[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 187
อนุรุทธสังยุต
รโหคตวรรคที่ ๑
๑. ปฐมรโหคตสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 187
อนุรุทธสังยุต
รโหคตวรรคที่ ๑
๑. ปฐมรโหคตสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๑๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
[๑๒๕๔] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔.
[๑๒๕๕] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 188
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[๑๒๕๖] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.
[๑๒๕๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 189
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[๑๒๕๘] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.
[๑๒๕๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิตในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[๑๒๖๐] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 190
[๑๒๖๑] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[๑๒๖๒] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔.
จบปฐมรโหคตสูตรที่ ๑
อนุรุทธสังยุตตวรรณนา
รโหคตวรรคที่ ๑
อรรถกถาปฐมรโหคตสูตร
อนุรุทธสังยุต ปฐมรโหคตสูตรที่ ๑.
คำว่า อันปรารภแล้ว คือ เต็มที่แล้ว.
ก็แลในสูตรนี้ ว่าโดยย่อ ก็คือได้ทรงแสดงวิปัสสนาที่ให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ใน ๓๖ ฐานะ.
จบอรรถกถาปฐมรโหคตสูตรที่ ๑