหตุใด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเริ่มการเทียบเคียงสัจฉิภัตถะโดย จตุกกนัย คือโดยนัยแห่งหมวด ๔ นี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า " รูปเป็นบุคคลหรือ" เป็นคำซักถาม ของสกวาทีฯ คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ. การยกนิคคหะขึ้นเป็นของ สกวาที แม้ท่านกล่าวว่า ก็ข้อนั้นถูกต้องแล้วหรือ นั่นเป็นรูปเป็น เวทนามิใช่หรือ ดังนี้ ท่านปฏิเสธทั้งสิ้น. อนึ่งคำนั้น ท่านพึงปฏิเสธ โดยรับว่าบุคคลเป็นอย่างหนึ่ง ไม่ใช่รูปไม่ใช่เวทนา แต่ไม่นอกจากรูป และเวทนาก็ปรวาทีนี้ ไม่ปรารถนาความเป็นอย่างอื่นของบุคคลแม้แต่


(๑) คำว่า จตุกกนยะ ได้แก่โดยนัยแห่งหมวด ๔ เช่น.- ๑. รูปเป็น บุคคลหรือ ๒. บุคคลในรูปหรือ ๓. บุคคลนอกจากรูปหรือ ๔. รูปในบุคคล หรือ. ปัญหาเช่นนี้ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิปัญหา เพื่อให้เห็นสภาพตามความ เป็นจริงว่า การยึดว่าเป็นบุคคล เป็นอัตตาเป็นสัตว์มีมากมาย เมื่อท่านซักถาม เนื้อความนี้แต่ละข้อก็จะปรากฏทีเดียวว่าไม่มีบุคคลหรืออัตตาอย่างที่ยึดถือ นั้นเลย เป็นแต่สภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น.


ความคิดเห็น 95    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 95

ธรรมอย่างหนึ่งในบรรดาธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่าน จึงตอบรับรองว่า ใช่. ก็คำซักถามนี้ว่า รูปเป็นบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ดังนี้ ท่านปรารภหมายเอาปรมัตถสัจจะทั้ง สิ้น แต่ว่าใครๆ ไม่อาจกล่าวว่าปรมัตถธรรมทั้งสิ้นเป็นอย่างเดียวกันด้วย สามารถแห่งปัจจัตตลักขณะ คือลักษณะที่มีเฉพาะตัวเรียกว่าปัจจัตตลักขณะ เพราะฉะนั้น คำนี้ท่านตั้งไว้แล้วสักว่าเป็นลักษณะแห่งการ ซักถามด้วยสามารถแห่งแบบแผน ด้วยเหตุนั้น วิญญูชนทั้งหลายควรยัง ธรรมนี้ให้แจ่มแจ้ง. ฝ่ายสกวาทีผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวถือเอาลักษณะนี้แล้ว ไม่ให้โอกาสแก่ปรวาทีโดยประการใดๆ พึงกล่าวโดยประการนั้นๆ. คำนี้ เป็นอันถูกต้องแล้วนั่นเทียว เพราะความที่ลักษณะแห่งการซักถามท่าน ตั้งไว้แล้วด้วยสามารถแห่งแบบแผน ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบเนื้อ ความซักถามทั้งปวงโดยนัยนี้. ก็แต่เนื้อความที่แปลกกันในคำทั้งหลาย ว่า บุคคลในรูปหรือ เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า การกล่าวว่ามหาภูต รูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ วิญญาณในรูปอาศัยวัตถุรูปดังนี้ ย่อมควร ฉันใด บุคคลในรูปตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ การกล่าวว่า ก็อรูป ธรรมทั้งปวงมีเวทนาเป็นต้น หรือนามขันธ์ ๔ หรือพระนิพพานนั่น แหละ โดยการแยกสภาวะเป็นธรรมเว้นจากรูป ดังนี้ ย่อมควรฉันใด บุคคลตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ การกล่าวว่า เหมือนอย่างว่า รูปใน เวทนา รูปในวิญญาณ ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นที่อาศัยแห่งรูป ทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมควรฉันใด บุคคลตามลัทธิของท่าน ฉันนั้นหรือ ดังนี้. ก็ในคำซักถามทั้งปวงปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัว


ความคิดเห็น 96    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 96

แต่อุจเฉททิฏฐิ และเพราะผิดจากลัทธิ. คำที่เหลือในที่นี้ชัดเจนแล้วโดย อรรถทั้งนั้น. ว่าโดยธรรม คือโดยหัวข้อ แล้ว ท่านแสดงหมวด ๕ คืออนุโลมปัญจกะ. ไว้ถึง ๒๒๘ ข้อ (๕๗ x ๔=๒๒๘) เพราะกระ ทำอรรถอันหนึ่งๆ ในสัจฉิกัตถะ ๕๗ ประเภทให้เป็นหมวดละ ๔ ด้วย สามารถแห่งนิคคหะที่เป็นฝ่ายของสกวาทีผู้กระทำฯ แม้ในฝ่ายปรวาที ก็มีประมาณเท่านั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งปฏิกรรม. อนึ่งในที่นี้ คำที่ปรวาทีกล่าวว่า บุคคลมีอยู่ คำนั้นสกวาทีรับรองด้วยความ สามารถแห่งสมมติที่มาแล้วในพระสูตรฯ ในคำทั้งหลายว่า รูปเป็น บุคคลหรือ เป็นต้น ท่านปฏิเสธ เพราะความที่ปัญหาว่าด้วยสักกาย ทิฏฐิเป็นปัญหาที่ไม่ควรตอบ. ปฏิกรรมของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถ แห่งคำอันมีเลศนัยนั่นเทียว ดังนี้.

อรรถกถาจตุกกนยสังสันทนา และสังสันทนากถา จบ


ความคิดเห็น 97    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 97

ลักขณยุตติกตา

[๖๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมีปัจจัยหรือ ฯลฯ บุคคลไม่มีปัจจัยหรือ ฯลฯ บุคคลเป็นสังขตะหรือ ฯลฯ บุคคลเป็นอสังขตะหรือ ฯลฯ บุคคลเที่ยง หรือ ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยงหรือ ฯลฯ บุคคลมีนิมิตหรือ ฯลฯ บุคคลไม่ มีนิมิตหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คำเป็นต้นว่า ท่าน จงรู้นิคคหะ ท่านย่อไว้.

[๖๑] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลมีปัจจัยหรือ ฯลฯ บุคคลไม่มีปัจจัยหรือ ฯลฯ บุคคลเป็นสังขตะหรือ ฯลฯ บุคคลเป็นอสังขตะหรือ ฯลฯ บุคคลเที่ยง หรือ ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยงหรือ ฯลฯ บุคคลมีนิมิตหรือ ฯลฯ บุคคล ไม่มีนิมิต หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คำทั้งปวงท่านย่อไว้.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม ฯลฯ.

ลักขณยุตติกตา จบ


ความคิดเห็น 98    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 98

อรรถกถาลักขณยุตติกถา (๑)

ว่าด้วยการประกอบลักษณะ

บัดนี้ ชื่อว่าลักขณยุตติ คือ การประกอบลักษณะ. ในปัญหา นั้น คำซักถาม ๘ ข้อของสกวาที มีคำว่า บุคคลมีปัจจัยหรือ เป็นต้น โดยหมายเอาว่า ยกเว้นพระนิพพานแล้ว สัจฉิกัตถปรมัตถะที่เหลือชื่อ ว่า มีปัจจัยเพราะเป็นสภาพเนื่องด้วยปัจจัย ชื่อว่าสังขตะเพราะปัจจัย เหล่านั้นประชุมกันปรุงแต่งขึ้น ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะเกิดแล้วดับไปไม่มี อยู่ในกาลทุกเมื่อ ชื่อว่ามีนิมิตเพราะความที่นิมิตอันนับพร้อมแล้วว่าเหตุ แห่งการอุบัติมีอยู่ ส่วนพระนิพพานมีลักษณะแห่งสัจฉิกัตถะดังนี้ คือ พระนิพพานชื่อว่าไม่มีปัจจัย ชื่อว่าเป็นอสังขตะ ชื่อว่าเที่ยง ชื่อว่าไม่ มีนิมิตเพราะไม่มีประการดังกล่าวแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าแม้บุคคลเป็น สัจฉิกัตถปรมัตถะไซร้ แม้บุคคลนั้นก็จะพึงมีลักษณะดังกล่าวนี้. คำ ปฏิเสธเป็นของปรวาที. ก็ในคำนี้ว่า ท่านจงรู้นิคคหะ เป็นต้น ท่านย่อไว้. ในฝ่ายสกวาที บัณฑิตพึงทราบหมวด ๕ นิคคหะ ๘ เหล่านี้ ด้วยสามารถสักว่าอนุโลมในอนุโลมปัจจนิก ด้วยประการฉะนี้. แม้ใน ฝ่ายปรวาทีก็พึงทราบหมวด ๕ ปฏิกรรม ๘ ด้วยสามารถสักแต่ว่าปัจจนิก ในปัจจิกานุโลมนั่นแหละ. ในปัจจนิกอนุโลมนั้นปรวาทีทำสมมติสัจจะ ให้สำเร็จด้วยสามารถแห่งพระสูตร แต่สภาพธรรมที่มีปัจจัยเป็นต้นแห่ง สมมติสัจจะหามีไม่ เพราะฉะนั้น สกวาทีจึงปฏิเสธตามความเป็นจริง


(๑) บาลีเป็น ลักขณยุตติกตา.


ความคิดเห็น 99    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 99

อนึ่ง คำว่า ท่านจงรู้ปฏิกรรม เป็นต้น เป็นคำที่ปรวาทีกล่าวด้วย เลศนัย คำทั้งปวงท่านย่อไว้แม้ในที่นี้นั่นเทียว.

อรรถกถาลักขณยุตติกถา จบ


ความคิดเห็น 100    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 100

วจนโสธนะ

[๖๒] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ สภาวะที่หยั่งเห็น ได้ ก็เป็นบุคคล หรือ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ แต่สภาวะที่หยั่ง เห็นได้บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล.

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ บางอย่าง เป็นสภาวะที่หยั่งเห็นไม่ได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๓] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่จริงแท้

[สัจฉิกัตถะ]

สภาวะ ที่จริงแท้ก็เป็นบุญ หรือ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่จริงแท้ แต่สภาวะที่จริงแท้บาง อย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล.

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่จริงแท้ บางอย่างไม่ เป็นสภาวะที่จริงแท้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๖๔] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ สภาวะที่ประสบอยู่ ก็เป็นบุคคล หรือ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ แต่สภาวะที่ประสบ อยู่ บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล.


ความคิดเห็น 101    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 101

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ บางอย่าง ไม่เป็นสภาวะที่ประสบอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ สภาวะที่ปรากฏอยู่ ก็เป็นบุคคล หรือ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ แต่สภาวะที่ปรากฏ อยู่ บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ บางอย่าง ไม่เป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๖] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ก็เป็นบุคคล หรือ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มีอยู่บางอย่าง เป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล.

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่มีอยู่ บางอย่างไม่เป็น สภาวะที่มีอยู่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๗] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น บุคคลทั้งหมดหรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 102    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 102

ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ แต่สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่ เป็นบุคคลทั้งหมดหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คำว่า นิคคหะ เป็นต้น ท่านย่อไว้.

วจนโสธระ จบ

อรรถกถาวจนโสธนะ

ว่าด้วยการชำระถ้อยคำ

บัดนี้ เป็นการชำระถ้อยคำ. ในปัญหานั้น คำใดที่ว่า บุคคล เป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ดังนี้ เพื่อชำระคำนั้น สกวาทีจึงถามว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้สภาวะที่หยั่งเห็นได้ก็เป็นบุคคลหรือ.

เนื้อความแห่งปัญหานั้น พึงทราบดังนี้.-

คำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ นี้ มี ๒ บท ทั้ง ๒ บทนี้พึงมีอรรถอย่างเดียวกัน หรือพึงมีอรรถต่างกัน ผิว่า พึงมีอรรถ ต่างกันก่อนไซร้ คำนี้ก็ย่อมปรากฏดังคำที่อุปมาว่า รูปเป็นอย่างหนึ่ง เวทนาก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉันใด บุคคลก็เป็นอย่างหนึ่ง สภาวะที่หยั่งเห็น ได้ก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉันนั้น ดังนี้ ก็ถ้ามีอรรถอันเดียวกันไซร้ ข้อนี้ ย่อมปรากฏดังคำอุปมาว่า จิตอันใด มโนก็อันนั้น ฉันใด บุคคลนั้น นั่นแหละเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ก็ฉันนั้น ดังนี้ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้า


ความคิดเห็น 103    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 103

จะกล่าวคำหลังนี้ว่า ถ้าว่าบุคคลใดตามลัทธิของท่าน บุคคลนั้นเป็น สภาวะที่หยั่งเห็นได้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ สภาวะใดๆ ที่หยั่ง เห็นได้ สภาวะนั้นๆ ก็เป็นบุคคล ท่านรับรองคำนั้นหรือ จากนั้น สกวาทีต้องการถามซึ่งความที่บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ไม่ต้องการ ถามซึ่งภาวะแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นที่หยั่งเห็นได้ว่าเป็นบุคคล เพราะ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ สภาวะที่ หยั่งเห็นได้บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคลหรือ เป็นต้น. พึงทราบความหมายแห่งปัญหานั้นว่า ก็สภาวะที่หยั่งเห็นได้อันใด เพราะ ดำรัสของพระศาสดาว่า บุคคลของเรา บุคคลมีอยู่ ดังนี้ สภาวะที่ หยั่งเห็นได้อันนั้นไม่เป็นบุคคลทั้งหมด บางอย่างแลเป็นบุคคล บาง อย่างไม่ใช่บุคคลหรือ ในปัญหานั้น เก อักษร มีอรรถเป็น โก อักษร หิ อักษรและ จิ อักษรสักแต่เป็นนิบาต. ก็พึงทราบเนื้อความในที่นี้ว่า บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่ใช่ ดังนี้. คำว่า บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่ใช่บุคคลนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคล คือธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นซึ่งเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้นั้น แหละ แต่ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเป็นบุคคลนั่นเทียว คือเป็น บุคคลอะไรๆ ส่วนในรูปเป็นต้น บางอย่างไม่ใช่บุคคล ดังนี้. ลำดับ นั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้บาง อย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นไม่ได้หรือ. เนื้อความแห่งปัญหานั้น โดย อรรถมี ๒ บทคือ บุคคลกับคำว่าสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ถ้าในอรรถอัน


ความคิดเห็น 104    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 104

เดียวกันไซร้ บุคคลก็คือ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว ว่าสภาวธรรมที่หยั่งได้ บุคคลมิใช่นอกจากธรรมนั้นแต่สภาพธรรมนั้น บางอย่างเป็นบุคคล แม้บางอย่างก็ไม่ใช่บุคคล แม้บุคคลย่อมปรากฏว่า บางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ บางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นไม่ได้ ตามลัทธิของท่าน ท่านรับรองคำนั้นหรือ? ปรวาทีนั้นเมื่อไม่ปรารถนา บุคคลนอกจากลัทธิของตนจึงปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. เบื้อง หน้าแต่นี้ไป คำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ เป็นต้นทั้งปวงท่านย่อไว้ บัณฑิตพึงทราบโดยพิสดาร. แม้ในคำว่า บุคคลเป็นสัจฉิกัตถะ เป็น ต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ. คำทั้งปวงเหล่านี้ คือ ภาวะที่แท้จริง สภาวะที่- ประสบอยู่ สภาวะที่ปรากฏอยู่ สภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ ทั้งหมด เป็นคำไวพจน์ของคำว่า สภาวะที่หยั่งเห็นได้.

อีกอย่างหนึ่ง คำรับรองของปรวาทีว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่ง เห็นได้ด้วยสัจฉิกัตถะ นี้ เพราะลัทธิของเขาว่า บุคคลเป็นสภาวะที่ หยั่งเห็นได้ฉันใดนั่นแหละ คำว่า บุคคลก็ย่อมปรากฏว่าเป็นสัจฉิกัตถะ ตามลัทธิของเขาฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ลัทธิใดของปรวาทีว่า บุคคล มีอยู่ ดังนี้ คำนี้เป็นไวพจน์ของคำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่ประสพ อยู่ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงชำระคำไวพจน์ทั้งปวงเหล่านี้.

ในปัญหาเหล่านั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่สุดว่า บุคคล เป็นสภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด เป็นต้น พึงทราบคำอธิบาย ต่อไป:-


ความคิดเห็น 105    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 105

ปรวาทีกล่าวคำใดว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มี อยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล ดังนี้ คำนั้นเมื่อว่า โดยอรรถแล้ว ก็มีถ้อยคำเพียงเท่านี้แหละว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด เพราะฉะนั้นสกวาทีจึงให้ปรวาที รับรองคำนั้นแล้ว จึงประกอบคำถามในบัดนี้ว่า ท่านถือลัทธิว่าบุคคลมี อยู่เพราะอาศัยคำสักแต่ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน มีอยู่เท่านั้น ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลไม่มีอยู่ โดยนัย เป็นอาทิว่า ดูก่อนโมฆราชเธอจงพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่าง เปล่า จงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ฯลฯ ดังนี้ เพราะฉะนั้นลัทธิของท่านที่ แสดงว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด ฉันใดนั่นแหละ โดยประการนั้นบุคคลย่อมปรากฏว่าเป็นสภาวะที่ไม่มี อยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดฉันนั้น ดังนี้ ท่านรับรองคำ นั้นหรือ? ลำดับนั้น ปรวาทีเมื่อไม่รับรองคำนั้น จึงปฏิเสธว่า ไม่พึง กล่าวอย่างนั้นๆ คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบกฏแห่งถ้อยคำมีคำ ว่า นิคคหะเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาวจนโสธนะ จบ


ความคิดเห็น 106    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 106

ปัญญัตตานุโยค

[๖๘] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๙] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๐] ส. บุคคลชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑] ป. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๗๒] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ บุคคลชื่อว่าไม่ มีรูป เพราะอรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุแล้ว เข้าถึงอรูปธาตุ หรือ?


ความคิดเห็น 107    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 107

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมีรูป ขาดสูญไปแล้ว บุคคลไม่มีรูป เกิดขึ้น.

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ สัตว์- ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุ แล้ว เข้าถึงอรูปธาตุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์มีรูป ขาดสูญไปแล้ว สัตว์ไม่มีรูปเกิดขึ้นใหม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นฯ ลฯ

[๗๔] ส. บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากาย ก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคล ก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียว กัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 108    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 108

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า บัญญัติว่ากายหรือว่า สรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็ อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง กล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือกายก็ดี รวม เพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคล ก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง ๒ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอัน เดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอัน แต่ไม่พึงกล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึง กล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากาย หรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า


ความคิดเห็น 109    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 109

พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพ หรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคล ก็เป็นอื่น แต่ไม่พึงกล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๗๕] ป. บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากาย ก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าบัญญัติว่ากายหรือว่า สรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็ อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนี่ท่านจึงต้องกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่าน กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่า


ความคิดเห็น 110    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 110

สรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระ หรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน. มี อรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวใน ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือ ว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถ อันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า กาย เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

ปัญญัตตานุโยค จบ

อรรถกถาปัญญัตตานุโยค

ว่าด้วยการซักถามเรื่องบัญญัติ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการซักถามบัญญัติ. จริงอยู่ปุคคลวาทีบุคคล ย่อมบัญญัติบุคคลมีรูปด้วยรูปธาตุ โดยทำนองเดียวกัน ย่อมบัญญัติ บุคคลไม่มีด้วยอรูปธาตุ. คำถามแม้ทั้งปวงของพระสกวาทีก็เพื่อมุ่ง ทำลายลัทธิของปุคคลวาทีบุคคลนั้น. คำตอบรับรองด้วย คำปฏิเสธ


ความคิดเห็น 111    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 111

ด้วยเป็นของพระปรวาที. ครั้นเมื่อสกวาทีถามว่า บุคคลชื่อว่ามีรูป เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบรับรอง เพราะสภาพแห่งรูปกายและบัญญัติเช่นนั้น มีอยู่. ครั้นเมื่อคำว่า มีกาม อันสกวาทีถามแล้ว ปรวาทีตอบ ปฏิเสธ เพราะสภาพแห่งวีตราคะและบัญญัติเช่นนั้นไม่มีอยู่. แม้เมื่อ สกวาทีกล่าวถามว่า สัตว์ชื่อว่าไม่มีรูป ปรวาทีตอบรับรอง เพราะ สภาพแห่งอรูปขันธ์และบัญญัติเช่นนั้นเป็นสภาพมีอยู่. คำว่า สัตว์ ในนัย แม้ทั้ง ๒ ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งคำเป็นไวพจน์ของ บุคคล.

บัดนี้ ท่านปรารถนาคำว่า กายเป็นอย่างอื่น บุคคลก็เป็น อย่างอื่น ในพระบาลีที่มาแล้วว่า กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า พิจารณาเห็นกายในกาย ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทำลายลัทธิอันนั้น สกวาทีจึงถามว่า บัญญัติว่ากาย หรือว่าสรีระ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า รวมเพ่งถึงกาย อธิบายว่า ข้าพเจ้าถามถึงกายอันเป็นฆนะ อันสัตว์ยึดถือไว้ อันน้อมไปสู่ความเป็นเอกีภาพ อันไม่พึงจำแนก. คำว่า เอเส เส ได้แก่ เอโส โสเยว แปลว่า บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็เป็น อย่างเดียวกันนั่นแหละ พระบาลีว่า เอเส เอเส ดังนี้บ้าง แปลว่า บัญญัติศัพท์เหล่านั้นๆ อธิบายว่า บัญญัติศัพท์เหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า มีอรรถอันเดียวกัน ได้แก่ อรรถอย่างเดียวกัน. คำว่า เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน ในที่นี้ต่างกันแต่เพียงถ้อยคำเท่านั้น. ก็เมื่อว่า โดยอรรถแล้ว สกวาทีย่อมถามว่า กายก็อันนั้นนั่นแหละ ดังนี้ ปรวาที เมื่อไม่เห็นความแตกต่างกัน จึงตอบรับรองว่า ใช่. แม้ในคำถามว่า


ความคิดเห็น 112    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 112

บุคคล หรือว่าชีพ ก็นัยนี้นั่นเทียว. อนึ่ง ถูกสกวาทีถามว่า กาย เป็นอื่น ปรวาทีก็ตอบรับรอง เพราะทำกายานุปัสสนาให้เป็นลัทธิ อย่างนี้. เมื่อถูกถามว่า ชีพเป็นอื่น ปรวาทีเมื่อไม่อาจปฏิเสธพระสูตร ที่ยึดถือไว้สำหรับกล่าว จึงปฏิเสธ. คำว่า จงรับรู้นิคคหะ เป็นต้น ข้างหน้าแต่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น. ในฝ่ายปรวาที ท่านถามว่า กายเป็น อย่างอื่น บุคคลก็เป็นอย่างอื่นหรือ สกวาทีปฏิเสธ เพราะความเป็น ปัญหาที่ควรงดเว้น. ปรวาทีจงทำปฏิกรรม คือการทำนิคคหะตอบแก่ สกวาทีด้วยสามารถแห่งเลศนัย. แม้คำนั้นก็มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาปัญญัตตานุโยค จบ


ความคิดเห็น 113    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 113

คติอนุโยค

[๗๖] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก อื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเอง ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่น สู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก อื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก อื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเองด้วย บุคคลอื่นด้วย ท่องเที่ยวไปจาก โลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 114    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 114

[๗๙] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกอื่น จากโลกอื่น สู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเอง ก็มิได้ท่องเที่ยวไป บุคคลอื่นก็มิได้ ท่องเที่ยวไป จากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่น สู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป บุคคลอื่นท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นเองด้วย บุคคลอื่นด้วย ท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นก็มิได้ท่องเที่ยว ไป บุคคลอื่นก็มิได้ท่องเที่ยวไป จากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลก นี้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลก อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้นท่อง เที่ยวไปเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่งแล้ว จะเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสิ้นสัญโญชน์ทั้งปวง๑ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ?


๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๐๒.


ความคิดเห็น 115    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 115

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลก อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ นะสิ.

[๘๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลก อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย การท่องเที่ยวไปของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่นี้ มีเบื้อง ต้นเบื้องปลายที่ตามรู้ไม่ได้ เงื่อนต้นไม่ปรากฏ๑ ดังนี้ เป็นสูตร มีอยู่จริงมิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้นบุคคลก็ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ น่ะสิ.

[๘๓] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่น สู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?


๑. สํ. นิ. ๑๖/๔๒๑.


ความคิดเห็น 116    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 116

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ เทวดาก็คนนั้นแหละ

ป. (เป็นคนเดียวกัน) หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ เทวดาก็คนนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้ว เป็นมนุษย์ เป็นผู้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาเป็นอื่น ผู้เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็น อื่น (เป็นคนละคน) คำว่า บุคคลนั้นเอง ท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ ก็ถ้าว่า บุคคลท่องเที่ยวไปบุคคลนั้นเองเคลื่อนจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น ไม่ ใช่บุคคลอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้ปาณาติบาตก็จะหยั่ง เห็นไม่ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้ว มีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศลให้ผลอยู่ คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ


ความคิดเห็น 117    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 117

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์ ... เป็นเปรต ... เป็น สัตว์นรก ... เป็นสัตว์เดียรฉาน ... เป็นอูฐ ... เป็นโค ... เป็นลา ... เป็นสุกร ... เป็นกระบือ ก็มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ กระบือก็คนนั้นแหละหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ กระบือก็คนนั้นแหละหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือ แล้วเป็นมนุษย์ เป็นผู้เกิดเป็นมนุษย์ กระบือเป็นอื่น ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นอื่น คำว่าบุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ ก็ถ้าว่าบุคคล ท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นเองเคลื่อนจากโลกนี้ ไปสู่โลกอื่น ไม่ใช่บุคคล อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้ปาณาติบาตก็จะหยั่งเห็นไม่ ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วมีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศลให้ผลอยู่ คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯลฯ

ส. บุคคลนั่นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?


ความคิดเห็น 118    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 118

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์ ก็มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ก็มี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ ศูทรก็คนนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บางคนเป็นพราหมณ์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ ก็มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บางคนเป็นแพศย์แล้วเป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ ... ไป เป็นพราหมณ์ ก็มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 119    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 119

ส. แพศย์ก็คนนั้นแหละ พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงก็กล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บางคนเป็นศูทรแล้วเป็นกษัตริย์ ... เป็นพราหมณ์ ... เป็นแพทย์ ก็มีหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศูทรก็คนนั้นแหละ แพศย์ก็คนนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คนมือด้วนก็ไปเป็นคนมือด้วนเทียวหรือ ... คนเท้า ด้วยก็ไปเป็นคนเท้าด้วนเทียวหรือ ... คนด้วนทั้งมือและเท้าก็ไปเป็นคน ด้วนทั้งมือและเท้าเทียวหรือ ... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้ง จมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนนิ้วแม่มือด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คน มือหงิก ... คนมือแป ... คนเป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นต่อม ... คนเป็นโรค กลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือ ก็ไปเป็นกระบือเทียว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 120    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 120

[๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลก นี้ สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้เป็นโสดาบัน เคลื่อนจากมนุษยโลกเข้า ถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบันเคลื่อนจากมนุษยโลก เข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้.

[๘๕] ส. ท่านทำความตกลงแล้วว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบัน เคลื่อนจากมนุษยโลก เข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ใน เทวโลกนั้น และด้วยเหตุนั้น จึงวินิจฉัยว่า บุคคลนั้นเทียวท่องเที่ยว ไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านได้ทำความตกลงว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบัน เคลื่อนจากมนุษยโลกเข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นมนุษย์แม้ในเทวโลก นั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 121    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 121

[๘๖] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่เป็นอื่น ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๗] ส. ไม่เป็นอื่น ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คนมือด้วนก็ไปเป็นคนมือด้วนเทียวหรือ ... คน เท้าด้วนก็ไปเป็นคนเท้าด้วนเทียวหรือ ... คนด้วนทั้งมือและเท้าก็ไปเป็น คนด้วนทั้งมือและเท้าเทียวหรือ ... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่น จมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนนิ้วแม่มือด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คน มือหงิก ... คนมือแป ... คนเป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นต่อม ... คนเป็น โรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็ไปเป็นกระบือเทียวหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๘] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ?


ความคิดเห็น 122    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 122

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้ มีสังขาร ฯลฯ เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๙] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจาก โลกนี้สู่โลกอื่น จาก โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ?


ความคิดเห็น 123    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 123

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้ไม่มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสังขาร ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๐] ส. บุคคลนั้นแหละท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่น สู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ?


ความคิดเห็น 124    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 124

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๑] ส. บุคคลนั้นแหละ ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปไม่ท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปไม่ท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ไม่ท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ?


ความคิดเห็น 125    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 125

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คำที่เหลือท่านย่อไว้.

ส. หากว่า บุคคลแตกดับไปในเมื่อขันธ์ทั้งหลายแตก ดับไป ก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ ที่พระพุทธเจ้าทรงเว้นขาดแล้ว หากว่า บุคคลไม่แตกดับไปในเมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกดับไป บุคคลก็จะเที่ยง (และดังนั้น) จะเสมอเหมือนกับนิพพาน.

คติอนุโยค จบ

อรรถกถาคติอนุโยค

ว่าด้วยการซักถามเรื่องคติ

บัดนี้ เป็นการซักถามถึงจุติปฏิสนธิ โดยเฉพาะการเปลี่ยนคติ คือ เปลี่ยนภพใหม่. ในปัญหานั้น ปุคคลวาที อาศัยพระสูตรทั้งหลาย ว่า บุคคลท่องเที่ยวไปสิ้น ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง เป็นต้น แล้วถือเอา ลัทธินั้นกล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไป ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทำลาย ลัทธิของปุคคลวาทีนั้น สกวาทีจึงถามว่า บุคคลท่องเที่ยวไปหรือ? บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ท่องเที่ยวไป ได้แก่ การท่องเที่ยว คือ การไปๆ มาๆ ในสงสาร. คำตอบรับรอง เป็นของปรวาทีด้วยสามารถ แห่งลัทธิของตน. แม้คำซักถามของสกวาที บุคคลนั้น เป็นต้น คำ ปฏิเสธเป็นของปรวาที. ในปัญหานั้น คำว่า บุคคลนั้น อธิบายว่า บุคคลนั่นแหละ. ก็สกวาทีประกอบคำถามอย่างนี้ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ. ถูกถามว่า บุคคลอื่น ก็


ความคิดเห็น 126    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 126

ตอบปฏิเสธเพราะกลัวแต่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ. ถูกถามว่า บุคคลนั้นด้วย บุคคลอื่นด้วย ก็ตอบปฏิเสธ เพราะกลัวแต่เอกัจจ- สัสสตทิฏฐิ คือ ลัทธิเห็นว่าเที่ยงบางอย่าง. ถูกถามว่า ไม่ใช่บุคคลนั้น ไม่ใช่บุคคลอื่น ก็ตอบปฏิเสธ เพราะกลัวแต่อมราวิกเขปทิฏฐิ คือ ลัทธิ ที่มีความเห็นไม่ตายตัว. ถูกถามปัญหาแม้ทั้ง ๔ รวมกันอีกก็ปฏิเสธเพราะ กลัวเป็นทิฏฐิแม้ทั้ง ๔. อนึ่ง ลัทธิของปรวาทีนั้นอาศัยพระสูตรทั้งหลาย เหล่าใดเกิดขึ้น สกวาทีนั้น เมื่อจะแสดงพระสูตรเหล่านั้นอีก จึงกล่าว คำว่า ถ้าอย่างนั้น บุคคลท่องเที่ยวไปหรือ เป็นต้น สกวาทีกำหนด คำว่า บุคคลนั้นนั่นแหละ แล้วถามโดยความประสงค์อีกว่า บุคคล ใดท่องเที่ยวไปตามลัทธิของท่าน บุคคลนั้นเป็นคนๆ เดียวกันในโลก นี้ด้วยในโลกอื่นด้วยหรือ ปรวาทีปฏิเสธ เพราะกลัวเป็นสัสสตทิฏฐิ ครั้นถูกถามซ้ำอย่างนั้นนั่นแหละอีก จึงตอบรับรอง เพราะว่า พระสูตร ว่า บุคคลนั้นไม่ใช่บุคคลอื่น เมื่อเขาเคลื่อนจากโลกนั้นแล้วเกิดใน โลกนี้ ดังนี้เป็นต้น มีอยู่. ถูกถามว่า มนุษย์คนนั้นนั่นแหละเป็น เทวดาหรือ ก็ตอบปฏิเสธ เพราะมนุษย์นั่นแหละมิใช่เทวดา. ถูกถาม ซ้ำอีกก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งพระสูตรว่า สมัยนั้น เราเป็น ศาสดาชื่อสุเนตตะ เป็นต้น. ทีนั้น สกวาที เมื่อจะประกาศคำนั้นว่า ผิด เพราะความต่างกันแห่งความเกิดขึ้นของเทวดาและมนุษย์ จึง กล่าวคำว่า เป็นมนุษย์ก็อย่างหนึ่ง เป็นต้น. ในคำเหล่านั้นคำว่า ความตายจักไม่มี อธิบายว่า ครั้นเมื่อความเช่นนั้นมีอยู่ ความตาย


ความคิดเห็น 127    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 127

ก็จักไม่มี. ต่อจากนี้ไป คำว่า เป็นยักษ์ เป็นเปรต เป็นต้น บัณฑิต พึงทราบความต่างกันแห่งการซักถามด้วยสามารถแห่งความต่างกันด้วย อัตภาพ.

คำว่า กษัตริย์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งชาติ และด้วยสามารถแห่งความบกพร่องของอวัยวะเป็นต้น. คำว่า ไม่พึง กล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า จากโลกหน้ามาสู่โลก นี้หรือ อีก ที่ปรวาทีถามแล้ว สกวาทีตอบรับรองว่า ใช่ บุคคลไม่ ท่องเที่ยวไป เพราะความไปสู่ปรโลกของผู้ดำรงอยู่ในภพนี้ด้วยสามารถ แห่งการเกิดไม่มี. คำตอบรับรอง แม้ครั้งที่ ๒ เป็นของสกวาทีนั่นแหละ เพราะความไม่มีพระโสดาบันแม้ในภพอื่นของพระโสดาบันอีก. คำว่า หากว่า เป็นต้น เป็นของปรวาที. การซักถามถึงบุคคลผู้เกิดใน เทวโลก ด้วยการแสดงถึงอัตภาพของมนุษย์อีกเป็นของสกวาที. เบื้อง หน้าแต่นี้คำว่า ไม่เป็นอื่น ในคำว่า ไม่เป็นอื่นไม่แปรผัน นี้เป็น เช่นเดียวกันโดยอาการทั้งปวง. คำว่า ไม่แปรผัน อธิบายว่า ไม่เปลี่ยน แปลงโดยอาการแม้อย่างหนึ่ง. คำว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น อธิบาย ว่า ปรวาทีกล่าวอย่างนี้เพราะความเป็นมนุษย์แห่งพระโสดาบันผู้เกิดขึ้น ในเทวโลก. พระสกวาทีถามปัญหานั้นอีก ปรวาทีก็ตอบรับรองตามลัทธิ ว่า บุคคลนั้นนั่นแหละท่องเที่ยวไ

ป. คำว่า คนมีมือด้วน เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อทำลายลัทธิว่า บุคคลไม่เปลี่ยนแปลง ท่องเที่ยว ไปโดยการให้เห็นถึงการเปลี่ยนลักษณะ. ในคำเหล่านั้น คำว่า นิ้ว


ความคิดเห็น 128    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 128

ด้วน ได้แก่ นิ้วมือนิ้วเท้าของบุคคลใดขาดแล้ว. คำว่า เอ็นใหญ่ ขาด ได้แก่ เส้นเอ็นใหญ่ของผู้ใดขาดแล้ว. ในคำทั้งหลายมีคำว่า มีรูปท่องเที่ยวไป เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธในปัญหาแรก หมาย เอาการไม่ท่องเที่ยวไปกับรูปกายนี้. ในปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองหมายเอา บุคคลผู้มีภพในระหว่าง จริงอยู่ ในลัทธิของเขานั้น บุคคลมีรูปเข้าไป สู่ท้องของมารดา แต่นั้นรูปของผู้เข้าไปสู่ท้องมารดานั้นย่อมแตกดับไป นี้ เรียกว่า มีภพในระหว่างของเขา. คำว่า ชีพก็อันนั้น ความว่า สกวาทีถามว่า บุคคลย่อมไปพร้อมกับสรีระ กล่าวคือ รูปอันใด ชีพ ของเขาก็อันนั้นนั่นแหละ สรีระก็อันนั้นหรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะการต้องทอดทิ้งสรีระไว้ในโลกนี้ และเพราะผิดจากพระสูตร. ใน คำทั้งหลาย มีคำว่า เป็นผู้มีเวทนาท่องเที่ยวไปหรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาความเกิดขึ้นแห่งอสัญญสัตว์. ย่อม ตอบรับรองหมายเอาการเกิดขึ้นนอกจากอสัญญสัตว์นั้น. คำว่า ชีพก็ อันนั้น ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า ชีพท่องเที่ยวไปพร้อมกับสรีระ ก็อันนั้นหรือ? ดังนี้ ที่จริง คำว่า สรีระ ในลัทธินี้ว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น นี้ ท่านหมายเอาขันธ์ แม้ทั้ง ๕. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะผิดจากพระสูตร. ในคำทั้งหลาย มีคำว่า ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปหรือ ในปัญหาที่หนึ่ง ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาภพมีในระหว่างตามลัทธิ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองหมาย เอานามที่เกิดในอรูปภพ. คำว่า ชีพเป็นอื่น ความว่า สกวาทีถาม


ความคิดเห็น 129    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 129

ว่า บุคคลไม่มีรูปละสรีระกล่าวคือรูปอันใดท่องเที่ยวไป สรีระอันนั้น เป็นอย่างหนึ่งชีพนั้นก็เป็นอย่างหนึ่ง ตามลัทธิของท่านหรือ? ปรวาที ตอบปฏิเสธ เพราะผิดจากพระสูตร. คำถามว่า เป็นผู้ไม่มีเวทนา ท่องเที่ยวไป เป็นต้น ปรวาทีหมายเอาภพที่มีสัญญา จึงตอบปฏิเสธ. ย่อมตอบรับรองหมายเอาอุปปัตติภพอื่นนอกจากสัญญีภพนั้น. คำถามว่า ชีพเป็นอื่น ความว่า สกวาทีถามว่า บุคคลไม่มีเวทนา ไม่มีวิญญาณ ละสรีระ กล่าวคือ เวทนาเป็นต้น ย่อมท่องเที่ยวไปสรีระของผู้นั้นก็ เป็นอย่างหนึ่ง ชีพของผู้นั้นก็เป็นอย่างหนึ่งหรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะผิดจากพระสูตร.

ในคำเป็นต้นว่า รูปท่องเที่ยวไปหรือ ความว่า สกวาทีถาม ว่า เพราะอาศัยขันธ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเหล่าใด ย่อมบัญญัติซึ่งบุคคล เมื่อบุคคลนั้นท่องเที่ยวไปตามลัทธิของท่าน รูปแม้นั้นก็ย่อมท่องเที่ยวไป หรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธการท่องเที่ยวไปแห่งรูป ไม่ปฏิเสธการ ท่องเที่ยวไปแห่งสัตว์ โดยพระสูตรที่ถือเอาเป็นลัทธิว่า การเที่ยวไป แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ผู้มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน มีอยู่ เมื่อถูกถามซ้ำอีกก็กล่าวรับรองว่า รูปท่องเที่ยวไป โดยความสำคัญ ว่า บุคคลเว้นซึ่งธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ครั้นเมื่อบุคคลนั้นท่องเที่ยวไป รูปแม้นั้นก็ต้องท่องเที่ยวไ

ป. แม้ใน ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในคำทั้งหลาย มีคำว่า รูปไม่ท่องเที่ยวไปหรือ เป็นต้น


ความคิดเห็น 130    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 130

อธิบายว่า ท่านกล่าวว่า รูปของท่านไม่ใช่บุคคล บุคคลเท่านั้นย่อม ท่องเที่ยวไป เหตุใด เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าชื่อถามท่านว่า รูปของ ท่านนั้น ไม่ท่องเที่ยวไปหรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยหมายเอาว่า บุคคลท่องเที่ยวไป ไม่อาจท่องเที่ยวไปด้วยรูปที่เป็นอุปาทานของผู้นั้น เมื่อถูกถามซ้ำอีก ก็ตอบรับรอง เพราะการท่องเที่ยวไปแห่งสัตว์ทั้งหลาย นั่นเทียว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

อนึ่งเนื้อความแห่งคาถาทั้งหลายพึงทราบดังนี้ ว่าโดยมติของ ท่านผู้มีอายุ บุคคลอาศัยขันธ์ทั้งหลายจึงมีอยู่ดุจเงาต้นไม้อาศัยต้นไม้ และดุจไฟอาศัยเชื้อไฟ ครั้นเมื่อความท่องเที่ยวไปแห่งธรรมทั้งหลายมี รูปเป็นต้นไม่มี เมื่อขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นแตกดับไป ก็ถ้าบุคคลของ ท่านย่อมไม่แตกดับไปไซร้ เมื่อความเป็นเช่นนี้มีอยู่ ความเห็นว่าขาด สูญย่อมเกิด อุจเฉททิฏฐิย่อมปรากฏแก่เขา. ถามว่า ทิฏฐิเหล่าไหนย่อม เกิดตอบว่า อกุสลทิฏฐิเหล่าใดที่พระพุทธเจ้าทรงเว้นขาดแล้ว ทิฏฐิ เหล่านั้นย่อมเกิด. ท่านย่อมแสดงว่า ก็ปริยายภาษิตอันใดที่ว่า พระสมณะโคดมผู้เป็นอุจเฉทวาที ดังนี้ พวกเราทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำ นั้น. แม้อีกอย่างหนึ่ง เมื่อขันธ์เหล่านั้นแตกดับไป บุคคลนั้นย่อมไม่ แตกดับไปไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ บุคคลก็เที่ยง บุคคลนั้น ก็จะเสมอเหมือนกับพระนิพพานตามทิฏฐินั้น. คำว่า เสมอเหมือน ได้แก่เสมออย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เสมอด้วยเสมอ หรือเสมอโดย ความเสมอนั่นเทียว เหมือนอย่างว่าพระนิพพานย่อมไม่เกิดย่อมไม่ดับ


ความคิดเห็น 131    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 131

ฉันใด แม้บุคคลนั้นก็ย่อมไม่เกิดย่อมไม่ดับฉันนั้น. บุคคลเสมอเหมือน ด้วยพระนิพพานนั้น (ตามลัทธินั้นย่อมมี) ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาคติอนุโยค จบ


ความคิดเห็น 132    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 132

อุปาทาปัญญัตตานุโยค

[๙๒] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี ความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไป เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิด ขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น ธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยเวทนา ฯลฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลาย


ความคิดเห็น 133    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 133

ไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิด ขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น ธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๓] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยรูปเขียวจึงบัญญัติบุคคลเขียวขึ้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยรูปเหลือง ฯลฯ เพราะอาศัยรูปแดง ฯลฯ เพราะอาศัยรูปขาว ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯลฯ เพราะ อาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่กระทบไม่ได้ ฯลฯ จึงบัญญัติ บุคคลที่กระทบไม่ได้ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๔] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 134    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 134

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น กุศลขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น กุศลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่า ปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๕] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น อกุศลขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น อกุศลขึ้น หรือ?


ความคิดเห็น 135    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 135

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร ทุกข์เป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นอกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๖] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคล เป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคล เป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา


ความคิดเห็น 136    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 136

มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไป เป็นธรรมดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น กุศลขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น กุศลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?


ความคิดเห็น 137    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 137

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่า ปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๗] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคล เป็นอกุศลขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคล เป็นอกุศลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ?


ความคิดเห็น 138    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 138

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๘] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติ บุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเห็นอัพยากฤต จึงบัญญัติ บุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 139    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 139

[๙๙] ส. เพราะอาศัยจักษุพึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อจักษุดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุดับ ไปแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยโสตะ ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา ฯลฯ เพราะอาศัยกาย ฯลฯ เพราะอาศัยมโน ฯลฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อมโนดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโนดับ ไปแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๐] ส. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น มิจฉาทิฏฐิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น มิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวว่าอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 140    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 140

[๑๐๑] ส. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัย มิจฉาวาจา ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจ- ฉาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ฯลฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีมิจฉาสมาธิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อมิจฉาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมี มิจฉาสมาธิดับไปแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๒] ส. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น สัมมาทิฏฐิ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น สัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัย สัมมาวาจา ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวายามะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ ฯลฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีสัมมาสมาธิ หรือ?


ความคิดเห็น 141    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 141

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อสัมมาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมี สัมมาสมาธิดับไปแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๓] ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติ บุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยขันธ์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ คนขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัย สัญญา เพราะอาศัยสังขาร เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ขึ้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๔] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตะ จึง บัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 142    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 142

ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๕] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ ฯลฯ เพราะอาศัยธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒ ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๖] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึง บัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๗] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯลฯ เพราะอาศัยธัมธาตุ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ชิ้น หรือ?


ความคิดเห็น 143    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 143

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ ฯลฯ เพราะอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ จึงบัญญัติ บุคคลขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒๒ ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ คือ ภพแห่งสัตว์มีขันธ์ หนึ่ง จึงบัญญัติบุคคลหนึ่งขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยจตุโวการภพ คือภพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔ จึงบัญญัติบุคคล ๔ ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 144    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 144

[๑๑๑] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคลหนึ่ง ขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ คือภพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๒] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในจตุโวการภพ มีบุคคลเพียง ๕ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๓] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง ๕ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในปัญจโวการภพ มีบุคคลเพียง ๕ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔] ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ เพราะอาศัย ต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ไม่เที่ยง ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลขึ้น แม้รูปก็ไม่ เที่ยง แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง หรือ?


ความคิดเห็น 145    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 145

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ต้นไม้ เป็นอื่น เงาไม้ก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึง บัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น บ้านเป็น อื่น ชาวบ้านก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึง บัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น ฉันใด ฉันนั้น แหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ?

ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น รัฐเป็นอื่น ราชาก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคล ขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น ต่างหาก ชื่อว่า ผู้ถูกจำตรวน ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้มีรูป หรือ?


ความคิดเห็น 146    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 146

ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น ต่างหากชื่อว่า ผู้ถูกจำตรวน ตรวนเป็นอื่น ผู้ถูกจำตรวนก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้มีรูป รูปเป็นอื่น ผู้มีรูปก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๕] ส. บัญญัติบุคคลขึ้นในเพราะจิตแต่ละดวง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลในเพราะจิตแต่ละดวง ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า เด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง หรือ?

ป. พึงกล่าวได้.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิด ขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าเด็กชาย หรือว่า เด็กหญิง, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒


ความคิดเห็น 147    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 147

เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่า เด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง ดังนี้ ผิด, ก็หรือหากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าเด็กชายหรือว่าเด็กหญิง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าบุคคลนั้นหรือว่า บุคคลอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวว่าเด็ก ชายหรือเด็กหญิงดังนี้ ผิด.

[๑๑๖] ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าสตรี หรือ ว่าบุรุษ ... ว่าคฤหัสถ์ หรือว่าบรรพชิต ... ว่า เทวดา หรือว่ามนุษย์ หรือ?

ป. พึงกล่าวได้.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิด ขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าเทวดา หรือว่า มนุษย์. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง กล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่า มนุษย์ดังนี้ ผิด, ก็หรือหากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้


ความคิดเห็น 148    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 148

ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิต ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น, ที่ท่าน กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง กล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่า มนุษย์ ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๑๑๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด พึง กล่าวได้ว่า บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วย จักษุนั้นมิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้น ด้วย เห็นนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๑๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 149    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 149

ป. บุคคลใดฟัง ฯลฯ บุคคลใดดม ฯลฯ บุคคลใดลิ้ม ฯลฯ บุคคลใดถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์ รู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโน ใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์นั้น ด้วยมโนนั้น ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๑๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้เห็นด้วย จักษุใด ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น ไม่พึง กล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้ เห็นด้วยจักษุใด ไม่พึงกล่าวบุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๒๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 150    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 150

ส. บุคคลใดมิได้ฟัง ฯลฯ บุคคลใดมิได้ดม ฯลฯ บุคคลใดมิได้ลิ้ม ฯลฯ บุคคลใดมิได้ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดมิได้รู้ มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าวบุคคลนั้นรู้ ไม่พึง กล่าวว่ารู้ธัมมารมณ์นั้น ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลใดมิได้รู้ มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิ ได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้นรู้ไม่พึงกล่าวว่ารู้ธัมมารมณ์นั้น ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ อุปบัติอยู่ เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะทรามบ้าง เป็นสุคติบ้าง เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม๑ ดังนี้ เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


๑. ม.ม. ๑๓/๗๕๖.


ความคิดเห็น 151    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 151

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะน่ะสิ.

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ อุปบัติอยู่ เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะทรามบ้าง เป็นสุคติ บ้าง เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ดังนี้ ด้วยเหตุ นั้นแหละ ท่านจึงหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ มนุษย์.

ป. ทรงเห็นรูป.

ส. รูปคือบุคคล รูปจุติ รูปอุบัติ รูปเป็นไปตาม กรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ มนุษย์.

ป. ทรงเห็นบุคคล.


ความคิดเห็น 152    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 152

ส. บุคคล คือรูป คือรูปายนะ คือรูปธาตุ คือสีเขียว คือสีเหลือง คือสีแดง คือสีขาว คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยจักษุ กระทบมีจักษุ มาสู่คลองจักษุ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล ด้วยจักษุเพียงทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.

ป. ทรงเห็นทั้งสองอย่าง.

ส. ทั้งสองอย่างคือรูป คือรูปายตนะ คือรูปธาตุ ทั้ง สองอย่างคือสีเขียว ทั้งสองอย่างคือสีเหลือง ทั้งสองอย่างคือสีแดง ทั้ง สองอย่างคือสีขาว ทั้งสองอย่างคือสิ่งที่รู้ได้ด้วยจักษุ ทั้งสองอย่างกระทบที่จักษุ ทั้งสองอย่างมาสู่คลองจักษุ ทั้งสองอย่างจุติ ทั้งสองอย่าง อุบัติ ทั้งสองอย่างเป็นไปตามกรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อุปาทาปัญญัตตานุโยค จบ

อรรถกถาอุปาทาปัญญัตตานุโยค

ว่าด้วยการซักถามอุปาทาบัญญัติ

บัดนี้ เป็นการซักถามอุปาทาบัญญัติ คือบัญญัติเพราะอาศัย ในเรื่องนั้น คำถามเป็นของพระสกวาที คำรับรองเป็นของพระปรวาที.


ความคิดเห็น 153    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 153

จริงอยู่เพราะอาศัยจักขุรูปเป็นต้น จึงบัญญัติบุคคล เหมือนการบัญญัติ เงาไม้เพราะอาศัยต้นไม้ เหมือนการบัญญัติไฟเพราะอาศัยเชื้อไฟ ฉะนั้น ท่านต้องการประกาศให้รู้ให้เข้าใจถึงบัญญัติ เพราะฉะนั้นเมื่อถูก สกวาทีถามว่า เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้นหรือ ปรวาทีจึง ตอบรับรอง. ถูกถามเนื้อความนี้อีกว่า ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยงเป็นราวกะ รูป เป็นต้น เปรียบเหมือนเงาอาศัยต้นไม้ที่ต้นไม้ด้วย ไฟที่อาศัย เชื้อไฟและเชื้อไฟด้วยมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดาฉันใด บุคคลของท่าน อาศัยรูปเป็นต้น มีความไม่เที่ยงดุจธรรมทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น ฉะนั้น หรือ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะตั้งอยู่ในลัทธิของตน. ในคำทั้ง หลายมีคำว่า เพราะอาศัยรูปเขียวจึงบัญญัติบุคคลเขียวหรือ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคลเป็นอันเดียวกันกับรูปเขียวด้วย ซึ่งความมีมากมายแห่งบุคคลด้วยสามารถแห่งรูปเขียวเป็นต้นในสรีระ หนึ่งด้วย จึงตอบปฏิเสธ.

แม้ในปัญหานี้ว่า เพราะอาศัยเวทนาอันเป็นกุศล จึงบัญญัติ บุคคลเป็นกุศลหรือ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคล กับเวทนาเป็นอันเดียวกันและความมีมากมายแห่งบุคคลด้วยสามารถแห่ง กุศลเวทนาอันมากมายในสันดานหนึ่ง จึงตอบปฏิเสธ. ในนัยที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรองเพราะหมายเอาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความฉลาดโดยสภาพ แห่งคำว่า มัคคกุศล เป็นต้น. ถูกถามว่า ถึงบุคคลเป็นกุศลมีผล เป็นต้น ก็ตอบปฏิเสธเพราะไม่มีโวหารเช่นนั้น. ในฝ่ายอกุศล ปรวาที


ความคิดเห็น 154    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 154

ตอบรับรองหมายเอาผู้ดำรงอยู่ในความไม่ฉลาด. ในฝ่ายอัพยากตะท่าน ก็ตอบรับรองหมายเอาความเป็นแห่งอัพยากตะ คือความไม่พยากรณ์ ด้วยสามารถแห่งคำว่า โลกเที่ยงเป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ โดยนัยแห่งคำที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นเทียว.

ในคำถามทั้งหลายว่า เพราะอาศัยจักขุพึงกล่าวว่าบุคคลมีจักขุ หรือ เป็นต้น ปรวาทีย่อมตอบรับรองเพราะสภาพแห่งโวหารว่า ผู้มี จักขุพึงเว้นบาปต่างๆ เป็นต้นเมื่อไม่ปรารถนาความดับของบุคคลเพราะ การดับแห่งธรรมสักว่ามีจักขุเป็นต้น จึงปฏิเสธ. ในคำถามนี้ว่า เพราะ อาศัยรูปอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลหรือ นี้บัณฑิตพึงทราบธรรม แม้เหล่าอื่นที่มีรูปเป็นมูลอันเป็นหมวด ๒ หมวด ๓ และหมวด ๔. ก็ การบัญญัติบุคคลเพราะอาศัยขันธ์ทั้งหลายเหตุใด เพราะเหตุนั้นปรวาที จึงตอบรับรองซึ่งบัญญัติเพราะอาศัยขันธ์ ๒ บ้าง ขันธ์ ๓ บ้าง ขันธ์ ๔ บ้าง ขันธ์ ๕ บ้าง. แต่ย่อมตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีบุคคล ๒ หรือ บุคคล ๕ ในสันดานหนึ่งแม้ในอายตนะทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บัดนี้เพื่อแสดงว่า การบัญญัติบุคคลใด เพราะอาศัยขันธ์ใด ความไม่เที่ยงแม้ของบุคคลนั้นเพราะความไม่เที่ยงของขันธ์นั้น และ ความสำเร็จอย่างหนึ่งเพราะอาศัยสิ่งหนึ่งฉันใด ความสำเร็จแห่งบุคคล นั้นย่อมปรากฏฉันนั้นหรือ ดังนี้ จึงกล่าวว่า เพราะอาศัยต้นไม้ จึง บัญญัติเงาไม้ขึ้นฉันใด เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เพราะ อาศัย ได้แก่ อาศัย คือการไม่เว้นจากสิ่งนั้น. ก็ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนา


ความคิดเห็น 155    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 155

คำว่า เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงา เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติ บุคคล ดังนี้ เพราะความตั้งมั่นอยู่ในลัทธิของตน จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า ตรวน ได้แก่ เครื่องจองจำอันมั่นคง. คำว่า ผู้ถูกจำตรวน ได้แก่ ผู้ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำนั้น. คำว่า รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหาก ชื่อว่า ผู้มีรูป อธิบายว่า รูปมีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นต่างหากชื่อว่าผู้ มีรูป เหมือนตรวนไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนก็อย่างหนึ่ง ผู้ถูกจำตรวน ก็อย่างหนึ่ง. ฉันใด ฉันนั้นนั่นแหละ รูปก็อย่างหนึ่ง ผู้มีรูปก็อย่าง หนึ่ง.

ในคำถามว่า บัญญัติบุคคลในเพราะจิตแต่ละดวงหรือ ปรวาที หมายเอาจิตมีราคะเป็นต้นด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีราคะเป็นต้น จึง ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตตานุปัสสนา. ถูกสกวาทีถามโดยนัยว่า ย่อมเกิดแก่ตาย เป็นต้น เมื่อปรวาทีไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคล เกิดเป็นขณะ เหมือนจิต จึงปฏิเสธ. ถูกถามว่า บุคคลนั้น หรือว่า บุคคลอื่น เพราะกลัวเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ จึงปฏิเสธ. ถูก สกวาทีถามว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้นไม่พึงกล่าวว่า กุมารหรือว่า กุมารี อีก เพราะกลัวแต่การถูกตัดขาดจากโวหารของชาวโลก จึงรับ ว่า พึงกล่าวได้. คำที่เหลือในที่นี้ปรากฏชัดแจ้งแล้วทั้งนั้น.

บัดนี้ ปรวาทีเป็นผู้ใคร่เพื่อจะให้ลัทธิของตนตั้งอยู่โดยอาการ อื่น จึงกล่าวคำว่า ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล เป็นต้น. ใน คำเหล่านั้น คำว่า ไม่พึงกล่าว อธิบายว่า ปรวาทีกล่าวคำนี้ก่อน ว่า ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ


ความคิดเห็น 156    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 156

โดยการซักถามถึงอุปาทาบัญญัติอันมากมายอย่างนี้. ต่อจากนั้น เมื่อคำ ว่าใช่ อันสกวาทีตอบรับรองแล้ว ปรวาทีจึงกล่าวว่า บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด ... มิใช่หรือ เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า โย ได้แก่ บุคคลใด คำว่า ยํ ได้แก่ รูปใด คำว่า เยน ได้แก่ ด้วยจักขุใด คำว่า โส ได้แก่ บุคคลนั้น คำว่า ตํ ได้แก่รูปนั้น คำว่า เตน ได้แก่ ด้วยจักขุนั้น. ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักขุ ใด ผู้นั้นเมื่อเห็นรูปนั้นย่อมเห็นด้วยจักขุนั้น มิใช่หรือ? สกวาทีก็ ตอบรับรองว่าใช่ ด้วยสามารถแห่งคำสมมติเป็นต้นด้วยคำว่า จักขุอัน ถึงความเป็นนิสสยปัจจัยแก่จักขุวิญญาณแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นบุคคลนั้น ก็ชื่อว่าย่อมเห็นซึ่งรูปนั้น โสตะก็เช่นเดียวกัน บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมฟัง เสียง ฯลฯ มโนวิญญาณก็เช่นเดียวกัน บุคคลนั้นย่อมชื่อว่ารู้แจ้งซึ่ง ธรรม จักขุของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ย่อมเห็นรูปนั้นด้วย จักขุนั้น ดังนี้ ลำดับนั้นปรวาทีอาศัยวาทะอันมีเลศนัย จึงเปลี่ยน วาทะนั้นนั่นแหละแล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านพึง กล่าวว่าหยั่งเห็นบุคคล เพราะความที่บุคคลอันท่านให้สำเร็จแล้วด้วย ความเป็นคำอันบุคคลพึงกล่าว. ในคำเหล่านั้น คำว่า บุคคลใดมิได้ เห็น อธิบายว่า เป็นบุคคลผู้บอด อสัญญีสัตว์ ผู้เกิดในอรูปภพ แม้ เป็นผู้ไม่บอดเข้าสมาบัติแล้วก็ชื่อว่าย่อมไม่เห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งขณะ นั้น. แม้ในวาระทั้งเหลือก็นัยนี้นั่นแหละ. ว่าโดยอรรถ บัณฑิตพึงทราบ คำที่เหลือด้วยสามารถแห่งพระบาลี.


ความคิดเห็น 157    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 157

ในการเทียบเคียงพระสูตร ปรวาทีกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นรูปเพราะรูปเป็นอารมณ์แก่ทิพยจักขุ. ในวาระที่ ๒ กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลเพราะพระบาลีว่า เราตถาคต ย่อม เห็นสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ในวาระที่ ๓ กล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง เห็นทั้ง ๒ อย่าง เพราะลัทธิว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปแล้วจึงรู้ แจ้งซึ่งบุคคล.๑ ก็รูปายตนะนั่นแหละท่านรวบรวมไว้ในรูปสังคหะ ๔ คือ ทิฏฺํ ๑. สุตํ ๑. มุตํ ๑. วิญฺาตํ ๑. ชื่อว่าเป็นธรรมพึงเห็น เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงซักว่า รูปคือบุคคล บุคคลคือรูป ทั้ง ๒ อย่างคือรูป คือรูปปายตนะ เป็นต้น.

อรรถกถาอุปาทาปัญญัตตานุโยค จบ


๑. ในวิภังค์ปกรณ์กล่าวไว้ว่า รูปายตนะเป็น ทิฏฺํ เป็น วิญฺาตํ สัททายตนะเป็น สุตํ เป็น วิญฺาตํ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะเป็น มุตํ เป็นวิญฺาตํ อายตนะ ๗ ที่เหลือ คือ จักขายตนะ โสตา ฆานา ชิวหา กายา ธัมมา มนายตนะ เป็น วิญฺาตํ ทิฏฺํ ได้แก่ธรรมที่เขาเห็นแล้ว ฯลฯ วิญฺาตํ ได้แก่ธรรมที่เขารู้แล้ว.


ความคิดเห็น 158    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 158

กัลยาณวรรค (๑)

[๑๒๒] ป. ท่านหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่วหรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างบุคคลนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างบุคคลนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


(๑) ตอนนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปุริสการานุโยค"


ความคิดเห็น 159    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 159

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างบุคคล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕] ส. เพราะหยั่งเป็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างนิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างธรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ สร้างมหาปฐพี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาสมุทร ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น ผู้ทำ ผู้สร้างมหาสมุทร หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 160    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 160

[๑๒๘] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น ผู้ทำ ผู้สร้างขุนเขาสิเนรุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นน้ำ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้ สร้างน้ำ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นไฟ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้ สร้างไฟ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๑] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?


ความคิดเห็น 161    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 161

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นลม ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้ สร้างลม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างหญ้า ไม้ และ ต้นไม้เจ้าป่า หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมดีกรรมชั่วเป็นอื่น ผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี กรรมชั่ว ก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๔] ป. ท่านหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดี


ความคิดเห็น 162    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 162

กรรมชั่ว หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีกรรม- ชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยวิบากนั้นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยวิบากนั้นหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่ บุคคลนั้นๆ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้น จึงเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 163    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 163

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมชั่ว ฉะนั้น จึงเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดี กรรมชั่ว

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ เสวยนิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีกรรม ชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี เพราะหยั่งเห็นมหา- สมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะหยั่ง เห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้ เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้และต้นไม้เจ้าป่า หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีกรรม- ชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วเป็นอื่น บุคคลผู้


ความคิดเห็น 164    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 164

เสวยวิบากของกรรมดีกรรมชั่วก็เป็นอื่นหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๕] ป. ท่านหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๖] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น ทิพย์นั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น ทิพย์นั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ?


ความคิดเห็น 165    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 165

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคลฉะนั้นจึงเห็นผู้เสวยบุคคล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๘] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล ผู้เสวยนิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๙] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯลฯ เพราะหยั่งเห็น มหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะ หยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และ ต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ ?


ความคิดเห็น 166    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 166

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขอันเป็นทิพย์เป็นอื่น บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น ทิพย์ก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑] ป. ท่านหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น บุคคลผู้เสวยของมนุษย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ นั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ นั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่ บุคคลนั้นๆ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 167    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 167

[๑๔๓] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น เห็นบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล ผู้เสวยนิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯลฯ เพราะหยั่งเห็น มหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะ หยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และ ต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 168    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 168

[๑๔๖] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขของมนุษย์เป็นอื่น บุคคลผู้เสวยสุขของ มนุษย์ก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗] ป. ท่านหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายหรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๘] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน อบาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน อบายนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ


ความคิดเห็น 169    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 169

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๙] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๐] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล ผู้เสวยนิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๑] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯลฯ เพราะหยั่งเห็น มหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะ


ความคิดเห็น 170    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 170

หยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯลฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และ ต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๒] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกข์ที่มีในอบายเป็นอื่น บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในอบายก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๓] ป. ท่านหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๔] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน นรกนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน


ความคิดเห็น 171    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 171

นรกนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ ก็ไม่มีก็บุคคลนั้น ฯลฯ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล ผู้เสวยนิพพาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 172    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 172

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯลฯ เพราะหยั่งเห็น มหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะ หยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้ เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกข์ที่มีในนรกเป็นอื่น บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี ในนรกก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๙] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เป็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากของกรรมดี กรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขและทุกข์ตัวทำเอง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 173    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 173

[๑๖๐] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากของกรรมดี กรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขและทุกข์บุคคลอื่นทำให้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๑] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีและกรรมชั่ว ฉะนั้นจึง หยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากกรรมดี กรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคล อื่นเสวย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคล อื่นเสวย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขและทุกข์ตัวทำเองด้วยคนอื่นทำให้ด้วยหรือ?


ความคิดเห็น 174    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 174

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๒] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากกรรมดี กรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็หาไม่บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขละทุกข์อาศัยสภาพที่มิใช่การทำของตนเอง ไม่ใช่การทำของคนอื่นเกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง เห็นบุคคลผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยกรรมดีกรรมชั่ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคลอื่น


ความคิดเห็น 175    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 175

เสวย บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็ หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคลอื่น เสวย บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็ หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขและทุกข์ตัวทำเอง สุขและทุกข์คนอื่นทำให้ สุขและทุกข์ตัวทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย สุขและทุกข์อาศัยสภาพที่ มิใช่การทำของตนเอง มิใช่การทำของบุคคลอื่นเกิดขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔] ป. กรรมมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้ทำกรรมก็มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้สร้างบุคคลผู้ทำกรรมนั้นก็มีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 176    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 176

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้สร้างบุคคลผู้ทำกรรมนั้นก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่ บุคคลนั้นๆ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะบุคคลมีอยู่ ฉะนั้นผู้สร้างบุคคลจึงมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะนิพพานมีอยู่ ฉะนั้นผู้สร้างนิพพานจึงมี อยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ ?


ความคิดเห็น 177    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 177

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะมหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ เพราะมหาสมุทร มีอยู่ ฯลฯ เพราะขุนเขาสิเนรุมีอยู่ ฯลฯ เพราะน้ำมีอยู่ ฯลฯ เพราะ ไฟมีอยู่ ฯลฯ เพราะลมมีอยู่ ฯลฯ เพราะหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า มีอยู่ ฉะนั้น ผู้สร้างหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า จึงมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมเป็นอื่น บุคคลผู้ทำกรรมก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิบากมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้เสวยวิบากมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เสวยบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้เสวยบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 178    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 178

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่บุคคลนั้น ๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะบุคคลมีอยู่ ฉะนั้นผู้เสวยบุคคลจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะนิพพานมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยนิพพาน จึงมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 179    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 179

ส. เพราะมหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ เพราะมหาสมุทร มีอยู่ ฯลฯ เพราะขุนเขาสิเนรุมีอยู่ ฯลฯ เพราะน้ำมีอยู่ ฯลฯ เพราะ ไฟมีอยู่ ฯลฯ เพราะลมมีอยู่ ฯลฯ เพราะหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า มีอยู่ ฉะนั้นผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่ารอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบากเป็นอื่นบุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คำที่เหลือท่านย่อไว้.

กัลยาณวรรค จบ

อรรถกถาปุริสการานุโยค

ว่าด้วยการซักถามการกระทำของบุคคล

บัดนี้ เป็นการซักถามถึงการทำของบุคคล ในปัญหานั้น คำ ถามด้วยลัทธิว่า เมื่อกรรมมีอยู่ แม้ผู้ทำกรรมนั้นก็ต้องมีแน่นอน ดังนี้ เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองว่าใช่ เป็นของพระสกวาที เพราะ ความที่กรรมทั้งหลายเช่นนั้นมีอยู่. คำถามอีกว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำกรรม เป็นของสกวาที. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ผู้ทำ ได้แก่ ผู้ทำกรรม ทั้งหลายเหล่านั้น. คำว่า ผู้ให้ทำกรรม ได้แก่ ผู้ให้ทำกรรมด้วย อุบายทั้งหลาย มีการสั่งสมและการแสดงให้ทราบ เป็นต้น.


ความคิดเห็น 180    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 180

ในบัดนี้ ปรวาทีหมายเอาบุคคลจึงถามถึง ผู้ทำ ไม่ถามเหตุ สักว่าการกระทำ เพราะฉะนั้นสกวาทีจึงตอบปฏิเสธ. ในคำนี้ว่า. ผู้ทำ ผู้ให้ทำกรรมนั้น อธิบายว่า สกวาทีถามว่า ถ้าว่า ท่านหยั่งเห็นกรรม ใดๆ ท่านก็หยั่งเห็นบุคคลผู้ทำกรรมนั้นๆ ย่อมหยั่งเห็นบุคคลตามลัทธิ ของท่านนั่นแหละ ก็ท่านหยั่งเห็นบุคคลอื่นผู้ทำด้วย ผู้ให้ทำกรรมนั้น ด้วยหรือ ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ เพราะกลัวจะ ถูกกล่าวหาว่าเป็นลัทธิแห่งพระเจ้าสร้างโลก. เมื่อถามซ้ำอีก ปรวาที ก็ตอบรับรองเพราะหมายเอาเนื้อความนี้ว่า มารดาบิดาย่อมให้บุคคล เกิด ย่อมตั้งชื่อ ย่อมเลี้ยงดู เพราะฉะนั้น มารดาบิดาเหล่านั้น จึง ชื่อว่า ผู้ทำ ส่วนกัลยาณมิตรหรืออาจารย์เหล่าใดย่อมให้ศิษย์ศึกษา วิชาการ และเรียนศิลปะทั้งหลายนั้นๆ กัลยาณมิตรหรืออาจารย์เหล่า นั้นชื่อว่า ผู้ให้ทำ ดังนี้. ท่านอธิบายว่า กรรมเก่าเท่านั้นท่าน ประสงค์เอาว่า เป็นผู้ทำเป็นผู้ให้ทำกรรมนั้นๆ ท่านกล่าวคำนี้ว่า ถ้า ว่า ผู้ทำของผู้ทำกรรมทั้งหลายมีอยู่ไซร้ ผู้ทำแม้แก่ผู้นั้นต่อๆ กันมาก็ มีอยู่นั่นแหละ ด้วยคำนี้ว่า แก่บุคคลนั้นๆ นั่นแหละ ดังนี้ ครั้น เมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ บุคคลผู้เกิดก่อนๆ ก็พึงทำบุคคลผู้เกิดภาย หลังโดยแท้ๆ แม้ด้วยคำนี้ บุคคลผู้ทำกรรมเหล่านั้น พึงทำบุคคลอื่นๆ ต่อไ

ป. แม้บุคคลนั้นก็พึงทำบุคคลอื่นๆ. สกวาทีถามว่า นิพพานใด คือการทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดวัฏฏะไม่มี ความดับรอบอันไม่มี ปัจจัยก็ไม่มี นิพพานนั้นไม่มี แก่บุคคลนั้นๆ เพราะความไม่มีปัจจัย เพราะความไม่มีทุกข์อื่นเนื่องด้วยปัจจัยหรือ? อีกอย่างหนึ่ง คำว่า แก่


ความคิดเห็น 181    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 181

บุคคลนั้นๆ นั่นแหละ อธิบายว่า ถ้าว่า ความสืบเนื่องกันมาของ บุคคลมีอยู่อย่างนี้ว่า กรรมสักว่าการกระทำไม่มี มีแต่บุคคลผู้ทำบุคคล แม้นั้นๆ ต่อๆ กันมา ดังนี้ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ การกล่าวว่า การทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์เพราะเหตุอันไม่ให้ความเป็นไปแห่งกัมมวัฏฏะอัน ใดนี้นั้น ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้นๆ ดังนี้. ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาคำนั้น จึงปฏิเสธ. คำว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำ ในคำถามแห่งผู้ทำทั้งหลายตาม คำสามัญที่หยั่งเห็นได้ แม้ในปัญหาอื่นอีกจากนี้ ท่านก็หมายเอาเฉพาะ บุคคลเท่านั้น มิได้กล่าวมุ่งหมายเอาปัจจัยทั้งหลายเลย. แท้จริงปัจจัย แห่งสิ่งทั้งปวง เช่น มหาปฐพี เป็นต้นจะไม่มีก็หามิได้.

ปัญหาที่สกวาทีถามว่า ผู้ทำกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลาย ก็เป็นอื่น หรือ ปัญหานั้นปรวาทีตอบปฏิเสธแล้ว เพราะกลัวเป็นทิฏฐิว่า บุคคล มีสังขาร หรือ มีอัตตา เป็นต้น.

คำเป็นต้นว่า ท่านหยั่งเห็นวิบากหรือ เป็นต้น ท่านกล่าว เพื่อทำลายลัทธิผู้แสดงบุคคล ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เสวยวิบาก. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ผู้เสวยวิบาก เป็นคำซักถามของปรวาที. คำปฏิเสธเป็นของสกวาที เพราะความไม่มีผู้เสวยอื่นนอกจากความเป็น ไปแห่งวิบาก. คำถามอีกเป็นของสกวาที คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลเป็นผู้เสวยวิบากนั้น ได้แก่ ผู้เสวยของวิบากนั้นๆ ก็วิบาก ชื่อว่า พึงเสวย บุคคลมิใช่วิบาก ฉะนั้นปรวาทีจึงปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้เสวย. ถูกสกวาทีถามซ้ำอีก ก็ตอบรับรองว่า


ความคิดเห็น 182    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 182

บุคคลเป็นผู้เสวยวิบาก เพราะความตั้งอยู่ในผลแห่งบุญ โดยหมายเอา มารดาที่ปล่อยวางสละบุตร หรือภรรยาที่ปล่อยวางสละสามีเป็นผู้เสวย วิบาก ซึ่งเป็นการเสวยบุคคลเช่นนั้น. คำถามว่า การทำซึ่งที่สุดแห่ง ทุกข์ไม่มี ฯลฯ ก็บุคคลนั้นๆ อธิบายว่า ถ้าว่า ความสืบเนื่องกัน ของบุคคลเป็นมาอย่างนี้ว่า วิบากที่สักแต่ความเป็นวิบากไม่มี มีแต่ บุคคลเป็นผู้เสวยผลแห่งกรรมนั้นๆ ต่อ กันมา ดังนี้ไซร้ ครั้นเมื่อ ความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ การกล่าวว่า การทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยเหตุ อันไม่เป็นไปแห่งวิปากวัฏฏ์นี้นั้น ก็ย่อมไม่มีดังนี้. ต่อจากนั้น พึงทราบ เนื้อความในคำถามถึงผู้เสวยด้วยคำอันเป็นธรรมดาที่ว่า ท่านหยั่งเห็น ได้ ข้างหน้านี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ปัญหาที่สกวาที ถามว่า บุคคลเสวยวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่ว ก็เป็นอื่นหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวแต่ลัทธิอันเห็นผิดว่า บุคคลมีเวทนา หรือบุคคลมีอัตตา. คำว่า สุขอันเป็นทิพย์ เป็นต้น เป็นคำอันปรวาทีเริ่มจำแนกผลแห่งกรรมดี และกรรมชั่วด้วยสามารถ แห่งลัทธิ. คำนั้นทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่น แหละ. อนึ่ง ในคำถามที่ปรวาทีถามว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุข อันเป็นทิพย์หรือ นี้ พึงทราบว่า สกวาทีตอบปฏิเสธว่าบุคคลไม่เป็น ผู้เสวยเท่านั้น ไม่ปฏิเสธวิปากขันธ์ที่เสวยสุขอันเป็นทิพย์. จริงอยู่ ความ เกิดขึ้นแห่งวิบากทั้งหลายที่ผู้ทำกรรมฐานทั้งหลาย กระทำมหาปฐพีเป็น ต้นให้เป็นอารมณ์แล้วเสวยผล ย่อมเป็นการสำเร็จที่เปรียบไม่ได้. คำว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำเป็นผู้เสวยผลแห่งกรรมดีกรรมชั่ว เป็นต้น เป็น


ความคิดเห็น 183    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 183

คำที่ท่านกล่าวปรารภนัยที่เจือกัน คือมีทั้งบัญญัติและปรมัตถะ.

ในคำเหล่านั้น คำว่า บุคคลนั้นกระทำ เป็นคำซักถามของ สกวาทีว่า ท่านกล่าวว่าบุคคลผู้ทำกรรมใด และผู้เสวยกรรมใด บุคคล นั้นนั่นแหละกระทำ บุคคลนั้นเองเป็นผู้เสวยหรือ? คำปฏิเสธเป็น ของปรวาที เพราะกลัวผิดจากพระสูตรฯ ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองด้วย สามารถแห่งพระสูตรว่า บุคคลย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกหน้า เป็นต้น ดังนี้ ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะ ปฏิเสธโอกาสคำที่จะกล่าวของปรวาทีนั้น จึงกล่าวคำว่า สุขทุกข์อัน ตนทำเองหรือ ในคำเหล่านั้น คำว่า ผู้อื่นกระทำ สกวาทีกล่าว ด้วยสามารถแห่งความเป็นอื่นแห่งผู้ทำและผู้เสวย. จากนั้น ปรวาทีจึง ปฏิเสธโอกาสที่จะพูดเพราะกลัวผิดพระสูตร. ถูกถามอีก เมื่อมีความ สำคัญว่า บุคคลผู้เกิดเป็นมนุษย์แล้วเกิดเป็นเทวดาแล้วย่อมเสวย ดังนี้ จึงตอบรับรอง. ก็ถูกถามด้วยสามารถแห่งวาทะอย่างนี้ว่า สุขและทุกข์ อันบุคคลอื่นทำแล้วย่อมปรากฏหรือ ดังนี้ ก็ปฏิเสธอีก. คำว่า บุคคล นั้นทำ บุคคลอื่นเสวย สกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งคำถามถึงความ เป็นบุคคลคนเดียวกัน และความเป็นแห่งบุคคลอื่นของผู้ทำและผู้เสวย. ลำดับนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากพระสูตร ถูกถามอีก ก็ ตอบรับรองเพราะรวมนัยแม้ทั้ง ๒ ก่อนๆ เข้าด้วยกัน. ก็ถูกถามด้วย สามารถแห่งปัญหานั้นของผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า สุขทุกข์อันตนเองทำ ด้วย อันบุคคลอื่นทำด้วยย่อมปรากฏหรือ ก็ตอบปฏิเสธอีก. คำว่า ไม่ใช่ผู้อื่นทำ เป็นคำอันสกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งการปฏิเสธใน


ความคิดเห็น 184    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 184

ความเป็นบุคคลคนเดียวกันทำ หรือผู้อื่นทำของผู้ทำและผู้เสวย. ลำดับ นั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งคำที่ผิดจากพระสูตรนั่นเทียว ถูกถามอีก เมื่อมีความสำคัญอยู่ว่า มนุษย์ทำกรรมไว้ เพราะการเกิด ขึ้นในเทวโลก มนุษย์นั้นจึงไม่ได้เสวย ผู้ใดทำกรรมใดไว้ ผู้อื่นเสวย ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นนั่นแหละจึงมิใช่ผู้เสวยเพราะเป็นผู้ กระทำ ทั้งบุคคลอื่นก็มิได้เสวย ดังนี้ จึงตอบรับรอง. คำนั้นสักว่า เป็นลัทธิเท่านั้น. ถูกถามด้วยสามารถแห่งปัญหานั้นของผู้มีวาทะอย่าง นั้นว่า ก็สุขทุกข์ อันมิใช่การกระทำของตน มิใช่การกะทำของผู้อื่น เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุย่อมปรากฏหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธอีก. อีก อย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในมิสสกนัยนี้จำเดิมแต่ต้น ด้วย นัยแม้นี้. จริงอยู่ ผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่นี้ ย่อมปรารถนาบุคคลผู้ทำ กรรมทั้งหลายด้วย บุคคลผู้เสวยด้วย เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงปรากฏอย่าง นี้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ทำกรรม ผู้นั้นเท่านั้นพึงเป็นผู้เสวย หรือผู้อื่นเสวย หรือแม้ทั้ง ๒ เป็นผู้เสวย หรือว่าแม้ทั้ง ๒ ไม่พึงเป็นผู้เสวย ดังนี้. สกวาทีถามประกอบคำซักถามปัญหาอันปรากฏอย่างนี้นั่นแหละแล้วจึง กล่าวถึงปัญหาที่ควรถามแม้ทั้ง ๔ อย่าง มีคำว่า ไม่ใช่บุคคลนั้นเป็น ผู้ทำ เป็นต้น. คำที่เหลือ มีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียว. ก็ใน ที่สุด ได้ถามปัญหาแม้ทั้ง ๔ รวมกัน. ในปัญหานั้นการปฏิเสธ การ ตอบรับรอง และการถึงโทษมีคำว่า กระทำเองเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยก่อนนั่นแหละ. เบื้องหน้าแต่นี้ นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังไม่ได้ กล่าวคำว่า กรรมดีและกรรมชั่ว ท่านแสดงปัญหาที่ควรกำหนดไว้


ความคิดเห็น 185    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 185

เป็นต้น กรรมมีอยู่เท่านั้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งธรรม ทั้งหลายแม้เหล่านั้น ด้วยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาปุริสการานุโยค จบ

คำว่า แม้กัลยาณวรรค ดังนี้ เป็นชื่อของปุริสการานุโยคนั้น นั่นแล.


ความคิดเห็น 186    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 186

อภิญญานุโยค

[๑๖๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้ก็มีอยู่มิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่ฟังเสียงด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ ได้ ฯลฯ ที่รู้จิตของบุคคลอื่นได้ ฯลฯ ที่ตามระลึกชาติหนหลังได้ ฯลฯ ที่เห็นรูปด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ได้ ฯลฯ ที่ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่ง อาสวะได้ มีอยู่มิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้น ไปแห่งอาสาวะได้มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคล ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่ แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ และด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-


ความคิดเห็น 187    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 187

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดแสดงฤทธิ์ได้ ผู้นั้นแหละเป็นบุคคล ผู้ใด แสดงฤทธิ์ไม่ได้ ผู้นั้นไม่ใช่บุคคล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ใดฟังเสียงด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ได้ ฯลฯ ผู้ใดรู้จิตคนอื่นได้ ฯลฯ ผู้ใดตามระลึกชาติหนหลังได้ ฯลฯ ผู้ใดเห็นรูป ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ได้ ฯลฯ ผู้ใดทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสาวะ ได้ ผู้นั้นแหละเป็นบุคคล ผู้ใดทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นแห่งอาสาวะไม่ได้ ผู้นั้นไม่ใช่บุคคล หรือ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

อภิญญานุโยค จบ

อรรถกถาอภิญญานุโยค

ว่าด้วยการซักถามถึงผู้ได้อภิญญา

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นการพิสูจน์พระอรหันต์ ด้วยสามารถแห่ง คำซักถามถึงผู้ได้อภิญญาเป็นต้น. ในปัญหานั้น เมื่อพระสกวาทีตอบ รับรองคำว่า ใช่แล้ว ปรวาทีผู้มีความสำคัญอยู่ว่า บุคคลผู้บรรลุคุณ วิเศษมีอิทธิฤทธิ์เป็นต้นไม่มีในอนินทริยพัทธรูปภายนอก มีแต่ภายใน บุคคล ฉะนั้น บุคคลผู้ให้ฤทธิ์เป็นต้นเกิดขึ้นพึงมี จึงกล่าวคำเป็นต้น ว่า บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่มิใช่หรือ คำทั้งหมดนั้น มีเนื้อ ความง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอภิญญานุโยค จบ


ความคิดเห็น 188    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 188

ญาตกานุโยค

[๑๖๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มารดามีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า มารดามีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บิดามีอยู่ ฯลฯ พี่น้องชายมีอยู่ พี่น้องหญิงมีอยู่ กษัตริย์มีอยู่ พราหมณ์มีอยู่ แพศย์มีอยู่ ศูทรมีอยู่ คฤหัสถ์มีอยู่ บรรพชิต มีอยู่ เทวดามีอยู่ มนุษย์มีอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า มนุษย์มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๖๗] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่ามารดามีอยู่ และ ด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 189    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 189

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นมารดาแล้วเป็น มารดามีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบิดา ฯลฯ ไม่เป็น พี่น้องชาย ไม่เป็นพี่น้องหญิง ไม่เป็นกษัตริย์ ไม่เป็นพราหมณ์ ไม่ เป็นแพศย์ ไม่เป็นศูทร ไม่เป็นคฤหัสถ์ ไม่เป็นบรรพชิต ไม่เป็น เทวดา ไม่เป็นมนุษย์แล้วเป็นมนุษย์ มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๘] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า มารดามีอยู่ และ ด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นมารดาแล้วไม่เป็น มารดามีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 190    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 190

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลบางคนซึ่งเดิมเป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย เป็นพี่น้องหญิง เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ แล้วไม่เป็นมนุษย์ มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่มิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ?

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ ?


ความคิดเห็น 191    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 191

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลเป็นสกทาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็น อนาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็น พระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระขีณาสพผู้ปัญญา วิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้กายสักขีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็น พระอริยะผู้ทิฏฐิปัตตะมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้สัทธาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้ธัมมานุสารีมีอยู่ บุคคลเป็นพระอริยะผู้ สัทธานุสารีมีอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลเป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่าหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

[๑๗๐] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลเป็นโสดาบัน มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นโสดาบัน แล้วเป็น โสดาบันมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 192    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 192

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นสกทาคามี...ไม่เป็น อนาคามี...ไม่เป็นพระอรหันต์...ไม่เป็นพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุต...ไม่ เป็นพระขีณาสพผู้ปัญญาวิมุต...ไม่เป็นพระอริยะผู้กายสักขี...ไม่เป็นพระ- อริยผู้ทิฏฐิปัตตะ... ไม่เป็นพระอริยะผู้สัทธาวิมุต... ไม่เป็นพระอริยะผู้ ธัมมานุสารี... ไม่เป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีแล้วเป็นพระอริยะผู้สัทธา- นุสารีมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๑] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้ว บุคคลผู้โสดาบันมีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นโสดาบันแล้วไม่เป็น โสดาบันมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นสกทาคามี... เป็น อนาคามีแล้วไม่เป็นอนาคามี มีอยู่ หรือ ?


ความคิดเห็น 193    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 193

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคล แล้วไม่เป็น บุคคลมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว

ป. อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวก มีอยู่มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวกมีอยู่ ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๗๓] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวกมีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวก ปรากฏขึ้นได้เพราะ ความปรากฏขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลปรากฏขึ้นได้ เพราะความปรารถนาแห่ง พระพุทธเจ้า หรือ ?


ความคิดเห็น 194    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 194

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลปรากฏขึ้นได้ เพราะความปรารถนาแห่ง พระพุทธเจ้า หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว บุคคลขาดสูญไป บุคคลไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๔] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยังมีส่วนสุดที่ ๓ อื่นนอกเหนือสังขตะและอสัง- ขตะอีก หรือ ?


ความคิดเห็น 195    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 195

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ยังมีส่วนสุดที่ ๓ อื่นนอกเหนือสังขตะและอสัง- ขตะอีก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุนี้มี ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน ธาตุเป็นสังขตะ ๑ ธาตุเป็น อสังขตะ ๑ นี้แล ธาตุ ๒ อย่าง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ยังมีส่วนสุดที่ ๓ อื่นนอกเหนือสังขตะและอสังขตะอีกน่ะสิ.

ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขตะเป็นอื่น อสังขตะก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็น อื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ขันธ์ทั้งหลายเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ขันธ์ทั้งหลายเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคล ก็เป็นอื่น หรือ ?


ความคิดเห็น 196    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 196

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคล เป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็น อื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕] ส. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนปรากฏ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมีสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย สังขตธรรมมีสังขตลักษณะ ๓ อย่างนี้ คือ สังขตธรรม


ความคิดเห็น 197    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 197

ทั้งหลาย มีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ มีความแปรปรวนปรากฏ ดังนี้๑ บุคคลก็มีความเกิดขึ้นปรากฏ ความ เสื่อมก็ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนก็ปรากฏ ถ้าอย่างนั้น บุคคล ก็เป็นสังขตะน่ะสิ.

ส. ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ ปรากฏเมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อสังขตธรรมมีอสังขตลักษณะ ๓ อย่างนี้ คือ ความ เกิดขึ้นแห่งอสังขตธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ดังนี้๒ ความเกิดขึ้นแห่งบุคคล ก็ไม่ปรากฏ ความเสื่อมก็ไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนก็ไม่ ปรากฏ ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นอสังขตะน่ะสิ.

[๑๗๖] ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว คงมีอยู่ในนิพพาน หรือ ไม่มีอยู่ในนิพพาน ?

ป. คงมีอยู่ในนิพพาน.

ส. บุคคลผู้ปรินิพพาน เป็นผู้เที่ยง หรือ?


๑. องฺ. ติก. ๒๐/๔๘๖. ๒. องฺ. ติก. ๒๐/๔๘๗.


ความคิดเห็น 198    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 198

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีอยู่ในนิพพาน.

ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว เป็นผู้ขาดสูญ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ญาตกานุโยค จบ

อรรถกถาญาตกานุโยค

ว่าด้วยการซักถามถึงพวกญาติ

บัดนี้ คำว่า มารดา เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพวกญาติ. คำว่า กษัตริย์ เป็นต้น เป็นการซักถามถึงชาติ. คำว่า คฤหัสถ์ และบรรพชิต เป็นการซักถามถึงข้อปฏิบัติ. คำว่า เทวดาและมนุษย์ เป็นการซักถามถึงการอุบัติ. คำว่า โสดาบัน เป็นต้น เป็นการซักถามถึงปฏิเวธ ข้อนี้ท่านกล่าวว่า เป็นการซักถาม ถึงพระอริยะบ้าง. คำเหล่านั้นทั้งหมด มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ก็ในคำว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว กลับไม่เป็นพระอรหันต์ นี้ ท่านไม่กล่าวถาม เพราะเป็นโมฆปัญหา. คำว่า คู่แห่งบุรุษ ๔ เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพระสงฆ์ การซักถามแม้นั้น ก็มีเนื้อความ ง่ายเหมือนกัน. คำว่า สังขตะ เป็นต้น เป็นการซักถามถึง สภาพแห่งสัจฉิกัตถะ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยังมีส่วนสุดที่ ๓ นอกเหนือสังขตะ และอสังขตะอีกหรือ? เป็นคำถามของสกวาที คำปฏิเสธว่า ไม่พึง


ความคิดเห็น 199    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 199

กล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที เพราะความไม่มีสัจฉิกัตถะเช่นนั้น. เมื่อถูกถามซ้ำอีก ปรวาทีก็ตอบรับรองว่า ใช่ ส่วนสุดที่ ๓ มีอยู่ โดย หมายเอาบุคคลเป็นส่วนสุดที่ ๓. แม้ในปัญหาว่า บุคคลก็เป็นอื่น หรือ การปฏิเสธเป็นของปรวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะไม่ปรารถนา ความที่บุคคลเป็นอย่างอื่นนอกจากสังขตขันธ์ทั้งหลาย. คำว่า ขันธ์ อันเป็นสังขตะ เป็นต้น เป็นคำอันสกวาทีแสดงสังขตะและอสังขตะ ทั้งหลายไว้โดยย่อ เพื่อถามความเป็นอย่างอื่นแห่งบุคคล. คำถามว่า รูปเป็นสังขตะ เป็นต้น เป็นคำที่สกวาทีแสดงขันธ์ทั้งหลายโดย วิภาคแล้วกล่าวถามความเป็นคนละอย่างกับบุคคล. คำถามว่า ความ เกิดขึ้นแห่งบุคคล เป็นคำถามของสกวาที คำรับรองว่า ใช่ เป็น ของปรวาที ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรที่ท่านกล่าวไว้ในที่ทั้งหลายมีคำว่า สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา อนึ่งเมื่อยังดำรงอยู่ก็มีความตายเป็นธรรมดา แต่ปรวาทีนั้นย่อม ไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคลเป็นสังขตธรรม ฉะนั้น จึงปฏิเสธ. ถูก ถามโดยนัยเป็นต้นอีกว่า ความเกิดขึ้นของบุคคลย่อมปรากฏหรือ ก็ตอบรับรองด้วยคำว่า " ขึ้นชื่อว่าความเกิดขึ้นแห่งบุคคลเป็นต้นนั้น ย่อมไม่ควร " เพราะพระบาลีว่า ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมเสื่อมไปด้วย นอกจากทุกข์หาอะไร เกิดมิได้ นอกจากทุกข์หาอะไรดับมิได้ ดังนี้.

คำถามว่า บุคคลปรินิพพานแล้ว คงมีอยู่ในพระนิพพาน หรือ ในข้อนี้ ท่านเรียกพระนิพพานว่า อตฺถํ แปลว่า ธรรมอัน


ความคิดเห็น 200    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 200

หาที่ตั้งมิได้. ในปัญหานั้น สกวาทีถามว่า บุคคลมีอยู่ในนิพพาน หรือ อธิบายว่า บุคคลชื่อว่าเที่ยงเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นของมีอยู่ ในนิพพาน ชื่อว่าขาดสูญเพราะความที่บุคคลนั้นไม่มีอยู่ในนั้น ปรวาที เมื่อไม่ปรารถนาคำว่า บุคคลเที่ยงและขาดสูญ ๒ แม้นั้นจึงปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

อรรถกถาญาตกานุโยค จบ


ความคิดเห็น 201    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 201

ปกิณณกะ

[๑๗๗] ส. บุคคลอาศัยอะไรตั้งอยู่ ?

ป. อาศัยภพตั้งอยู่.

ส. ภพไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี ความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจากไป เป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดามีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัย เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ จางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น ธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัย เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ จางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น ธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 202    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 202

ป. บุคคลบางคนที่เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสจัฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯลฯ ที่เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่าเรา เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เสวยอทุกขมสุขเวทนา อยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่ เสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุ นั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข


ความคิดเห็น 203    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 203

เวทนาอยู่ ผู้นั้นเทียวเป็นบุคคล ผู้ใดเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้ชัดว่า เรา เสวยสุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นไม่เป็นบุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ใดเสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯลฯ ผู้ใดเสวยอทุกขม- สุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นเทียวเป็น บุคคล ผู้ใดเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขม- สุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นไม่เป็นบุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุ นั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขเวทนาเป็นอื่น ผู้ที่เสวย สุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัด ว่าเราเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุกขเวทนาเป็นอื่น ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา เป็นอื่น ผู้เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุข- เวทนาอยู่ก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?


ความคิดเห็น 204    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 204

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาใน เวทนาอยู่ ฯลฯ ที่เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ ที่เป็นผู้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคล ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็น บุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 205    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 205

ส. ผู้ใดเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ผู้นั้น เทียวเป็นบุคคล ผู้ใดไม่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ผู้นั้นไม่เป็น บุคคล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ใดเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ ผู้นั้นเทียว เป็นบุคคล ผู้ใดไม่เป็นผู้พิจารณาธรรมในธรรมอยู่ ผู้นั้นไม่เป็นบุคคล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็น บุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายเป็นอื่น บุคคลที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนาเป็นอื่น ฯลฯ จิตเป็นอื่น ฯลฯ ธรรม เป็นอื่น บุคคลที่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 206    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 206

[๑๘๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า โมฆราชะ เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ หยั่งเห็นโดยความเป็นของสูญ ถอน อัตตานุทิฏฐิเสีย เธอพึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุราชเสียได้ด้วยอาการ อย่างนี้ เพราะมัจจุราชย่อมไม่แลเห็นบุคคลผู้หยั่งเห็นโลกอยู่ อย่างนี้ ดังนี้ เป็นสูตรที่มีอยู่จริงมิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๑] ส. บุคคลหยั่งเห็น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ร่วมกับรูปหยั่งเห็นหรือ หรือว่าเว้นจากรูป หยั่งเห็น?

ป. ร่วมกับรูปหยั่งเห็น.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. เว้นจากรูป หยั่งเห็น.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


๑. ขุ. สุ. ๒๕/๔๓๙


ความคิดเห็น 207    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 207

ส. บุคคลหยั่งเห็น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อยู่ภายในหยั่งเห็นหรือ หรือว่าออกไปภายนอก แล้วจึงหยั่งเห็น?

ป. อยู่ภายในหยั่งเห็น.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ออกไปภายนอกแล้วจึงหยั่งเห็น.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะหรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติตรัสคำจริง ตรัสสม กาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ตน มีอยู่๑ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่ จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


๑. องฺ จตุกฺก. ๒๑/๙๖, อภิ. ปุ. ๓๖/๑๐.


ความคิดเห็น 208    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 208

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะน่ะสิ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปรกติตรัสคำจริง ตรัส สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย บุคคลคนเดียวเมื่อบังเกิดขึ้นในโลก ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อ เกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขของคนมาก เพื่อความอนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ- ปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๓] ส. หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปรกติตรัสคำจริง ตรัส


๑. องฺ. เอก. ๒๐/๑๓๙.


ความคิดเห็น 209    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 209

สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๔] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัส สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อริยสาวกไม่ สงสัย ไม่เคลือบแคลงว่า เมื่อบังเกิด ทุกข์เท่านั้นบังเกิดขึ้น เมื่อดับ ทุกข์เท่านั้นดับไป ในข้อนี้อริยสาวกนั้นหยั่งรู้ได้โดยไม่ ต้องอาศัยผู้อื่นทีเดียว เพียงเท่านี้แลกัจจานะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?


๑. สํ.นิ.. ๑๖/๔๓.


ความคิดเห็น 210    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 210

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๕] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระวชิราภิกษุณีได้กล่าวกะมารดาผู้มีบาปว่าดังนี้ ดูก่อนมาร ท่านเชื่อว่าเป็นสัตว์หรือหนอ นั่นเป็นความเห็นของ ท่านหรือหนอ นี้เป็นกลุ่มสังขารล้วนๆ ในกลุ่มสังขารนี้จะค้นหา สัตว์ไม่ได้ เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงเรียกว่ารถจึงมีได้ แม้ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้ฉันนั้น. ความจริงทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๖] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า


๑. สํ.

ส. ๑๕/๕๕๔.


ความคิดเห็น 211    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 211

ว่าดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ที่กล่าวกันว่า โลกสูญ โลกสูญ นั้น ด้วยเหตุ เพียงไรพระเจ้าข้า จึงจะกล่าวได้ว่า โลกสูญ. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่อง กับตน ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าโลกสูญ อะไรเล่าอานนท์ที่สูญโดยตน หรือโดยของที่เนื่องกับตน จักษุแลสูญโดยตนหรือโดยของที่ เนื่องกับตน รูปสูญ ฯลฯ จักขุวิญญาณสูญ ฯลฯ จักขุสัมผัส สูญ ฯลฯ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยจึงเกิดความรู้สึกเสวย อารมณ์สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม อันใด แม้อัน นั้นก็สูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน โสตะสูญ ฯลฯ เสียง สูญ ฯลฯ ฆานะสูญ ... กลิ่นสูญ ฯลฯ ชิวหาสูญ..รสสูญ ฯลฯ กายสูญ ... โผฏฐัพพะสูญ ฯลฯ มโนสูญ ... ธัมมารมณ์สูญ ... มโนวิญญาณสูญ ... มโนสัมผัสสูญ ... เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จึงเกิดความรู้สึกเสวยอารมณ์ สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่ สุขก็ตาม อันใด แม้อันนั้นก็สูญโดยตนหรือโดยของเนื่องกับตน ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า โลกสูญ ดังนี้๑ เป็นพระสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะน่ะสิ


๑. ขุ.

ป. ๓๑/๖๓๓.


ความคิดเห็น 212    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 212

[๑๘๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปรกติตรัสคำจริง ตรัส สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย เมื่อตนก็ดีมีอยู่ พึงมีคำพูดว่า ของที่เนื่องกับตนของเรา หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้า ตรัสว่า เมื่อ ของที่เนื่องกับคนก็ดีมีอยู่ พึงมีคำพูดว่า ตนของเราหรือ กราบทูล ว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทั้งตนและ ของที่เนื่องกับตนจะหยั่งเห็นไม่ได้โดยความเป็นของจริง โดย ความเป็นของแท้ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิว่า โลกก็อันนั้น เรานั้น ละไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงที่ มีอันไม่แปรไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเทียวคงที่เสมอไป ดังนี้ก็เป็นธรรมของคนพาล บริบูรณ์สิ้นเชิงมิใช่หรือ กราบทูลว่า ไม่พึงเป็นอะไรๆ อื่นพระพุทธเจ้าข้า เป็นธรรมของคนพาลบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ?


๑. ม.มู. ๒๑/๖๘๔.


ความคิดเห็น 213    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 213

ป. ถูกแล้ว.

ส. อย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ก็หยั่งเห็นบุคคล ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะน่ะสิ

[๑๘๘] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัสสมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ดูก่อนเสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้มีอยู่ปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน ศาสดาบางคนในโลกนี้ บัญญัติอัตตาโดยความเป็นจริง โดยความ เป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อนึ่ง ศาสดาบาง คนในโลกนี้ บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความเป็น ของแท้ แต่ในปัจจุบันไม่บัญญัติเช่นนั้นในสัมปรายภพ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ไม่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ใน ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความ เป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ นี้เรียกว่า สัสสต-


ความคิดเห็น 214    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 214

วาท ศาสดาที่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความเป็น ของแท้ แต่ในปัจจุบัน ไม่บัญญัติเช่นนั้นในสัมปรายภพ นี้เรียก ว่า อุจเฉทวาท ศาสดาที่ไม่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ นี้เรียก ว่า สัมมาสัมพุทธะ ดูก่อนเสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แล มีอยู่ ปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ?.

ป. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าว หยั่งเห็นบุคคลได้โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ.

[๑๘๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัส- สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หม้อเนยใส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ใครๆ ที่ทำหม้อเนยใสมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


๑. เทียบ อภิ. ปุ. ๓๖/๑๐๓.


ความคิดเห็น 215    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 215

ส. ถ้าอย่างนั้นไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดย สัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ?

[๑๙๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัส- สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าหม้อน้ำมัน...หม้อน้ำ ผึ้ง...หม้อน้ำอ้อย...หม้อน้ำนม...หม้อน้ำ... ภาชนะน้ำดื่ม...กระติกน้ำดื่ม...ขันน้ำดื่ม... นิตยภัต...ธุวยาคู หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยาคูบางอย่าง เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มี อันไม่แปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ ฯลฯ ย่อ. ปุคคลกถา จบ


ความคิดเห็น 216    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 216

อรรถกถาภวังนิสสาย ปัญหาทิ

ว่าด้วยปัญหาอาศัยภพเป็นต้น

ในปัญหาอาศัยภพ. คำว่า ภพ ได้แก่ อุปปัตติภพ ได้แก่ภพ คือการเกิด. ในปัญหาของผู้เสวยเวทนา อธิบายว่า พระโยคาวจรผู้เสวย อยู่ซึ่งเวทนา ผู้มีเวทนาอันกำหนดแล้วเที่ยวย่อมรู้ชัด ส่วนพาลปุถุชน ย่อมไม่รู้. ปัญหามีคำว่า กายานุปัสสนาเป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ในกถาเบื้องต้นว่า โมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ หยั่งเห็น โลกโดยความเป็นของสูญ เป็นต้น อธิบายว่า จงพิจารณาโลก คือขันธ์ ด้วยสามารถแห่งความเป็นของว่างเปล่าจากสัตว์.

คำว่า บุคคลหยั่งเห็นหรือ เป็นคำถามของสกวาที จริงอยู่ ลัทธิของปรวาทีว่า ผู้ใดย่อมพิจารณาด้วยคาถาว่า เธอจงพิจารณาดู โลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ดังนี้ ผู้นั้นเป็นบุคคล เพราะฉะนั้น สกวาทีถึงถามปัญหานั้นนั่นแหละ.

คำว่า รวมกับรูป อธิบายว่า ร่วมกับรูปกาย ไม่ใช่เป็น ผู้อาศัยรูปกายนั้น. เพราะการกำหนดรู้รูปนี้ด้วยสามารถแห่งปัญจโวการ ภูมิ สกวาทีจึงถามว่า ชีพก็อันนั้น อีก ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะ กลัวผิดจากพระสูตร. คำว่า เว้นจากรูป ความว่าเพราะตามรู้รูปนี้ ไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งจตุโวการภูมิ สกวาทีจึงถามอีกว่า ชีพเป็น อื่น ก็ปฏิเสธ เพราะกลัวผิดจากพระสูตร. คำว่า อยู่ภายในด้วย


ความคิดเห็น 217    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 217

ออกไปภายนอกด้วย นี้ เป็นลักษณะถ้อยคำของสกวาทีผู้กล่าวภายหลัง จากคำว่า ร่วมกับรูป หรือเว้นจากรูป

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อยู่ภายใน ได้แก่ อยู่ภายใน แห่งรูป อธิบายว่า ไม่ออกไปข้างโน้นข้างนี้ เป็นสภาพตั้งอยู่ด้วยสามารถ แห่งรูปปริเฉทนั่นเทียว. คำว่า ออกไป ได้แก่ การก้าวล่วงรูป ปริเฉท อธิบายว่า ไม่ได้อาศัยรู

ป. คำว่า อนัตตา ได้แก่ เว้นจาก ตน เว้นจากชีวะ เว้นจากบุคคล อธิบายว่าแม้ธรรมสักอย่างหนึ่งชื่อว่า เป็นบุคคลย่อมไม่มี. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในอรรถกถาที่มาแห่ง พระสูตรทั้งปวงโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าหมายเอาเนื้อความนี้จักกล่าวคำอันเป็นภาษิตนั่นเทียว.

คำเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า หม้อเนยใสหรือ เป็นคำอันสกวาทีนำมาเพื่อแสดงว่า เทศนาทั้งปวงเทียวบัณฑิตไม่พึงถือ เอาแต่เนื้อความโดยสามารถแห่งคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้เท่า นั้น เหมือนอย่างว่า หม้ออันเป็นวิการแห่งทอง ที่เขาเอาทองมาทำ ชาวโลกทั้งหลายย่อมเรียกว่าหม้อทองฉันใด ขึ้นชื่อว่าหม้อเนยใสเป็น วิการแห่งเนยใสอันเขาเอาเนยใสมาทำฉันนั้นก็หาไม่ ในคำนี้ พึงทราบ เนื้อความอย่างนี้ว่า ก็เนยใสที่บุคคลใดใส่ไปในหม้อใด หม้อนั้นจึงได้ ชื่อว่า หม้อเนยใสฉันนั้น. แม้ในคำว่า หม้อน้ำมันเป็นต้น ก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า พระนิพพานเป็นธรรมชาติเที่ยง ยั่งยืน ฉันใด ภัตหรือข้าวยาคูย่อมเป็นธรรมชาติเที่ยง ยั่งยืน ฉันนั้นก็หาไม่


ความคิดเห็น 218    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 218

ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า นิตยภัต คือภัตที่ยั่งยืน หรือหมาย ถึงภัตที่เขาถวายประจำเป็นนิตย์. ธุวยาคู คือข้าวยาคูที่ยั่งยืน ท่าน เรียกด้วยคำอันเป็นบัญญัติ ดังคำที่ว่า ก็พวกเราทั้งหลายไม่กำหนด กาลจักถวายนิตยภัต และธุวยาคูทุกๆ วัน ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัย แม้ในคำว่า บุคคลผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนมีอยู่ เป็นต้น ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นมีอยู่ ด้วยสามารถแห่งปัจจัตตลักขณะ คือลักษณะที่มีเฉพาะตน และสามัญญลักษณะ ฉันใด บุคคลย่อมมีอยู่นั้นก็หาไม่ ก็ครั้นเมื่อธรรมทั้งหลาย มีรูปเป็นต้นมีอยู่ การร้องเรียกว่า อย่างนี้เป็นชื่อ อย่างนี้เป็นโคตร เป็นต้น ก็ย่อมมีอยู่ฉันนั้น ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า บุคคล ชื่อว่ามีอยู่ เพราะเป็นโวหารของชาวโลก เพราะการสมมติของชาวโลก เพราะเป็นภาษาของชาวโลกนี้ ด้วยประการฉะนี้ สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล คือจิตเป็น สมัญญาของชาวโลก เป็นภาษาของชาวโลก เป็นโวหารของชาวโลก เป็นบัญญัติของชาวโลก ข้อนี้ท่านอธิบายว่า ก็ธรรมทั้งหลายมีรูป เป็นต้น แม้เว้นซึ่งการสมมติของชาวโลกก็ยังชื่อว่ามีอยู่ เพราะ มีสภาวะให้รู้ได้ด้วยสามารถแห่งปัจจัตตลักขณะ และสามัญญลักขณะ ดังนี้.


ความคิดเห็น 219    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 219

สมมติกถาและปรมัตถกถา

อนึ่ง กถา คือถ้อยคำ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมี ๒ คือ สมมติกถาและปรมัตถกถา ในกถาทั้ง ๒ นั้น คำว่า สัตว์ บุคคล เทวดา พรหม เป็นต้น ชื่อว่า สมมติกถา คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน และสัมมัปธาน เป็นต้น ชื่อ ปรมัตกถา. บรรดากถาทั้ง ๒ เหล่านั้น บุคคลใดครั้น เมื่อคำว่า สัตว์ ฯลฯ หรือ พรหม เป็นต้น ที่พระองค์ทรงตรัส แล้วด้วยเทศนาอันเป็นของสมมติ ย่อมอาจเพื่อรู้ธรรม เพื่อแทงตลอด เพื่อออกไปจากสังสารวัฏฏ์ เพื่อถือเอาชัย คือ พระอรหัตต์ได้ พระผู้มี พระภาคเจ้าย่อมกล่าวถึงคำว่า สัตว์ หรือบุคคล หรือบุรุษ หรือพรหม จำเดิมแต่ต้นทีเดียวสำหรับผู้นั้น. ส่วนผู้ใด สดับฟังคำว่า อนิจจัง ทุกขัง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปรมัตถเทศนาแล้วก็อาจเพื่อรู้ เพื่อแทงตลอด เพื่อออกไปจากสงสาร เพื่อถือเอาชัยคือพระอรหัตต์ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสคำอย่างใดอย่างหนึ่งในคำว่าอนิจจัง เป็นต้น เพื่อผู้นั้น ดังนี้. โดยทำนองเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ตรัส ปรมัตถกถาก่อน สำหรับสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยสมมติกถา ก็เพราะการ ตรัสรู้แห่งสัตว์ด้วยสมมติกถา พระองค์จึงทรงตรัสปรมัตถกถาในภาย หลัง. เมื่อสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยปรมัตถกถาได้ พระองค์ก็ไม่ตรัสสมมติ- กถาก่อน เพราะว่าการตรัสรู้ของสัตว์ทั้งหลายอาศัยปรมัตถกถาได้ พระองค์จึงทรงตรัสสมมติกถาในภายหลัง อนึ่ง โดยปกติพระองค์ย่อม


ความคิดเห็น 220    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 220

ตรัสสมมติกถาก่อนทีเดียว แล้วจึงตรัสปรมัตถกถาในภายหลัง ซึ่ง เป็นการเทศนาที่ทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึง ทรงแสดงสมมติกถาก่อน แล้วก็ตรัสปรมัตถกถาในภายหลัง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น แม้ตรัสอยู่ซึ่งสมมติกถา ชื่อว่ากถาย่อมกล่าวซึ่งสัจจะ นั่นแหละ ซึ่งสภาวะนั่นแหละจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวเท็จก็หาไม่ แม้เมื่อ ตรัสปรมัตถกา ก็ชื่อว่าย่อมกล่าวซึ่งสัจจะซึ่งสภาวะนั่นแหละ จะชื่อว่า เป็นผู้กล่าวคำเท็จก็หาไม่. จริงอยู่ บัณฑิตพึงทราบความนี้ว่า :-

ทุเว สจฺจานิ อกฺขาสิ สมฺพุโธ วทตํ วโร

สมฺมตึ ปรมตฺถญฺจ ตติยํ นูปลพฺภติฯ

บรรดาผู้กล่าวกถาทั้งหลาย พระสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ได้ตรัส บอกแล้วซึ่งสัจจะ ๒ คือ สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่ตรัสบอก สัจจะที่ ๓ ว่าเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้.

บรรดาสัจจะทั้ง ๒ เหล่านั้น สมมติสัจจะเป็นคำสำหรับกำหนด และเป็นเหตุแห่งการสมมติของชาวโลก ส่วนปรมัตถสัจจะเป็นคำปรมัตถะ เป็นลักษณะแห่งธรรมทั้งหลาย.

อีกนัยหนึ่ง เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๒ คือ เป็น ปรมัตถเทศนาด้วยสามารถแห่งคำว่า ขันธ์ เป็นต้น และเป็นสมมติ เทศนาด้วยคำว่า หม้อเนยใสเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงชำระ คำบัญญัติออกไปเหตุใด เพราะเหตุนั้นบัณฑิตไม่พึงทำความยึดถือคำ


ความคิดเห็น 221    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 221

เพียงสักว่า บุคคลมีอยู่. จริงอยู่ พระบรมศาสดามิได้ทรงละบัญญัติ แล้วประกาศปรมัตถะ และมิได้ทรงชำระคำบัญญัติ เพราะฉะนั้นบัณฑิต แม้อื่นๆ เมื่อประกาศปรมัตถะก็ไม่พึงชำระคำบัญญัติ ฉันนั้น. คำที่เหลือ ในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ปัญหาอาศัยภพเป็นต้น จบ


ความคิดเห็น 222    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 222

ปริหานิกถา

[๑๙๑] สกวาที พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในภพทั้งปวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในภพทั้งปวง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์

[มีได้]

ในภพ ทั้งปวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์

[มีได้]

ในกาล ทั้งปวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 223    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 223

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ทุกองค์เทียว เสื่อมจากอรหัตตผล ได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ทุกองค์เทียว เสื่อมจากอรหัตตผล ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์

[มีได้]

ทุกองค์ เทียว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๒] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อม จากผลทั้งสี่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. เศรษฐีดำรงตำแหน่งเศรษฐีอยู่ด้วยทรัพย์สี่แสน เมื่อทรัพย์แสนหนึ่งสิ้นไป ย่อมเสื่อมจากตำแหน่ง หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ย่อมเสื่อมจากสมบัติทั้งปวง หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 224    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 224

ส. เศรษฐีดำรงตำแหน่งเศรษฐีอยู่ด้วยทรัพย์สี่แสน เมื่อทรัพย์แสนหนึ่งสิ้นไป เป็นผู้ควรจะเสื่อมจากสมบัติทั้งปวง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล เป็นผู้ ควรจะเสื่อมจากผลทั้งสี่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๓] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๔] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?


ความคิดเห็น 225    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 225

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๕] ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๖] ส. พระโสดาบัน ย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 226    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 226

ส. พระอรหันต์ ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๗] ส. พระโสดาบัน ย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผลหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๘] ส. พระ โสดาบัน ย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๙] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 227    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 227

ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมตั้ง อยู่ในธรรมอะไร?

ป. ในอนาคามิผล.

ส. พระอนาคามี เมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ย่อม ตั้งอยู่ในธรรมอะไร?

ป. ในสกทาคามิผล.

ส. พระสกทาคามี เมื่อเสื่อมจากสกทาคามิผล ย่อม ตั้งอยู่ในธรรมอะไร?

ป. ในโสดาปัตติผล.

ส. พระโสดาบัน เมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ย่อม ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า พระอรหันต์เมื่อ เสื่อมจากอรหัตตผลย่อมตั้งอยู่ในอนาคามิผล พระอนาคามีเมื่อเสื่อม จากอนาคามิผลย่อมตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระสกทาคามีเมื่อเสื่อมจาก สกทาคามิผลย่อมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว ว่า พระโสดาบันเมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผลย่อมตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน.

[๒๐๐] ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมตั้ง อยู่ในโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถัดจากโสดาปัตติผลท่านก็ทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัต-


ความคิดเห็น 228    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 228

ผลทีเดียว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์หรือพระ- โสดาบัน?

ป. พระอรหันต์.

ส. หากว่า พระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า และ พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

[๒๐๑] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์หรือพระ- สกทาคามี?

ป. พระอรหันต์.

ส. หากว่า พระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า และ พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า


ความคิดเห็น 229    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 229

พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้.

[๒๐๒] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์หรือพระ- อนาคามี?

ป. พระอรหันต์.

ส. หากว่า พระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า และ พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้.

[๒๐๓] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามีหรือพระ- โสดาบัน ?

ป. พระอนาคามี

ส. หากว่า พระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า และ พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.


ความคิดเห็น 230    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 230

[๒๐๔] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได ้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามีหรือพระ- สกทาคามี ?

ป. พระอนาคามี.

ส. หากว่า พระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า และ พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้.

[๒๐๕] ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระสกทาคามีหรือ พระโสดาบัน ?

ป. พระสกทาคามี.

ส. หากว่า พระสกทาคามีละกิเลสได้มากกว่า และ พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว ว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.


ความคิดเห็น 231    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 231

[๒๐๖] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัคคภาวนาของใครเยี่ยมกว่า ของพระอรหันต์ หรือของพระโสดาบัน ?

ป. ของพระอรหันต์.

ส. หากว่า มัคคภาวนาของพระอรหันต์เยี่ยมกว่า และพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว ว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

[๒๐๗] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สติปัฏฐานภาวนา. . . สัมมัปปธานภาวนา . . . อิทธิบาทภาวนา . . . อินทริยภาวนา . . . พลภาวนา . .. โพชฌังคภาวนา ของใครเยี่ยมกว่า ของพระอรหันต์หรือของพระโสดาบัน ?

ป. ของพระอรหันต์.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอรหันต์เยี่ยม กว่า และพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.


ความคิดเห็น 232    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 232

[๒๐๘] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัคคภาวนา ฯลฯ โพชฌังคภาวนาของใคร เยี่ยมกว่า ของพระอรหันต์หรือของพระสกทา- คามี ?

ป. ของพระอรหันต์.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอรหันต์เยี่ยม กว่า และพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้.

[๒๐๙] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัคคภาวนา ฯลฯ โพชฌังคภาวนาของใคร เยี่ยมกว่า ของพระอรหันต์หรือของพระอนา- คามี?

ป. ของพระอรหันต์.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอรหันต์เยี่ยม กว่า และพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง


ความคิดเห็น 233    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 233

กล่าวว่า พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้.

[๒๑๐] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัคคภาวนา ฯลฯ โพชฌังคภาวนาของใคร เยี่ยมกว่า ของพระอนาคามีหรือของพระโสดา- บัน?

ป. ของพระอนาคามี.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอนาคามีเยี่ยม กว่า และพระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

[๒๑๑] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัคคภาวนา ฯลฯ โพชฌังคภาวนาของใคร เยี่ยมกว่า ของพระอนาคามีหรือของพระสกทา- คามี.

ป. ของพระอนาคามี


ความคิดเห็น 234    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 234

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอนาคามีเยี่ยม กว่า และพระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้.

[๒๑๒] ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัคคภาวนา ฯลฯ โพชฌังคภาวนาของใคร เยี่ยมกว่า ของพระสกทาคามีหรือของพระ- โสดาบัน?

ป. ของพระสกทาคามี.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระสกทาคามีเยี่ยม กว่า และพระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

[๒๑๓] ส. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้ว พระอรหันต์เสื่อมจาก อรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว พระโสดาบันเสื่อม จากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 235    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 235

ส. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นสมุทัยแล้ว พระโสดาบันเสื่อม จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เห็นนิโรธแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นนิโรธแล้ว พระโสดาบันเสื่อม จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เห็นมรรคแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นมรรคแล้ว พระโสดาบันเสื่อม จากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 236    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 236

ส. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๑๔] ส. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้ว ฯลฯ เห็นนิโรธ แล้ว ฯลฯ เห็นมรรคแล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๑๕] ส. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้ว พระอรหันต์เสื่อมจาก อรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระอนาคามีเสื่อม จากอนาคามิผลได้ หรือ ?


ความคิดเห็น 237    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 237

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้ว ฯลฯ เห็นนิโรธ แล้ว ฯลฯ เห็นมรรคแล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเห็นสัจจะ ๙ แล้ว พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๑๖] ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระอนาคามีเสื่อม จากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว พระโสดาบันเสื่อม จากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามีเห็นสมุทัยแล้ว ฯลฯ เห็นนิโรธ แล้ว ฯลฯ เห็นมรรคแล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นสัจจะแล้วพระโสดาบันเสื่อม จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 238    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 238

ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระอนาคามีเสื่อม จากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามีเห็นสมุทัยแล้ว ฯลฯ เห็นนิโรธ แล้ว ฯลฯ เห็นมรรคแล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๑๗] ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว พระโสดาบันเสื่อม จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามีเห็นสมุทัยแล้ว ฯลฯ เห็นนิโรธ แล้ว ฯลฯ เห็นมรรคแล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระสกทาคามี


ความคิดเห็น 239    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 239

เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๑๘] ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว พระโสดาบันย่อม ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่ เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโสดาบันเป็นสมุทัยแล้ว ฯลฯ เห็นนิโรธ แล้ว ฯลฯ เห็นมรรคแล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระโสดาบันย่อม ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์ย่อม ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๑๙] ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ ?


ความคิดเห็น 240    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 240

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์ย่อม ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๐] ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์ย่อม ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๑] ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ แล้ว พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 241    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 241

[๒๒๒] ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิ- ผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๓] ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว ฯลฯ พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดา- ปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเป็นทุกข์แล้ว ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๔] ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโส- ดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?


ความคิดเห็น 242    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 242

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละสี- ลัพพตปรามาสขาดแล้ว ฯลฯ ละราคะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุไปอบาย ขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ ละโมหะ ขาดแล้ว ฯลฯ ละมานะขาดแล้ว ฯลฯ ละทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ วิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละถีนะขาดแล้ว ฯลฯ ละอุทธัจจะขาดแล้ว ฯลฯ ละอหิริกะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา- บันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 243    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 243

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละสี- ลัพพตปรามาสขาดแล้ว ฯลฯ ละราคะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุไปอบาย ขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๕] ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระสก- ทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละสี ลัพพตปรามาสขาดแล้ว ฯลฯ ละกามราคะอย่างหยาบขาดแล้ว ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต- ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?


ความคิดเห็น 244    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 244

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๖] ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา- คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละสี- ลัพพตปรามาสขาดแล้ว . . . ละกามราคะอย่างละเอียดขาดแล้ว ... ละ พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต- ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?


ความคิดเห็น 245    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 245

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๗] ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐขาดแล้ว พระอนา- คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา- บันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา- คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้วพระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้หรือ ?


ความคิดเห็น 246    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 246

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๘] ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา- คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ- สกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา- คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ สีลัพพตปรามาสขาดแล้ว. . . ละกามราคะอย่างหยาบขาดแล้ว. . . ละ พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ละพยาบาท


ความคิดเห็น 247    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 247

อย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๒๙] ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ- สกทาคาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา- บันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ- สกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละกาม ราคะอย่างหยาบขาดแล้ว... ละพยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระ-


ความคิดเห็น 248    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 248

สกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๓๐] ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา- บันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อม ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา- บันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต- ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก อรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบัน


ความคิดเห็น 249    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 249

ย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต- ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก อรหัตตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๓๑] ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ- สกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต- ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก อรหัตตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีย่อม ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต- ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก อรหัตตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 250    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 250

[๒๓๒] ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา- คามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต- ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก อรหัตตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอนาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต- ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก อรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๓๓] ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา- บันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ?


ความคิดเห็น 251    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 251

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละโมหะ ที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันย่อมไม่ เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๓๔] ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระสก- ทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคา- มิผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 252    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 252

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๓๕] ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา- บันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคา- มิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละโมหะ ที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิ- ผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 253    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 253

[๒๓๖] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดไดในภายหลัง ทำให้มี อันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอร- หันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้.

[๒๓๗] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โทสะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ฯลฯ โมหะ... มานะ... ทิฏฐิ... วิจิกิจฉา... ถีนะ... อุทธัจจะ... อริหิกะ... อโนตตัปปะ อันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิ ใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อโนตตัปปะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภาย


ความคิดเห็น 254    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 254

หลัง ทำให้มีอันไม่ต้องเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้.

[๒๓๘] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิด ขึ้นแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ยัง มรรคให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล ได้.

[๒๓๙] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ยังสติปัฏฐานให้ เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ยังสัมมัปปธานให้เกิดขึ้นแล้ว...ยังอิทธิบาทให้เกิดขึ้น แล้ว ..ยังอินทรีย์ให้เกิดขึ้นแล้ว...ยังพละให้เกิดขึ้นแล้ว...ยังโพชฌงค์ให้ เกิดขึ้นแล้ว มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ยัง โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัต- ผลได้


ความคิดเห็น 255    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 255

[๒๔๐] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต- ตัปปะ พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิด ขึ้นแล้ว มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ พระอรหันต์ ยังโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจาก อรหัตตผลได้.

[๒๔๑] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ เป็นผู้ปราศจากราคะโทสะโมหะ แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ มีลิ่มอัน ยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มี ลิ่มสลัก เป็นพระอริยะ ลดธง คือมานะแล้ว วางภาระแล้ว หมด เครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรม ที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมสิ่งที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควรละ


ความคิดเห็น 256    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 256

แล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้ แจ้งแล้ว มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้.

[๒๔๒] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต๑ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต๑ ย่อมไม่เสื่อมจากอร- หัตผล.

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต เสื่อมจากพระอรหัต- ผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตตผล ได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัต- ผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


๑. ดูคำอธิบายในบุคคลบัญญัติ ข้อ ๑๗, ๑๘ หน้า ๑๙๑, ๑๙๓


ความคิดเห็น 257    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 257

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัต- ผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๔๓] ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตละราคะขาดแล้ว พระ- อรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตละราคะขาดแล้ว พระ- อรหันต์ผู้อสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตยัง มรรคให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อม จากอรหัตตผลได้ หรือ?


ความคิดเห็น 258    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 258

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตยัง มรรคให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตยัง สติปัฏฐานให้เกิดแล้ว... ยังสัมมัปปฐานให้เกิดแล้ว... ยังอิทธิบาทให้เกิด แล้ว... ยังอินทรีย์ให้เกิดแล้ว... ยังพละให้เกิดแล้ว... ยังโพชฌงค์ให้ เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตยัง สติปัฏฐานให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้ อสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพื่อจะขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต- ตัปปะ พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้อสมย- วิมุต ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ ผู้อสมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ ?


ความคิดเห็น 259    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 259

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๔๔] ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ ประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอัน ถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะแล้ว วางภาระแล้ว หมดเครื่องผูกพ้นแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่าน กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้ เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ แล้ว ละธรรมที่ควรละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัต- ผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว พระ- อรหันต์ผู้อสมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๔๕] ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตละราคะขาดแล้ว พระ- อรหันต์ผู้อสมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ ?


ความคิดเห็น 260    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 260

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตละราคะขาดแล้ว พระ- อรหันต์ผู้สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัต- ผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์อสมยวิมุตยัง มรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมย- วิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ยัง มรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?


ความคิดเห็น 261    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 261

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต- ตัปปะ พระอรหันต์อสมยวิมุต ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้สมย- วิมุต ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์- ผู้สมยวิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว พระอร- หันต์ผู้อสมยวิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว พระ- อรหันต์ผู้สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๔๖] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสารีบุตรเถระเสื่อมแล้วจากอรหัตตผล หรือ ?


ความคิดเห็น 262    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 262

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระมหาโมคคัลลานเถระ...พระมหากัสสปเถระ ...พระมหากัจจายนเถระ...พระมหาโกฏฐิตเถระ... พระมหาปันถกเถระ เสื่อมแล้วจากพระอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสารีบุตรเถระ ไม่ได้เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระสารีบุตรเถระไม่ได้เสื่อมจากอร- หัตผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผล.

ส. พระมหาโมคคัลลานเถระ...พระมหากัสสปเถระ ...พระมหากัจจายนเถระ...พระมหาโกฏฐิตเถระ...พระมหาปันถกเถระ ไม่ได้เสื่อมจากอรหัตตผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระ- มหาปันถกเถระไม่ได้เสื่อมจากอรหัตตผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้.

[๒๔๗] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 263    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 263

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ปฏิปทาที่พระ- สมณะประกาศแล้วนี้สูงและต่ำแล แต่ผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่ง (คือ นิพพาน) ได้สองเที่ยวก็หาไม่ ฝั่งนี้อันผู้ปฏิบัติจะได้รู้แต่ครั้งเดียว ก็หาไม่ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ น่ะสิ

[๒๔๘] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บรรดากิเลสวัฏฏ์ที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมีบาง อย่างที่ยังจะต้องตัดอีก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บรรดากิเลสวัฏฏ์ที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมีบาง อย่างที่ยังจะต้องตัดอีก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ท่านผู้เสร็จ กิจที่จำต้องทำแล้ว เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยึดถือ บรรดากิเลสวัฏฏ์ที่ท่านตัดแล้ว ไม่มีอันใดที่จะต้องตัดอีก ท่าน ถอนห้วงน้ำและบ่วงได้แล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?


๑. ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๙.


ความคิดเห็น 264    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 264

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บรรดากิเลสวัฏฏ์ที่ พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมีบางอย่างที่ยังจะต้อง ตัดอีก น่ะสิ ?

[๒๔๙] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ ?

ป. ลูกแล้ว.

ส. กิจที่ทำแล้ว ต้องกลับสร้างสมอีก มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กิจที่ทำแล้ว ต้องกลับสร้างสมอีก มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า การกลับสร้าง สมกิจที่ทำแล้วไม่มี กิจอื่นที่จำต้องทำอีกก็ไม่มี แก่ภิกษุนั้นผู้ พ้นแล้วโดยชอบ ผู้มีจิตสงบแล้ว บรรดารูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ ธัมมารมณ์ทุกอย่าง ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา ไม่ยังจิตของท่านผู้คงที่ อันตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ให้หวั่นไหวได้ ดุจภูเขาศิลาล้วนเป็นแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉะนั้น เพราะภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นแต่ความสิ้นไปแห่งจิตนั้นๆ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


๑. วิ. มหา. ๕/๔


ความคิดเห็น 265    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 265

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กิจที่ทำแล้วต้อง กลับสร้างสมอีก มีอยู่ น่ะสิ.

[๒๕๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล ได้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๕ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมรอบ แก่ภิกษุผู้สมยวิมุต ธรรม ๕ เป็นไฉน คือ ความเพลิดเพลินใน การงาน ความเพลิดเพลินในการสนทนา ความเพลิดเพลินใน การหลับ ความเพลิดเพลินในการคลุกคลี ไม่พิจารณาจิตที่หลุด พ้นแล้วอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ เหล่านี้แล ย่อม เป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้สมยวิมุต ดังนี้๑ เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น พระอรหันต์ก็เสื่อมจากอรหัตตผล ได้ น่ะสิ?

[๒๕๑] ส. พระอรหันต์มีความเพลิดเพลินในการงานหรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


๑. อัง. ปัญจก. ๒๒/๑๔๙


ความคิดเห็น 266    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 266

ส. พระอรหันต์มีความเพลิดเพลินในการงาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีราคะ กามราคะ กามราคปริ- ยุฏฐานะ กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กาม- โยคะ กามฉันทนิวรณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังมีความเพลิดเพลินในการสนทนา ...มีความเพลิดเพลินในการหลับ... มีความ เพลิดเพลินในการคลุกคลี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังมีความเพลิดเพลินในการคลุกคลี หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีราคะ กามราคะ กามราคปริ- ยุฏฐานะ กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กาม- โยคะ กามฉันทนิวรณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๕๒] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 267    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 267

ส. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไร กลุ้มรุมจึงเสื่อม?

ป. ถูกราคะกลุ้มรุมจึงเสื่อม.

ส. การกลุ้มรุมเกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร ?

ป. เกิดขึ้น เพราะอาศัยอนุสัย.

ส. พระอรหันต์ยังมีอนุสัย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังมีอนุสัย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทีฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวรา- คานุสัย อวิชชานุสัย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. พระอรหันต์ถูกโทสะกลุ้มรุมจึงเสื่อม ฯลฯ ถูก โมหะกลุ้มรุมจึงเสื่อม.

ส. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร?

ป. เกิดขึ้น เพราะอาศัยอนุสัย.

ส. พระอรหันต์ยังมีอนุสัย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังมีอนุสัย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 268    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 268

ส. พระอรหันต์ยังมีกามราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุ- สัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๕๓] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อ ตัวขึ้น.

ป. ราคะก่อตัวขึ้น.

ส. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้นหรือ? วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น หรือ? สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โทสะก่อตัวขึ้นหรือ ฯลฯ โมหะก่อตัวขึ้นหรือ? สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้นหรือ ? วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้นหรือ? สีลัพพตปรามาสก่อ ตัวขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๕๔] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เลิกสะสมอยู่ หรือ ?


ความคิดเห็น 269    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 269

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังละอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังยึดมั่นอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังชำระล้างอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังหมักหมมอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังกำจัดมืดอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังมืดมัวอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสะสมอยู่ก็ ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้วตั้งอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิก สะสมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้วตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่าพระ- อรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้.

ส. พระอรหันต์ยังละอยู่ก็ไม่ใช่ ยังยึดมั่นอยู่ก็ไม่ ใช่ แต่เป็นผู้ละขาดแล้วตั้งอยู่ มิใช่หรือ?


ความคิดเห็น 270    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 270

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังละอยู่ก็ไม่ใช่ ยังยึดมั่น อยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้ละขาดแล้วตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตตผลได้.

ส. พระอรหันต์ยังชำระล้างอยู่ก็ไม่ใช่ ยังหมักหมม อยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้ชำระล้างแล้วตั้งอยู่ มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังชำระล้างอยู่ก็ไม่ใช่ ยัง หมักหมมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้ชำระล้างแล้วตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้.

ส. พระอรหันต์ยังกำจัดมีอยู่ก็ไม่ใช่ ยังมืดมัวอยู่ ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้กำจัดมืดแล้วตั้งอยู่ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังกำจัดมืดอยู่ก็ไม่ใช่ ยัง มืดมัวอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้กำจัดมืดแล้วตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระ- อรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้. ปริหานิกถา จบ


ความคิดเห็น 271    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 271

อรรถกถาปริหานิกถา

ว่าด้วยความเสื่อม

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความเสื่อม. ก็นิกายสมิติยะ วัชชีปุตตกะ สัพพัตถิกวาที และมหาสังฆิกะบางพวก อาศัยพระสูตรทั้งหลายว่า * ปริหานิธมฺโม อปริหานิธมฺโม เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา เสกฺขสฺส ภิกฺขุโน ปริหานาย สํวตฺตนฺติ ปญฺจิเนุ ภิกฺขเว ธมฺมา สมยวิมุตฺตสฺส ภิกฺขุโน ปริหานาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้น ย่อมปรารถนาซึ่งความเสื่อมรอบแม้แก่พระอรหันต์ เพราะ ฉะนั้น ความเสื่อมเหล่านั้น หรือเหล่าอื่นนั่นแหละจงยกไว้ก่อน ลัทธิ คือความถือผิดนี้ย่อมมีแก่ชนเหล่าใด เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า พระอรหันต์เสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์หรือ ในคำถามเหล่านั้น คำว่า " ความเสื่อม " ได้แก่ความ เสื่อม ๒ อย่างคือ ปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุแล้ว และอัปปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่ยังไม่บรรลุ.


* พระสูตรนี้แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ คือ ปริหานิ- ธรรม และอปริหานิธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมรอบแก่ภิกษุผู้เป็นเสกขบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ ความเพลิดเพลินในการงาน ความเพลิดเพลินในการสนทนา ความเพลิดเพลินในการหลับ ความเพลิดเพลิน ในการคลุกคลี ความหลุดพ้นแห่งจิตมีอย่างไรไม่พิจารณาอย่างนั้น ย่อมเป็นไป พร้อมเพื่อความเสื่อมรอบแก่ภิกษุผู้สมยวิมุตตบุคคล ดังนี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น


ความคิดเห็น 272    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 272

ในความเสื่อมเหล่านั้น ท่านพระโคธิกะแล ย่อมเสื่อมจากเจโต วิมุตอันเป็นไปชั่วคราวนั้นแม้ในครั้งที่ ๒ นี้เรียกว่า ปัตตปริหานิ คือ ความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุแล้ว. เมื่อชนทั้งหลายผู้มีความต้องการ สิ่งทั่วไปมีอยู่ ความต้องการอันนั้นย่อมเสื่อมไปนี้เรียกว่า อัปปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ คือยังไม่ได้มา. ในความเสื่อม ทั้ง ๒ เหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุ แล้วคือ ปัตตปริหานิ.

ก็คำตอบรับรองของปรวาทีว่า " ใช้ " เพราะหมายเอาความ เสื่อมจากธรรมอันบรรลุแล้วนี้ อนึ่ง ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาชื่อความ เสื่อมจากธรรมอันบรรลุแล้วนี้จากโลกิยสมาบัติในลัทธิของตนเท่านั้น ไม่ปรารถนาความเสื่อมจากสามัญญผลทั้งหลาย มีอรหัตตผลเป็นต้น แม้ ในลัทธิอื่นท่านก็ไม่ปรารถนาความเสื่อมนั้นแก่บุคคลทั้งปวงในสามัญญผลทั้งปวง ในภพทั้งปวง ในกาลทั้งปวง อันลัทธินั้นก็สักแต่ว่าเป็นลัทธิ ของท่านเท่านั้น เพราะฉะนั้นเพื่อจะทำลายข่าย คือลัทธิอันถือผิดทั้งปวง ปัญหาของสกวาที่จึงเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นอีกว่า พระอรหันต์เสื่อม จากอรหัตตผลได้ในภพทั้งปวงหรือ ในปัญหานั้น ปรวาทีไม่ ปรารถนาความเสื่อมจากอรหัตตผล ของพระอรหันต์ผู้เสื่อมมาโดยลำดับ แล้วก็หยุดอยู่ในโสดาปัตติผล ย่อมปรารถนาความเสื่อมของพระอริยะ ผู้ตั้งอยู่ในผลทั้งหลายในเบื้องบนเท่านั้น. อนึ่ง ไม่ปรารถนาความเสื่อม ของพระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่ในอรูปภพทั้งหลาย แต่ย่อมปรารถนาความเสื่อม


ความคิดเห็น 273    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 273

ของพระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่เฉพาะในกามภพ. เพราะความที่ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม มีความเพลิดเพลินในการงานเป็นต้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า พระอรหันต์เสื่อมจาก ... ในภพ ทั้งปวงหรือ ท่านก็ปฏิเสธ ครั้นถูกถามซ้ำอีก ท่านก็ตอบรับรอง เพราะความไม่เสื่อมอย่างนั้น ลำดับนั้น สกวาที จึงถามปัญหาที่ควร ถามในปัญหาที่ ๒ อันเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นแก่ปรวาทีนั้นฉันนั้นนั่นแหละ ว่า แม้พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจากผล ปรวาทีเมื่อไม่เห็นความ แน่นอนแห่งความที่ไม่ควรเป็นเศรษฐี จึงตอบรับรอง ถูกสกวาทีซักถึง ความเป็นผู้ควรจะเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ของพระอรหันต์ ปรวาทีผู้ตั้งอยู่ใน ลัทธิถือเอาเนื้อความโดยไม่พิจารณาถ้อยคำว่า เป็นผู้เที่ยงเป็นผู้จะ ตรัสรู้ข้างหน้า จึงปฏิเสธ หมายเอาความไม่ควรเพื่อจะเสื่อมจาก โสดาปัตติผล. ก็คำนั้น สักว่าเป็นลัทธิของท่านเท่านั้น ชื่อว่า วาทยุตติ คือการประกอบวาทะ สำเร็จแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล.

อริยปุคคลสังสันทนา

การเทียบเคียงระหว่างพระอริยะ

บัดนี้ เป็นการเริ่มการเทียบเคียงระหว่างพระอริยบุคคล. ใน ปัญหานั้น ชนบางพวกย่อมปรารถนาความเสื่อมของพระอรหันต์เท่านั้น บางพวกปรารถนาความเสื่อมแม้แก่พระอนาคามี บางพวกปรารถนา ความเสื่อมแม้แก่พระสกทาคามี แต่ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมปรารถนา ความเสื่อมของพระโสดาบันนั่นเทียว. ชนเหล่าใดย่อมปรารถนาความ


ความคิดเห็น 274    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 274

เสื่อมของพระอรหันต์ผู้เสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์แล้วดำรงอยู่ใน ภาวะแห่งพระอนาคามีและพระสกทาคามีภูมิ แต่ไม่ปรารถนาความเสื่อม ของพระอนาคามีและสกทาคามีนอกจากนี้ ก็ชนแม้เหล่านั้นย่อมไม่ ปรารถนาความเสื่อมของพระโสดาบันแม้ในกาลทั้งปวง เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำคำถามด้วยเครื่องหมายสำหรับละข้อความไว้เป็นสำคัญ. ใน ปัญหาเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบคำปฏิเสธด้วยสามารถแห่งลัทธิของ ท่านเหล่านั้น. ก็ในปัญหาว่า พระอนาคามีย่อมเสื่อมจากพระอนาคามิผลหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งชนผู้ไม่ปรารถนา ความเสื่อมของพระอนาคามีเหล่านั้น. ในข้อนี้ว่า ชนเหล่าใด ย่อม ปรารถนาความเสื่อมของพระอนาคามีผู้ปกติ หรือพระอนาคามีผู้เสื่อม จากพระอรหันต์แล้วดำรงอยู่ในภาวะแห่งอนาคามิภูมิ คำตอบรับรอง ของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งชนเหล่านั้น ดังนี้ เป็นข้อสำคัญ. บัณฑิตพึงทราบเปยยาล คือเครื่องหมายสำหรับละข้อความทั้งปวงแห่ง เนื้อความโดยทำนองแห่งปัญหานั้นเถิด.

อนึ่ง คำใดที่ท่านกล่าวแล้วในปัญหานั้นว่า ถัดจากโสดาปัตติผลท่านก็ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตตผลทีเดียวหรือ คำนั้น ท่านกล่าวหมายเอาความเกิดขึ้นแห่งพระอรหันต์เพราะความพยายามอีก ของพระอรหันต์ผู้เสื่อมแล้ว. ปรวาทีตอบปฏิเสธคำนั้น เพราะไม่มี ความเป็นพระอรหันต์ในลำดับแห่งโสดาปัตติผล. เบื้องหน้าแต่นี้เพื่อ ประกอบคำเป็นต้นว่า ชื่อว่าความเสื่อมนี้จะพึงมีเพราะความโง่เขลา


ความคิดเห็น 275    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 275

ของผู้ละกิเลสหรือเพราะความไม่ตรัสรู้ด้วยมรรคภาวนาเป็นต้น หรือแม้ เพราะไม่เห็นสัจจะทั้งหลาย นี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น สกวาทีจึง กล่าวว่า ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน เป็นต้น. คำนั้นทั้งหมด มีคำอธิบายง่ายทั้งนั้นแล. อนึ่ง เนื้อความพระสูตรทั้งหลาย บัณฑิตพึง ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาที่มาทั้งหลายนั่นแหละ.

ในคำว่า พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ นี้เป็นลัทธิของพวกเขาว่า พระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์อ่อนชื่อว่า สมยวิมุตตบุคคล พระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ชื่อว่าอสมยวิมุตตบุคคล ดังนี้ แต่ในลัทธิสกวาทีทำการสันนิษฐานไว้ว่า ผู้เป็นฌานลาภีไม่บรรลุวสี ชื่อว่า สมยวิมุตตบุคคล ผู้เป็นฌานลาภีบรรลุวสีแล้วด้วย พระอริยบุคคลทั้งหมดในวิโมกข์ที่เป็นอริยะด้วย ชื่อว่า อสมวิมุตตบุคคล. ก็ ปรวาทีนั้นถือเอาลัทธิของตนกล่าวว่า พระอรหันต์ผู้สมยวิมุติย่อม เสื่อม พระอรหันต์นอกจากนี้ไม่เสื่อม คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อ ความง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.

อริยปุคคลสังสันทนา จบ

สุตตโสธนา

การชำระพระสูตร

บัดนี้ เป็นการชำระพระสูตร. ในคำเหล่านั้น คำว่า สูง และต่ำ ได้แก่ความสูงด้วยความต่ำด้วยจากประเภทอันเลิศและเลว.


ความคิดเห็น 276    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 276

คำว่า ปฏิปทา ได้แก่ การปฏิบัติ. คำว่า อันสมณะประกาศ แล้ว ได้แก่สมณะ คือพระพุทธเจ้าให้รุ่งโรจน์แล้ว. ก็ปฏิปทาง่าย บรรลุเร็วพลัน ชื่อว่า เป็นปฏิปทาสูง ปฏิปทาลำบากตรัสรู้ช้าชื่อว่า ปฏิปทาต่ำ ปฏิปทาที่เหลือ ๒ นอกจากนี้ เป็นปฏิปทาสูงส่วนหนึ่ง ต่ำ ส่วนหนึ่ง. ท่านกล่าวปฏิปทาแรกเท่านั้นว่าเป็นปฏิปทาสูง ส่วนที่เหลือ แม้ทั้ง ๓ ท่านกล่าวว่าเป็นปฏิปทาต่ำ. อธิบายว่า พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไปสู่ฝั่ง คือพระนิพพาน ได้ ๒ ครั้งด้วยปฏิปทาทั้งสูงทั้งต่ำนั้นๆ ก็หาไม่ คือหมายความว่า ย่อมไม่ไปสู่พระนิพพานสิ้น ๒ ครั้ง ด้วย มรรคหนึ่ง. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่าเพราะว่ากิเลสเหล่าใด อันมรรคใดละได้แล้วไม่พึงละกิเลสเหล่านั้นด้วยมรรคนั้นอีก ท่านย่อม แสดงภาวะแห่งธรรม คือความไม่เสื่อมด้วยมรรคนี้. ข้อว่า ฝั่งนี้อัน ผู้ปฏิบัติจะได้รู้แต่ครั้งเดียวก็หาไม่ ความว่า ฝั่ง คือพระนิพพาน นี้แม้ควรแก่การบรรลุสิ้นครั้งเดียวก็หาไม่ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะไม่มีการละกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคเดียว. ท่านแสดงความเป็นพระอรหันต์ด้วยมรรค ๑ เท่านั้น.

ข้อว่า บรรดากิเลสวัฏฏ์ที่พระอรหันต์ตัดแล้วยังมีบางอย่าง ที่ยังจะต้องตัดอีกหรือ ความว่า สกวาทีถามว่า เมื่อกิเลสวัฏฏ์ฏะ ขาดแล้ว พระอริยะจะพึงตัดกิเลสอะไรๆ อีกมีอยู่หรือ? ปรวาทีหมาย เอาพระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าจึงตอบปฏิเสธ ถูกถามซ้ำอีก หมาย เอาผู้มีอินทรีย์อ่อน จึงตอบรับรองว่า ใช่. สกวาทีจึงนำพระสูตรมาแล้ว แสดงความไม่มีกิเลสอะไรๆ ที่พระอรหันต์จะต้องตัดอีก.


ความคิดเห็น 277    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 277

ในปัญหาว่า คำว่า โอฆปาโส แปลว่า ห้วงน้ำและบ่วง ได้แก่ ห้วงน้ำคือกิเลส และบ่วงคือกิเล

ส. คำว่า การกลับสร้างสม กิจที่ทำแล้ว ได้แก่ เจริญมรรคที่เจริญแล้วอีก. แม้คำในที่นี้บัณฑิต พึงทราบคำปฏิเสธและคำตอบรับรองโดยนัยที่กล่าวมาแล้วในกาลก่อน นั่นแหละ.

คำว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมรอบ ความว่า ธรรม ๕ อย่างมีความเพลิดเพลินในการงานเป็นต้น ในพระสูตรที่ ปรวาทีนำมาอ้าง ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมจากธรรมที่ยังไม่บรรลุ และเพื่อความเสื่อมจากโลกิยสมาบัติ แต่สกวาทีนั้นไม่เห็นความเสื่อม แห่งพระอรหันต์ที่บรรลุแล้ว ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงถามว่า พระอรหันต์มีความเพลิดเพลินในการงานหรือ ปรวาทีหมายเอาพระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตตบุคคล จึงตอบปฏิเสธ หมายเอาพระอรหันต์ นอก จากนี้จึงตอบรับรอง. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมปฏิเสธการงานอันเป็นไปกับ ด้วยกามราคะย่อมรับรองการงานอันเป็นไปนอกจากกามราคะ. เมื่อถูก ถามถึงความที่พระอรหันต์มีราคะเป็นต้นก็ไม่อาจตอบ.

คำว่า ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม ความว่ากิเลสอะไรๆ กลุ้มรุมจิต อธิบายว่ากิเลสเป็นเครื่องผูกพัน หรือกิเลสเป็นเครื่องท่วมทับภายใน. แม้ในคำถามว่าด้วยอนุสัยกิเลส บัณฑิตพึงทราบ คำปฏิ- เสธและคำรับรองด้วยสามารถแห่งพระอริยผู้มีอินทรีย์อ่อน. อนึ่ง ย่อม ตอบรับรองด้วยคำธรรมดาว่า อนุสัยของกัลยาณปุถุชนยังมีอยู่.


ความคิดเห็น 278    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 278

ข้อว่า ราคะก่อตัวขึ้น ความว่า ปรวาทีกล่าวหมายเอา ราคะที่ละด้วยการภาวนา. แม้ในโทสะและโมหะข้างหน้าก็นัยนี้เหมือน กัน. ก็การก่อตัวขึ้นแห่งกิเลสทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นย่อมไม่มี เพราะความที่กิเลสเหล่านั้นอันพระโสดาบันละแล้ว. คำที่เหลือในที่ ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

สุตตโสธนา จบ

อรรถกถาปริหานิกถา จบ


ความคิดเห็น 279    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 279

พรหมจริยกถา

[๒๕๕] สกวาที การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เทวดาทั้งหมด เป็นผู้เงอะงะ เป็นใบ้ ไม่รู้ เดียงสา ใช้ภาษาใบ้ ไม่มีกำลังพอรู้ความแห่งคำที่กล่าวดีกล่าวชั่ว เทวดา ทั้งหมด ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ทูลถามปัญหา กับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ชื่นชมในปัญหาที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า วิสัชนาแล้ว เทวดาทั้งหมดประกอบด้วยกัมมาวรณ์ กิเลสาวรณ์ วิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ เป็นผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่ควร เพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอนอันเป็นทางชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย เทวดา ทั้งหมดเป็นผู้ทำมาตุฆาต เป็นผู้ทำปิตุฆาต เป็นผู้ทำอรหันตฆาต เป็น ผู้ทำโลหิตุปบาท เป็นผู้ทำสังฆเภท เทวดาทั้งหมดเป็นผู้ทำปาณาติบาต เป็นผู้ทำอทินนาทาน เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้กล่าวมุสาวาท เป็นผู้กล่าวปิสุณาวาท เป็นผูกกล่าวผรุสวาท เป็นผู้กล่าวสัมผัปปลาปวาท เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เทวดาที่ไม่เป็นผู้เงอะงะ ไม่เป็นใบ้ เป็นผู้รู้ เดียงสาไม่ใช้ภาษาใบ้ มีกำลังพอจะรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวดีหรือชั่ว


ความคิดเห็น 280    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 280

มีอยู่ เทวดาที่เลื่อม ในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใส ในพระสงฆ์ เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทูลถามปัญหากะ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ชื่นชมในปัญหาที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า วิสัชนาแล้ว ก็มีอยู่ เทวดาที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วย กิเลสาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีฉันทะ เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ควรเพื่อจะก้าวลงสู่ความแน่นอน อันเป็นทางชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็มีอยู่ เทวดาที่ไม่เป็นผู้ทำมาตุฆาต ไม่เป็นผู้ทำ ปิตุฆาต ไม่เป็นผู้ทำอรหันตฆาต ไม่เป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ไม่เป็นผู้ทำ สังฆเภท ก็มีอยู่ เทวดาที่ไม่เป็นผู้ทำปาณาติบาต ไม่เป็นผู้ทำอทินนาทาน ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวมุสาวาท ไม่กล่าวปิสุณาวาท ไม่กล่าวผรุสวาท ไม่กล่าวสัมผัปปลาปวาท มิใช่ผู้มากด้วยอภิชฌา มิใช่ ผู้มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็มิอยู่มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เทวดาที่ไม่เป็นผู้เงอะงะ ไม่เป็นใบ้ เป็นผู้รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้ มีกำลังพอจะรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวดี กล่าวชั่ว มีอยู่ ฯลฯ เทวดาที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ฯลฯ เป็น สัมมาทิฏฐิ ก็มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีใน หมู่เทวดา.

[๒๕๖] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 281    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 281

ป. ในหมู่เทวดานั้น มีการบรรพชา ปลงผม ทรง ผ้ากาสาวะ ทรงบาตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นได้ พระปัจเจก- พุทธเจ้าก็อุบัติขึ้นได้ คู่แห่งพระสาวกก็อุบัติขึ้นได้ ในหมู่เทวดา หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๕๗] ส. เพราะในหมู่เทวดาไม่มีการบรรพชา ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในที่ใดมีการบรรพชา ในที่นั้นแลมีการประ- พฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการบรรพชา ในที่นั้นไม่มีการประพฤติ- พรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในที่ใดมีการบรรพชา ในที่นั้นแลมีการประ- พฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการบรรพชา ในที่นั้นไม่มีการประพฤติ- พรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดบรรพชา ผู้นั้นแลมีการประพฤติพรหม- จรรย์ ผู้ใดไม่บรรพชา ผู้นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๕๘] ส. เพราะในหมู่เทวดาไม่มีการปลงผม ฉะนั้น การ ประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 282    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 282

ส. ในที่ใดมีการปลงผม ในที่นั้นแลมีการประพฤติ พรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการปลงผม ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหม- จรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในที่ใดมีการปลงผม ในที่นั้นแลมีการประพฤติ- พรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการปลงผม ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหม- จรรย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใด ปลงผม ผู้นั้นแลมีการประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ใดไม่ปลงผม ผู้นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๕๙] ส. เพราะในหมู่เทวดา ไม่มีการทรงผ้ากาสาวะ ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในที่ใดมีการทรงผ้ากาสาวะ ในที่นั้นแลมีการ ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการทรงผ้ากาสาวะ ในที่นั้นไม่มีการ ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในที่ใดมีการทรงผ้ากาสาวะ ในที่นั้นแลมีการ ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการทรงผ้ากาสาวะ ในที่นั้นไม่มีการ ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?


ความคิดเห็น 283    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 283

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดทรงผ้ากาสาวะ ผู้นั้นมีการประพฤติพรหม- จรรย์ ผู้ใดไม่ทรงผ้ากาสาวะ ผู้นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๐] ส. เพราะในหมู่เทวดา ไม่มีการทรงบาตร ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์ จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในที่ใดมีการทรงบาตร ในที่นั้นแลมีการประ- พฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการทรงบาตร ในที่นั้นไม่มีการประพฤติ พรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในที่ใดมีการทรงบาตร ในที่นั้นมีการประ- พฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการทรงบาตร ในที่นั้นไม่มีการประพฤติ พรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดทรงบาตร ผู้นั้นมีการประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ใดไม่ทรงบาตร ผู้นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๑] ส. เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่อุบัติขึ้นในหมู่ เทวดา ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 284    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 284

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นแลมีการประพฤติพรหมจรรย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้น ในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้น แลมีการประพฤติพรหมจรรย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคประสูติที่สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่ ควงไม้โพธิ์ พระผู้มีพระภาคยังธรรมจักรให้เป็นไปแล้วที่เมืองพาราณสี ในที่นั้น ๆ เทียวมีการประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการประพฤติ พรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๒] ส. เพราะพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่อุบัติขึ้นในหมู่ เทวดา ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้น แลมีการประพฤติพรหมจรรย์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้น


ความคิดเห็น 285    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 285

แลมีการประพฤติพรหมจรรย์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในมัชฌิมชนบท ในมัชฌิมชนบทนั้นแล มีการประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการ ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๓] ส. เพราะคู่พระสาวกไม่อุบัติขึ้นในหมู่เทวดา ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คู่พระสาวกอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นแลมีการ ประพฤติพรหมจรรย์ คู่พระสาวกไม่อุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการ ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. คู่พระสาวกอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นแลมีการ ประพฤติพรหมจรรย์ คู่พระสาวกไม่อุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการ ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คู่พระสาวกได้อุบัติแล้วในมคธชนบท ในมคธ ชนบทนั้นแลมีการประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการประพฤติ พรหมจรรย์ หรือ?


ความคิดเห็น 286    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 286

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๔] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดาหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดาหรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๕] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ทุกหมู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๖] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดาหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ มีอยู่ในหมู่เทวดา เหล่าอสัญญีสัตว์ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๗] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในชาวชนบท พวกปลายเขต ปลายแดน เป็นมิลักขุ ไม่รู้ประสา เป็นที่ซึ่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปไม่ถึง หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 287    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 287

[๒๖๘] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดาหรือ?

ส. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี.

ป. ในหมู่เทวดาเหล่าอสัญญีสัตว์ ที่มีการประพฤติ- พรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี ในหมู่เทวดาเหล่าสัญญีสัตว์ ที่มีการประพฤติ- พรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ในหมู่เทวดา ที่มีการประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี หรือ? ว. ถูกแล้ว.

ป. มีในที่ไหน ไม่มีในที่ไหน?

ส. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในเทวดาเหล่า อสัญญีสัตว์ การประพฤติพรหมจรรย์ในเทวดาเหล่าสัญญีสัตว์.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในเทวดาเหล่า อสัญญีสัตว์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในเทวดาเหล่า สัญญีสัตว์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในเทวดาเหล่าสัญญี สัตว์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 288    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 288

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในเทวดาเหล่าอสัญญี สัตว์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๙] ส. การประพฤติพรหมจรรย์มีในหมู่มนุษย์ หรือ?

ส. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี.

ป. ในชาวชนบทพวกปลายเขตปลายแดน เป็น มิลักขูไม่รู้ประสา เป็นที่ซึ่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปไม่ถึง ที่มีการประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี ในชาวชนบทพวกที่อยู่ร่วม ใน มัชฌิมชนบท ที่มีการประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๐] ป. ในหมู่มนุษย์ ที่มีการประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มีในที่ไหน ไม่มีในที่ไหน ?

ส. การประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีในชาวชนบท พวกปลายเขตปลายแดน เป็นมิลักขุ ไม่รู้ประสา ที่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปไม่ถึง การประพฤติพรหมจรรย์มีในชาวชนบท พวกที่อยู่ร่วมใน.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในชาวชนบท พวกปลายเขตปลายแดน เป็นมิลักขุ ไม่รู้ประสา ที่ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง หรือ ?


ความคิดเห็น 289    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 289

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในชาวชนบทที่อยู่ ร่วมใน หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในชาวชนบทพวกที่ อยู่ร่วมใน หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในชาวชนบทพวกที่ อยู่ปลายเขตปลายแดน เป็นมิลักขุ ไม่รู้ประสา ที่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปไม่ถึง หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๑] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในหมู่เทวดา หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ย่อมครอบงำมนุษย์ชาวอุตตรกุรุ- ทวีป และเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือกล้า ๑ มีสติ ๑ มีการประพฤติพรหมจรรย์ ณ ที่นี้ ๑ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่จริง ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น การประพฤติพรหมจรรย์ก็ไม่มีใน


๑. องฺ. นวกฺ ๒๓/๒๒๕


ความคิดเห็น 290    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 290

หมู่เทวดาน่ะสิ.

ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัส เมืองสาวัตถีว่า มีการ ประพฤติพรหมจรรย์ ณ ที่นี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การประพฤติพรหมจรรย์มี ณ เมืองสาวัตถี เท่านั้น การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในที่อื่น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์ อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้ บังเกิดในหมู่เทวดานั้นแล้ว ผลบังเกิด ขึ้นในที่ไหน?

ป. ในหมู่เทวดานั้นแล.

ส. หากว่าบุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์อันเป็นไป ในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้อง บน ๕ ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้ บังเกิดในหมู่เทวดานั้นแล้ว ผลก็บังเกิดขึ้นในหมู่เทวดานั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า การประพฤติพรหม- จรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา.

ส. บุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วน เบื้องต่ำ ๕ ได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้ บังเกิดในหมู่เทวดานั้นแล้ว มีการ ปลงภาระ ณ ที่ไหน... มีการกำหนดรู้ทุกข์ ณ ที่ไหน... มีการละ


ความคิดเห็น 291    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 291

กิเลส ณ ที่ไหน... มีการกระทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ณ ที่ไหน... มีการ แทงตลอดซึ่งอกุปปธรรม ณ ที่ไหน ?

ป. ในหมู่เทวดานั้นแล.

ส. หากว่าบุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์อันเป็นไป ในส่วนเบื้องต่ำได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้ บังเกิดขึ้นหมู่เทวดานั้นแล้ว มีการ แทงตลอดซึ่งอกุปปธรรมในหมู่เทวดานั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า การประ- พฤติพรหมจรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา.

ส. บุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วน เบื้องต่ำ ๕ ได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้บังเกิดขึ้นหมู่เทวดานั้นแล้ว ผลก็บังเกิด ในหมู่เทวดานั้น การปลงภาระก็ในหมู่เทวดานั้น การกำหนดรู้ก็ใน หมู่เทวดานั้น การละกิเลสก็ในหมู่เทวดานั้น การทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ก็ในหมู่เทวดานั้น การแทงตลอดซึ่งอกุปปธรรมก็ในหมู่เทวดานั้น ก็ โดยอรรถเป็นไฉนเล่า ท่านจึงกล่าวว่า การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มี ในหมู่เทวดา.

ป. ก็เพราะบุคคลผู้อนาคามีกระทำให้แจ้งซึ่งผล ใน หมู่เทวดานั้น ด้วยมรรคที่ท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้นั่นแล.

[๒๗๒] ส. บุคคลผู้อนาคามี ทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดา นั้นด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 292    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 292

ส. บุคคลผู้โสดาบันทำให้แจ้งซึ่งผลในโลกนี้ ด้วย มรรคอันท่านให้เกิดแล้วในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้อนาคามี ทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดา นั้นด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้สกทาคามี เป็นบุคคลผู้จะปรินิพพานใน โลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งผลในโลกนี้ ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วใน หมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้โสดาบัน ทำให้แจ้งซึ่งผลในโลกนี้ด้วย มรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อนาคามี ทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดา นั้น ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้สกทาคามี เป็นบุคคลผู้จะปรินิพพานใน โลกนี้ ทำให้แจ้งซึ่งผลในโลกนี้ ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อนาคามี ทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดา


ความคิดเห็น 293    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 293

นั้น ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๓] ส. บุคคลผู้อิธวิหายนิฏฐะ๑ จะไม่ยังมรรคให้เกิด และละกิเลสทั้งหลายอีก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล จะไม่ยังมรรคให้เกิดและละกิเลสทั้งหลายอีก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้อิธวิหายนิฏฐะ จะไม่ยังมรรคให้เกิด และละกิเลสทั้งหลายอีก หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯล ฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล จะไม่ยังมรรคให้ เกิดและละกิเลสทั้งหลายอีก หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๔] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ยังมรรคให้เกิดและกิเลสทั้งหลายไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อิธวิหายนิฏฐะ ยังมรรคให้เกิดและละ กิเลสทั้งหลายไม่ก่อนไม่หลัง หรือ?


๑. พระอนาคามี ผู้ยังมรรคให้เกิดแล้วในโลกนี้ อิธวิหายนิฏฐะ


ความคิดเห็น 294    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 294

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ยังมรรคให้เกิด และละกิเลสทั้งหลายไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อิธวิหายนิฏฐะยังมรรคให้เกิดและละ กิเลสทั้งหลายไม่ก่อนไม่หลัง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๕] ส. บุคคลผู้อนาคามี มีกรณียะอันกระทำแล้ว มี ภาวนาอันอบรมแล้ว จึงผลุดเกิดในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลุดเกิดเป็นพระอรหันต์เลย หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผลุดเกิดเป็นพระอรหันต์เลย หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์มีภพใหม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์มีภพใหม่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ไปสู่ภพจากภพ ไปสู่คติจากคติ ไป สู่สงสารจากสงสาร ไปสู่อุบัติจากอุบัติ หรือ ?


ความคิดเห็น 295    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 295

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๖] ส. บุคคลผู้อนาคามี เป็นผู้มีกรณียะอันการทำแล้ว มีภาวนาอันอบรมแล้ว แต่เป็นผู้มีภาระอันยังไม่ปลงลงแล้ว ผลุดเกิด ในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อนาคามี จะต้องยังมรรคให้เกิดอีกเพื่อ ปลงภาระ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๗] ส. บุคคลผู้อนาคามี เป็นผู้มีกรณียะอันกระทำแล้ว มีภาวนาอันอบรมแล้ว แต่เป็นผู้มีทุกข์อันยังไม่กำหนดรู้... มีกิเลสอัน ยังไม่ได้ละ... มีนิโรธอันยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง... มีอกุปปธรรมอันยัง ไม่ได้แทงตลอด ผลุดเกิดในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อนาคามี จะต้องยังมรรคให้เกิดอีกเพื่อ แทงตลอดอกุปปธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๘] ส. บุคคลผู้อนาคามี เป็นผู้มีกรณียะอันกระทำแล้ว มีภาวนาอันอบรมแล้ว แต่เป็นผู้มีภาระอันยังไม่ปลงแล้ว ผลุดเกิด ในหมู่เทวดานั้น จะไม่ยังมรรคให้เกิดอีกเพื่อปลงภาระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 296    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 296

ส. เป็นผู้มีภาระอันไม่ปลงลงแล้ว ปรินิพพานใน หมู่เทวดานั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้อนาคามี เป็นผู้มีกรณียะอันกระทำแล้ว มีภาวนาอันอบรมแล้ว แต่เป็นผู้มีทุกข์อันยังไม่ได้กำหนดรู้... มีกิเลส อันยังไม่ได้ละ... มีนิโรธอันยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง... มีอกุปปธรรม อันยังไม่ได้แทงตลอด ผลุดเกิดในหมู่เทวดานั้น จะไม่ยังมรรคให้เกิด อีก เพื่อแทงตลอดอกุปปธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้มีอกุปปธรรมอันไม่แทงตลอดแล้ว ปริ- นิพพานในหมู่เทวดานั้น หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศร แม้ไปได้ไกล ก็ต้อง ตายฉันใดบุคคลผู้อนาคามี ก็จะกระทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดานั้นด้วย มรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ ฉันนั้น.

ส. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศร แม้ไปได้ไกล ก็มีลูกศร ติดอยู่ ตายฉันใด บุคคลผู้อนาคามี ก็มีลูกศรติดอยู่ ปรินิพพานใน หมู่เทวดานั้น ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ ฉันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ พรหมจริยากถา จบ


ความคิดเห็น 297    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 297

อรรถกถาพรหมจริยกถา

ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องประพฤติพรหมจรรย์. ในปัญหานั้น การ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์มี ๒ อย่าง คือ การเจริญมรรค ๑. การ บรรพชา ๑. การบรรพชา ย่อมไม่มีในเทพทั้งหลาย. เว้นอสัญญีสัตว์ แล้ว การเจริญมรรค ท่านไม่ปฏิเสธในเทพทั้งหลายที่เหลือ.

ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจนิกายสมิติยะทั้งหลาย ผู้มีความเห็นผิดไม่ปรารถนาการเจริญมรรคในเทพทั้งหลายที่สูงกว่าชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า การปรพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา หรือ คำรับรองเป็น ของปรวาที ว่า ใช่ ด้วยสามารถแห่งลัทธิอันเกิดขึ้นแล้วว่า การ ประพฤติพรหมจรรย์แม้ทั้งสอง ไม่มีในเทพทั้งหลาย เพราะอาศัย พระสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ย่อมครอบงำ มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป และเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ อย่าง ฐานะ ๓ เป็นไฉน? ฐานะ ๓ คือ สุรา เป็นผู้กล้า ๑. สติมนฺโต มีสติ ๑. พฺรหฺมจริยวาโส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธศาสนา ๑. ดังนี้. คำถามของสกวาทีอีกว่า เทวดา ทั้งหมดเป็นผู้เงอะงะด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นอันตรายแก่การ ประพฤติพรหมจรรย์แม้ทั้ง ๒ หรือ? ในคำเหล่านั้น คำว่า ใช้ ภาษาใบ้ ได้แก่ ผู้กล่าวด้วยมือและศีรษะเหมือนคนใบ้.


ความคิดเห็น 298    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 298

คำถามของปรวาที ข้างหน้าว่า การประพฤติพรหมจรรย์ มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ? คำตอบรับรองของสกวาที หมายเอา การ เจริญมรรค. คำซักถามด้วยสามารถแห่งบรรพชาเพราะไม่กำหนดประสงค์เอาคำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. ในปัญหาว่า ในที่ใด ไม่มี การบรรพชา ที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ? คำปฏิเสธ ว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นของสกวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะหมาย เอาการได้เฉพาะซึ่งมรรคของคฤหัสถ์ทั้งหลาย และของเทพทั้งหลาย บางพวก. ถูกถามซ้ำอีกสกวาทีนั้นนั่นแหละก็ตอบรับรอง หมายเอา มนุษย์ผู้อยู่สุดเขตแดน ซึ่งพระศาสนาไปไม่ถึง และอสัญญีสัตว์. แม้ ในคำถามทั้งหลาย มีคำเป็นต้นว่า ผู้ใดบรรพชา ก็นัยนี้เหมือนกัน แม้ในคำถามอีกว่า การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ? คำตอบรับรองว่ามีอยู่เป็นของสกวาที เพราะหมายเอาการเจริญ มรรคเท่านั้น. ครั้นเมื่อปรวาทีซักว่า มีอยู่ในเทวดาทุกหมู่ หรือ? คำปฏิเสธเป็นของสกวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะหมายเอาอสัญญีสัตว์ซึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ได้. ปัญหาว่า การประพฤติพรหมจรรย์ มีอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ? คำตอบรับรอง หมายเอาชาวชมพูทวีปผู้ เจริญ. บัณฑิตพึงทราบคำปฏิเสธเพราะหมายเอามนุษย์ผู้อยู่สุดเขตแดน ซึ่งไม่มีความเจริญ. ข้อว่า มีในที่ไหน ไม่มีที่ไหน? คำวิสัชนา เป็นของสกวาที โดยหัวข้อที่แยกคือสัตว์และประเทศอย่างนี้ว่า เทพ เหล่านั้นมีอยู่ ณ ที่ใด หรือประเทศนั้นมีอยู่ ณ ที่ใดดังนี้. โดยนัยนี้ บัณฑิตพึงทราบปัญหาทั้งปวงว่า เป็นเอกันตริกปัญหา คือ เป็นปัญหา


ความคิดเห็น 299    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 299

ที่ถามสลับกัน. ในการซักถามพระสูตรว่า ผลบังเกิดขึ้นในที่ไหน? เป็นคำถามขอสกวาทีว่า การเกิดขึ้นแห่งอรหัตตผลของพระอนาคามีนั้น มี ณ ที่ไหน? คำตอบว่า ในหมู่เทวดานั้นแล อธิบายว่า ในชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย. คำว่า หนฺท หิ เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งเหตุ. คำนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า ก็เพราะพระอนาคามี บุคคลทำให้แจ้งซึ่งผล ในสุทธาวาสเหล่านั้นด้วยมรรคที่ท่านให้เกิดแล้ว ในโลกนี้ มิได้เจริญมรรคอื่นในสุทธาวาสนั้น เพราะฉะนั้น การอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ คือการบรรพชา ในเทพทั้งหลายจึงไม่มี.

บัดนี้ คำถามเปรียบเทียบว่า พระอนาคามี เป็นต้นอีก เป็นของสกวาที เพื่อแสดงเนื้อความนี้ว่า ถ้าการทำให้แจ้งซึ่งผลในที่อื่น ด้วยมรรคที่เคยอบรมแล้วในที่อื่นมีอยู่ เพราะฉะนั้นการทำให้แจ้งซึ่งผล ด้วยมรรคที่เคยอบรมแล้วก็พึงมีแม้แก่พระโสดาบันเป็นต้น ดังนี้. การ ตอบรับรองการทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งพระอนาคามีในปัญหานั้น แต่ปฏิเสธ การทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งพระอริยะที่เหลือ เป็นของพระปรวาที ก็ลัทธิ ของท่านว่าพระอนาคามีเว้นการเจริญมรรค ย่อมทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ได้ด้วยสามารถแห่งการอุบัติขึ้นนั้นแหละ เพราะพระบาลีว่า พระอนาคามี ผู้มีมรรคอันอบรมแล้วในโลกนี้ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ถึง ความสำเร็จด้วยการละกิเลสในโลกนี้ (อิธวิหายนิฏฺโ) ก็ท่าน เจริญอนาคามิมรรคในโลกนี้แล้วเคลื่อนจากโลกนี้ก็เป็นโอปปาติกะและปรินิพพานในเทวโลกเหล่านั้น ส่วนพระโสดาบันและ พระสกทาคามีผู้ชื่อว่า อุปปาติกะมีอยู่ในเทวโลก เพราะยังมรรค


ความคิดเห็น 300    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 300

ให้เกิดในเทวโลกนั้นมีอยู่ แต่การมาสู่โลกนี้ของพระอริยะเหล่า นั้นย่อมไม่มีเลย ดังนี้ เมื่อถูกถามถึงการทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล แห่งพระอนาคามี ก็ตอบรับรอง แต่ปฏิเสธการทำให้แจ้งแห่งพระอริยะ ทั้งหลายนอกจากนี้.

ในปัญหาว่า พระอนาคามีบุคคลทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่ เทวดานั้น ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในหมู่เทวดานั้น หรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะขัดกับลัทธิว่า การเจริญมรรคของพระอนาคามีในเทวโลกไม่มี คำถามว่า จะไม่ยังมรรคให้เกิดและละ กิเลสทั้งหลายอีกหรือ? เป็นของสกวาที คำรับรองเป็นของปรวาที เพราะหมายเอารูปาวจรมรรค. จริงอยู่ พระอนาคามีนั้นชื่อว่า ผู้ถึง ความสำเร็จด้วยการละกิเลสในโลกนี้ เป็นผู้เกิดขึ้นแล้วในเทวโลกด้วย รูปาวจรมรรค.

ในปัญหาว่า พระอนาคามีบุคคลมีกรณียกิจอันทำแล้ว ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่ หมายเอาภาวะมีกรณียกิจอันพระอนาคามีนั้น ทำแล้วด้วยการอุบัติเป็นต้น เพราะถือเอาพระบาลีว่า พระอนาคามี ผู้เป็นโอปปาติกะปรินิพพานแล้วในเทวโลกเหล่านั้น. ในปัญหา ว่า " พระอนาคามีผุดเกิดเป็นพระอรหันต์หรือ " ปรวาทีตอบปฏิเสธ ด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์ผู้ปรินิพพานในโลกนี้. ถูกถามอีกว่า พระอนาคามีผุดเกิดเป็นพระอรหันต์หรือ ก็ตอบรับรองว่า ใช่ ด้วย สามารถแห่งพระอรหันต์ผู้ปรินิพพานแล้วในเทวโลกเหล่านั้น. แม้ในคำ


ความคิดเห็น 301    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 301

ทั้งหลายมีคำว่า พระอรหันต์มีภพใหม่หรือ? เป็นต้น บัณฑิต พึงทราบเนื้อความด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์ทั้งหลายที่ปรินิพพาน แล้วในเทวโลกนั้น หรือผู้ปรินิพพานแล้วในโลกนี้นั่นแหละ. ถูกสกวาที ถามว่า เป็นผู้มีอกุปปธรรมอันไม่แทงตลอดแล้วปรินิพพานใน หมู่เทวดานั้นหรือ เมื่อปรวาทีไม่ปรารถนาการแทงตลอดอกุปปธรรมของพระอรหันต์ด้วยมรรคที่อบรมแล้วในโลกนี้นั่นแหละจึงตอบ ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. อุทาหรณ์แรก ว่า เหมือนเนื้อที่ ถูกยิงด้วยลูกศร เป็นคำอุปมาของปรวาที อุทาหรณ์ที่ ๒ เป็น ของสกวาที. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นนั่นแล.

อรรถกถาพรหมจริยกถา จบ


ความคิดเห็น 302    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 302

โอธิโสกถา

[๒๗๙] สกวาที บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์?

ป. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และ บรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระโสดบัน ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ ... ซึ่งโสดาปัตติผล แต่อีก ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล ส่วนหนึ่งเป็นพระ โสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ... ผู้โกลังโกละ ... ผู้เอกพีชี ... ประกอบ ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบ ด้วยอริยกันตศีล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ อะไรไดด้วยการเห็นสมุทัย?

ป. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรมาส และ บรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน


ความคิดเห็น 303    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 303

หนึ่ง ไม่เป็นพระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ?

ป. ละวิจิกิจฉา สีลัพพตปรมาส และบรรดากิเลส พวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่ อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นมรรค?

ป. ละสีลัพพตปรามาส และบรรดากิเลสพวกเดียว กันได้.

ส. บุคคลเป็นโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ไม่เป็นโสดาบัน ส่วนหนึ่งบรรลุ . . . ได้เฉพาะ. . . ถึงทับ . . . ทำให้ แจ้ง. . . เข้าถึงอยู่ . . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล แต่อีกส่วน หนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบันผู้ สัตตขัตตุปรมะ...ผู้โกลังโกละ...ผู้เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า. . . ในพระธรรม. . . ในพระสงฆ์ ฯลฯ


ความคิดเห็น 304    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 304

ประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๘๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ?

ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ. . . ได้เฉพาะ. . . ถึงทับ. . . ทำให้แจ้ง. . . เข้าถึงอยู่ . . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีก ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย?

ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ . . . ได้เฉพาะ. . . ทำให้แจ้ง. . . เข้าถึงอยู่ . . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูก ต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 305    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 305

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ?

ป. ละพยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวก เดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ. . . ได้เฉพาะ ... ถึงทับ... ทำให้แจ้ง... เข้าถึงอยู่... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีก ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นมรรค?

ป. ละพยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวก เดียวกันได้.

ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง...เข้าถึงอยู่... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีก ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายซึ่งสกทาคามิผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๘๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ?

ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละ


ความคิดเห็น 306    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 306

เอียด และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ... ถึงทับ... ทำให้แจ้ง... เข้าถึงอยู่... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล แต่อีก ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี... ผู้อุปหัจจปรินิพพายี... ผู้อสังขารปรินิพพายี ... ผู้สังขารปรินิพพายี... ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่ เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ?

ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต- อกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ?

ป. ละพยาบาทอย่างละเอียด และบรรดากิเลสพวก


ความคิดเห็น 307    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 307

เดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต อกนิฏคามี แต่อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นมรรค?

ป. ละบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้.

ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ... ถึงทับ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยูซึ่งอนาคามิผล อีกส่วน หนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี... ผู้อุปหัจจปรินิพพายี... ผู้อสังขารปรินิพพายี... ผู้สสังขารปรินิพพายี... ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๘๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์?

ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.


ความคิดเห็น 308    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 308

ส. บุคคลเป็นพระอรหัตแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ไม่เป็นพระอรหัต ส่วนหนึ่งบรรลุ . . . ได้เฉพาะ. . . ถึงทับ. . . ทำให้ แจ้ง. . . เข้าถึงอยู่. . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล แต่อีกส่วนหนึ่ง ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะโทสะ โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็น ผู้ที่ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ แล้ว มีภาระอันวางแล้ว หมดเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่ง ธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควร ละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้ แจ้งแล้ว ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่อีกส่วน หนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย?

ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้


ความคิดเห็น 309    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 309

แจ้งแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์?

ป. ละมานะ อุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลส พวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ไม่เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง แล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ละ อะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ?

ป. ละอุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลสพวกเดียว กันได้.

ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน หนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ... ถึงทับ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล แต่อีกส่วน หนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตตผล ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะโมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีดอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็น


ความคิดเห็น 310    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 310

ผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ แล้ว วางภาระแล้ว หมดเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่ง ธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควร ละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้ แจ้งแล้ว ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่อีกส่วน หนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๘๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ หรือ

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้มีปัญญาพึง กำจัดมลทินของตนทีละน้อย ๆ ทุกขณะโดยลำดับ เหมือนช่าง ทองกำจัดมลทินทองฉะนั้น ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ละกิเลสได้เป็นส่วนๆ น่ะสิ.

[๒๘๔] ส. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ ถึงพร้อมด้วยทัสสนะของท่านได้แก่พระโสดาบัน ท่านละธรรม ๓


๑. ขุ. ธ. ๒๔/๒๘


ความคิดเห็น 311    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 311

อย่างได้ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ที่ยัง มีอยู่แม้หน่อยหนึ่ง ท่านก็พ้นจากอบายภูมิ ๔ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ จะทำอภิฐานหก ดังนี้๑ เป็นสูตรสีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าว บุคคลละกิเลสได้ เป็นส่วนๆ น่ะสิ.

[๒๘๕] ส. บุคคละกิเลสได้เป็นส่วนๆ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิภษุ ทั้งหลาย ในสมัยใด ธรรมจักษุปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้นแล้ว แก่ อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีอันดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พร้อมกับการเกิด ขึ้นแห่งทัสสนะนั้น อริยสาวกละสัญโญชน์ ๓ ประการได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงใช่

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลละกิเลสได้ เป็นส่วนๆ น่ะสิ โอธิโสกถา จบ


๑. ขุ. ขุ. ๒๕/๗.


ความคิดเห็น 312    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 312

อรรถกถาโอธิโสกถา

ว่าด้วยการละกิเลสบางส่วน

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบางส่วน. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดย่อม ปรารถนาการละกิเลสได้บางส่วนๆ คือ โดยส่วนหนึ่งๆ จากการเห็น ทุกข์เป็นต้นด้วยสามารถแห่งการตรัสรู้ต่างๆ แห่งพระโสดาบันเป็นต้น ดุจนิกายสมิติยะทั้งหลายในขณะนี้ เพื่อจะทำลายลัทธินิกายเหล่านั้น สกวาทีถึงถามว่า บุคคลละกิเลสได้เป็นบางส่วนหรือ คำรับรอง ว่าใช่ เป็นของปรวาที. การซักถามอีกเป็นของสกวาที. คำปฏิเสธเป็น ของปรวาที เพราะไม่มีความเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น โดยเอกเทศ คือบางส่วน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้.

อรรถกถาโอธิโสกถา จบ


ความคิดเห็น 313    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 313

ชหติกถา

[๒๘๖] สกวาที ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ละได้ไม่มี เยื่อใย ละได้กับทั้งราก ละได้กับทั้งตัณหา ละได้กับทั้งอนุสัย ละได้ ด้วยญาณอันเป็นอริยะ แทงตลอดอกุปปธรรมละได้ ทำให้แจ้งอนาคามิ- ผลละได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๘๗] ส. ปุถุชนข่มกามราคะ และพยาบาทได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ข่มได้หมดสิ้น ไม่ได้ไม่มีส่วนเหลือ ข่มได้ไม่ มีเยื่อใย ข่มได้กับทั้งราก ข่มได้กับทั้งตัณหา ข่มได้กับทั้งอนุสัย ข่มได้ ด้วยญาณอันเป็นอริยะ ข่มได้ด้วยมรรคอันเป็นอริยะ แทงตลอดอกุปปธรรมข่มได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๘๘] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม ราคะและพยาบาทได้ และบุคคลนั้นละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วน เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลละได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 314    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 314

ส. ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ และเขา ละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนามิผล ละได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๘๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกาม ราคะพยาบาทได้ และบุคคลนั้นข่มได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ และเขาข่ม ได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๐] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ แต่เขาจะละ ได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะละได้ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ จะละได้ไม่มีเยื่อใย ก็หามิได้ จะละได้กับทั้งรากก็หามิได้ จะละได้กับทั้งตัณหาก็มิได้ จะละ ได้กับทั้งอนุสัยก็หามิได้จะละได้ด้วยญาณอันเป็นอริยะก็หามิได้ จะละได้ ด้วยมรรคอันเป็นอริยะก็หามได้ จะแทงตลอดอกุปปธรรมละได้ก็หามิได้ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลละได้ก็หามิได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม


ความคิดเห็น 315    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 315

ราคะและพยาบาทได้ แต่บุคคลนั้นจะละได้ทั้งหมดก็หามิได้ ฯลฯ จะทำ ให้แจ้งอนาคามิผลละได้ก็หามิได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๑] ส. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่เขาจะ ข่มได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะข่มได้ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ ฯลฯ จะทำ ให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ก็หามิได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกาม ราคะและพยาบาทได้ แต่บุคคลนั้นจะข่มได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะข่มได้ ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ ฯลฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ก็หามิได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๒] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ด้วยมรรคไหน?

ป. ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร.

ส. มรรคส่วนรูปาวจรเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏฏ์ ให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็น อารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์


ความคิดเห็น 316    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 316

ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น อารมณ์ของสังกิเลส หรือ.

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคส่วนรูปาวจร ไม่เป็นเหตุนำออกจากสัง- สารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพนาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ สัญโญชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า มรรคส่วนรูปาวจร ไม่เป็นเหตุนำออก จากสังสารวัฏฏ์ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความ ตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสาวะ เป็น อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร.

[๒๙๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม ราคะและพยาบาทได้ด้วยอนาคามิมรรค และมรรคนั้นเป็นเหตุนำออก จากสังสารวัฏฏ์ ให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็น อารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรค ส่วนรูปาวจรและมรรคนั้นเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏฏ์ ให้ถึงความสิ้น


ความคิดเห็น 317    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 317

ไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๔] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรค ส่วนรูปาวจรและมรรคนั้นไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่เป็นธรรม ให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึง นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม ราคะและพยาบาทได้ด้วยอนาคามิมรรค แต่มรรคนั้นไม่เป็นเหตุนำ ออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึง ความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๕] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง- หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ บรรลุธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ดำรงอยู่ในอรหัตตผล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 318    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 318

[๒๙๖] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง- หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ บรรลุธรรม หรือ ?.

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยังมรรคทั้งสามให้เกิดได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ยังมรรคทั้งสามให้เกิดได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้งสามได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้งสามได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะสาม แห่งเวทนาสาม แห่งสัญญาสาม แห่งเจตนากาม แห่งจิตนาสาม แห่งจิตสาม แห่งศรัทธาสาม แห่ง วิริยะสาม แห่งสติสาม แห่งสมาธิสาม แห่งปัญญาสาม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๗] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง- หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ บรรลุธรรม หรือ ?


ความคิดเห็น 319    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 319

ป. ถูกแล้ว.

ส. ด้วยโสดาปัตติผลมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยสกทาคามิผลมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยมรรคไหน?

ป. ด้วยอนาคามิมรรค.

ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ ด้วยอนาคามิมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโสดาปัตติผล เพราะละ สัญโญชน์สามมิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโสดาปัตติผล เพราะละสัญโญชน์สาม ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ

ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ?


ความคิดเห็น 320    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 320

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ?

ป. ถูกแล้ว. ส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสกทาคามิผล เพราะ ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท มิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสกทาคามิผล เพราะความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละกาม ราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค.

[๒๙๘] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง- หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการ บรรลุธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนเหล่าใดเหล่านี้บรรลุธรรมได้ ชนเหล่า นั้นทั้งหมดดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ บรรลุธรรม หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนละกามราคะและพยาบาท ได้ หรือ?


ความคิดเห็น 321    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 321

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในกาลส่วน อดีต ได้มีศาสดาทั้งหกเป็นผู้มียศ หมดความฉุนโกรธ แจ่มใส เพราะกรุณา พ้นจากความเกี่ยวข้องในกาม คลายกามราคะแล้ว เข้าถึงพรหมโลก แม้สาวกของศาสดาเหล่านั้น อันมีจำนวน หลายร้อยก็เป็นผู้หมดความฉุนโกรธ แจ่มใสเพราะกรุณา พ้นจาก ความเกี่ยวข้องในกาม คลายกามราคะแล้ว เข้าถึงพรหมโลก ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็ละกามราคะและพยาบาท ได้น่ะสิ.

[๓๐๐] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ- ทั้งหลาย ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้นแล เป็นผู้มีอายุยืนอย่างนี้ ทรง ชีพอยู่นานอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้หลุดพ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้ ไม่พ้นจากทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ก็เพราะไม่รู้ตาม ไม่แทง


๑. องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๕


ความคิดเห็น 322    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 322

ตลอด ซึ่งธรรมทั้งสี่ ธรรมทั้งสี่เป็นไฉน? เพราะไม่รู้ตาม ไม่ แทงตลอด ซึ่งศีลอันเป็นอริยะ ซึ่งสมาธิอันเป็นอริยะ ซึ่งปัญญา อันเป็นอริยะ ซึ่งวิมุติอันเป็นอริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลอัน เป็นอริยะ สมาธิอันเป็นอริยะ ปัญญาอันเป็นอริยะ วิมุติอันเป็น อริยะ นี้ อันเรารู้ตามแล้ว แทงตลอดแล้ว เราจึงถอนตัณหา ในภพเสียได้แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพ ใหม่ไม่มี ดังนี้ (พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณพจน์นี้ ครั้น แล้วจึงได้ตรัสคำอันท่านประพันธ์เป็นคาถาในภายหลัง ความว่าดังนี้)

ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ เป็นธรรม อันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศทรงตามรู้แล้ว พระพุทธเจ้า ทรงรู้ยิ่งด้วยประการฉะนี้แล้ว ได้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ผู้มีจักษุ ปรินิพพานแล้ว ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้น่ะสิ.

ชหติกถา จบ


๑. อํ. สัตตถ. ๒๓/๖๓


ความคิดเห็น 323    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 323

อรรถกถาปชหติกถา๑

ว่าด้วยการละกิเลส

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการละกิเล

ส. ก็ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมี ความเห็นผิดดุจนิกายสมิติยะเป็นต้น ในที่นี้ว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานพร้อม กับการตรัสรู้สัจจะย่อมเป็นผู้ชื่อว่า เป็นพระอนาคามีและในกาลที่ท่าน ยังเป็นปุถุชนนั่นแหละเป็นผู้ละกามราคะและพยาบาทได้แล้ว ดังนี้ เพื่อจะทำลายลัทธินั้นของชนเหล่านั้น พระสกวาทีจึงถามว่า ปุถุชน ละกามราคะและพยาบาทได้หรือ? เมื่อพระปรวาทีไม่เห็นอยู่ซึ่ง ปริยุฏฐานกิเลสของท่านผู้ขมไว้ด้วยฌานจึงตอบรับรอง. ก็การละกิเลส ได้โดยสิ้นเชิงของฌานลาภีบุคคลเหล่านั้นแม้ข่มไว้แล้วด้วยอนาคามิ- มรรคนั่นแหละมีอยู่ เพราะฉะนั้นคำซักถามของสกวาทีว่า ละกิเลส ได้หมดสิ้น อีก การปฏิเสธ เป็นของปรวาที เพราะไม่มีการละเช่น นั้น. คำว่า ปุถุชนข่ม เป็นคำถามของสกวาที หมายเอาการข่ม กิเลสไว้โดยไม่หมดสิ้นเท่านั้น. ต่อจากนี้ไป เป็นการเปรียบเทียบปุถุชน กับพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค คำนี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

เบื้องหน้าแต่นี้ถูกสกวาทีถามว่า ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความ กำหนัดในกามทั้งหลายดำรงอยู่ในอนาคามิผล? ก็ตอบรับรอง หมาย เอาปุถุชนผู้เป็นพระอนาคามีด้วยฌาน. ถูกถามว่า ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผลหรือ? ตอบปฏิเสธ เพราะไม่มีการละอุทธัมภาคิยสังโยชน์


๑. บาลี-เป็น ชหติกถา.


ความคิดเห็น 324    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 324

ด้วยมรรคอันเป็นเครื่องเห็น. ถูกถามว่า ยังมรรคทั้ง ๓ ให้เกิด ไม่ก่อนไม่หลังกันหรือ? ก็ตอบปฏิเสธ เพราะไม่มีการเจริญเช่นนั้น. ถูกถามอีกว่า ยังมรรคทั้ง ๓ ให้เกิดไม่ก่อนไม่หลังหรือ? ก็ตอบ รับรอง หมายเอาสภาวกิจแห่งมรรคทั้ง ๓. แม้ในคำถามถึงสามัญญผล ทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถูกถามว่า ด้วยมรรคไหน? ตอบว่า ด้วยอนาคามิมรรค ท่านกล่าวหมายเอาปุถุชนผู้เป็นพระอนาคามีด้วยฌาน. ถูกถามถึง การ ละสัญโญชน์มีสักกายทิฏฐิ เป็นต้นอีก ปรวาทีก็ปฏิเสธ เพราะ กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นอันพระอนาคามิมรรคมิได้ละ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง หมายเอาความเป็นพระอนาคามิมรรคด้วยฌานแห่งปฐมมรรคนั่นแหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น.

อรรถกถาปชหติกถา จบ


ความคิดเห็น 325    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 325

สัพพมัตถีติกถา

[๓๐๑] ส. สกวาที สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ?

ป. ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสรีระทั้งปวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในการทั้งปวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดยอาการทั้งปวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในธรรมทั้งปวง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวง ชื่อว่ามีอยู่ เพราะทำอธิบายว่า ไม่


ความคิดเห็น 326    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 326

ประกอบ๑ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แม้สิ่งที่ไม่มี ก็ชื่อว่ามีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความเห็นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ดังนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ และว่าทิฏฐิดังว่านี้ เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๓๐๒] ส. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดง- คตแล้ว สาบสูญไปแล้ว มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า อดีตมีอยู่.


๑. ไม่ประกอบสภาวะต่าง ๆ คือ ทำรูปไม่ให้ต่างจากเวทนา หรือทำเวทนาไม่ให้ ต่างจากรูป คือ ทำให้มีลักษณะเป็นส่วนเดียวกัน -อรรถกถา


ความคิดเห็น 327    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 327

[๓๐๓] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยัง ไม่บังเกิดยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิด พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ ปรากฏ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อนาคตมีอยู่.

[๓๐๔] ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่ปราศไป ยังไม่แปรไป ยังไม่อัศดงคต ยังไม่สาบสูญไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตมีอยู่ อดีตยังไม่ดับ ยังไม่ปราศไป ยังไม่ แปรไป ยังไม่อัสดงคต ยังไม่สาบสูญไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๓๐๕] ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิด พร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏ แล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตมีอยู่ อนาคตเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิด พร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏ- แล้ว หรือ ?


ความคิดเห็น 328    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 328

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ฯ

[๓๐๖] ส. อดีตมีอยู่ อดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไป แล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๓๐๗] ส. อนาคตมีอยู่ อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่ เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ ปรากฏ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่ เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ ปรากฏ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๓๐๘] ส. รูปอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้วมิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปอดีตดับแล้ว ฯลฯ สาบสูญไปแล้ว ก็


ความคิดเห็น 329    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 329

ต้องไม่กล่าวว่า รูปอดีตมีอยู่.

[๓๐๙] ส. รูปอนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปอนาคตมีอยู่.

[๓๑๐] ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่ ปราศไป ยังไม่แปรไป ยังไม่อัสดงคต ยังไม่ สาบสูญไป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตยังไม่ดับไป ยังไม่ปราศไป ยังไม่แปรไป ยังไม่อัสดงคต ยังไม่สาบสูญไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๑๑] ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอนาคตมีอยู่ รูปอนาคตเกิดแล้ว เป็นแล้ว


ความคิดเห็น 330    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 330

เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๑๒] ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันดับไปแล้ว ปราศไป แล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๑๓] ส. รูปอนาคตมีอยู่ รูปอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๑๔] ส. เวทนาอดีตมีอยู่หรือ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณอดีต มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 331    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 331

ส. วิญญาณอดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไป แล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. วิญญาณอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ สาบสูญไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณอดีตมีอยู่

[๓๑๕] ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. วิญญาณอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิด พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ ปรากฏ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ถ้าวิญญาณอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ก็ต้องไม่กล่าว วิญญาณอนาคตมีอยู่

[๓๑๖] ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันยังไม่ดับ ฯลฯ ยังไม่สาบสูญไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตยังไม่ดับไป ฯลฯ ยังไม่สาบสูญไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๑๗] ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันเกิดแล้ว เป็นแล้ว ฯลฯ ปรากฏแล้ว หรือ?


ความคิดเห็น 332    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 332

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอนาคตมีอยู่ วิญญาณอนาคตเกิดแล้ว ฯลฯ ปรากฏแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๑๘] ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ สาบสูญไปแล้ว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันดับไปแล้ว ฯลฯ สาบสูญไปแล้ว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๑๙] ส. วิญญาณอนาคตมีอยู่ วิญญาณอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๐] ส. บัญญัติว่าปัจจุบันหรือรูปก็ดี ว่ารูปหรือว่าปัจจุบัน ก็ดี รวมเพ่งถึงรูปปัจจุบัน บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถ อันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 333    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 333

ส. รูปปัจจุบันเมื่อดับไป ย่อมละความเป็นปัจจุบัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ย่อมละความในรูป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๑] ส. บัญญัติว่าปัจจุบันหรือว่ารูปก็ดี ว่ารูปหรือว่า ปัจจุบันก็ดี รวมเพ่งถึงรูปปัจจุบัน บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มี อรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปปัจจุบันเมื่อดับไป ย่อมไม่ละความเป็นรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ย่อมไม่ละความเป็นปัจจุบัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ผ้าขาว บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. ผ้าขาว เมื่อถูกย้อม ย่อมละความเป็นผ้าขาว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ย่อมละความเป็นผ้า หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 334    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 334

ป. บัญญัติว่าขาวหรือว่าก็ดี ว่าหรือว่าขาวก็ดี รวมเพ่งถึงผ้าขาว บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อม ย่อมไม่ละความเป็นผ้า หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ย่อมไม่ละความเป็นผ้าขาว หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๒] ส. รูปย่อมไม่ละความเป็นรูป หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็น ธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะรูปย่อมละความเป็นรูป ฉะนั้นรูปจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผัน เป็นธรรมดา มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน แปรผันเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปย่อม ไม่ละความเป็นรูป.


ความคิดเห็น 335    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 335

[๓๒๓] ส. เพราะนิพพานย่อมไม่ละความเป็นนิพพาน ฉะนั้นนิพพานจึงชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน คงทน มี อันไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะรูปย่อมไม่ละความเป็นรูป ฉะนั้น รูปจึง ชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็น ธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๔] ส. เพราะรูปย่อมไม่ละความเป็นรูป ฉะนั้น รูปจึง ชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปร ผันเป็นธรรม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะนิพพานย่อมไม่ละความเป็นนิพพาน ฉะนั้น นิพพานจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกว่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๕] ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตมีอยู่ อนาคตย่อมไม่ละความเป็นอนาคต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 336    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 336

ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันย่อมไม่ละความเป็นปัจจุบัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๖] ส. อนาคตมีอยู่ อนาคตย่อมไม่ละความเป็นอนาคต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๗] ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันย่อมไม่ละความเป็นปัจจุบัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๘] ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็น ธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 337    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 337

ส. อดีต ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผัน เป็นธรรมดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน แปรผันเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต.

[๓๒๙] ส. เพราะนิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น นิพพาน ฉะนั้น นิพพานจึงชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต ฉะนั้น อดีตจึงชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอัน แปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๐] ส. เพราะอดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต ฉะนั้น อดีตจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะนิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น นิพพาน ฉะนั้น นิพพานจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่


ความคิดเห็น 338    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 338

ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๑] ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. รูปอนาคตมีอยู่ รูปอนาคตย่อมไม่ละความเป็น อนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปอดีตอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันย่อมไม่ละความเป็น ปัจจุบัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๒] ส. รูปอนาคตมีอยู่ รูปอนาคตย่อมไม่ละความเป็น อนาคต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 339    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 339

[๓๓๓] ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันย่อมไม่ละความเป็น ปัจจุบัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๔] ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีต เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่แปรผัน เป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปอดีต ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปร ผันเป็นธรรมดา มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปอดีต ไม่เที่ยง ฯลฯ มีอันแปรผัน เป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปอดีต มีอยู่ รูป อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต.

[๓๓๕] ส. นิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น นิพาน นิพพานเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่ แปรผันไปเป็นธรรมดา หรือ ?


ความคิดเห็น 340    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 340

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต รูปอดีตเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่แปรผัน เป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๖] ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต รูปอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปร ผันเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น นิพพาน นิพพานไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๗] ส. เวทนาอดีตมีอยู่ ฯลฯ สัญญาอดีตมีอยู่ ฯลฯ สังขารอดีตมีอยู่ ฯลฯ

[๓๓๘] ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ เป็นอดีต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอนาคตมีอยู่ วิญญาณอนาคตย่อมไม่ละ ความเป็นอนาคต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 341    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 341

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ เป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันย่อมไม่ละ ความเป็นปัจจุบัน?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๙] ส. วิญญาณอนาคตมีอยู่ วิญญาณอนาคตย่อมไม่ละ ความเป็นอนาคต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ เป็นอดีต หรือ?

[๓๔๐] ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันย่อมไม่ละ ความเป็นปัจจุบัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ เป็นอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๑] ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ เป็นอดีต หรือ?


ความคิดเห็น 342    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 342

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอดีตเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่แปร ผันเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอัน แปรผันเป็นธรรมดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่ นอน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต.

[๓๔๒] ส. นิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น นิพพาน นิพพานเที่ยง ยั่งยืน มั่นคงมีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๓] ส. วิญญาณมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความเป็น อดีต วิญญาณอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปรผันเป็น ธรรมดา หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 343    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 343

ส. นิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น นิพพาน นิพพานไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ

[๓๔๔] ส. อดีตใช่สภาวะที่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่าอดีตมีอยู่ ก็ผิด ก็หรือหากว่าสภาวะอันมิใช่อดีตมีอยู่ คำว่า อดีตมีอยู่ก็ผิด?

ส. อนาคตมิใช่สภาวะที่อยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อนาคตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่าอนาคต มีอยู่ก็ผิด ก็หรือหากว่าสภาวะอันมิใช่อนาคต มีอยู่คำว่าอนาคตมีอยู่ก็ผิด?

[๓๙๕] ส. เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ หรือ?


ความคิดเห็น 344    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 344

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าเป็น แล้วจึงเป็นอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าเป็น แล้วจึงเป็นอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่ไม่เป็นอนาคต แล้วไม่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่า ไม่เป็นแล้ว ไม่เป็นอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๖] ส. เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่เป็นปัจจุบัน แล้วเป็นอดีต ชื่อว่าเป็นแล้ว จึงเป็นอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สิ่งที่เป็นปัจจุบัน แล้วเป็นอดีต ชื่อว่าเป็นแล้ว จึงเป็นอยู่ หรือ ?


ความคิดเห็น 345    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 345

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่ไม่เป็นปัจจุบัน แล้วไม่เป็นอดีต ชื่อว่าไม่ เป็นแล้ว ไม่เป็น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๗] ส. เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบัน แล้วจึงเป็นอดีต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าเป็น แล้ว จึงเป็นอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าเป็น แล้วจึงเป็นอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่ไม่เป็นอนาคต แล้วไม่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่า ไม่เป็นแล้วไม่เป็น หรือ ?


ความคิดเห็น 346    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 346

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๘] ส. จักขุอดีตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง, มนสิการอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเห็นรูปอดีตได้ ด้วยจักขุอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะอดีตมีอยู่ เสียง, โสตวิญญาณ, อากาศ, มนสิการอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลฟังเสียงอดีตได้ ด้วยโสตอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฆานะอดีตมีอยู่ กลิ่น, ฆานวิญญาณ, ลม, มนสิ- การอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลสูดกลิ่นอดีตได้ ด้วยฆานะอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชิวหาอดีตมีอยู่ รส, ชิวหาวิญญาณ, น้ำ, มนสิ- สิการอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลลิ้มรสอดีตได้ ด้วยลิ้นอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 347    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 347

ส. กายอดีตมีอยู่ โผฏฐัพพะ, กายวิญญาณ, ดิน, มนสิการอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะอดีตได้ด้วยกายอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนอดีตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์อดีตได้ ด้วยมโนอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๙] ส. จักขุอนาคตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง, มนสิการอนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเห็นรูปอนาคตได้ ด้วยจักขุอนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะ. . . ฆานะ . . . ชิวหา . . . กาย . . . มโน อนาคตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ. วัตถุ, มนสิการอนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 348    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 348

ส. บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์อนาคตได้ ด้วยมโน อนาคต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๐] ส. จักขุปัจจุบันมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง, มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปปัจจุบันได้ ด้วยจักขุปัจจุบัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุอดีตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง, มนสิการอดีตมีอยู่ บุคคลเห็นรูปอดีตได้ ด้วย จักขุอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะ... ฆานะ... ชิวหา... กาย... มโนปัจจุบัน มีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคล รู้แจ้งธรรมารมณ์ปัจจุบันได้ ด้วยมโนปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนอดีตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการอดีตมีอยู่ บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์อดีต ไม่ด้วยมโนอดีต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๑] ส. จักขุปัจจุบันมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ แสงสว่าง,


ความคิดเห็น 349    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 349

มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปปัจจุบันได้ ด้วยจักขุปัจจุบัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุอนาคตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง, มนสิการอนาคตมีอยู่ บุคคลเห็นรูปอนาคตได้ ด้วยจักขุอนาคต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะ. . . ฆานะ. . . ชิวหา. . . กาย. . . มโน ปัจจุบัน มีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคล รู้แจ้งธรรมารมณ์ปัจจุบันไดด้วยมโนปัจจุบัน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนอนาคตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการอนาคตมีอยู่ บุคคลรู้แจ้งธรรมา- รมณ์อนาคตได้ด้วยมโนอนาคต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๒] ส. จักขุอดีตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ แสงสว่าง, มนสิการอดีตมีอยู่ แต่บุคคลเห็นรูปอดีตด้วย จักขุอดีตไม่ได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุปัจจุบันมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง,


ความคิดเห็น 350    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 350

มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปปัจจุบันได้ ไม่ได้ด้วยจักขุปัจจุบัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะ. . . ฆานะ . . . ชิวหา . . . มโนอดีตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการอดีตมีอยู่ แต่บุคคลรู้แจ้ง ธรรมารมณ์อดีตไม่ได้ด้วยมโนอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนปัจจุบันมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลรู้แจ้ง ธรรมารมณ์ปัจจุบันไม่ได้ด้วยมโนปัจจุบัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๓] ส. จักขุอนาคตมีอยู่, รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง, มนสิการอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลเห็นรูปอนาคต ไม่ได้ด้วยจักขุอนาคต หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุปัจจุบันมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง มนสิการปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลเป็นรูปปัจจุบัน ไม่ได้ด้วยจักขุปัจจุบัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะ. . . ฆานะ. . . ชิวหา . . . กาย. . . มโนอนาคต


ความคิดเห็น 351    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 351

มีอยู่ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ, วัตถุ มนสิการอนาคตมีอยู่ แต่ บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์อนาคตไม่ได้ด้วยมโนอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนปัจจุบันมีอยู่ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลรู้แจ้ง ธรรมารมณ์ปัจจุบันไม่ไดด้วยมโนปัจจุบัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๔] ส. ญาณอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณอดีต นั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณอดีต นั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้, ละสมุทัยได้, ทำนิโรธ ให้แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณอดีตนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๕] ส. ญาณอนาคตมีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 352    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 352

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณ อนาคตนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณ อนาคตนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัยได้. ทำนิโรธให้ แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณอนาคตนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๖] ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณ ได้ด้วยญาณปัจจุบันนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณอดีตอยู่ บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณอดีตนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่? บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้ ละสมุทัยได้, ทำนิโรธให้แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยญาณปัจจุบัน นั้น หรือ?


ความคิดเห็น 353    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 353

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณอดีตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้, ละสมุทัย ได้, ทำนิโรธให้แจ้งได้, ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณอนาคตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณ ได้ด้วยญาณปัจจุบันนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณอนาคตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณ ได้ด้วยญาณที่เป็นอนาคตนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้, ละ สมุทัยได้, ทำนิโรธให้แจ้งได้, ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยญาณปัจจุบันนั้น หรือ

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณอนาคตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้, ละสมุทัยได้, ทำนิโรธให้แจ้งได้, ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยญาณอนาคต นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๗] ส. ญาณอดีตมีอยู่ แต่บุคคลทำกิจที่พึงด้วยญาณ ไม่ได้ด้วยญาณอดีตนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 354    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 354

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วย ญาณไม่ได้ด้วยญาณปัจจุบัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณอดีตมีอยู่ แต่บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้, ละสมุทัยไม่ได้, ทำนิโรธให้แจ้งไม่ได้, ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยญาณ อดีตนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้ และสมุทัยไม่ได้, ทำนิโรธให้แจ้งไม่ได้, ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยญาณ ปัจจุบันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๘] ส. ญาณอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วย ญาณไม่ได้ด้วยญาณอนาคตนั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วย ญาณไม่ได้ด้วยญาณปัจจุบันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้ ละสมุทัยไม่ได้ ทำนิโรธให้แจ้งไม่ได้, ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยญาณ อนาคตนั้น หรือ ?


ความคิดเห็น 355    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 355

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้ ละสมุทัยไม่ได้, ทำนิโรธให้แจ้งไม่ได้ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยญาณ ปัจจุบันนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๙] ส. ราคะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โทสะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโทสะด้วยโทสะนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โมหะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มานะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีมานะด้วยมานะอดีตนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 356    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 356

ส. ทิฏฐิอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีวิจิกิจฉาด้วยวิจิกิจฉานั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถีนะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีถีนะด้วยถีนะนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อุทธัจจะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอุทธัจจะด้วยอุทธัจจะนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อหิริกะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอหิริกะด้วยอหิริกะนั้น หรือ?


ความคิดเห็น 357    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 357

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อโนตตัปปะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะ นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๐] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส กามราคะอย่าง ละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดอดีต ของพระอนาคามีมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระอนาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๑] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 358    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 358

ส. วิจิกิจฉา, ลีลัพพตปรามาส, กามราคะอย่าง หยาบ, พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระ- สกทาคามีมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาท นั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๒] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ? ป ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, ราคะอันเป็นอปาย- คามี. โทสะอันเป็นอปายคามี, โมหะอันเป็นอปายคามี, ที่เป็นอดีตของ พระโสดาบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๓] ส. ราคะอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีราคะ ด้วยราคะนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 359    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 359

ส. ราคะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โทสะอดีตของปุถุชนมีอยู่ ฯลฯ อโนตตัปปะ อดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโนตตัปปะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระ- อรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๔] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามี ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ พระ- อนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของปุถุชนมีอยู่ ฯลฯ พยาบาท อย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วย พยาบาทนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 360    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 360

ส. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคา- มี มีอยู่ พระอนาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วย พยาบาทนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๕] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามี ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระสกทาคามี มีอยู่ พระ- สกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของปุถุชนมีอยู่ ฯลฯ พยาบาทอย่าง หยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาท นั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคา- มี มีอยู่ พระสกทาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วย พยาบาทนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๖] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามี ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 361    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 361

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระ- โสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของปุถุชนมีอยู่ ฯลฯ โมหะอัน เป็นอปายคามีที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะ นั้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โมหะอันเป็นอปบายคามีที่เป็นอดีตของพระโสดา- บันมีอยู่ พระโสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๗] ส. ราคะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์ หาชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้นไม่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะอันอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อว่ามี ราคะด้วยราคะนั้นไม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โทสะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ อโนต- ตัปปะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พรอรหันต์หาชื่อว่ามีอโนตตัปปะ ด้วยอโนตัปปะนั้นไม่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 362    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 362

ส. อโนตตัปปะอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อ ว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๘] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ แต่พระ- อนาคามีหาชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อ ว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ ฯลฯ พยา- บาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ แต่พระอนาคามีหา ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นไม่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้น ไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวยอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๙] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระสกทาคามีอยู่ แต่พระ- สกทาคามีหาชื่อว่าทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 363    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 363

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อ ว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของพระสกทาคามี มีอยู่ ฯลฯ พยา- บาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามี มีอยู่ แต่พระสกทาคามีหา ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พยาบาทอย่างหยาบ ที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้น ไม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๐] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ แต่พระ- โสดาบันหาชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหา ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ ฯลฯ โมหะ อันเป็นอปายคามีที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันหา ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นไม่ หรือ ?


ความคิดเห็น 364    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 364

ป. ถูกแล้ว.

ส. โมหะอันเป็นอปายคามีที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นไม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๑] ส. มืออดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อมืออดีตมีอยู่ การจับ การวาง ยังปรากฏอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เท้าอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเท้าอดีตมีอยู่ การก้าวไป การถอยกลับ ยัง ปรากฏอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ข้อพับอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อข้อพับอดีตมีอยู่ การคู้ การเหยียด ยัง ปรากฏอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท้องอดีตมีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 365    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 365

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อท้องอดีตมีอยู่ ความหิว ความกระหาย ยัง ปรากฏอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายอดีตยังเข้าถึงการยกย่องและการปราบปราม ยังเข้าถึงการตัดและการทำลาย ยังเป็นของสาธารณะแก่กา แก่แร้ง แก่เหยี่ยว หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ยาพิษพึงเข้าไป ศัสตราพึงเข้าไป ไม่พึงเข้าไป ในกายอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายอดีต ยังจะจองจำได้ด้วยเครื่องจำคือชื่อคา ด้วยเครื่องจำคือเชือก ด้วยเครื่องจำคือตรวน ด้วยเครื่องจำคือบ้าน ด้วยเครื่องจำคือนิคม ด้วยเครื่องจำคือนคร ด้วยเครื่องจำคือชนบท ด้วยเครื่องจำ ๕ ประการ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนี้ ฯลฯ

[๓๗๒] ส. น้ำอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 366    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 366

ส. บุคคลทำกิจที่ต้องใช้น้ำได้ด้วยน้ำนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ไฟอดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำกิจที่ต้องใช้ไฟได้ด้วยไฟนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ลมอดีตมีอยู่ หรือ

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำกิจที่ต้องใช้ลมได้ด้วยลมนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๓] ส. รูปขันธ์อดีตมีอยู่ รูปขันธ์อนาคตมีอยู่ รูปขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปขันธ์เป็น ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ขันธ์ที่เป็นอดีตมีอยู่ ขันธ์ห้าที่เป็นอนาคตมีอยู่ ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ขันธ์เป็น ๑๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 367    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 367

[๓๗๔] ส. จักขายตนะอดีตมีอยู่ จักขายตนะอนาคตมีอยู่ จักขายตนะปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็น ๓ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีตมีอยู่ อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอนาคตมีอยู่ อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายตนะเป็น ๓๖ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๕] ส. จักขุธาตุอดีตมีอยู่ จักขุธาตุอนาคตมีอยู่ จักขุ- ธาตุปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุธาตุเป็น ๓ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีตมีอยู่ ธาตุ ๑๘ ที่เป็น อนาคตมีอยู่ ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 368    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 368

ส. ธาตุเป็น ๕๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๖] ส. จักขุนทรีย์อดีตมีอยู่ จักขุนทรีย์อนาคตมีอยู่ จักขุนทรีย์ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุนทรีย์เป็น ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีตมีอยู่ อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอนาคตมีอยู่ อินทรีย์ ๒๒ เป็นปัจจุบัน มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อินทรีย์เป็น ๖๖ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๗] ส. พระเจ้าจักรพรรดิอดีตมีอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิ อนาคตมีอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๓ องค์ทรงพบกันได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๘] ส. สัมมาสัมพุทธเจ้าอดีตมีอยู่ สัมมาสัมพุทธเจ้า อนาคตมีอยู่ สัมมาสัมพุทธเจ้าปัจจุบันมีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 369    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 369

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ องค์ทรงพบกันได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๙] ส. อดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่มีอยู่เป็นอดีต หรือ?

ป. สิ่งที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าอดีตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ด้วยเหตุนั้น อดีตก็ไม่เป็นอดีต สิ่งที่ไม่ใช่ อดีตก็เป็นอดีต, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า อดีตมีอยู่ สิ่ง ที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ด้วยเหตุนั้นอดีตก็ไม่ใช่อดีตเป็นอดีต สิ่งที่ไม่ใช่อดีตก็เป็นอดีต ดังนี้ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อดีตไม่เป็นอดีต สิ่งที่ไม่ใช่อดีตเป็นอดีต ก็ต้องไม่กล่าวว่าอดีตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอดีต ก็มี, ไม่เป็นอดีตก็มี ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่าอดีตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ด้วยเหตุนั้น อดีตก็ไม่เป็นอดีต สิ่งที่ไม่ใช่อดีตก็เป็นอดีต ดังนี้ผิด.

[๓๘๐] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่มีอยู่เป็นอนาคต หรือ?

ป. สิ่งที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี


ความคิดเห็น 370    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 370

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าอนาคตมีอยู่ สิ่งที่ มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ด้วยเหตุนั้น อนาคตก็ไม่เป็น อนาคต สิ่งไม่ใช่อนาคตก็เป็นอนาคต, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า อนาคตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ด้วยเหตุนั้น อนาคตก็ไม่เป็นอนาคต สิ่งที่ไม่ใช่อนาคตก็เป็นอนาคต ดังนี้ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อนาคตไม่เป็นอนาคต สิ่งที่ไม่ใช่อนาคต เป็นอนาคต ก็ต้องไม่กล่าวว่า อนาคตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า อนาคต มีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ด้วยเหตุนั้น อนาคต ก็ไม่เป็นอนาคต สิ่งที่ไม่ใช่อนาคต ก็เป็นอนาคต ดังนี้ผิด

[๓๘๑] ส. ปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่มีอยู่เป็นปัจจุบัน หรือ?

ป. สิ่งที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ หากว่าปัจจุบันมีอยู่ สิ่งที่มี อยู่ เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ด้วยเหตุนั้น ปัจจุบันก็ไม่เป็น ปัจจุบัน สิ่งที่ไม่ใช่ปัจจุบันก็เป็นปัจจุบัน ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ปัจจุบันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบัน ก็มี ด้วยเหตุนั้น ปัจจุบันก็ไม่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่ไม่ใช่ปัจจุบัน ก็เป็น ปัจจุบัน ดังนี้ผิด,แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ปัจจุบันไม่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่ไม่ ใช่ปัจจุบันเป็นปัจจุบัน ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปัจจุบันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็น


ความคิดเห็น 371    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 371

ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว ได้ว่า ปัจจุบันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ด้วย เหตุนั้น ปัจจุบันก็ไม่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่ไม่ใช่ปัจจุบันก็เป็นปัจจุบัน ดังนี้ผิด

[๓๘๒] ส. นิพพานมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. สิ่งที่มีอยู่เป็นนิพพาน หรือ?

ป. สิ่งที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ หากว่านิพพานมีอยู่ สิ่งที่มี อยู่ เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ด้วยเหตุนั้น นิพพานก็ไม่เป็น นิพพาน สิ่งที่ไม่ใช่นิพพานก็เป็นนิพพาน, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า นิพพานมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพาน ก็มี ด้วยเหตุนั้น นิพพานก็ไม่เป็นนิพพาน สิ่งที่ไม่ใช่นิพพาน ก็เป็น นิพพาน ดังนี้ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า นิพพานไม่เป็นนิพพาน สิ่งที่ไม่ ใช่นิพพานเป็นนิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า นิพพานมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็น นิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว ได้ว่า นิพพานมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ด้วยเหตุนั้น นิพพานก็ไม่เป็นนิพพาน สิ่งที่ไม่ใช่นิพพานก็เป็นนิพพาน ดังนี้ผิด

[๓๘๓] ป. ไม่พึงกล่าว อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 372    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 372

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีต ก็ดี ที่อยู่ในที่ไกล ในที่ใกล้ก็ดี นี้เรียกว่ารูปขันธ์ เวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ที่อยู่ในที่ไกล ในที่ใกล้ก็ดี นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น อดีตก็มีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ น่ะสิ

[๓๘๔] ส. อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ครรลองแห่งภาษา ครรลองแห่งชื่อ ครรลองแห่งบัญญัติ ๓ ประการนี้ อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ไม่ลบล้าง ไม่เคย ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ มิได้คัดค้าน ๓ ประการ เป็นไฉน

(๑) รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปร


ความคิดเห็น 373    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 373

ไปแล้ว รูปนั้น เขากล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เขาเรียกว่า ได้มีแล้ว เขาบัญญัติว่า ได้มีแล้ว แต่รูปนั้น เขาไม่กล่าวกันว่า มีอยู่ เขา ไม่กล่าวกันว่าจักมี เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขาร เหล่าใด ฯลฯ วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ญาณนั้นเขากล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เขาเรียกว่า ได้มีแล้ว เขาบัญญัติว่า ได้มีแล้ว แต่วิญญาณนั้น เขาไม่กล่าว กันว่ามีอยู่ เขาไม่กล่าวกันว่า จักมี.

(๒) รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ รูปนั้น เขากล่าว กันว่า จักมี เขาเรียกว่า จักมี เขาบัญญัติว่า จักมี แต่รูปนั้น เขา ไม่กล่าวกันว่า มีอยู่ เขาไม่กล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารเหล่าใด ฯลฯ วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ วิญญาณนั้น เขากล่าวกันว่า จักมี เขาเรียกว่า จักมี เขาบัญญัติว่า จักมี แต่เขาไม่กล่าวกันว่ามีอยู่ เขาไม่กล่าวกันว่า ได้มีแล้ว

(๓) รูปใด เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว รูปนั้น เขากล่าวกันว่า มีอยู่ เขาเรียกว่า มีอยู่ เขาบัญญัติว่า มีอยู่ แต่เขาไม่กล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เขาไม่กล่าวกันว่า จักมี เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารเหล่าใด ฯลฯ วิญญาณใด เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว วิญญาณ นั้น เขากล่าวกันว่า มีอยู่ เขาเรียกว่า มีอยู่ เขาบัญญัติว่า มีอยู่


ความคิดเห็น 374    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 374

แต่วิญญาณนั้น เขาไม่กล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เขาไม่กล่าวกันว่า จักมี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครรลองแห่งภาษา ครรลองแห่งชื่อ ครรลองแห่งบัญญัติ ๓ ประการเหล่านั้นแล อันสมณพราหมณ์ผู้ รู้ทั้งหลาย ไม่ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ มิได้คัดค้าน แม้ชนที่เป็นชาวอุกกละ ชาววัสสภัญญะ ที่เป็น อเหตุกวาท อภิริยวาท ก็ได้สำคัญครรลองแห่งภาษา ครรลอง แห่งชื่อ ครรลองแห่งบัญญัติ ๓ ประการนี้ว่า อันตนไม่พึง ติเตียน อันตนไม่พึงคัดค้าน ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะกลัว การติเตียน การเพิดเพ้ยและการโต้แย้ง ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อดีตมีอยู่ อนาคต มีอยู่น่ะสิ.

[๓๘๕] ส. อดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระผัคคุณะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเมื่อยังพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ ล่วงไปแล้วปรินิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว มี


๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๓๔


ความคิดเห็น 375    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 375

ทางอันตัดแล้ว มีวัฏฏะอันจำกัดแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ให้ ปรากฏ พึงให้ปรากฏได้ด้วยจักษุใด จักษุนั้นมีอยู่หรือหนอ ฯลฯ ชิวหานั้นมีอยู่หรือหนอ ฯลฯ บุคคลเมื่อยังพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ล่วงไปแล้ว ปรินิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว มีทางอันตัดแล้ว มีวัฏฏะอันจำกัดแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ให้ปรากฏ พึงให้ปรากฏได้ด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือหนอ ดูก่อนผัคคุณะ บุคคลเมื่อยังพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ปรินิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว มีทางอันตัดแล้ว มีวัฏฏะอันจำกัดแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ให้ปรากฏ พึงให้ ปรากฏได้ด้วยจักษุใด จักษุนั้นไม่มีอยู่เลย ฯลฯ ชิวหานั้นไม่มี อยู่เลย ฯลฯ บุคคลยังพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ปริ- นิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว มีทางอันตัดแล้ว มีวัฏฏะอันจำกัดแล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ให้ปรากฏ พึง ให้ปรากฏได้ด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีอยู่เลย ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่ จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าว อดีตมีอยู่ น่ะสิ.

[๓๘๖] ส. อดีตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


สํ สฬา. ๑๘/๙๙ - ๑๐๐


ความคิดเห็น 376    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 376

ส. ท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า โลภะได้มีแล้วใน กาลก่อน ข้อนั้นได้เป็นความไม่ดีแล้ว โลภะนั้น บัดนี้ไม่มีอยู่ ข้อนี้เป็นความดี โทสะได้มีแล้วในกาลก่อน ฯลฯ โมหะได้มี แล้วในกาลก่อน ข้อนั้นได้เป็นความไม่ดีแล้ว โมหะนั้น บัดนี้ ไม่มีอยู่ ข้อนี้เป็นความดี ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ไม่พึงกล่าวว่า อดีตมีอยู่ น่ะสิ.

[๓๘๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย หากว่าความยินดี ความเพลิน ความอยาก ยังมีอยู่ใน กวฬิงการาหาร วิญญาณก็ตั้งมั่นแล้ว งอกงามแล้ว ในเพราะกวฬิงการาหารนั้น วิญญาณก็ตั้งมั่นแล้ว งอกงามแล้วในที่ใด ความ หยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่นั้น ความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด การเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่ ในที่นั้น การเกิดในภพใหม่ไปมีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ก็ยังมีอยู่ต่อไปในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ยังมีอยู่ต่อไปในที่ใด


๑. อํ ติก. ๒๐/๕๐๖. ๒. สํ. นิ. ๑๖/๒๔๖.


ความคิดเห็น 377    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 377

เรากล่าวว่า ที่นั้นยังมีโศก ยังมีธุลี ยังมีความคับแค้น ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย หากว่า ความยินดี ความเพลิน ความอยาก ยังมีอยู่ ในผัสสาหาร ... ในนโนสัญเจตนาหาร ... ในวิญญาณาหาร ฯลฯ เรากล่าวว่าที่นั้นยังมีโศก ยังมีธุลี มีความมีความคับแค้น ดังนี้๒ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อนาคตมีอยู่ น่ะสิ

[๓๘๘] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย หากว่าความยินดี ความเพลิน ความอยาก ไม่มีอยู่ใน กวฬิงการาหาร วิญญาณก็ไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่งอกงามแล้ว ในเพราะ กวฬิงการาหารนั้น วิญญาณไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่งอกงามแล้วในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนาม รูปไม่มีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็ไม่มีอยู่ในที่ นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายไม่มีอยู่ในที่ใด การเกิดใน ภพใหม่ต่อไปก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น การเกิดในภพใหม่ต่อไปไม่มีอยู่ ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ก็ไม่มีต่อไปในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ไม่มีต่อไปในที่ใด เรากล่าวว่า ที่นั้นไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความ คับแค้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า ความยินดี ความเพลิน


ความคิดเห็น 378    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 378

ความหยาก ไม่มีอยู่ในผัสสาหาร ... ในมโนสัญเจตนาหาร ... ในวิญญาณาหาร ฯลฯ เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีโศก ไม่มีธุลีไม่มีความ คับแค้น ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อนาคตก็มีอยู่ น่ะสิ สัพพมัตถีติกถา จบ

อรรถกถาสัพพมัตตถีติวาทกถา

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีอยู่

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องวาทะว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่. ในปัญหานั้น ชน เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายสัพพมัตถีติวาทะทั้งหลาย ในที่นี้ว่า ธรรมทั้งหลายอันต่างด้วยอดีตเป็นต้นแม้ทั้งปวง ย่อมไม่เว้นซึ่งสภาพ แห่งขันธ์ เพราะพระบาลีว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต คือ ล่วงไปแล้วก็ดี เป็นอนาคต คือยังไม่มาถึงก็ดี เป็นปัจจุบัน คือเกิด ขึ้นอยู่เฉพาะหน้าก็ดี ฯลฯ นี้ พระตถาคต ตรัสเรียกว่า รูปขันธ์ ดังนี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งปวงจึงชื่อว่ามีอยู่นั้นแหละ ดังนี้ เพื่อชำระ ลัทธิอันเห็นผิดของชนเหล่านั้น สกวาทีจึงถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในทิฏฐิมีประการ ดังกล่าวแล้ว.

คำว่า ในสรีระทั้งปวงหรือ อธิบายว่า สกวาที่ย่อมถามด้วย คำว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสรีระทั้งปวงหรือ. คำว่า มีอยู่ในกาลทั้งปวง


ความคิดเห็น 379    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 379

หรือ อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในกาลทั้งปวงหรือ. คำว่า สพฺเพน สพฺพํ อธิบายว่า สกวาทีถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดย อาการทั้งปวงหรือ. คำว่า สพฺเพสุ อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า สิ่ง ทั้งปวงมีอยู่ในธรรมทั้งปวงหรือ. คำว่า ไม่ประกอบหรือ ได้แก่ ไม่ ประกอบแล้ว อธิบายว่า ธรรมที่ประกอบกันได้ของสภาพธรรมต่างๆ มี อยู่แต่ไม่มีสภาพธรรมอย่างเดียว. ดังนั้น ในปัญหานี้ สกวาทีจึงทำรูป กับเวทนา หรือทำเวทนากับรูปไม่ให้ต่างกัน คือให้มีลักษณะอย่างเดียว กันนั่นแหละ แล้วจึงถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือ ข้อว่า แม้สิ่ง ใดที่ไม่มี ก็ชื่อว่ามีอยู่หรือ อธิบายว่า สกวาทีถามว่า แม้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีคำว่าขันธ์ที่ ๖ เป็นต้น หรือคำว่า เขากระต่ายเป็นต้น ย่อมไม่มีอยู่ เพราะฉะนั้นคำอันท่านให้สำเร็จแล้ว แม้นี้ชื่อว่า มีอยู่หรือ. คำว่า สิ่ง ทั้งปวงมีอยู่หรือ ความว่า สกวาทีย่อมถามคำนี้ด้วยคำนี้ว่า ทิฏฐิใด มีอยู่ ทิฏฐินั้นเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ และทิฏฐิใดมีอยู่ ทิฏฐินั้นเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ อย่างนี้นั้นแหละเรียกว่า สึงทั้งปวงมีอยู่ หรือว่าในลัทธิของ ท่านว่า ทิฏฐิอันใดว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ ทิฏฐินั้นชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะ ไม่ทำตามความเป็นจริง ทิฏฐิอันใดมีอยู่ ทิฏฐินั้นชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะมีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ จึงกล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเหล่านี้มีอยู่หรือ. ปรวาทีปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว อย่างนั้น เพราะความไม่มีแห่งธรรมที่มีอยู่ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ในนัยเหล่านั้น แม้ทั้งสิ้น. ก็ในนัยเหล่านี้แม้ทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบ ประเภทกถามรรคทั้งปวงโดยพิสดาร เพราะทำคำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ


ความคิดเห็น 380    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 380

คือความผิดพลาด ดังนี้ให้เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้แล. นี้ชื่อว่า วาทยุตติ คือการประกอบวาทะ ในที่นี้เพียงเท่านี้ก่อน.

บัดนี้ เป็นการเปรียบเทียบเวลาว่า อดีตมีอยู่หรือ ใน ปัญหานั้น คำเป็นต้นว่า อดีตมีอยู่หรือ เป็นค่าเปรียบเทียบเพื่อ ให้ความเห็นนั้นบริสุทธิ์. คำเป็นต้นว่า รูปอดีตมีอยู่หรือ เป็นการ เปรียบเทียบกาลกับด้วยขันธ์เป็นต้น. ข้อว่า รวมเพ่งถึงรูปปัจจุ- บัน ความว่า ละรูปอันเป็นอดีตและอนาคตเสีย แล้วจึงเพ่งรูปปัจจุบัน เท่านั้น ไม่พึงแยก. ในปัญหาว่า ย่อมละความเป็นรูปหรือ ปรวาที ย่อมตอบปฏิเสธ เพราะความที่รูปแม้ดับไปแล้ว ท่านก็สงเคราะห์เป็นรูป ขันธ์ ในปัญหาปฏิโลมว่า ย่อมไม่ละความเป็นรูปหรือ ปรวาที ย่อมตอบรับรอง เพราะความที่รูปนั้นท่านสงเคราะห์เข้าเป็นรูปขันธ์. ในข้อว่า รวมเพ่งถึงผ้าขาวนี้ ความว่า เมื่อปรวาทีกล่าวว่า รวม เพ่งถึงผ้าขาว เพราะไม่กล่าวคำบัญญัติว่า ผ้าทั้งหมดเป็นสีขาวก็หาไม่ แต่กล่าวถึงผ้ากับสีขาวนี้ สกวาทีจึงตอบรับรอบโดยความเป็นอรรถอัน เดียวกัน. ในปัญหาว่า ย่อมละความเป็นผ้าขาวหรือ คำรับรอง นี้เป็นของสกวาที หมายเอาผ้าที่ปราศจากสี ก็ในคำว่า ย่อมละความ เป็นผ้าหรือ นี้ คำปฏิเสธเป็นของสกวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะปราศ- จากคำบัญญัติ. แม้ในปฏิโลมก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ปรวาทีนั้นถูกถามว่า อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีตหรือ เมื่อสำคัญว่า ถ้าพึงละอนาคต หรือปัจจุบันไซร้ อดีตนั้นก็พึงมีดังนี้ จึงรับรองว่าใช่ ก็ถูกถามว่า


ความคิดเห็น 381    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 381

อนาคตย่อมไม่ละความเป็นอนาคตหรือ ปรวาทีสำคัญว่า ถ้าพึงละ อนาคตเสียเลย ก็จะไม่พึงละบรรลุความเป็นปัจจุบัน จึงปฏิเสธ. แม้ใน ปัญหาว่าด้วยความเป็นปัจจุบัน ก็ปฏิเสธว่า โทษคือความไม่ถึงความเป็น อดีตจะพึงมี. แม้ในปัญหาอนุโลมทั้งหลาย บัณฑิตก็พึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้. ครั้นกล่าวสุทธิกนัยอย่างนี้แล้ว เพื่อแสดงด้วยสามารถแห่ง ขันธ์อีก ท่านจึงกล่าวคำว่า รูปอดีต เป็นต้น คำนั้นทั้งหมดอาจ เพื่อจะรู้โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ.

กายสังสันทนา จบ

วจนโสธนา

การชำระถ้อยคำ

บัดนี้ ชื่อว่า โสธนา คือการชำระถ้อยคำ เพราะพระบาลีว่า อดีตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ เป็นต้น. ในปัญหานั้น คำว่า หากว่า อดีตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ อธิบายว่า ถ้าอดีตไม่มีอยู่ไซร้. คำว่า อดีต มีอยู่ก็ผิด อธิบายว่า อดีตนั้นด้วยสภาพที่มีอยู่ด้วย ดังนี้ผิดทั้งนั้น. ถูกถามว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีอนาคตที่กำลังเป็นปัจจุบันในขณะ แห่งอนาคตนั่นแหละโดยการต่างกันแห่งเวลา. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบ รับรองเพราะความที่อนาคตใดได้มีแล้วในกาลก่อนแต่กาลเกิดขึ้นนั้นเป็น ปัจจุบันที่กำลังปรากฏ. คำว่า สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุ- บัน ชื่อว่าเป็นแล้งจึงเป็นอยู่หรือ อธิบายว่า คำใดนี้อันท่านกล่าว


ความคิดเห็น 382    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 382

ว่าเป็นอนาคตแล้วเป็นปัจจุบันนี้ หมายความว่าเป็นอนาคตหรือเป็นปัจจุ- บัน ชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่ ด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า อนาคตก็อันนั้น แหละ ปัจจุบันก็อันนั้น ดังนี้ คำนั้นก็ชื่อว่า เป็นแล้วเป็นอยู่ตาม ลัทธิของท่านหรือ? ปรวาทีปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะสิ่ง ที่เป็นแล้วเป็นสภาพที่ไม่มีอยู่แก่ธรรมที่เป็นแล้วมีแล้ว. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านตอบรับรอง เพราะอนาคตนั้นจะเป็นแล้ว แต่ปัจจุบันกำลังเป็นไป จึงนับว่าเป็นแล้วจึงจะเป็น. ลำดับนั้น สกวาทีจึงถามปัญหากะปรวาทีว่า สิ่งที่ไม่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่ เป็นอยู่ ดังนี้ ด้วยประสงค์เอาว่า หากว่าลัทธิของท่าน อนาคต นั้นเป็นแล้วปัจจุบันใจไม่เป็นอยู่ อันนับว่า เป็นแล้วเป็นอยู่ ก็อนาคตใด ไม่เป็นแล้ว ปัจจุบันใดไม่เป็นอยู่ อันถึงซึ่งการนับว่า ไม่เป็นแล้วไม่ เป็นอยู่ดุจเขากระต่าย ความแตกต่างกันไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่แม้นั้นมี อยู่อีกหรือ ปรวาทีสำคัญอยู่ว่า สิ่งใดไม่เป็นอนาคตไม่เป็นปัจจุบัน เพราะความไม่มีนั่นแหละ เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่า ไม่เป็นแล้วไม่ เป็นอยู่ ข้อนั้นจงยกไว้ก่อน ก็แต่ว่าสภาพแห่งธรรมที่ไม่เป็นแล้วไม่ เป็นอยู่แห่งสิ่งนั้นจะมี ณ ที่ไหน ดังนี้ จึงตอบปฏิเสธ. แม้ในปัญหา ว่า ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ ปรวาที ตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีแห่งความเป็นอดีตในลักษณะแห่งความ เป็นปัจจุบันนั่นแหละ เพราะการต่างกันแห่งเวลา. ถูกถามในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง โดยธรรมใดเป็น ปัจจุบัน ก็เพราะเป็นอดีตมาก่อน หมายความว่า ปัจจุบันนั้นนั่นแหละ


ความคิดเห็น 383    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 383

เป็นอดีต. คำว่า สิ่งที่เป็นแล้วเป็นชื่อว่าเป็นแล้ว จึงเป็นอยู่ อธิบายว่า เมื่อท่านกล่าวว่า ปัจจุบันหรืออดีตชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่ด้วย สามารถแห่งลัทธิว่า ธรรมใดเป็นปัจจุบัน ท่านกล่าวว่า ธรรมนั้นเป็น อดีต เพราะฉะนั้น ปัจจุบันก็อันนั้นนั่นแหละ อดีตก็อันนั้น ดังนี้ คำแม้ นั้นชื่อว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบันแล้วเป็นอดีต ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นอยู่ หรือ? ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะธรรมที่เป็นแล้วมีอยู่ เป็นสภาพที่เป็นแล้ว แต่ไม่เป็นอยู่อีก. ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับ รองว่า ปัจจุบันเป็นแล้ว อดีตเป็นอยู่ อันถึงซึ่งการนับว่าเป็นแล้วเป็นอยู่. ลำดับนั้น สกวาทีจึงถามปัญหากะปรวาทีนั้นว่า สิ่งที่ไม่เป็น ปัจจุบัน แล้วไม่เป็นอดีต ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นหรือ โดยประสงค์เอาว่า หากว่า ปัจจุบันเป็นแล้ว อดีตก็เป็น อันถึงซึ่งการ นับว่า ไม่เป็นแล้วจึงไม่เป็น ดุจเขากระต่าย ชื่อว่า ไม่เป็นแล้วจึงไม่ เป็น ข้อแม้นั้นชื่อว่า ไม่เป็นแล้วไม่เป็นตามลัทธิของท่านหรือ ปรวาที มีความสำคัญอยู่ว่า สิ่งใดไม่มี สิ่งนั้นไม่เป็นปัจจุบันและไม่เป็นอดีต ด้วย เพราะความไม่มีนั่นเทียว ฉะนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่า ไม่เป็นแล้วจึงไม่ เป็น ข้อที่แตกต่างกันนั้นจงยกไว้ก่อน ก็ความที่ธรรมใดไม่เป็นแล้วไม่ เป็น ธรรมนั้นจักมีแต่ที่ไหน ดังนี้ จึงตอบปฏิเสธ. บัณฑิตพึงทำการ ประกอบแม้ในปัญหาที่ ๓ อันมาแล้วโดยการรวมปัญหาทั้ง ๒ เข้าด้วย กันโดยอุบายนี้.

อีกนัยหนึ่ง ถ้าว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นไซร้


ความคิดเห็น 384    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 384

ภาวะคือความเป็นอยู่อันท่านกล่าวอนาคตในปัจจุบันแล้ว และภาวะคือ ความเป็นแล้วอันท่านกล่าวปัจจุบันในอนาคตย่อมปรากฏ ครั้นเมื่อความ เป็นอย่างนั้นมีอยู่. แม้อนาคตก็ชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่ แม้ปัจจุบันก็ชื่อว่า เป็นแล้วเป็นอยู่นั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ลัทธิ ของท่านว่า บรรดาธรรมเหล่านั้นธรรมอย่างหนึ่งๆ เป็นแล้ว อนาคต เป็นอยู่ ปัจจุบัน ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นอยู่หรือ ปรวาทีปฏิเสธแล้ว โดยนัยที่ท่านปฏิเสธแล้วในปัญหาว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น ถูกถามอีกก็ตอบรับรองโดยนัยที่ตอบรับรองในปัญหา ที่ ๒. ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะเปลี่ยนถามปัญหาที่ปรวาทีตอบรับรอง อยู่ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมหนึ่งๆ เป็นแล้วเป็นอยู่ ชื่อว่าเป็น แล้วจึงเป็นอยู่ ด้วยสามารถแห่งปัญหาว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น กระทำให้เป็นปัญหาปฏิเสธก่อน จึงถามว่า สิ่งที่ ไม่เป็นอนาคต แล้วไม่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่ เป็นอยู่หรือ?

เนื้อความแห่งปัญหานั้นพึงทราบว่า เมื่อคำว่าอนาคตก็อันนั้น นั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น ท่านปฏิเสธปัญหาแรก ก็เป็นอันว่าท่าน ปฏิเสธความเป็นอยู่แห่งอนาคตและความเป็นแล้วแห่งปัจจุบัน มิใช่หรือ ด้วยเหตุนั้น อนาคตก็ชื่อว่าไม่เป็นอยู่ ปัจจุบันก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้ว. แต่ใน ปัญหาที่ ๒ ท่านรับรองตามลัทธิของท่านว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ แม้อนาคตก็ชื่อว่าไม่


ความคิดเห็น 385    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 385

เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ แม้ปัจจุบันก็ชื่อว่า ไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่นั่นแหละ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ตามลัทธิของท่าน บรรดาธรรม เหล่านั้น ธรรมหนึ่งๆ ไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่หรือ? ปรวาทีเมื่อไม่เห็นอยู่ ซึ่งความมีธรรมเหล่านั้นไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ ราวกะบุคคลผู้อันความมืด ปกความแล้วโดยประการทั้งปวง จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. แม้ในครั้งที่ ๒ กล่าวว่า ถ้าว่าปัจจุบันก็อันนั้นนั่นแหละ อดีตก็อันนั้น ไซร้ ภาวะคือความเป็นอยู่อันท่านกล่าว ปัจจุบันในอดีต และภาวะคือ ความเป็นแล้วอันท่านกล่าวอดีตในปัจจุบันก็ย่อมปรากฏ.ก็ครั้นเมื่อความ เป็นอย่างนี้มีอยู่ แม้ปัจจุบันก็ชื่อว่า เป็นแล้วเป็นอยู่ แม้อดีตก็ชื่อว่า เป็นแล้วเป็นอยู่นั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า บรรดา ธรรมเหล่านั้น ธรรมหนึ่งๆ ที่เป็นแล้วเป็น ชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่หรือ ปรวาทีปฏิเสธแล้วโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในปัญหาที่ว่า ปัจจุบันก็อัน นั้นแหละ. อดีตก็อันนั้นแหละ ถูกถามอีก ก็ตอบรับรอง โดยนัยที่ท่าน รับรองแล้วในปัญหาที่ ๒. ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะเปลี่ยนถามปัญหา ที่รับรองอยู่ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมหนึ่งๆ ที่เป็นแล้วเป็น ชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่ ด้วยสามารถแห่งปัญหาว่า ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ กระทำให้เป็นปัญหาปฏิเสธก่อน จึงถามว่า สิ่งที่ ไม่เป็นปัจจุบัน แล้วไม่เป็นอดีต ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่ เป็นหรือ

เนื้อความแห่งปัญหานั้นพึงทราบว่า เมื่อคำว่า ปัจจุบันก็อันนั้น แหละ อดีตก็อันนั้นแหละ ท่านปฏิเสธปัญหาแรกแล้ว ก็เป็นอันว่า


ความคิดเห็น 386    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 386

ท่านปฏิเสธซึ่งภาวะคือความเป็นอยู่แห่งปัจจุบัน และภาวะคือความเป็น แล้วแห่งอดีตมิใช่หรือ ด้วยคำนั้น ปัจจุบันชื่อว่าไม่มีอยู่ อดีตก็ชื่อว่า ไม่มีแล้ว. แต่ในปัญหาที่ ๒ ท่านตอบรับรองตามลัทธิว่า ปัจจุบันก็อัน นั่นนั่นแหละ อดีตก็อันนั้นดังนี้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ แม้ ปัจจุบันก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็น แม้อดีตก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นนั่น แหละ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ธรรมดาธรรมเหล่านั้น ธรรมหนึ่งๆ ไม่เป็นแล้วไม่เป็น ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ตามลัทธิ ของท่านหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นไม่เป็นแล้ว จึงไม่เป็น ราวกะบุคคลอันความมืดมนปกคลุมแล้วโดยประการทั้งปวง จึงปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. แม้ในวาระที่ ๓ กล่าวว่า ถ้าว่าอนาคต ก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น อดีตก็อันนั้นไซร้ ภาระคือความมีอยู่ อันท่านกล่าวอนาคต และปัจจุบันในปัจจุบันและอดีต และภาวะคือความ เป็นแล้วอันท่านกล่าวปัจจุบันและอดีตในอนาคตและปัจจุบันก็ย่อม ปรากฏ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ แม้อนาคตก็ชื่อว่าเป็นแล้วจึง เป็น แม้ปัจจุบัน แม้อดีตก็ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นนั่นแหละ ด้วยคำนั้น ข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า ในธรรมแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น ธรรมอย่างหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่เป็นแล้วเป็น ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นอยู่ตามลัทธิของท่านหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า อนาคตก็อันนั้น ปัจจุบันก็อันนั้น อดีตก็อัน นั้น โดยนัยที่ปฏิเสธแล้วนั่นแหละ ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองในปัญหา ที่ ๒ โดยนัยแห่งการรับรองนั่นแหละ. ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะเปลี่ยน ถามปัญหาอันปรวาทีรับรองอยู่ว่า ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม


ความคิดเห็น 387    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 387

อย่างหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่เป็นแล้วเป็น ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นอยู่ ด้วย สามารถแห่งปัญหาว่า อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละหรือ ดังนี้ กระทำให้เป็นปัญหาปฏิเสธว่าก่อน จึงถามว่า สิ่งที่ไม่เป็นแล้วไม่เป็น ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นหรือ

เนื้อความแห่งปัญหานั้น พึงทราบดังนี้ ครั้นเมื่อคำว่า อนาคต ก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น อดีตก็อันนั้น ท่านปฏิเสธปัญหา แรกแล้ว ภาวะคือความมีอยู่แห่งอนาคต ปัจจุบัน และภาวะคือความ เป็นแล้วแห่งปัจจุบันอดีตทั้งหลายเป็นอันท่านปฏิเสธแล้วมิใช่หรือ ด้วย คำนั้น อนาคตและปัจจุบันก็ชื่อว่าไม่เป็น ปัจจุบันและอดีตก็ชื่อว่าไม่ เป็นแล้ว. แต่ในที่ปัญหา ๒ ท่านตอบรับรองตามลัทธิว่า อนาคต ก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ ครั้นเมื่อ ความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ แม้อนาคตก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้วจึงไม่เป็น ปัจจุบัน ก็ดี อดีตก็ดี ก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่เหมือนกัน ด้วยเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า ในธรรมเหล่านั้น ธรรมอย่างหนึ่งๆ ไม่เป็นแล้ว ไม่เป็น ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ตามลัทธิของท่านหรือ ปรวาทีเมื่อ ไม่เห็นซึ่งความที่ธรรมเหล่านไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ราวกะผู้ถูกความมืด ปกคลุมแล้วโดยประการทั้งปวง จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ดังนี้แล.

วจนโสธนา จบ

อนึ่ง คำนิคคหะเป็นต้นในที่นี้ บัณฑิตพึงประกอบความโดย นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. แม้ในปัญหาว่า จักขุอดีตมีอยู่


ความคิดเห็น 388    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 388

เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองอดีต โดยการไม่เว้นจากความเป็นจักขุเป็น ต้น ถูกถามว่า บุคคลเห็นรูปอดีต เป็นต้น ก็ตอบปฏิเสธด้วย สามารถแห่งความไม่มีกิจของวิญญาณเหล่านั้นอีก.

ในปัญหาว่า บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ อดีตนั้นหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นซึ่งความที่ญาณนั้นมีกิจที่พึงกระทำ เพราะความที่ญาณนั้นดับไปแล้วจึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามอีก ปรวาทีทำ ปัจจุบันนั้นแหละให้เป็นอดีตญาณโดยเลสนัยของผู้มีอดีตญาณคือผู้รู้ ปัจจุบันญาณอันมีอดีตเป็นอารมณ์ของธรรมอันเป็นอดีตอารมณ์ทั้งหลาย แล้วจึงตอบรับรอง เพราะความที่กิจนั้นอันบุคคลพึงทำญาณได้ด้วยญาณ นั้น. ที่นั้นสกวาที่ไม่ให้โอกาสอันมีเลสนัยแก่ปรวาทีนั้น จึงกล่าวคำว่า บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้ ละสมุทัยได้ ทำนิโรธให้แจ้งได้ ยังมรรค ให้เกิดได้ ด้วยญาณอดีตนั้นหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความ ไม่มีกิจ ๔ ของอธิยสัจเหล่านี้ ด้วยญาณอันมีอดีตเป็นอารมณ์เลย. แม้ ในปัญหาของอนาคตก็นัยนี้นั่นแหละ. ปัญหาว่าด้วยปัจจุบัน และ ปัญหาว่าด้วยการเปรียบเทียบ มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

แม้ในปัญหาว่า ราคะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่หรือ เป็น ต้น ปรวาทีตอบรับรองอย่างนั้น เพราะความเป็นผู้ไม่เว้นจากความเป็น ผู้มีราคะเป็นต้น. ในปัญหาว่า พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวผิดจากพระสูตร และกลัวผิดจากการ ประกอบถ้อยคำ. คำแม้ทั้งปวงอย่างนี้ปรากฏแล้วข้างหน้าพึงเข้าใจตาม


ความคิดเห็น 389    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 389

ทำนองพระบาลีนั่นแล.

ในคำนี้ว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี นี้ พึง ทราบความอย่างนี้ว่า ธรรมใดเป็นอดีตนั่นแหละเป็นสภาพที่มี แต่สภาพ ที่มีนั้นเป็นอดีต ธรรมใดเป็นปัจจุบันและอนาคตเป็นสภาพที่มีแต่สภาพ ที่มีนั้นไม่เป็นอดีต. ข้อว่า ด้วยเหตุนั้นอดีตก็ไม่เป็นอดีต สิ่งที่ไม่ ใช่อดีตก็เป็นอดีต อธิบายว่า ด้วยเหตุนั้น อดีตก็เป็นสภาพที่ไม่ใช่ อดีต แต่สภาพที่ไม่ใช่อดีตก็เป็นอดีต ดังนี้. แม้ในคำปุจฉาว่าด้วยอนาคต และปัจจุบันก็นัยนี้นั่นแหละ.

คำถามโดยชำระพระสูตรของปรวาทีว่า ไม่พึงกล่าวว่า อดีต มีอยู่ อนาคตมีอยู่หรือ คำตอบรับรองเป็นของสกวาที. การซักถาม ของปรวาที อาศัยลัทธิของตนตามพระสูตรอีกว่า ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตปัจจุบัน อันเป็นภาย ในก็ดี ภายนอกก็ดี เป็นต้น. ในนัยที่ ๒ เป็นคำถามของสกวาที คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำถามก็ดี คำปฏิเสธก็ดี คำตอบรับรอง ก็ดี ในฐานะทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง คำนั้นใดว่า การเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น เป็นต้น ที่ปรวาทีแสดงในสุดของพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัส ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความอยาก ยังมีในกพฬีการาหาร ดังนี้เป็นต้นนั้น ก็เพื่อนำมา อ้างประกอบคำว่า อนาคตเป็นสภาพที่มีอยู่ แต่พระสูตรที่นำมาอ้างนั้น


ความคิดเห็น 390    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 390

ไม่สำเร็จซึ่งความที่อนาคตเป็นสภาพที่มีอยู่. จริงอยู่ พระสูตรที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นั้น หมายเอาธรรมอันบุคคลเจริญแล้ว เพราะ ความที่เหตุทั้งหลายเป็นสภาพถึงความสำเร็จแล้ว. นี้เป็นการอธิบาย พระสูตร. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาสัพพมัตถีติวาทกถา จบ


ความคิดเห็น 391    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 391

อตีตขันธาติกถา

[๓๘๙] ปรวาที อดีตเป็นขันธ์ หรือ?

สกวาที ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อดีตเป็นอายตนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อดีตเป็นธาตุ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๐] ป. อนาคตเป็นขันธ์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 392    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 392

ป. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นอายตนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นธาตุ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๑] ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตเป็นขันธ์ อดีตมีอยู่ หรือ? ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 393    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 393

ป. อดีตเป็นอายตนะ อดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตเป็นธาตุ อดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๒] ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตเป็นอายตนะ อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 394    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 394

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตเป็นธาตุ อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๓] ป. อดีตเป็นขันธ์ อดีตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อดีตเป็นอายตนะ อดีตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อดีตเป็นธาตุ อดีตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 395    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 395

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ อดีตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจุบันไม่ มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๔] ป. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันขันธ์ ปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ อนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ อนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ อนาคต ไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจุบันไม่ มีอยู่หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๕] ป. รูปอดีตเป็นขันธ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตมีอยู่ หรือ?


ความคิดเห็น 396    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 396

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอดีตเป็นอายตนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอดีตเป็นธาตุ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอดีต เป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๖] ป. รูปอนาคตเป็นขันธ์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอนาคตเป็นอายตนะหรือ ฯลฯ รูปอนาคต เป็นธาตุหรือ ฯลฯ รูปอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ?


ความคิดเห็น 397    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 397

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๗] ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตเป็นขันธ์ รูปอดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปปัจจุบันเป็น ธาตุ ฯลฯ รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๘] ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอนาคตเป็นขันธ์ รูปอนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ


ความคิดเห็น 398    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 398

รูปปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปอนาคต มีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๙] ป. รูปอดีตเป็นขันธ์ รูปอดีตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ รูปอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป อดีตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปปัจจุบัน ไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอนาคตเป็นขันธ์ รูปอนาคตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 399    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 399

ป. รูปอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปอนาคตเป็น ธาตุ ฯลฯ รูปอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปอนาคตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปปัจจุบัน ไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๐] ป. เวทนาอดีต ฯลฯ สัญญาอดีต ฯลฯ สังขาร- อดีต ฯลฯ วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิญญาณอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณอดีต เป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอดีตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๑] ป. วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 400    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 400

ป. วิญญาณอนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิญญาณอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณ อนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณอนาคตเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๒] ส. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณ ปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณปัจจุบันเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะวิญญาณปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญญาณ อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 401    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 401

[๔๐๓] ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณอนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณ

ป. ปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณปัจจุบันเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญญาณปัจจุบันมีอยู่หรือ

ส. ถูกแล้ว

ป. วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญ- อนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๔] ป. วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณอดีตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณปัจจุบันไม่มี- อยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิญญาณอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณอดีต


ความคิดเห็น 402    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 402

เป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญญาณอดีตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญ- ญาณปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๕] ป. วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณอนาคตไม่มี อยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณปัจจุบันไม่มี อยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิญญาณอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณ อนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญญาณอนาคตไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญ- ญาณปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 403    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 403

[๔๐๖] ส. ไม่พึงกล่าว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีต และอนาคตเหล่านี้ ไม่มีอยู่เลย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ครรลองแห่งภาษา ครรลองแห่งชื่อ ครรลองแห่งบัญญัติ สามประการนี้ อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ไม่ลบล้าง ไม่เคย ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ มิได้คัดค้าน ฯลฯ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีต และอนาคตเหล่านี้ ก็ไม่มีอยู่น่ะสิ.

[๔๐๗] ป. ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีตและอนาคต เหล่านี้ ไม่มีอยู่เลย หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ฯลฯ นี้เรียกว่ารูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใด อย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่าง ใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ฯลฯ นี้เรียกว่า วิญ-


ความคิดเห็น 404    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 404

ญาณขันธ์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีตและอนาคตเหล่านี้ ไม่มีอยู่เลยน่ะสิ.

อตีตขันธาติกถา จบ

อรรถกถาอตีตังขันธาติอาทิกถา๑

ว่าด้วยอดีตขันธ์เป็นต้น

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องอดีตเป็นขันธ์เป็นต้น. ในปัญหานั้น คำถาม ว่า " อดีตเป็นขันธ์ " เป็นต้น เป็นของปรวาทีผู้ปรารถนาซึ่งความ มีอยู่แห่งขันธ์ทั้งหลายอันเป็นอดีตและอนาคต เพราะความไม่เว้นจาก ความเป็นขันธ์ เป็นต้น. คำรับรองว่า ใช่ เป็นของสกวาที เพราะ ความที่ขันธ์เป็นอดีตก็สงเคราะห์เป็นขันธ์. คำถามของปรวาทีอีกว่า " อดีต (ขันธ์) มีอยู่หรือ?". คำปฏิเสธเป็นของสกวาที เพราะความ ที่อดีตขันธ์ ท่านปฏิเสธคำว่ามีอยู่ ด้วยพระสูตรอันเป็นครรลองแห่ง ภาษา. ในคำถามว่าด้วย อายตนะ และ ธาตุ ก็ดี ในปัญหาว่าด้วย อนาคต ก็ดี ในปัญหาแห่ง อนาคต โดยอนุโลมและปฏิโลมอันเทียบ เคียงกับ ปัจจุบัน ก็ดี ในปัญหาว่าด้วยคำเป็นต้นว่า รูปอดีตเป็นขันธ์ ก็ดี บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้แล.


๑. บาลีเป็นอตีตขันธาติกถา.


ความคิดเห็น 405    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 405

อนึ่ง ในการชำระพระสูตร คำถามว่า "ไม่พึงกล่าวว่า" เป็น ของสกวาที. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า " ขันธ์เป็นต้นเหล่านี้ ไม่มี อยู่เลยหรือ?" อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ไม่มีหรือ? เมื่อ ความเป็นขันธ์เป็นต้นมีอยู่ ปรวาทีผู้ไม่ปรารถนาความไม่มีแห่งอดีตและ อนาคตเหล่านั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ลำดับนั้น สกวาทีจึงนำพระสูตร มา เพื่อชำระความที่ขันธ์อันเป็นอดีตและอนาคตเหล่านั้นเป็นสภาพที่ ไม่มีอยู่. แม้คำถามที่ ๒ ก็เป็นของปรวาที. คำรับรองเป็นของสกวาที. การนำพระสูตรมาเป็นของปรวาที. ก็การนำพระสูตรมานั้น ย่อมสำเร็จ ซึ่งความที่อดีตและอนาคตธรรมเหล่านั้นเป็นขันธ์เป็นต้น แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นว่ามีอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้นแม้ปรวาทีนำพระสูตรมาแล้ว ก็ไม่เป็นเช่นกับที่นำมานั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาอตีตังขันธาติอาทิกถา จบ


ความคิดเห็น 406    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 406

เอกัจจมัตถีติกถา

[๔๐๘] สกวาที อดีตมีอยู่ หรือ?

ปรวาที อดีตบางอย่างมีอยู่ อดีตบางอย่างไม่มีอยู่.

ส. อดีตบางอย่างดับไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับไป บางอย่างปราศไปแล้ว บางอย่างยังไม่ปราศไป บางอย่างอัสดงคตแล้ว บางอย่างยังไม่อัสดงคต บางอย่างสาปสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่สาบสูญ ไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๙] ส. อดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๑๐] ส. อดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 407    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 407

[๔๑๑] ส. อดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่มีวิบากที่เป็นอดีต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๑๒] ส. อดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อะไรมีอยู่ อะไรไม่มีอยู่ ?

ป. ธรรมอันไม่ให้ผลที่เป็นอดีตมีอยู่ ธรรมอันให้ ผลแล้วที่อดีตไม่อยู่.

[๔๑๓] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ยังมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้ว ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ยังมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๑๔] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผล ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ยังมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 408    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 408

ส. ธรรมอันไม่มีวิบาก ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ยังมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๑๕] ส. ธรรมอันให้ผลแล้ว ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผล ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมอันให้ผลแล้ว ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่มีวิบาก ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๑๖] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผล ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ยังมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผล ที่เป็นอดีต ดับไปแล้ว


ความคิดเห็น 409    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 409

มิใช่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรมเหล่า นั้นยังมีอยู่.

[๔๑๗] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีต ดับไปแล้ว ธรรมเหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่มีวิบากที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 410    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 410

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่มีวิบากที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๑๘] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วส่วนหนึ่ง ยังไม่ให้ผลส่วน หนึ่งที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น บางส่วนมีอยู่ บางส่วนไม่ มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 411    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 411

[๔๑๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมอันยังไม่ให้ผลล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีต ยังจักให้ผลมิใช่ หรือ?

ป. หากว่า ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีต ยังจัก ให้ผล ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ธรรมอันยังไม่ให้ผลล่วงไป แล้ว ธรรมเหล่านั้นยังมีอยู่.

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า มีอยู่ เพราะทำอธิบายว่า ยังจักให้ผล หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่าปัจจุบัน เพราะทำอธิบายว่า ยังจักให้ผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชื่อว่าปัจจุบัน เพราะทำอธิบายว่า ยังจักให้ผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นปัจจุบัน ก็ชื่อว่าไม่มีอยู่ เพราะทำ อธิบายว่า จักดับไปด้วย


ความคิดเห็น 412    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 412

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๐] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่.

ส. อนาคตบางอย่างเกิดแล้ว บางอย่างยังไม่เกิด บางอย่างเกิดพร้อมแล้ว บางอย่างยังไม่เกิดพร้อมแล้ว บางอย่างบังเกิด แล้ว บางอย่างยังไม่บังเกิด บางอย่างปรากฏแล้ว บางอย่างยังไม่ปรากฏ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๑] ส. อนาคตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุปปาทิธรรม (ธรรมจักเกิดขึ้น) ที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อนาคตบางอย่าง ฯล ฯ อนุปปาทิธรรม (ธรรม จักไม่เกิดขึ้น) ฯลฯ

[๔๒๒] ส. อนาคตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อะไรมีอยู่ อะไรไม่มีอยู่?

ป. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ อนุปปาทิธรรม


ความคิดเห็น 413    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 413

ที่เป็นอนาคตไม่มีอยู่.

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อนุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคต ยังไม่เกิดมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ก็ ต้องไม่กล่าวว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่.

[๔๒๓] ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกดิ ธรรม เหล่านั้นมีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ธรรม


ความคิดเห็น 414    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 414

เหล่านั้นมีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อนุปุปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ไม่มีอยู่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคต จักบังเกิดขึ้นมิใช่ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตจักบังเกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่.

[๔๒๕] ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคต ชื่อว่ามีอยู่ เพราะ ทำอธิบายว่า จักบังเกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่าปัจจุบัน เพราะทำอธิบายไว้ว่า จักบังเกิด


ความคิดเห็น 415    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 415

ขึ้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชื่อว่าปัจจุบัน เพราะทำอธิบายไว้ว่า จักบังเกิด ขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าไม่มีอยู่ เพราะทำ อธิบายว่า จักดับไป หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกัจจมัตถีติกถา จบ

อรรถกถาเอกัจจมัตถีติกถา

ว่าด้วยบางอย่างมีอยู่

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบางอย่างมีอยู่. ในปัญหาเหล่านั้น ชนเหล่า ใด ย่อมสำคัญว่าอดีตธรรมบางอย่างมีอยู่ ดุจนิกายกัสสปิกะทั้งหลาย เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น สกวาทีจึงถามว่า "อดีตมีอยู่หรือ" คำวิสัชชนาว่า "อดีตบางอย่างมีอยู่" เป็นต้น เป็นของปรวาที. พึงทราบความหมายแห่งคำวิสัชชนาของปรวาทีนั้นว่า วิปากธรรมอันยัง ไม่ให้ผลมีอยู่ วิปากธรรมที่ให้ผลแล้วไม่มีอยู่. คำซักถามว่า "อดีต บางอย่างดับไปแล้ว" เป็นของสกวาที.


ความคิดเห็น 416    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 416

อธิบายเนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า ถ้าว่า อดีตธรรมบางอย่างมี บางอย่างไม่มีตามลัทธิของท่านไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ อดีตธรรมบางอย่างที่ดับไป และอดีตธรรมบางอย่างที่ยังไม่ดับไป ก็จะ ปรากฏว่าตั้งอยู่เหมือนกัน. แม้ในคำทั้งหลาย คำว่า " บางอย่าง ปราศจากไปแล้ว " ก็นัยนี้เหมือนกัน. คำนี้ว่า "ธรรมอันยังไม่ ให้ผลที่เป็นอดีตบางอย่าง" ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อจะท้วงว่า ท่านย่อม ต้องการความมีอยู่แห่งวิปากที่ยังไม่ให้ผลทั้งหลาย แต่ธรรมแม้เหล่านั้น ก็เป็นอดีตธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นตามลัทธิของท่าน อดีตธรรมบาง อย่างมีอยู่ ฉันใด ธรรมทั้งหลายแม้เป็นวิบากที่ยังไม่ให้ผลบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ ฉันนั้น หรือ. คำว่า "ธรรมอันให้ผลแล้ว" นี้ ท่านกล่าวเพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งวิบากธรรมที่ปรวาทีนั้น ปรารถนา ความไม่มีอยู่แห่งธรรมเหล่านั้น คำว่า " ไม่มีวิบาก " นี้ ท่านกล่าว เพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งความเป็นอัพยากตะทั้งหลาย. คำรับรองด้วย คำปฏิเสธด้วย ในอนุโลมและปฏิโลมทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบด้วย สามารถแห่งราศีทั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ธรรมคือวิบากอันให้ผลแล้วส่วนหนึ่ง ยังไม่ให้ผลสวนหนึ่งที่ เป็นอดีต ธรรมเหล่านั้น ท่านเรียกว่า วิบากที่ให้ผลยังไม่หมด. จริง อยู่ ปฏิสนธิ เกิดแล้วด้วยธรรมใด ภวังคจิตก็ดี จุติจิตก็ดี ก็เป็น วิบากของกรรมนั้นนั่นแหละ. เพราะฉะนั้นวิบากนั้นตั้งแต่ปฏิสนธิจน ถึงจุติ จึงชื่อว่าเป็นวิบากที่ยังให้ผลไม่หมด. ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอา


ความคิดเห็น 417    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 417

ธรรมเช่นนั้น. คำถามว่า " ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า มีอยู่ เพราะทำ อธิบายว่า ยังจักให้ผลหรือ? " เป็นของสกวาที. ธรรมทั้งหลายที่เป็น ไปโดยมาก ท่านย่อมกล่าวว่า มีอยู่ แม้แก่บุคคลผู้ทรงธรรม แม้แก่ ผู้หลับ ฉันใด คำรับรองของปรวาที หมายเอาความมีอยู่แห่งธรรม เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งโวหารของชาวโลก ฉันนั้น. ในปัญหาที่ ๒ "ชื่อว่า ปัจจุบัน เพราะทำอธิบายว่า ยังจักให้ผลหรือ?" คำรับรองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิว่า ชื่อว่า กรรมปัจจัยอันหนึ่ง อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าความไม่พินาศไปมีอยู่แก่กรรมทั้งหลาย. แม้ ในคำเป็นต้นว่า " อนาคตมีอยู่หรือ " สกวาทีกล่าวหมายเอาธรรม ทั้งหลายอันจักบังเกิดขึ้นว่า บางอย่างมีอยู่. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มี เนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยอันกล่าวแล้วในหนหลังแล.

อรรถกถาเอกัจจมัตถีติกถา จบ


ความคิดเห็น 418    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 418

สติปัฏฐานกถา

[๔๒๖] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสตสัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึง ความสิ้นไป เป็นเหตุให้ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของ คันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของ อุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ เป็นธรรมานุสสติ เป็นสังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวตานุสสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๗] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 419    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 419

ส. จักขายตนะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติสัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึง ความสิ้นไป เป็นเหตุให้ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ ของสังกิเลส จักขายตนะเป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็น สังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวตานุสสติ เป็น อานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโนตตัปปะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติ พละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๘] ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 420    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 420

ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะนั้น เป็นสติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน และอโนตตัปปะนั้นเป็นสติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๙] ส. จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะนั้น ไม่เป็นสติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน แต่อโนตตัปปะนั้นไม่เป็นสติ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ


ความคิดเห็น 421    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 421

[๔๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ มิใช่หรือ?

ส. หากว่าสติ ปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน.

[๔๓๑] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะผัสสะปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า ผัสสปัฏฐาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๓๒] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า จิตต- ปัฏฐาน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๓๓] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ตั้งสติมั่น เป็นผู้ประกอบด้วย


ความคิดเห็น 422    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 422

สติ เป็นผู้มั่นคงด้วยสติ สติเป็นธรรมชาติเข้าไปตั้งมั่นแก่สัตว์ทั้งปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๓๔] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ได้บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นไม่ได้ บริโภคอมตะ ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นได้ บริโภคอมตะ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ปฏิบัติ เสพ อบรมทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๓๕] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย นี้มรรคเป็นเอกายนะทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่ง สัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งโสกะปริเทวะ เพื่อความสาป- สูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เครื่องออกไปจาก


๑. องฺ. เอก. ๒๐/๒๓๕


ความคิดเห็น 423    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 423

ทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายมรรค หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๓๖] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง พระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการเป็นไฉน จักรรัตนะ คือจักรแก้ว ปรากฏ ๑ หัตถิรัตนะ คือช้างแก้ว ปรากฏ ๑ อัสสรัตนะคือม้าแก้ว ปรากฏ ๑ มณีรัตนะ คือดวงมณีแล้ว ปรากฏ อิตถีรัตนะ คือนางแก้ว ปรากฏ ๑ คหปฏิรัตนะ คือคหบดีแก้ว ปรากฏ ๑ ปริณายกรัตนะ คือขุนพลแก้ว ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการ เหล่านี้ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง พระเจ้าจักรพรรดิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการ ย่อม ปรากฏเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ๗ ประการ เป็นไฉน รัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะ คือธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือวิริยสัมโพชฌงค์


๑. ม.ม. ๑๓/๑๓๒


ความคิดเห็น 424    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 424

ปรากฏ ๑ รัตนะคือปีติสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือสมาธิสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะ คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือ โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง พระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นรัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็น อิทธิบาท ฯลฯ เป็นอินทีย์ ฯลฯ เป็นพละ ฯลฯ เป็นสัมโพชฌงค์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สติปัฏฐานกถา จบ


๑. สํ. มหา. ๑๙/๕๐๕,๕๐๖


ความคิดเห็น 425    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 425

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา

ว่าด้วยสติปัฏฐาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสติปัฏฐาน. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน เพราะถือเอาธรรมทั้งหลายมีกาย เป็นต้นเป็นอารมณ์ด้วยสติ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติ- ปัฏฐานสังยุตว่า จตุนฺนํ สติปฏฺานานํ ภิกฺขเว สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ เทสิสฺสามิ ดังนี้ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง เหตุเกิดขึ้น และความดับไปแห่งสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดุจลัทธินิกายอันธกะ ทั้งหลายในขณะนี้. นิกายเหล่านี้ คือ ปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะ ราชคิริยะ และสิทธัตถิกะทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า นิกายอันธกะซึ่งเป็นนิกายที่เกิดขึ้น ในภายหลัง. คำถามเพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้นเป็นของสกวาที คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยคำว่าสติปัฏฐาน ดังนี้:-

ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นในธรรมทั้งหลาย มีกายเป็นต้น ถามว่าอะไรย่อมตั้งขึ้น ตอบว่า สติ. การตั้งมั่นแห่งสติ ทั้งหลายแม้มีสติเป็นอารมณ์ก็ย่อมตั้งมั่นด้วยอรรถนี้ว่า สติยา ปฏฺ- านา สติปฏฺานา แปลว่า การตั้งมั่นแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น การตั้งมั่นแห่งสติเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน ถามว่า ปัฏฐานอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติย่อมตั้งมั่น. ปัฏฐาน คือสติชื่อว่า


ความคิดเห็น 426    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 426

สติปัฏฐาน ย่อมได้ด้วยอรรถว่า สติยา ว ปฏฺานา สติปฏฺานา แปลว่า ปัฏฐาน คือ สติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน นี้ เหตุใด เพราะ เหตุนั้น วาทะแม้ทั้ง ๒ คือวาทะของสกวาทีและปรวาที ย่อมถูกต้อง โดยปริยาย.

อนึ่ง ชนเหล่าใดละปริยายนี้แล้วย่อมกล่าวว่า ธรรมทั้งปวง เป็นสติปัฏฐาน โดยส่วนเดียวเท่านั้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชน เหล่านั้น คำตอบรับรองด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นของปรวาที. แต่ เมื่อสกวาทีซักว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบ ปฏิเสธเพราะความที่ธรรมทั้งปวงไม่เป็นสติทั้งหมด.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยคามี เป็นเหตุให้ถึงความสิ้น ไป เป็นต้น เป็นชื่อพิเศษแห่งมรรค จริงอยู่ เอกายนมรรคชื่อว่า ขยคามี เพราะอรรถว่า บรรลุพระนิพพานอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลส ทั้งหลาย. ชื่อว่า โพธคามี เป็นเหตุให้ถึงการตรัสรู้เพราะอรรถว่า ถึงการตรัสรู้สัจจะ ๔. ชื่อว่า อปจยคามี เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน เพราะอรรถว่า ถึงการทำลายวัฏฏะ. สกวาทีถามด้วยบทเหล่านี้โดยหมาย เอาอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรคมีอยู่ตามลัทธิของท่าน อย่างนี้หรือ คำทั้งหลายแม้มีคำว่า ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ อันไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ ต้องการถามโดยความเป็นโลกุตตระ. คำทั้งหลายว่า พุทธานุสสติ เป็นต้น ท่านกล่าวโดยคำที่แยกประเภท จากโลกุตตระ. คำเป็นต้นว่า


ความคิดเห็น 427    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 427

จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งคำถาม อันเป็นประเภทแห่งธรรมทั้งปวง. ในปัญหาทั้งปวงแม้เหล่านั้น บัณฑิต พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คำตอบปฏิเสธมีอยู่ ด้วยสามารถแห่ง สติ คำตอบรับรองมีอยู่ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์. การชำระพระสูตร มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา จบ


ความคิดเห็น 428    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 428

เหวัตถีติกถา

[๔๓๗] สกวาที อดีตมีอยู่ หรือ?

ปรวาที มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ก็มีอยู่นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มีอยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดีบัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากันเหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๓๘] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ?

ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?


ความคิดเห็น 429    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 429

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มีอยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๓๙] ส. ปัจจุบันมีอยู่ หรือ?

ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๔๐] ป. อดีตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาระอย่างนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีโดยภาวะอย่างไร.


ความคิดเห็น 430    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 430

ป. อดีตมีอยู่โดยภาวะว่าอดีต อดีตไม่มีอยู่โดยภาวะว่าอนาคต อดีตไม่มีอยู่โดยภาวะว่าปัจจุบัน.

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มีอยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่. บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดีว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๔๑] ส. อนาคตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตมีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างไร?

ป. อนาคตมีอยู่โดยภาวะว่าอนาคต อนาคตไม่มีอยู่โดยภาวะว่า อดีต อนาคตไม่มีอยู่โดยภาวะว่าปัจจุบัน.


ความคิดเห็น 431    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 431

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มีอยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน เท่ากันเหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๔๒] ส. ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างไร

ป. ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะว่าปัจจุบัน ปัจจุบันไม่มีอยู่โดยภาวะว่าอดีต ปัจจุบันไม่มีอยู่โดยภาวะว่าอนาคต.

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอยู่ก็อย่างนั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็อย่างนั่นแหละหรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 432    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 432

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกันเท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๔๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อดีตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ อนาคตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่โดยภาวะว่าอนาคต อดีตมีอยู่โดยภาวะว่าปัจจุบัน อนาคตมีอยู่โดยภาวะว่าอดีต อนาคตมีอยู่โดยภาวะว่าปัจจุบันปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะว่าอดีต ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะว่าอนาคต หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อดีตก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ อนาคตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ น่ะสิ

[๔๔๔] ส. รูปมีอยู่ หรือ?

ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 433    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 433

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มีอยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี บัญญัติทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่ หรือ?

ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้หรือ?

ป. ถูกแล้ว.


ความคิดเห็น 434    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 434

ส. มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีโดยภาวะอย่างไร?

ป. รูปมีอยู่โดยภาวะว่ารูป รูปไม่มีอยู่โดยภาวะว่าเวทนา ฯลฯ รูปไม่มีอยู่โดยภาวะว่าสัญญา ฯลฯ รูปไม่มีอยู่โดยภาวะว่าสังขาร ฯลฯ รูปไม่มีอยู่โดยภาวะว่าวิญญาณ.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ก็มีอยู่นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คือว่าอรรถว่าไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ

ป. วิญญาณมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างไร?

ป. วิญญาณมีอยู่โดยภาวะว่าวิญญาณ วิญญาณไม่มีอยู่โดยภาวะว่ารูป ฯลฯ วิญญาณไม่มีอยู่โดยภาวะว่าเวทนา ฯลฯ วิญ-ญาณไม่มีอยู่โดยภาวะว่าสัญญา ฯลฯ วิญญาณไม่มีอยู่โดยภาวะว่าสังขาร.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ?


ความคิดเห็น 435    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 435

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกันเท่ากัน เหมือนกัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๔๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่ารูปมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปมีอยู่โดยภาวะว่าเวทนา ฯลฯ รูปมีอยู่โดยภาวะว่าสัญญา ฯลฯ รูปมีอยู่โดยภาวะว่าสังขาร ฯลฯ รูปมีอยู่โดยภาวะว่าวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่โดยภาวะว่ารูป วิญ-ญาณมีอยู่โดยภาวะว่าเวทนา ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยภาวะว่าสังขาร หรือ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น รูปก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ น่ะสิ.

เหวัตถีติกถา จบ


ความคิดเห็น 436    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 436

อรรถกถาเหวัตถีติกถา

ว่าด้วยมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้

    บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ซึ่งมีประเภทตามที่กล่าวมาแล้วว่า ธรรมทั้งหลายอันต่างด้วยอดีตธรรมเป็นต้นแม้ทั้งปวงมีอยู่ด้วยสามารถแห่งธรรมมีรูปเป็นต้น หรือว่าอดีตธรรมไม่มีอยู่ด้วยสามารถแห่งอนาคตและปัจจุบัน หรืออนาคต และปัจจุบันไม่มีอยู่ด้วยสามารถแห่งอดีตธรรมเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงว่าสิ่งทั้งปวงนั้นแหละอย่างนี้มีอยู่ อย่างนี้ไม่มีอยู่ ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นจึงถามปรวาทีว่า อดีตมีอยู่หรือ คำว่าวิสัชนาว่า มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ เป็นของปรวาที.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เหว ท่านแก้ว่าได้แก่ เอวํแปลว่า อย่างนี้ หรือโดยภาวะอย่างนี้ ลำดับนั้น สกวาที่เมื่อจะถามว่าถ้าอดีตธรรมอย่างนี้มี อย่างนี้ไม่มีไซร้ ครั้นเมื่อมีความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ อดีตธรรมนั้นแหละชื่อว่ามีอยู่ อดีตธรรมนั้นแหละชื่อว่าไม่มีอยู่จึงกล่าวว่า มีอยู่ก็อันนั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็อันนั่นแหละ หรือปรวาทีหมายเอาความมีอยู่แห่งธรรมเหล่านั้นโดยสภาวะนั้นเท่านั้น และหมายเอาความไม่มีอยู่แห่งธรรมเหล่านั้นโดยสภาวะนั้นเท่านั้น จึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองหมายเอาความมีอยู่โดยสภาวะของตน และความไม่มีอยู่โดยสภาวะอื่น. เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำว่า


ความคิดเห็น 437    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 437

อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อธิบายว่า สกวาทีถามว่าภาวะอันเป็นของตนมีอยู่ ภาวะอันเป็นของตนไม่มีอยู่ ชื่อว่าย่อมมีหรือ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้. ก็ในที่สุดปรวาทีจึงกล่าวคำว่า ถ้าอย่างนั้น อดีตก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ดังนี้ และคำเป็นต้นว่า ถ้าอย่างนั้น รูปก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ดังนี้ เพื่อให้ลัทธิตั้งไว้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลัทธินั้นก็เป็นลัทธิที่ตั้งอยู่ไม่ได้นั่นแหละ เพราะเป็นลัทธิที่ตั้งไว้โดยปราศจากโยนิโสมนสิการ ดังนี้แล.

อรรถกถาเหวัตถีติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

    ๑. ปุคคลกถา

๒. ปริหานิกถา

๓. พรหมจริยกถา

๔. โอธิโสกถา

๕. ชหติกถา

๖. สัพพมัตถีติกถา

๗. อตีตขันธาติกถา

๘. เอกัจจมัตถิกถา

๙. สติปัฏฐานกถา

๑๐. เหวัตถีติกถา

มหาวรรคที่ ๑ จบ